🔴พบชาวเมียนมาติดเชื้อในไทย 1 ราย! ศบค.เผยวันนี้พบผู้ป่วยโควิด-19 รวม 11 ราย
วันนี้ (22 พ.ย.) เมื่อเวลา 11.00 น. ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รายงานถึงสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย ว่า....💌
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือ โควิด-19 ในไทยวันนี้ (22 พ.ย.) พบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 11 ราย
➡️ผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศและเข้า State Quarantine ดังนี้
ฝรั่งเศส 1 ราย
เนเธอร์แลนด์ 1 ราย
สวิตเซอร์แลนด์ 1 ราย
นอร์เวย์ 2 ราย
สหราชอาณาจักร 1 ราย
ฮังการี 2 ราย
สหรัฐอเมริกา 1 ราย
ผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ ดังนี้
เมียนมา 1 ราย
➡️ผู้ติดเชื้อในประเทศไทย ดังนี้
เมียนมา 1 ราย
ส่งผลให้ผู้ป่วยติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 3,913 ราย หายป่วยแล้ว 3,761 ราย โดยยังมีผู้ป่วยที่รักษาอาการอยู่ 92 คน ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม มีผู้เสียชีวิตรวม 60 ราย
https://www.sanook.com/news/8301387/
🔴อนามัยโลก เผย อัตราการติดเชื้อโควิด-19 พุ่งสูงกว่าช่วง 6 เดือนแรกของการระบาด
องค์การอนามัยโลกเปิดเผยว่า จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในช่วงเดือนที่ผ่านมามีอัตราเพิ่มขึ้นสูงกว่าเมื่อช่วง 6 เดือนแรกที่มีการระบาดใหญ่ทั่วโลก
เทดรอส อัดฮานอม เกเบรเยซุส ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก กล่าวระหว่างการแถลงข่าวในวันศุกร์ จากนครเจนีวา ว่า....💌
โรงพยาบาลและห้องดูแลผู้ป่วยพิเศษในยุโรปและสหรัฐฯ กำลังเริ่มมีปัญหาไม่สามารถรับผู้ป่วยเพิ่มได้แล้ว
ในส่วนของข่าวดีนั้น ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก กล่าวาว่า การที่โครงการพัฒนาวัคซีนต้านโควิด-19 จำนวน 2 โครงการประกาศความสำเร็จในการทดสอบของตน โดยมีหนึ่งสูตรที่กำลังเร่งขออนุมัติการใช้งานเป็นการฉุกเฉิน ทำให้โลกเริ่มมีความหวังว่าจะได้ผ่านพ้นวิกฤตนี้ในไม่ใช้ แต่ก็เตือนว่า ประชาชนยังคงต้องดำเนินตามหลักปฏิบัติต่างๆ ที่ดำเนินอยู่ในช่วงนี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสและช่วยไม่ให้มีผู้ต้องตกเป็นเหยื่อและเสียชีวิตต่อไป
นอกจากนั้น เกเบรเยซุส ยังได้พูดถึงรายงานฉบับใหม่เกี่ยวกับ การดื้อยาของเชื้อโรค หรือ Antimicrobial Resistance (AMR) ที่เกิดขึ้นทั่วโลก และวิธีที่จะควบคุมปัญหานี้
ในรายงานดังกล่าว องค์การอนามัยโลกชี้ว่า สารต้านจุลินทรีย์ หรือ สารยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ เช่น ยาปฏิชีวนะ ที่ใช้ในมนุษย์และสัตว์ หรือ ยาฆ่าแมลงที่ใช้ในงานด้านการเกษตร ที่ใช้กันอย่างผิดๆ อาจทำให้ แบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา และปรสิตต่างๆ พัฒนาความสามารถต่อต้านสารนี้ออกมา และทำให้ยาหลายตัวไม่มีประสิทธิภาพในการรักษาได้ รวมทั้งทำให้การรักษาอาการติดเชื้อหลายแบบยากขึ้น ส่งผลให้มีความเสี่ยงของการแพร่กระจายโรค การเจ็บป่วย และการเสียชีวิตได้
เกเบรเยซุส กล่าวว่า ขณะที่การระบาดใหญ่ทั่วโลกของโควิด-19 เป็นเหมือนเครื่องเตือนใจว่า มนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกันมากเพียงใด ทุกคนควรตระหนักถึงอันตรายของการดื้อยาของเชื้อโรค ที่อาจดูไม่ใช่เรื่องด่วนที่ต้องกังวลในเวลานี้
https://www.sanook.com/news/8301319/
🔴เผยความคืบหน้า“7วัคซีนโควิด-19ในไทย”
ขณะที่ในต่างประเทศมีการเปิดเผยถึงการวิจัยพัฒนาวัคซีนโควิด-19 แบบmRNAที่มีประสิทธิภาพสูง สำหรับในประเทศไทยมีการพัฒนาแบบเดียวกัน คาดทดลองในคนไทยระยะ1ช่วงหลังสงกรานต์ปีหน้า ส่วนแบบDNAเตรียมทดลองในคนระยะที่1 ที่ออสเตรเลีย ก่อนกลับมาทดลองในไทยต้นปี2564
➡️นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ กล่าวว่า การวิจัยพัฒนาวัคซีนโควิด-19ในประเทศไทย ปัจจุบันมีวัคซีนต้นแบบที่พัฒนาโดยนักวิจัยจำนวน 7 แพลตฟอร์ม รวมกว่า 20 ชนิดที่กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนา ประกอบด้วย...💌
1.แบบmRNA พัฒนาโดยศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางวิจัยและพัฒนาวัคซีน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งอยู่ในขั้นตอนเตรียมการทดลองในมนุษย์ระยะที่หนึ่ง
2. แบบ DNA พัฒนาโดยบริษัท ไบโอเนท-เอเชีย จำกัด อยู่ระหว่างการเตรียมการทดลองในมนุษย์เช่นเดียวกัน โดยจะไปทดลองระยะที่ 1 ในประเทศออสเตรเลีย
3.แบบโปรตีนซับยูนิต(Protein Subunit) พัฒนาโดยบริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด ผ่านขั้นตอนทดสอบประสิทธิภาพ/ความปลอดภัยในสัตว์ทดลอง, สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ อยู่ในขั้นทดสอบการกระตุ้นภูมิคุ้มกันเบื้องต้นในสัตว์ทดลอง
4.วัคซีนเชื้อตาย(Inactivated) พัฒนาโดยองค์การเภสัชกรรม อยู่ในขั้นทดสอบการกระตุ้นภูมิคุ้มกันเบื้องต้นในสัตว์ทดลอง ,ศูนย์วิจัยและพัฒนาวัคซีน มหาวิทยาลัยมหิดล อยู่ในขั้นพัฒนาวัคซีนตัวเลือกระดับห้องปฏิบัติการ
5.คล้ายอนุภาคไวรัส (Viral Like Particle:VLP) พัฒนาโดย คณะแพทยศาสตร์ ศิริราช และสวทช.อยู่ในขั้นทดสอบการกระตุ้นภูมิคุ้มกันเบื้องต้นในสัตว์ทดลอง
6.แบบใช้ไวรัสเป็นพาหะ (Viral vector) พัฒนาโดยสวทช. อยู่ในขั้นทดสอบการกระตุ้นภูมิคุ้มกันเบื้องต้นในสัตว์ทดลอง และ
7.แบบเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์(Live-attenuated) พัฒนาโดยสวทช.อยู่ในขั้นทดสอบการกระตุ้นภูมิคุ้มกันเบื้องต้นในสัตว์ทดลอง
“ในส่วนของวัคซีนแบบDNA มีความคืบหน้าเพิ่มเติมคือ ขณะนี้บริษัท ไบโอเนทฯ ได้รับทุนจากรัฐบาลออสเตรเลียให้ไปทำการทดสอบในคนระยะที่ 1 ที่ประเทศออสเตรเลีย เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการทดสอบในคนระยะที่ 1 ที่ประเทศออสเตรเลียก็จะกลับมาทดสอบในคนระยะที่ 2 ที่ประเทศไทย จากเดิมที่มีแผนจะทดสอบในคนระยะที่1ในประเทศไทยและทดสอบระยะที่ 2 ในต่างประเทศด้วย แต่ทุนจากประเทศออสเตรเลียได้รับการสนับสุนนอย่างรวดเร็ว ทางบริษัทฯจึงสามารถปรับแผนได้ระหว่างรอทดสอบในประเทศไทยก็ขยับไปทดสอบในคนที่ประเทศออสเตรียด้วย อย่างไรก็ตาม กรอบเวลาจะไม่คลาดเคลื่อนจะเตรียมการทดสอบในคนในประเทศไทยเหมือนเดิมในราวต้นปีหน้า”นพ.นครกล่าว
ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผู้อำนวยการบริหารโครงการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า วัคซีนแบบmRNA ที่ศูนย์ฯวิจัยพัฒนาคาดว่าจะเริ่มทดลองในอาสาสมัครคนไทยระยะที่ 1 ช่วงหลังสงกรานต์ หรือประมาณวันที่ 19 เม.ย.2564 เพื่อหาขนาดวัคซีนที่เหมาะสมในคนไทย อาสาสมัครไม่มาก โดยแบ่งเป็นกลุ่ม อาจกลุ่มละ 12 คน ตามกลุ่มอายุ เช่น อายุ 18-55 ปี จำนวน 36 คน ส่วนอายุมากกว่านั้นอีก 36 คน โดยจะแบ่งจำนวนโด๊สที่แตกต่างกันไป
และเมื่อทราบจำนวนโดสในแต่ละกลุ่มอายุ หลังจากนั้นประมาณเดือน มิ.ย.2564 จะเข้าสู่การทดลองในอาสาสมัครระยะที่ 2 จะแบ่งช่วงอายุละ 300 คน รวม 600 คน ซึ่งจะมีเกณฑ์การคัดเลือก โดยทางทีมวิจัยจะมีการประกาศต่อสาธารณะให้ทราบผ่านทางเฟซบุ๊ก หรือเว็บไซต์ ซึ่งจะมีคณะกรรมการคัดเลือก
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/908483
🔴มาลาริน/22พ.ย.ไทยพบโควิด11รายจากตปท.10 ราย ในปท. 1 ราย/WHOเผยโควิดพุ่งกว่าช่วง 6 เดือนแรกที่ระบาด/ความคืบหน้าวัคซีนไทย
วันนี้ (22 พ.ย.) เมื่อเวลา 11.00 น. ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รายงานถึงสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย ว่า....💌
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือ โควิด-19 ในไทยวันนี้ (22 พ.ย.) พบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 11 ราย
➡️ผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศและเข้า State Quarantine ดังนี้
ฝรั่งเศส 1 ราย
เนเธอร์แลนด์ 1 ราย
สวิตเซอร์แลนด์ 1 ราย
นอร์เวย์ 2 ราย
สหราชอาณาจักร 1 ราย
ฮังการี 2 ราย
สหรัฐอเมริกา 1 ราย
ผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ ดังนี้
เมียนมา 1 ราย
➡️ผู้ติดเชื้อในประเทศไทย ดังนี้
เมียนมา 1 ราย
ส่งผลให้ผู้ป่วยติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 3,913 ราย หายป่วยแล้ว 3,761 ราย โดยยังมีผู้ป่วยที่รักษาอาการอยู่ 92 คน ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม มีผู้เสียชีวิตรวม 60 ราย
https://www.sanook.com/news/8301387/
🔴อนามัยโลก เผย อัตราการติดเชื้อโควิด-19 พุ่งสูงกว่าช่วง 6 เดือนแรกของการระบาด
องค์การอนามัยโลกเปิดเผยว่า จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในช่วงเดือนที่ผ่านมามีอัตราเพิ่มขึ้นสูงกว่าเมื่อช่วง 6 เดือนแรกที่มีการระบาดใหญ่ทั่วโลก
เทดรอส อัดฮานอม เกเบรเยซุส ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก กล่าวระหว่างการแถลงข่าวในวันศุกร์ จากนครเจนีวา ว่า....💌
โรงพยาบาลและห้องดูแลผู้ป่วยพิเศษในยุโรปและสหรัฐฯ กำลังเริ่มมีปัญหาไม่สามารถรับผู้ป่วยเพิ่มได้แล้ว
ในส่วนของข่าวดีนั้น ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก กล่าวาว่า การที่โครงการพัฒนาวัคซีนต้านโควิด-19 จำนวน 2 โครงการประกาศความสำเร็จในการทดสอบของตน โดยมีหนึ่งสูตรที่กำลังเร่งขออนุมัติการใช้งานเป็นการฉุกเฉิน ทำให้โลกเริ่มมีความหวังว่าจะได้ผ่านพ้นวิกฤตนี้ในไม่ใช้ แต่ก็เตือนว่า ประชาชนยังคงต้องดำเนินตามหลักปฏิบัติต่างๆ ที่ดำเนินอยู่ในช่วงนี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสและช่วยไม่ให้มีผู้ต้องตกเป็นเหยื่อและเสียชีวิตต่อไป
นอกจากนั้น เกเบรเยซุส ยังได้พูดถึงรายงานฉบับใหม่เกี่ยวกับ การดื้อยาของเชื้อโรค หรือ Antimicrobial Resistance (AMR) ที่เกิดขึ้นทั่วโลก และวิธีที่จะควบคุมปัญหานี้
ในรายงานดังกล่าว องค์การอนามัยโลกชี้ว่า สารต้านจุลินทรีย์ หรือ สารยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ เช่น ยาปฏิชีวนะ ที่ใช้ในมนุษย์และสัตว์ หรือ ยาฆ่าแมลงที่ใช้ในงานด้านการเกษตร ที่ใช้กันอย่างผิดๆ อาจทำให้ แบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา และปรสิตต่างๆ พัฒนาความสามารถต่อต้านสารนี้ออกมา และทำให้ยาหลายตัวไม่มีประสิทธิภาพในการรักษาได้ รวมทั้งทำให้การรักษาอาการติดเชื้อหลายแบบยากขึ้น ส่งผลให้มีความเสี่ยงของการแพร่กระจายโรค การเจ็บป่วย และการเสียชีวิตได้
เกเบรเยซุส กล่าวว่า ขณะที่การระบาดใหญ่ทั่วโลกของโควิด-19 เป็นเหมือนเครื่องเตือนใจว่า มนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกันมากเพียงใด ทุกคนควรตระหนักถึงอันตรายของการดื้อยาของเชื้อโรค ที่อาจดูไม่ใช่เรื่องด่วนที่ต้องกังวลในเวลานี้
https://www.sanook.com/news/8301319/
🔴เผยความคืบหน้า“7วัคซีนโควิด-19ในไทย”
ขณะที่ในต่างประเทศมีการเปิดเผยถึงการวิจัยพัฒนาวัคซีนโควิด-19 แบบmRNAที่มีประสิทธิภาพสูง สำหรับในประเทศไทยมีการพัฒนาแบบเดียวกัน คาดทดลองในคนไทยระยะ1ช่วงหลังสงกรานต์ปีหน้า ส่วนแบบDNAเตรียมทดลองในคนระยะที่1 ที่ออสเตรเลีย ก่อนกลับมาทดลองในไทยต้นปี2564
➡️นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ กล่าวว่า การวิจัยพัฒนาวัคซีนโควิด-19ในประเทศไทย ปัจจุบันมีวัคซีนต้นแบบที่พัฒนาโดยนักวิจัยจำนวน 7 แพลตฟอร์ม รวมกว่า 20 ชนิดที่กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนา ประกอบด้วย...💌
1.แบบmRNA พัฒนาโดยศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางวิจัยและพัฒนาวัคซีน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งอยู่ในขั้นตอนเตรียมการทดลองในมนุษย์ระยะที่หนึ่ง
2. แบบ DNA พัฒนาโดยบริษัท ไบโอเนท-เอเชีย จำกัด อยู่ระหว่างการเตรียมการทดลองในมนุษย์เช่นเดียวกัน โดยจะไปทดลองระยะที่ 1 ในประเทศออสเตรเลีย
3.แบบโปรตีนซับยูนิต(Protein Subunit) พัฒนาโดยบริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด ผ่านขั้นตอนทดสอบประสิทธิภาพ/ความปลอดภัยในสัตว์ทดลอง, สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ อยู่ในขั้นทดสอบการกระตุ้นภูมิคุ้มกันเบื้องต้นในสัตว์ทดลอง
4.วัคซีนเชื้อตาย(Inactivated) พัฒนาโดยองค์การเภสัชกรรม อยู่ในขั้นทดสอบการกระตุ้นภูมิคุ้มกันเบื้องต้นในสัตว์ทดลอง ,ศูนย์วิจัยและพัฒนาวัคซีน มหาวิทยาลัยมหิดล อยู่ในขั้นพัฒนาวัคซีนตัวเลือกระดับห้องปฏิบัติการ
5.คล้ายอนุภาคไวรัส (Viral Like Particle:VLP) พัฒนาโดย คณะแพทยศาสตร์ ศิริราช และสวทช.อยู่ในขั้นทดสอบการกระตุ้นภูมิคุ้มกันเบื้องต้นในสัตว์ทดลอง
6.แบบใช้ไวรัสเป็นพาหะ (Viral vector) พัฒนาโดยสวทช. อยู่ในขั้นทดสอบการกระตุ้นภูมิคุ้มกันเบื้องต้นในสัตว์ทดลอง และ
7.แบบเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์(Live-attenuated) พัฒนาโดยสวทช.อยู่ในขั้นทดสอบการกระตุ้นภูมิคุ้มกันเบื้องต้นในสัตว์ทดลอง
“ในส่วนของวัคซีนแบบDNA มีความคืบหน้าเพิ่มเติมคือ ขณะนี้บริษัท ไบโอเนทฯ ได้รับทุนจากรัฐบาลออสเตรเลียให้ไปทำการทดสอบในคนระยะที่ 1 ที่ประเทศออสเตรเลีย เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการทดสอบในคนระยะที่ 1 ที่ประเทศออสเตรเลียก็จะกลับมาทดสอบในคนระยะที่ 2 ที่ประเทศไทย จากเดิมที่มีแผนจะทดสอบในคนระยะที่1ในประเทศไทยและทดสอบระยะที่ 2 ในต่างประเทศด้วย แต่ทุนจากประเทศออสเตรเลียได้รับการสนับสุนนอย่างรวดเร็ว ทางบริษัทฯจึงสามารถปรับแผนได้ระหว่างรอทดสอบในประเทศไทยก็ขยับไปทดสอบในคนที่ประเทศออสเตรียด้วย อย่างไรก็ตาม กรอบเวลาจะไม่คลาดเคลื่อนจะเตรียมการทดสอบในคนในประเทศไทยเหมือนเดิมในราวต้นปีหน้า”นพ.นครกล่าว
ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผู้อำนวยการบริหารโครงการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า วัคซีนแบบmRNA ที่ศูนย์ฯวิจัยพัฒนาคาดว่าจะเริ่มทดลองในอาสาสมัครคนไทยระยะที่ 1 ช่วงหลังสงกรานต์ หรือประมาณวันที่ 19 เม.ย.2564 เพื่อหาขนาดวัคซีนที่เหมาะสมในคนไทย อาสาสมัครไม่มาก โดยแบ่งเป็นกลุ่ม อาจกลุ่มละ 12 คน ตามกลุ่มอายุ เช่น อายุ 18-55 ปี จำนวน 36 คน ส่วนอายุมากกว่านั้นอีก 36 คน โดยจะแบ่งจำนวนโด๊สที่แตกต่างกันไป
และเมื่อทราบจำนวนโดสในแต่ละกลุ่มอายุ หลังจากนั้นประมาณเดือน มิ.ย.2564 จะเข้าสู่การทดลองในอาสาสมัครระยะที่ 2 จะแบ่งช่วงอายุละ 300 คน รวม 600 คน ซึ่งจะมีเกณฑ์การคัดเลือก โดยทางทีมวิจัยจะมีการประกาศต่อสาธารณะให้ทราบผ่านทางเฟซบุ๊ก หรือเว็บไซต์ ซึ่งจะมีคณะกรรมการคัดเลือก
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/908483