"พิธา" ไม่รอ บินลงเมืองคอน ตามปัญหาน้ำท่วม เตรียมลุยพื้นที่วิกฤต 3 จุด
https://www.khaosod.co.th/politics/news_5458602
สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ภาคใต้กำลังอยู่ภาวะวิกฤต เพราะปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นและหลากเข้าท่วมหลายพื้นที่ ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ต้องอพยพไปอยู่ตามที่ต่างๆ ขณะเดียวกันทางภาครัฐก็เร่งเข้าให้การช่วยเหลือ
ล่าสุด นาย
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ได้โพสต์ไอจี ขณะกำลังลงพื้นที่ไป จ.นครศรีธรรมราช โดยได้โพสต์ภาพนั่งอยู่บนเครื่องบิน พร้อมข้อความว่า ประชุมสภาเสร็จ กำลังไป #นครศรีธรรมราช กับ ส.ส เม่นครับ
จากนั้นก็ได้โพสต์ภาพขณะไปถึง จ.นครศรีธรรมราช โดยมีข้อความว่า
"ถึงนครศรีธรรมราชแล้วนะครับ มืดสนิท ท่วมประมาณ 150,000 ไร่ ทั้ง 23 อำเภอ รับผลกระทบ 500,000 คน ทุ่งสง นบพิตำ ร่อนพิบูลย์ สถานการณ์หนักอยู่ พรุ่งนี้จะไปพื้นที่วิกฤต 3 พื้นที่ครับ"
ที่มา :
pita.ig
ธุรกิจขาดแรงงานหนัก “เอกชน” ดันสุดโต่งให้สัญชาติต่างด้าว
https://www.prachachat.net/economy/news-565847
โควิด-19 ระบาดในช่วงผ่านมา จนทำให้ภาคธุรกิจระส่ำ หลายกิจการตัดสินใจปิดกิจการถาวร ขณะที่บางรายปิดกิจการชั่วคราว เพื่อรอสถานการณ์คลี่คลายอย่างมีความหวัง
โดยล่าสุดสถานการณ์กลับตาลปัตร เนื่องจากเศรษฐกิจส่อแววเริ่มฟื้นตัว จนทำให้บางธุรกิจส้มหล่นจากฐานการผลิตในเอเชีย อย่างเช่น ประเทศอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ปิดประเทศเพื่อป้องกันโควิด-19 ลามหนัก
ส่งผลเชิงบวกในกิจการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์, สิ่งทอ และการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ยอดขายเพิ่มขึ้น สวนทางจากภาพใหญ่เศรษฐกิจ จนทำให้เกิดการ “
ขาดแคลน” แรงงาน
โดยเฉพาะแรงงานต่างด้าวจากประเทศเมียนมา ที่ประเทศไทยยังไม่เปิดประเทศให้แรงงานต่างด้าวเข้ามาจากความกังวลที่ว่าอาจมีการระบาดระลอกใหม่จากโควิด-19
ดังนั้น เมื่อประเมินสถานการณ์ขาดแคลนแรงงานที่เกิดขึ้นในขณะนี้ จึงไม่ได้มีเพียงปัจจัยจากการระบาดของโควิด-19 เท่านั้น
แต่ยังมีปัจจัยอื่น ๆ เข้ามากระทบกับภาคธุรกิจต่าง ๆ จนสะท้อนภาพชัดขึ้นเรื่อย ๆ คือ
1) จำนวนการเกิดใหม่ของประชากรไทยลดลงต่อเนื่องในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
2) พฤติกรรมของแรงงานไทยเลือกงานมากขึ้น ไม่ทำงานในสภาวะอากาศร้อน และงานหนัก
3) คุณสมบัติของแรงงาน-คนทำงานที่ตลาดต้องการ คือ ความสามารถทางด้านภาษา เช่น ภาษาอังกฤษ และภาษาจีน
ต่างด้าวคงเหลือ 2.48 ล้านราย
ตามการรายงานของสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ระบุว่า สำหรับสถานการณ์แรงงานต่างด้าว (ข้อมูลล่าสุด 25 ตุลาคม 2563) มีคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานทั่วราชอาณาจักร รวม 2.48 ล้านคน โดยในจำนวนนี้แบ่งเป็นแรงงานประเภททั่วไป 2.2 ล้านคน แรงงานตลอดชีพ 68 คน ชนกลุ่มน้อย 54,028 คน และแรงงานประเภทฝีมือ 143,487 คน
ทั้งนี้ ในแรงงานประเภททั่วไปประกอบด้วย แรงงานกลุ่มพิสูจน์สัญชาติเดิม ซึ่งแรงงานกลุ่มนี้ใบอนุญาตทำงานจะสิ้นสุดอายุในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 รวม 1,374 คน ในจำนวนนี้เป็นแรงงานเมียนมาถึง 1,276 คน แรงงานที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานตามข้อตกลงระหว่างรัฐต่อรัฐ (MOU) รวม 847,224 ราย แรงงานที่ได้รับอนุญาตตามมติคณะรัฐมนตรี 4 สิงหาคม 2563 รวมทั้งสิ้น 170,064 ราย เป็นแรงงานเมียนมา 113,580 ราย, แรงงานกัมพูชา 46,570 ราย, แรงงาน สปป.ลาว 9,908 ราย
และเมื่อแบ่งตามกลุ่มจะพบว่ามีกลุ่มแรงงานที่เข้ามาตาม MOU และกลุ่มแรงงานที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติ และกลุ่มแรงงานที่เข้ามาตามมาตรา 64
และแรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานตามมติคณะรัฐมนตรี 20 สิงหาคม อีกจำนวน 1.2 ล้านคน แบ่งเป็น กลุ่มแรงงานที่ได้รับใบอนุญาตให้ทำงานแล้ว 729,571 ราย และกลุ่มแรงงานที่อยู่ระหว่างดำเนินการยื่นขอใบอนุญาตทำงานตามขั้นตอนอีก 536,440 ราย
นอกจากนี้ ยังมีแรงงานตามการส่งเสริมการลงทุน (BOI) อีก 42,131 ราย โดยประเภทกิจการที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ กิจการก่อสร้าง ตามมาด้วยกิจการเกษตรและปศุสัตว์ และกิจการการให้บริการต่าง ๆ
หนุนให้สัญชาติต่างด้าว
“
นายวิสูตร พันธวุฒิยานนท์” กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอชอาร์.ไดเจสท์ กรุ๊ป และในฐานะ นายกสมาคมนายจ้างผู้ประกอบกิจการรับเหมาแรงงาน เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ”ว่า ขณะนี้ตลาดแรงงานอยู่ในภาวะขาดแคลนแรงงานอย่างหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานต่างด้าวที่ไม่สามารถเดินทางกลับเข้ามาทำงานในไทยจากกรณีการระบาดของโควิด-19
โดยประเภทอุตสาหกรรมที่ขาดแคลนแรงงานอย่างเห็นได้ชัด คือ อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และผู้ประกอบการส่วนใหญ่ต้องการใช้แรงงานต่างด้าวมากขึ้น โดยเฉพาะแรงงานเมียนมา
หากพิจารณาจำนวนแรงงานเมียนมาในไทยขณะนี้ประมาณ 7 ล้านคนนั้น ภาคเอกชนมองว่าเพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนในระยะยาว ภาครัฐควรให้แรงงานที่ทำงานต่อเนื่อง และเป็นแรงงานถูกต้องตามกฎหมาย ได้รับ “สัญชาติไทย” เท่ากับว่าไทยจะมีแรงงานแน่นอนอีก 7 ล้านคน อาจจะต้องกำหนดจำนวนแรงงานต่างด้าวในแต่ละประเภทอุตสาหกรรมให้ชัดเจนมากขึ้น เพื่อไม่ให้เป็นช่องทางในการกระทำทุจริตด้านแรงงานในอนาคต
สำหรับบริษัท เอชอาร์.ฯ ถือว่าเป็นผู้ประกอบกิจการรับเหมารายใหญ่นั้น มีลูกค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ต้องการแรงงานอีกกว่า 1,000 คน รวมถึงธุรกิจการขนส่งสินค้าทางไปรษณีย์ของเอกชน ไม่ว่าจะเป็นบริษัท เคอรี่ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ที่ต้องการแรงงานสำหรับแพ็กของ และส่งให้ลูกค้าอีกไม่ต่ำกว่า 200 คน รวมถึงบริษัท แฟลช เอ็กซ์เพรส จำกัด และบริษัทในธุรกิจเดียวกันยังต้องการแรงงานไม่ต่ำกว่า 500 คน
จากการขาดแคลนแรงงานในช่วงนี้ ภาครัฐควรมีแนวทางแก้ไข หรือกระตุ้นแรงงานทั้งในระบบ และนอกระบบให้เข้าสู่ตลาดแรงงาน เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน
ซึ่งเหมือนกับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC (Eastern Economic Corridor) หากภาครัฐไม่มีการลงทุนสร้างระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน รวมไปจนถึงจำนวนแรงงานที่ทำให้นักลงทุนเชื่อมั่นว่าเมื่อเข้ามาลงทุนแล้วจะไม่มีปัญหาขาดแคลนแรงงาน
“ยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดเจนว่า ไทยมีประชากรกว่า 75 ล้านคน แต่มีแรงงานเฉพาะที่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ในระบบประกันสังคมเข้ามาอยู่ในระบบแค่ 11 ล้านคน ซึ่งเข้าใจว่าในขณะนี้ยอดแรงงานไทยในระบบลดลงอีก น่าจะเหลือเพียง 9 ล้านคนเท่านั้น
ประเด็นนี้ชี้ให้เห็นว่าประเทศไทยมีปัญหาขาดแคลนแรงงานหนักกว่าประเทศเพื่อนบ้านเยอะ อย่างประเทศเวียดนามมีประชากร 80 ล้านคน เขามีแรงงานในระบบกว่า 30 ล้านคน ฉะนั้น อย่าตกใจ กรณีการย้ายฐานการผลิตจากไทย หรือการเลือกเวียดนามเป็นพื้นที่ลงทุนใหม่ เพราะเขามีความพร้อมด้านแรงงานมากกว่าไทย” นาย
วิสูตรกล่าว
รับเหมาแรงงานขอจ้างต่างด้าว
ขณะที่ “
นางอิสรีย์ ภักหาญสวัสดิ์” นายกสมาคมการค้าผู้ประกอบกิจการรับเหมาแรงงานระบุว่า จากปัญหาขาดแคลนแรงงานที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ทางสมาคมการค้าฯได้ยื่นข้อเสนอแนวทางแก้ไขไปยังกระทรวงแรงงาน ให้มีการแก้ไขพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานคนต่างด้าว พ.ศ. 2561 ที่กำหนดห้ามกิจการรับเหมาแรงงาน หรือรับเหมาค่าแรง หรือบริษัทซับคอนแทร็กต์ ให้มีสิทธิตามกฎหมายในการจ้างงานแรงงานต่างด้าวได้เหมือนเดิม ก่อนที่จะประกาศใช้กฎหมายดังกล่าว
เพราะไม่เพียงแต่จะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานแล้ว ยังสามารถนำเงินส่งเข้าภาครัฐในรูปของภาษีหัก ณ ที่จ่าย 3% และภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ต่ำกว่า 3,000 ล้านบาทต่อปี จากบริษัทรับเหมาค่าแรงรวมกว่า 200 บริษัท
ทั้งนี้ ผลกระทบไม่ได้มีแต่เพียงตัวเลขที่กล่าวข้างต้นเท่านั้น เพราะกฎหมายที่สั่งห้ามไม่ให้กิจการรับเหมาแรงงานจ้างแรงงานต่างด้าวนั้น จะทำให้เกิดการ “
ลักลอบ” จ้างแรงงานแบบเลี่ยงสัญญา จนกลายเป็นช่องทางให้เกิดการทุจริต รวมถึงอาจมีการลักลอบจ้างแรงงานใต้ดินที่ทำให้ยากต่อการตรวจสอบข้อมูลจำนวนแรงงาน อีกทั้งแรงงานไม่ได้รับสิทธิคุ้มครองตามที่กฎหมายกำหนดด้วย
JJNY : "พิธา"ไม่รอ บินลงเมืองคอนตามปัญหาน้ำท่วม/ธุรกิจขาดแรงงานหนัก/สาวกลุ่มคราฟต์เบียร์ถามสคอ./กมธ.แก้รธน.เชิญ”จอน”
https://www.khaosod.co.th/politics/news_5458602
สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ภาคใต้กำลังอยู่ภาวะวิกฤต เพราะปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นและหลากเข้าท่วมหลายพื้นที่ ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ต้องอพยพไปอยู่ตามที่ต่างๆ ขณะเดียวกันทางภาครัฐก็เร่งเข้าให้การช่วยเหลือ
ล่าสุด นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ได้โพสต์ไอจี ขณะกำลังลงพื้นที่ไป จ.นครศรีธรรมราช โดยได้โพสต์ภาพนั่งอยู่บนเครื่องบิน พร้อมข้อความว่า ประชุมสภาเสร็จ กำลังไป #นครศรีธรรมราช กับ ส.ส เม่นครับ
จากนั้นก็ได้โพสต์ภาพขณะไปถึง จ.นครศรีธรรมราช โดยมีข้อความว่า
"ถึงนครศรีธรรมราชแล้วนะครับ มืดสนิท ท่วมประมาณ 150,000 ไร่ ทั้ง 23 อำเภอ รับผลกระทบ 500,000 คน ทุ่งสง นบพิตำ ร่อนพิบูลย์ สถานการณ์หนักอยู่ พรุ่งนี้จะไปพื้นที่วิกฤต 3 พื้นที่ครับ"
ที่มา : pita.ig
ธุรกิจขาดแรงงานหนัก “เอกชน” ดันสุดโต่งให้สัญชาติต่างด้าว
https://www.prachachat.net/economy/news-565847
โควิด-19 ระบาดในช่วงผ่านมา จนทำให้ภาคธุรกิจระส่ำ หลายกิจการตัดสินใจปิดกิจการถาวร ขณะที่บางรายปิดกิจการชั่วคราว เพื่อรอสถานการณ์คลี่คลายอย่างมีความหวัง
โดยล่าสุดสถานการณ์กลับตาลปัตร เนื่องจากเศรษฐกิจส่อแววเริ่มฟื้นตัว จนทำให้บางธุรกิจส้มหล่นจากฐานการผลิตในเอเชีย อย่างเช่น ประเทศอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ปิดประเทศเพื่อป้องกันโควิด-19 ลามหนัก
ส่งผลเชิงบวกในกิจการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์, สิ่งทอ และการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ยอดขายเพิ่มขึ้น สวนทางจากภาพใหญ่เศรษฐกิจ จนทำให้เกิดการ “ขาดแคลน” แรงงาน
โดยเฉพาะแรงงานต่างด้าวจากประเทศเมียนมา ที่ประเทศไทยยังไม่เปิดประเทศให้แรงงานต่างด้าวเข้ามาจากความกังวลที่ว่าอาจมีการระบาดระลอกใหม่จากโควิด-19
ดังนั้น เมื่อประเมินสถานการณ์ขาดแคลนแรงงานที่เกิดขึ้นในขณะนี้ จึงไม่ได้มีเพียงปัจจัยจากการระบาดของโควิด-19 เท่านั้น
แต่ยังมีปัจจัยอื่น ๆ เข้ามากระทบกับภาคธุรกิจต่าง ๆ จนสะท้อนภาพชัดขึ้นเรื่อย ๆ คือ
1) จำนวนการเกิดใหม่ของประชากรไทยลดลงต่อเนื่องในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
2) พฤติกรรมของแรงงานไทยเลือกงานมากขึ้น ไม่ทำงานในสภาวะอากาศร้อน และงานหนัก
3) คุณสมบัติของแรงงาน-คนทำงานที่ตลาดต้องการ คือ ความสามารถทางด้านภาษา เช่น ภาษาอังกฤษ และภาษาจีน
ต่างด้าวคงเหลือ 2.48 ล้านราย
ตามการรายงานของสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ระบุว่า สำหรับสถานการณ์แรงงานต่างด้าว (ข้อมูลล่าสุด 25 ตุลาคม 2563) มีคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานทั่วราชอาณาจักร รวม 2.48 ล้านคน โดยในจำนวนนี้แบ่งเป็นแรงงานประเภททั่วไป 2.2 ล้านคน แรงงานตลอดชีพ 68 คน ชนกลุ่มน้อย 54,028 คน และแรงงานประเภทฝีมือ 143,487 คน
ทั้งนี้ ในแรงงานประเภททั่วไปประกอบด้วย แรงงานกลุ่มพิสูจน์สัญชาติเดิม ซึ่งแรงงานกลุ่มนี้ใบอนุญาตทำงานจะสิ้นสุดอายุในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 รวม 1,374 คน ในจำนวนนี้เป็นแรงงานเมียนมาถึง 1,276 คน แรงงานที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานตามข้อตกลงระหว่างรัฐต่อรัฐ (MOU) รวม 847,224 ราย แรงงานที่ได้รับอนุญาตตามมติคณะรัฐมนตรี 4 สิงหาคม 2563 รวมทั้งสิ้น 170,064 ราย เป็นแรงงานเมียนมา 113,580 ราย, แรงงานกัมพูชา 46,570 ราย, แรงงาน สปป.ลาว 9,908 ราย
และเมื่อแบ่งตามกลุ่มจะพบว่ามีกลุ่มแรงงานที่เข้ามาตาม MOU และกลุ่มแรงงานที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติ และกลุ่มแรงงานที่เข้ามาตามมาตรา 64
และแรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานตามมติคณะรัฐมนตรี 20 สิงหาคม อีกจำนวน 1.2 ล้านคน แบ่งเป็น กลุ่มแรงงานที่ได้รับใบอนุญาตให้ทำงานแล้ว 729,571 ราย และกลุ่มแรงงานที่อยู่ระหว่างดำเนินการยื่นขอใบอนุญาตทำงานตามขั้นตอนอีก 536,440 ราย
นอกจากนี้ ยังมีแรงงานตามการส่งเสริมการลงทุน (BOI) อีก 42,131 ราย โดยประเภทกิจการที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ กิจการก่อสร้าง ตามมาด้วยกิจการเกษตรและปศุสัตว์ และกิจการการให้บริการต่าง ๆ
หนุนให้สัญชาติต่างด้าว
“นายวิสูตร พันธวุฒิยานนท์” กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอชอาร์.ไดเจสท์ กรุ๊ป และในฐานะ นายกสมาคมนายจ้างผู้ประกอบกิจการรับเหมาแรงงาน เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ”ว่า ขณะนี้ตลาดแรงงานอยู่ในภาวะขาดแคลนแรงงานอย่างหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานต่างด้าวที่ไม่สามารถเดินทางกลับเข้ามาทำงานในไทยจากกรณีการระบาดของโควิด-19
โดยประเภทอุตสาหกรรมที่ขาดแคลนแรงงานอย่างเห็นได้ชัด คือ อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และผู้ประกอบการส่วนใหญ่ต้องการใช้แรงงานต่างด้าวมากขึ้น โดยเฉพาะแรงงานเมียนมา
หากพิจารณาจำนวนแรงงานเมียนมาในไทยขณะนี้ประมาณ 7 ล้านคนนั้น ภาคเอกชนมองว่าเพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนในระยะยาว ภาครัฐควรให้แรงงานที่ทำงานต่อเนื่อง และเป็นแรงงานถูกต้องตามกฎหมาย ได้รับ “สัญชาติไทย” เท่ากับว่าไทยจะมีแรงงานแน่นอนอีก 7 ล้านคน อาจจะต้องกำหนดจำนวนแรงงานต่างด้าวในแต่ละประเภทอุตสาหกรรมให้ชัดเจนมากขึ้น เพื่อไม่ให้เป็นช่องทางในการกระทำทุจริตด้านแรงงานในอนาคต
สำหรับบริษัท เอชอาร์.ฯ ถือว่าเป็นผู้ประกอบกิจการรับเหมารายใหญ่นั้น มีลูกค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ต้องการแรงงานอีกกว่า 1,000 คน รวมถึงธุรกิจการขนส่งสินค้าทางไปรษณีย์ของเอกชน ไม่ว่าจะเป็นบริษัท เคอรี่ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ที่ต้องการแรงงานสำหรับแพ็กของ และส่งให้ลูกค้าอีกไม่ต่ำกว่า 200 คน รวมถึงบริษัท แฟลช เอ็กซ์เพรส จำกัด และบริษัทในธุรกิจเดียวกันยังต้องการแรงงานไม่ต่ำกว่า 500 คน
จากการขาดแคลนแรงงานในช่วงนี้ ภาครัฐควรมีแนวทางแก้ไข หรือกระตุ้นแรงงานทั้งในระบบ และนอกระบบให้เข้าสู่ตลาดแรงงาน เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน
ซึ่งเหมือนกับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC (Eastern Economic Corridor) หากภาครัฐไม่มีการลงทุนสร้างระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน รวมไปจนถึงจำนวนแรงงานที่ทำให้นักลงทุนเชื่อมั่นว่าเมื่อเข้ามาลงทุนแล้วจะไม่มีปัญหาขาดแคลนแรงงาน
“ยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดเจนว่า ไทยมีประชากรกว่า 75 ล้านคน แต่มีแรงงานเฉพาะที่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ในระบบประกันสังคมเข้ามาอยู่ในระบบแค่ 11 ล้านคน ซึ่งเข้าใจว่าในขณะนี้ยอดแรงงานไทยในระบบลดลงอีก น่าจะเหลือเพียง 9 ล้านคนเท่านั้น
ประเด็นนี้ชี้ให้เห็นว่าประเทศไทยมีปัญหาขาดแคลนแรงงานหนักกว่าประเทศเพื่อนบ้านเยอะ อย่างประเทศเวียดนามมีประชากร 80 ล้านคน เขามีแรงงานในระบบกว่า 30 ล้านคน ฉะนั้น อย่าตกใจ กรณีการย้ายฐานการผลิตจากไทย หรือการเลือกเวียดนามเป็นพื้นที่ลงทุนใหม่ เพราะเขามีความพร้อมด้านแรงงานมากกว่าไทย” นายวิสูตรกล่าว
รับเหมาแรงงานขอจ้างต่างด้าว
ขณะที่ “นางอิสรีย์ ภักหาญสวัสดิ์” นายกสมาคมการค้าผู้ประกอบกิจการรับเหมาแรงงานระบุว่า จากปัญหาขาดแคลนแรงงานที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ทางสมาคมการค้าฯได้ยื่นข้อเสนอแนวทางแก้ไขไปยังกระทรวงแรงงาน ให้มีการแก้ไขพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานคนต่างด้าว พ.ศ. 2561 ที่กำหนดห้ามกิจการรับเหมาแรงงาน หรือรับเหมาค่าแรง หรือบริษัทซับคอนแทร็กต์ ให้มีสิทธิตามกฎหมายในการจ้างงานแรงงานต่างด้าวได้เหมือนเดิม ก่อนที่จะประกาศใช้กฎหมายดังกล่าว
เพราะไม่เพียงแต่จะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานแล้ว ยังสามารถนำเงินส่งเข้าภาครัฐในรูปของภาษีหัก ณ ที่จ่าย 3% และภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ต่ำกว่า 3,000 ล้านบาทต่อปี จากบริษัทรับเหมาค่าแรงรวมกว่า 200 บริษัท
ทั้งนี้ ผลกระทบไม่ได้มีแต่เพียงตัวเลขที่กล่าวข้างต้นเท่านั้น เพราะกฎหมายที่สั่งห้ามไม่ให้กิจการรับเหมาแรงงานจ้างแรงงานต่างด้าวนั้น จะทำให้เกิดการ “ลักลอบ” จ้างแรงงานแบบเลี่ยงสัญญา จนกลายเป็นช่องทางให้เกิดการทุจริต รวมถึงอาจมีการลักลอบจ้างแรงงานใต้ดินที่ทำให้ยากต่อการตรวจสอบข้อมูลจำนวนแรงงาน อีกทั้งแรงงานไม่ได้รับสิทธิคุ้มครองตามที่กฎหมายกำหนดด้วย