สอบถาม ธนาคารttb และ ธปท "ห้ามยึดรถ-บ้าน หนี้ค้างไม่เกิน1ปี พักดอกเบี้ย 3 ปี แก้หนี้รายย่อย"เริ่มตอนไหน จนท บอกไม่มี

เรียน ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารธนชาติทหารไทยttb และหน่วยงาน ฝ่ายสินเชื่อ ปรับโครงสร้างหนี้ และ จนท ที่เกี่ยวข้อง

เรื่อง  ปรับโครงสร้างมาแล้ว  เนื่องจากป่วย   พักรักษาที่รพ จิตเวช และบ้าน ยอมปรับปีที่แล้วเพราะ ป่วย รับผิดชอบไม่ไหว ค่าใช้จ่ายสูงมาก และได้เข้าโครงการปรับโครงสร้างหนี้ไป ครบ 1ปี  ตุลาคม หรือ เดือนนี้ ไม่แน่ใจ เอกสารยังไม่ได้ค้นหา   แต่มีความประสงค์อยากเข้าร่วมโครงการต่อ เนื่องจาก ปีที่2กลับมาจ่ายที่ยอดเดิม จึงอยากปรับใหม่อีกครั้ง  พอดีเห็นว่ามีแบบ จ่ายต้น พักดอกเบี้ย 3ปี โครงการ ห้ามยึดรถ-บ้าน หนี้ค้างไม่เกิน1ปี พักดอกเบี้ย 3 ปี แก้หนี้รายย่อย (ปรับโครงสร้างหนี้) เลยอยากรู้ว่า จะเริ่มใช้ และ ธนาคารไหนได้ใช้บ้างครับ  กันยายนจ่ายค้างอยู่ 5,xxx บ. จนท แจ้งไว้แบบนี้   แต่ผมจ่ายไปก่อนแล้ว 5,000 บ. ค่างวด 8,100 บ. เลยงง จริงๆต้แงค้าง3,000บ. ไหมหรือครับแต่กันยายน จ่ายเต็มปกติ และแจ้ง 21พฤศจิกายน 67 จ่าย5,1xx บ. ตุลาคม จ่ายเต็ม 11,xxx บ.  เท่าเดิมตามสัญญาเข่าซื้อ   จนท แจ้งจ่ายยอดเต็ม 11,xxx 2งวด 3งวดพฤศจิกายน  จึงอยากทราบว่า  โครงการนี้ จะทันไหมครับ ที่ผมจะเข้าโครงการ  หรือผมเข้าตามของแต่ละธนาคาร ดังเดิม



ที่มา ฐานเศรษฐกิจ
06 พ.ย. 2567 | 10:27 น.
อัปเดตล่าสุด :06 พ.ย. 2567  10:27 น.
ข้อความดังนี้นะครับ  และขอให้ทางธนาคารพิจารณาด้วยนะครับ  จนท ที่คุยบริการดีให้กำลังใจและผมแพนิก พอดี เลยช่วยผมระงับอารมณ์  ฝากขอบคุณด้วยนะครับ บริการดีมาก    จนท ที่รับเรื่องปรับปีที่แล้วก็น่ารักและเห็นสภาพผมและเข้าใจอาการป่วย แต่มันทรุด ดิ้งลงๆ ตอนนี้พักงาน ไม่มีกำหนด รอแพทย์สั่งอย่างเดียว และเป็นหัวหน้าครอบครัวดูแลที่บ้านฟบายชีวิต แต่ตอนกลายเป็นภาระ  รบกวน ดูเคลสผมด้วยนะครับ  

ธปท.จ่อประกาศรายละเอียดช่วย “หนี้บ้าน-รถยนต์ และธุรกิจ SMEs” หลังคณะทำงานเคาะหลักเกณฑ์แล้ว ตีกรอบค้างไม่เกิน 1 ปี พักชำระดอกเบี้ยชั่วคราว 3 ปี ยืดเวลาด้วยการลดผ่อนชำระ 50% เข้มห้ามก่อหนี้ชั่วคราว ผิดเงื่อนไขกลับมาเป็นคนผิดนัดชำระหนี้ตามเดิม
การประสานความร่วมมือ 4 หน่วยงาน โดยกระทรวงการคลัง สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)และ สมาคมธนาคารไทย (TBA) ออกมาตรการช่วยเหลือ เพื่อลดภาระทางการเงินเพิ่มเติมให้แก่ลูกหนี้

ทั้งสินเชื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อรถยนต์และสินเชื่อผู้ประกอบธุรกิจรายเล็ก ที่มีวงเงินสินเชื่อไม่สูงและเป็นสัญญาเงินกู้ที่ทำก่อน 1 มกราคม 2567 และเป็นสัญญาที่ประสบปัญหาการชำระหนี้ตามเกณฑ์ที่กำหนด อ้างอิงข้อมูล ณ 31 ตุลาคม 2567 โดยจะประกาศคุณสมบัติของกลุ่มเป้าหมาย เกณฑ์การเข้าร่วม และรายละเอียดของมาตรการเร็วๆ นี้


สำหรับมาตรการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนรอบนี้ มีวัตถุประสงค์ช่วยเหลือลูกหนี้เฉพาะกลุ่มรายย่อย-SMEs ที่ค้างชำระหนี้สินเชื่อบ้าน และสินเชื่อรถยนต์ไม่เกิน 1 ปี พร้อมกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการช่วยเหลือ เบื้องต้นเป็นเวลา 3 ปี คือ

พักชำระดอกเบี้ยชั่วคราว
ยืดระยะเวลาผ่อนเงินให้ โดยลดการผ่อนชำระ 50%
ระหว่างเข้าร่วมมาตรการต้องคุมพฤติกรรม ห้ามก่อหนี้ชั่วคราว
ให้รายงานข้อมูลปรับโครงสร้างหนี้ในบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ (NCB) หรือเครดิตบูโร
ขณะที่ผู้เข้าร่วมมาตรการนี้ต้องยอมรับผลกระทบข้างเคียง กรณีไม่สามารถปฎิบัติตามหลักเกณฑ์ นอกจากจะไม่ได้รับยกเว้น “ดอกเบี้ยที่พักแขวนไว้” แล้วยังต้องกลายสภาพเป็น “คนผิดนัดชำระหนี้ตามเดิม” และสำหรับลูกหนี้รายไหนที่แกล้งป่วย เพื่อถือโอกาสเอาประโยชน์จากดอกเบี้ยที่พักชำระ ย้ำว่าจะมีผลข้างเคียงที่รุนแรง



ข่าวที่เกี่ยวข้อง
3 ปีที่แล้ว
'นายกฯ'ส่งซิกธปท.ลดดอกเบี้ย หวังแก้หนี้รายย่อยทั้งระบบตั้งเป้าเห็นผลใน 6 เดือน
3 ปีที่แล้ว
SAMจับมือ 34เครือข่ายแก้หนี้รายย่อย 4 ปีคนไทยได้อะไรจากคลินิกแก้หนี้?
1 ปีที่แล้ว
ออมสินลุยแก้หนี้รายย่อย ยกดอกเบี้ยค้างให้ ไม่ฟ้อง ไม่ขายทอดตลาด
2 เดือนที่แล้ว
กรุงไทย ออก “สินเชื่อรวมหนี้ข้าราชการยั่งยืน” รวมหนี้รายย่อย เช็คเงื่อนไข
16 วันที่แล้ว
คลังพร้อมลดเงินส่งกองทุน FIDF แลกยกเว้นดอกเบี้ย อุ้มลูกหนี้แบงก์พาณิชย์
หนี้เสีย-SM เพิ่มต่อเนื่อง
ธปท. รายงานสินเชื่อจัดชั้นที่กล่าวถึง (SM) สินเชื่ออุปโภคบริโภค ไตรมาส 2/67 จำนวน 394,542 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 3.07% จากไตรมาส 1/67 โดยสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นถึง 27.43% และสินเชื่อรถยนต์เพิ่มขึ้น 1.15% และหากเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนสินเชื่ออุปโภคบิโภคเพิ่มขึ้น 8.63% โดยสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น 17.19% ขณะที่สินเชื่อรถยนต์ลดลง 1.57%

ห้ามยึดรถ-บ้าน หนี้ค้างไม่เกิน1ปี พักดอกเบี้ย 3 ปี แก้หนี้รายย่อย

ส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ไตรมาส2/67 เพิ่มขึ้น 53,058 ล้านบาท โดยเป็นเอ็นพีแอลรายใหม่  37,735 ล้านบาท Re-entry 8,742 ล้านบาทและอื่นๆ 6,581 ล้านบาท

เมื่อเทียบกับไตรมาส 1/67 พบว่า จำนวนเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้น 5,338 ล้านบาท จากจำนวนเอ็นพีแอลที่เพิ่มขึ้น 47,720 ล้านบาทเพิ่มขึ้นถึง 11.19% โดยเป็นเอ็นพีแอลใหม่ 38,224 ล้านบาท Re-entry 7,838 ล้านบาทและอื่น 1,658 ล้านบาท

ขณะที่สินเชื่อจัดชั้นของผู้ประกอบการ SMEs ไตรมาส 2/67 จำนวน 366,572 ล้านบาทลดลง 16,757 ล้านบาทหรือลดลง 4.37% จาก 383,329 ล้านบาทฬฯช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่มีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล) 232,849 ล้านบาทลดลง 9,118 ล้านบาทหรือ 3.77% จาก 241,967 ล้านบาทในงวดเดียวกันปีก่อน

แหล่งข่าวจากสถาบันการเงินเจ้าหนี้เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ”ว่า การออกมาตรการแก้หนี้บ้านและรถยนต์รอบนี้ เพราะทางการมองภาพรวมว่า สินเชื่อบ้านและสินเชื่อรถยนต์เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของคนส่วนใหญ่ โดยหลักการหารือ จะลดวงเงินผ่อนชำระต่องวดลง 50% และพักดอกเบี้ยเป็นเวลา  3 ปี เพื่อลดวงเงินผ่อนจ่ายต่องวด เพื่อให้นำเงินไปตัดเงินต้นให้ลูกหนี้ได้เร็วขึ้น แต่สถาบันการเงินเจ้าหนี้ มีเงื่อนไขที่เสนอขอต่อทางการและรอทางการว่า จะผ่อนผันได้หรือไม่  

“ถ้าลดวงเงินต้นผ่อนชำระต่องวด ควบคู่กับการพักดอกเบี้ยไว้ ก็พอจะบรรเทาลูกหนี้บางส่วน อาจจะไม่เหมือนกันทุกเคส ส่วนเรื่องเงินชดเชยจากการทำมาตรการนี้ ไส้ในยังต้องมีรายละเอียดที่ต้องแลกเปลี่ยนกัน นอกเหนือจากที่แบงก์เสนอให้ลดเงินนำส่งเข้ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) ลงหนึ่งเหลือ  0.23% ปัจจุบันอยู่ที่ 0.46%”

คลังรับข้อเสนอลดเงินนำส่ง FIDF
นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกล่าวถึงกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ยื่นข้อเสนอลดเงินนำส่ง FIDF แลกกับการยกเว้นดอกเบี้ยให้กับลูกหนี้ว่า เป็นหนึ่งในข้อเสนอที่กระทรวงการคลังรับได้ ถ้าเป็นการทำเพื่อประชาชน ซึ่งลูกหนี้เหล่านี้ยังอยู่ใน NCB การจะขอกู้ใหม่ได้ก็ขึ้นกับสถานะของลูกหนี้รายนั้นๆ ที่ธนาคารจะเป็นผู้พิจารณา

นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

“เท่าที่หารือกับธนาคารพาณิชย์มาก่อนหน้านี้ ก็มีความเห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าวเป็นส่วนใหญ่แล้ว หลังจากนี้จะให้ธนาคารพาณิชย์ไปหารือกันเพื่อหาข้อยุติ นอกจากนี้ยังจะหารือกับธปท.ให้พิจารณาผ่อนปรนเกณฑ์ LTV เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงสินเชื่อที่อยู่อาศัยได้มากขึ้น”

ด้านนายปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคาร ทหารไทยธนชาต (ttb) ในฐานะทีมงานแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนของTBA เปิดเผยว่า มาตรการแก้หนี้ครัวเรือนครั้งนี้ ต้องการเข้าไปช่วยเหลือคนตัวเล็กที่ผ่อนชำระหนี้ไม่ไหวและกำลังจะถูกยึดบ้านหรือยึดรถยนต์ ซึ่งผู้ประกอบการ SMEs ใช้บ้านเป็นสถานประกอบการและใช้รถยนต์เป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพ

นายปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคาร ทหารไทยธนชาต
นายปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคาร ทหารไทยธนชาต


โดยกำหนดนิยามลูกหนี้ที่จะเข้าข่ายต้องมียอดค้างชำระไม่เกิน 360 วัน พร้อมเงื่อนไขให้ผ่อนำชำระเฉพาะเงินต้น เพื่อตัดเงินต้นก่อน ส่วนดอกเบี้ยให้พักแขวนไว้ จนเมื่อลูกหนี้ทำได้ตามโปรแกรมและตามระยะเวลา 3ปี ดอกเบี้ยที่พักแขวนไว้จะยกให้ลูกหนี้ แต่กรณีลูกหนี้ไม่สามารถทำตามโปรแกรมต้องกลับสู่สถานะเดิมคือ ผิดนัดชำระหนี้  

“รายละเอียดของมาตรการและการชดเชยเรื่องรายได้ของธนาคารนั้น ทางการพยายามจะออกรายละเอียดและขั้นตอนให้เร็วที่สุด ซึ่งกระทรวงการคลังและธปท.จะสรุปเพื่อเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป” นายปิติกล่าว

ส่วนจะมีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของธนาคารหรือไม่นั้น นายปิติกล่าวว่า เป็นมาตรการที่ win-win ไม่ได้กระทบธนาคารในเชิงลบ เพราะหากธนาคารไม่ช่วยลูกหนี้ ธนาคารก็แย่เช่นกัน ซึ่งที่ผ่านมาธนาคารได้ตั้งสำรองหนี้ไว้แล้ว

แม้ภาพรวมหนี้เสียของระบบมีแนวโน้มแย่ลง แต่สถานการณ์เริ่มนิ่งและอัตราการไหลเป็นหนี้เสียเริ่มชะลอตัวลง ส่วนลูกหนี้จัดชั้นที่กล่าวถึงเป็นพิเศษหรือ SM ก็มีกลไกในการบริหารจัดการอยู่แล้ว หากมีมาตรการเข้ามาช่วยเสริมเชื่อว่า สถานการณ์หนี้เสียจะเริ่มดีขึ้น

กกร.ลุ้นรัฐออก “คูณสอง”
นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยและในฐานะประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) กล่าวกับ “ฐานเศรษฐกิจ”ว่า กกร.ได้นำเสนอสมุดปกขาวต่อนายกรัฐมนตรี แพทองธาร ชินวัตร ซึ่งเป็นข้อเสนอภาคเอกชนเกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ และกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศทั้งในระยะสั้น กลาง และระยะยาว เช่น

นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

การช่วยลดภาระค่าครองชีพของประชาชน
การควบคุมราคาสินค้า
การตรึงค่าไฟฟ้าและน้ำมันดีเซล
การนำเสนอการเพิ่มกำลังซื้อในลักษณะ โครงการคูณสอง
การกระตุ้นการใช้สอยผ่านมาตรการ Easy e-Receipt
มาตรการทางภาษีอื่นๆ
“ถามว่าโครงการคูณสองคืออะไร ในความหมาย “คูณสอง” ก็คือคนละครึ่ง ซึ่งเคยใช้ในรัฐบาลที่ผ่านมา แต่เราเกรงว่า ถ้าบอกว่า “คนละครึ่ง” บางทีรัฐบาลเขาไม่อยากจะใช้ซ้ำ ก็เลยหาทางออกว่าเป็นมาตรการในลักษณะโครงการคูณสองก็แล้วกัน ซึ่งสามารถคิดใหม่ทำใหม่ได้”นายสนั่นกล่าว

วอนอย่ายึดรถกระบะ
อย่างไรก็ตาม นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้รับในหลักการและจะไปดูว่า จำนวนเงินที่จะสนับสนุนมาตรการเหล่านี้จะเป็นอย่างไร ขณะเดียวกันกกร.ยังขอให้รัฐบาลนำเรื่องไปหารือกับธนาคารพาณิชย์ บริษัทไฟแนนช์ หรือลิสซิ่งรถยนต์ เพื่อขอความร่วมมือไม่ให้ยึดรถกระบะ หรือรถปิกอัพ ซึ่งเป็นรถยนต์เชิงพาณิชย์ที่ประชาชนใช้ทำมาหากิน  

ทั้งนี้จากข้อมูลเครดิตบูโร คนไทยมีหนี้ด้านรถยนต์อยู่จำนวนหนึ่ง(ไตรมาสที่ 3/67 คนไทยมีหนี้ค้างชำระเกิน 90 วันที่เป็นหนี้เสีย (NPL) รวมกว่า 1.18 ล้านล้านบาท โดยเป็นหนี้เสียบ้าน 230,481 ล้านบาท หนี้เสียรถยนต์ 259,330 ล้านบาท และหนี้บัตรเครดิต 69,306 ล้านบาท ส่วนหนี้ค้างชำระ 31-90 วัน ซึ่งเป็นหนี้ที่กำลังจะเสีย อยู่ที่ 641,393 ล้านบาท โดยเป็นหนี้บ้าน 187,199 ล้านบาท หนี้รถยนต์ 187,386 ล้านบาท และหนี้บัตรเครดิต 10, 796 ล้านบาท ซึ่งมีความเสี่ยงที่รถจะถูกยึด 1-2 แสนคัน  

“หากประชาชนถูดยึดรถกระบะไปในเวลานี้ ก็จะไม่มีเครื่องมือในการทำมาหากิน จากช่วงปลายปีถือเป็นช่วงที่จะมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจเป็นจำนวนมาก หากเขายังมีรถก็ยังไปช่วยต่อชีวิต หรือต่อลมหายใจได้"

นายสนั่นกล่าวต่อว่า หากไปยึดรถเขาจะได้ซักกี่ตัง และรถต้องหาที่เก็บอีกสู้ให้เขายังใช้ทำมาหากินไม่ดีกว่าหรือ ได้มีเงินมาจ่ายค่างวดและหนี้สิน โดยอาจช่วยให้เขาผ่อนน้อยลง หรือขอดูเวลาอีกซัก 3 เดือนได้หรือไม่ ซึ่งจะเป็นอีกส่วนสำคัญที่จะช่วยเศรษฐกิจไทยหมุนได้อีกในช่วงโค้งสุดท้ายของปีนี้



หน้า 1 หนังสือพิมพ์ ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 4,042 วันที่ 7 - 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่