การเปลี่ยนผ่านจากสังคมเกษตรกรรม สู่สังคมอุตสาหกรรมเป็นอย่างไรครับ

ไม่แน่ใจว่าเข้าใจถูกไหมนะครับ เกษตรกรรมสมัยก่อนต้องใช้แรงงานเยอะ ใช้ทาส อย่างเช่นอเมริกาใต้ช่วงสงครามกลางเมืองที่ยังเป็นสังคมเกษตรกรรมใช้แรงงานทาสผิวสี ส่วนทางเหนือเป็นสังคมอุตสาหกรรมแล้วทำให้ไม่มีความจำเป็นต้องใช้แรงงานจำนวนมากเหมือนทางใต้ที่ต้องอาศัยแรงงานทาสผิวสีอยู่เป็นจำนวนมาก 

อิตาลีตอนช่วงรวมชาติทางตอนเหนืออิตาลีเป็นสังคมอุตสหกรรม แต่ทางใต้เป็นสังคมเกษตรกรรม
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
อย่างแรกเลยคือต้องมี ประชากร ตลาด มาตรฐานการดำรงชีพและการบริโภค ครับ

- ประชากรมีจำนวนมากขึ้น ก็ต้องมีความต้องการการบริโภคมากขึ้นไปด้วย
- ตลาด เมื่อประชากรมากขึ้น ตลาดก็ขยายขนาดขึ้นไปด้วย
- มาตรฐานการดำรงชีพ ต้องมีดีระดับหนึ่งครับ ไม่ใช่อดอยากขาดแคลนไปหมดเสียทีเดียว
- การบริโภค พอมีมาตรฐานการดำรงชีพที่ดีขึ้น (อย่างน้อยกินอิ่ม) ประชากรก็จะมีความต้องการบริโภคสินค้าที่หลากหลายมากขึ้น เพื่อตอบสนองต่อการดำรงชีพและความพึงพอใจ

พอมีครบ 4 สิ่งนี้ ก็จะเริ่มเกิดระบบอุตสาหกรรมอย่างย่อมๆขึ้น เพื่อผลิตสินค้าที่ไม่ใช่สินค้าเกษตร และไม่ได้เอาไว้ใช้ในเฉพาะครัวเรือนของผู้ผลิตครับ ได้แก่ เครื่องนุ่งห่ม สิ่งพิมพ์ เครื่องใช้ไม้สอย ต่างๆ

จุดนี้อารยธรรรมส่วนใหญ่ในโลกเก่า มักจะไปถึงกันได้ ไม่ว่าจะเป็น จีน ญี่ปุ่น อินเดีย เปอร์เซีย หรือแม้แต่อาณาจักรเล็กๆอย่างสยาม และ พม่า เป็นต้น (เพียงแต่ขนาดอาจจะไม่เท่ากันเท่านั้น)

ปัญหาต่อไปคือ การที่ความต้องการบริโภคมีมากเพียงพอ เกินกว่าที่คนจะผลิตได้ จึงต้องคิดค้นวิธีการผลิตใหม่ๆเอามาเพื่อแก้ไขปัญหาครับ ซึ่งในอังกฤษน่าจะเป็นที่แรก ที่เปลี่ยนวิธีการผลิตสินค้าจากมือให้เป็นเครื่องจักร ทำให้อังกฤษมีกำลังการผลิตสูงมากขึ้นอย่างก้าวกระโดด และค่อยๆลามไปในส่วนอื่นๆของยุโรปตะวันตกครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่