สถานการณ์หนี้เสียยังค่อนข้างน่าเป็นห่วง โดยจากรายงานผลประกอบการในไตรมาส 3/2567 และงวด 9 เดือนแรกของปี 2567 ธนาคารพาณิชย์ในระบบทั้ง 11 แห่ง พบว่า ภาพรวมหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ยังมีทิศทางขยับเพิ่มขึ้น
โดยตัวเลข ณ ไตรมาส 3/2567 มียอดหนี้เอ็นพีแอลรวมทั้งสิ้น 545,009 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.61% เมื่อเทียบกับไตรมาส 2/2567 ที่อยู่ 541,681 ล้านบาท และเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2566 (YOY) เพิ่มขึ้น 5.39% จากปีก่อนอยู่ที่ 517,117 ล้านบาท
หนี้เสีย “รถ-บ้าน” ยังน่าห่วง
นางสาวกาญจนา โชคไพศาลศิลป์ ผู้บริหารงานวิจัย บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า คุณภาพพอร์ตสินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในไทย 28 แห่ง สะท้อนภาพไปในทิศทางเดียวกับงบฯรวมของแบงก์ที่แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยสะท้อนการปรับเพิ่มขึ้นของเอ็นพีแอล ในกลุ่มสินเชื่อรายย่อยทุกประเภท ทั้งสินเชื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อเช่าซื้อ ซึ่งเป็นพอร์ตที่แบงก์ยังกังวล ประกอบกับฐานสินเชื่อที่ไม่ได้เพิ่มขึ้น ส่งผลให้สัดส่วนหนี้เสียต่อสินเชื่อรวม (NPLs Ratio) ขยับเพิ่มขึ้น
ขณะที่สินเชื่อธุรกิจเอสเอ็มอี ยังไม่ฟื้นตัว จากกระแสรายรับที่ไม่สม่ำเสมอ ด้วยภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวไม่ทั่วถึง ขณะที่ธุรกิจขนาดใหญ่ จะเป็นประเด็นเฉพาะในบางธุรกิจ หรือเป็นรายกรณี ซึ่งมองไปข้างหน้าปัญหาด้านคุณภาพสินเชื่อยังเป็นปัญหาลากยาว
โดยกลุ่มที่มีปัญหา เช่น สินเชื่อรายย่อย ประเภทไม่มีหลักประกัน จะเห็นสถาบันการเงินยังคงบริหารด้วยการตัดขาย ส่วนสินเชื่อรายย่อยในส่วนของสินเชื่อที่มีหลักประกัน เช่น สินเชื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อเช่าซื้อ สถาบันการเงินจะดำเนินการด้วยความระมัดระวัง ซึ่งภายใต้มาตรการปล่อยสินเชื่ออย่างรับผิดชอบ จะทำให้สถาบันการเงินพยายามปรับโครงสร้างหนี้ลูกหนี้ก่อนและหลังเป็นหนี้เสีย เพื่อสกัดหนี้ตกชั้น
“แนวโน้มสินเชื่อเช่าซื้อ สินเชื่อบ้าน แม้ว่าตัวเลขหนี้ออกมาทรง ๆ แต่ยังต้องมอนิเตอร์ต่อ โดยมีโอกาสเห็นสินเชื่อกล่าวถึงเป็นพิเศษ (Stage 2 หรือ SM) และสินเชื่อค้างชำระเกิน 90 วัน (Stage 3) ขยับไหลเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ เรื่องคุณภาพสินเชื่อยังเป็นประเด็นต่อเนื่องที่แบงก์ต้องมอนิเตอร์ใกล้ชิด แม้ว่าตัวเลขตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญในไตรมาส 3 จะลดลง แต่ไม่ได้ลดลงเยอะ และยังคงอยู่ในระดับสูง ซึ่งทุกแบงก์เห็นโจทย์ตรงนี้อยู่ โดยคาดว่าสิ้นปี 2567 ยอดเอ็นพีแอลคงค้าง น่าจะขยับไปใกล้ ๆ 5.2 แสนล้านบาท สัดส่วนเอ็นพีแอลต่อสินเชื่อรวม มีโอกาสขยับขึ้นไปใกล้กรอบบนของประมาณการที่ 2.65-2.85%”
แบงก์ชะลอปล่อยกู้ “เช่าซื้อ”
นายศรัณย์ ทองธรรมชาติ ประธานสมาคมธุรกิจเช่าซื้อไทย กล่าวว่า ปีนี้สถาบันการเงินยังคงให้ความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อ จากเศรษฐกิจที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ หนี้ครัวเรือนยังเป็นแรงกดดันต่อความสามารถในการชำระหนี้ และการก่อหนี้ใหม่ รวมถึงมีปัจจัยเสี่ยงจากภายนอกประเทศ ดังนั้น สถาบันการเงินจึงเข้มงวดสินเชื่อมากขึ้น ทำให้ยังคงเห็นอัตราการปฏิเสธสินเชื่ออยู่ในระดับสูงเฉลี่ย 25-30%
“แนวโน้มหนี้เสียของเช่าซื้อยังคงไหลต่อ แต่การไหลของหนี้คงไม่เร่งตัวเท่าก่อนหน้านี้ เพราะสถานการณ์เศรษฐกิจยังไม่ดีมาก แบงก์เข้มสินเชื่อ ดูแลลูกค้าเก่าที่มีหนี้เสีย ลูกค้าใหม่ก็ชะลอการตัดสินใจซื้อรถใหม่ ซึ่งเราคาดว่าสถานการณ์หนี้เช่าซื้อน่าจะนิ่ง ๆ หรือเริ่มเห็นสัญญาณที่ดีขึ้นน่าจะช่วงกลางปี 2568 เพราะตอนนี้ความสามารถในการชำระหนี้ลูกค้ายังเปราะบางอยู่”
จ่อออกมาตรการแก้หนี้เพิ่มเติม
นายศักดิ์ชัย พีชะพัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มทิสโก้ กล่าวว่า แบงก์ยังให้ความสำคัญในการบริหารเอ็นพีแอล สะท้อนจากข้อมูล บริษัท เครดิตแห่งชาติ (เครดิตบูโร) ที่ชี้ว่า แนวโน้มตัวเลขหนี้ SM และหนี้เสีย ยังมีทิศทางไหลเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ต้องจับตาใกล้ชิด ซึ่งแบงก์ทั้งระบบยังต้องบริหารอย่างรัดกุม โดยขณะนี้สมาคมธนาคารไทย (TBA) ธนาคารสมาชิก ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และกระทรวงการคลัง อยู่ระหว่างการหารือการออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้เพิ่มเติม เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกหนี้ SM ตกชั้นไหลเป็นหนี้เสีย โดยเฉพาะลูกค้ากลุ่มเปราะบาง เช่น กลุ่มสินเชื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อรถยนต์
“มาตรการจะเน้นให้ลูกหนี้ปรับโครงสร้างหนี้ผ่อนชำระหนี้ตามกำลังความสามารถ โดยทรัพย์ยังสามารถอยู่กับลูกหนี้ได้ ขณะเดียวกัน คาดว่าภาครัฐน่าจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเข้ามาเพิ่มเติม เพื่อช่วยในเรื่องของรายได้ ซึ่งจะช่วยผ่อนคลายแรงกดดันเรื่องภาระหนี้ได้”...
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ :
https://www.prachachat.net/finance/news-1681122
หนี้เสียแบงก์ไหลไม่หยุด “บ้าน-รถ” ยังน่าห่วง จ่องัดมาตรการเพิ่ม
โดยตัวเลข ณ ไตรมาส 3/2567 มียอดหนี้เอ็นพีแอลรวมทั้งสิ้น 545,009 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.61% เมื่อเทียบกับไตรมาส 2/2567 ที่อยู่ 541,681 ล้านบาท และเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2566 (YOY) เพิ่มขึ้น 5.39% จากปีก่อนอยู่ที่ 517,117 ล้านบาท
หนี้เสีย “รถ-บ้าน” ยังน่าห่วง
นางสาวกาญจนา โชคไพศาลศิลป์ ผู้บริหารงานวิจัย บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า คุณภาพพอร์ตสินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในไทย 28 แห่ง สะท้อนภาพไปในทิศทางเดียวกับงบฯรวมของแบงก์ที่แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยสะท้อนการปรับเพิ่มขึ้นของเอ็นพีแอล ในกลุ่มสินเชื่อรายย่อยทุกประเภท ทั้งสินเชื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อเช่าซื้อ ซึ่งเป็นพอร์ตที่แบงก์ยังกังวล ประกอบกับฐานสินเชื่อที่ไม่ได้เพิ่มขึ้น ส่งผลให้สัดส่วนหนี้เสียต่อสินเชื่อรวม (NPLs Ratio) ขยับเพิ่มขึ้น
ขณะที่สินเชื่อธุรกิจเอสเอ็มอี ยังไม่ฟื้นตัว จากกระแสรายรับที่ไม่สม่ำเสมอ ด้วยภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวไม่ทั่วถึง ขณะที่ธุรกิจขนาดใหญ่ จะเป็นประเด็นเฉพาะในบางธุรกิจ หรือเป็นรายกรณี ซึ่งมองไปข้างหน้าปัญหาด้านคุณภาพสินเชื่อยังเป็นปัญหาลากยาว
โดยกลุ่มที่มีปัญหา เช่น สินเชื่อรายย่อย ประเภทไม่มีหลักประกัน จะเห็นสถาบันการเงินยังคงบริหารด้วยการตัดขาย ส่วนสินเชื่อรายย่อยในส่วนของสินเชื่อที่มีหลักประกัน เช่น สินเชื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อเช่าซื้อ สถาบันการเงินจะดำเนินการด้วยความระมัดระวัง ซึ่งภายใต้มาตรการปล่อยสินเชื่ออย่างรับผิดชอบ จะทำให้สถาบันการเงินพยายามปรับโครงสร้างหนี้ลูกหนี้ก่อนและหลังเป็นหนี้เสีย เพื่อสกัดหนี้ตกชั้น
“แนวโน้มสินเชื่อเช่าซื้อ สินเชื่อบ้าน แม้ว่าตัวเลขหนี้ออกมาทรง ๆ แต่ยังต้องมอนิเตอร์ต่อ โดยมีโอกาสเห็นสินเชื่อกล่าวถึงเป็นพิเศษ (Stage 2 หรือ SM) และสินเชื่อค้างชำระเกิน 90 วัน (Stage 3) ขยับไหลเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ เรื่องคุณภาพสินเชื่อยังเป็นประเด็นต่อเนื่องที่แบงก์ต้องมอนิเตอร์ใกล้ชิด แม้ว่าตัวเลขตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญในไตรมาส 3 จะลดลง แต่ไม่ได้ลดลงเยอะ และยังคงอยู่ในระดับสูง ซึ่งทุกแบงก์เห็นโจทย์ตรงนี้อยู่ โดยคาดว่าสิ้นปี 2567 ยอดเอ็นพีแอลคงค้าง น่าจะขยับไปใกล้ ๆ 5.2 แสนล้านบาท สัดส่วนเอ็นพีแอลต่อสินเชื่อรวม มีโอกาสขยับขึ้นไปใกล้กรอบบนของประมาณการที่ 2.65-2.85%”
แบงก์ชะลอปล่อยกู้ “เช่าซื้อ”
นายศรัณย์ ทองธรรมชาติ ประธานสมาคมธุรกิจเช่าซื้อไทย กล่าวว่า ปีนี้สถาบันการเงินยังคงให้ความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อ จากเศรษฐกิจที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ หนี้ครัวเรือนยังเป็นแรงกดดันต่อความสามารถในการชำระหนี้ และการก่อหนี้ใหม่ รวมถึงมีปัจจัยเสี่ยงจากภายนอกประเทศ ดังนั้น สถาบันการเงินจึงเข้มงวดสินเชื่อมากขึ้น ทำให้ยังคงเห็นอัตราการปฏิเสธสินเชื่ออยู่ในระดับสูงเฉลี่ย 25-30%
“แนวโน้มหนี้เสียของเช่าซื้อยังคงไหลต่อ แต่การไหลของหนี้คงไม่เร่งตัวเท่าก่อนหน้านี้ เพราะสถานการณ์เศรษฐกิจยังไม่ดีมาก แบงก์เข้มสินเชื่อ ดูแลลูกค้าเก่าที่มีหนี้เสีย ลูกค้าใหม่ก็ชะลอการตัดสินใจซื้อรถใหม่ ซึ่งเราคาดว่าสถานการณ์หนี้เช่าซื้อน่าจะนิ่ง ๆ หรือเริ่มเห็นสัญญาณที่ดีขึ้นน่าจะช่วงกลางปี 2568 เพราะตอนนี้ความสามารถในการชำระหนี้ลูกค้ายังเปราะบางอยู่”
จ่อออกมาตรการแก้หนี้เพิ่มเติม
นายศักดิ์ชัย พีชะพัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มทิสโก้ กล่าวว่า แบงก์ยังให้ความสำคัญในการบริหารเอ็นพีแอล สะท้อนจากข้อมูล บริษัท เครดิตแห่งชาติ (เครดิตบูโร) ที่ชี้ว่า แนวโน้มตัวเลขหนี้ SM และหนี้เสีย ยังมีทิศทางไหลเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ต้องจับตาใกล้ชิด ซึ่งแบงก์ทั้งระบบยังต้องบริหารอย่างรัดกุม โดยขณะนี้สมาคมธนาคารไทย (TBA) ธนาคารสมาชิก ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และกระทรวงการคลัง อยู่ระหว่างการหารือการออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้เพิ่มเติม เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกหนี้ SM ตกชั้นไหลเป็นหนี้เสีย โดยเฉพาะลูกค้ากลุ่มเปราะบาง เช่น กลุ่มสินเชื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อรถยนต์
“มาตรการจะเน้นให้ลูกหนี้ปรับโครงสร้างหนี้ผ่อนชำระหนี้ตามกำลังความสามารถ โดยทรัพย์ยังสามารถอยู่กับลูกหนี้ได้ ขณะเดียวกัน คาดว่าภาครัฐน่าจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเข้ามาเพิ่มเติม เพื่อช่วยในเรื่องของรายได้ ซึ่งจะช่วยผ่อนคลายแรงกดดันเรื่องภาระหนี้ได้”...
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.prachachat.net/finance/news-1681122