วันนี้ ( 27 เม.ย. 63 )นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
กล่าวถึงการตรวจวิเคราะห์รหัสพันธุกรรมเชื้อไวรัสโคโรนา2019(โควิด-19) ว่า
ธรรมชาติของเชื้อไวรัสสามารถกลายพันธุ์ได้ตลอดเวลา แต่ช้ากว่าไข้หวัดใหญ่
ซึ่งจากการศึกษาเบื้องต้นพบว่าไวรัสโคโรนา2019กลายพันธุ์น้อยมาก
ยังไม่มีนัยสำคัญว่าการกลายพันธุ์ทำให้เชื้อรุนแรงขึ้นหรือติดง่ายขึ้น
ซึ่งขณะนี้ได้มีการนำเชื้อจากผู้ป่วยมาตรวจสอบและวิเคราะห์ 20 ตัวอย่าง และกำลังจะวิเคราะห์ให้ครบ 40 ตัวอย่าง
โดยคณะผู้วิจัย ทั้งกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ โรงพยาบาลศิริราช
จะพยายามศึกษาติดตามถอดรหัสพันธุกรรมให้มากที่สุด เพื่อติดตามความรุนแรงต่อไป
ซึ่งจะส่งผลต่อข้อมูลเพื่อนำไปพัฒนาวัคซีนหรือวิธีการตรวจใหม่ๆ ด้วย
สำหรับความคืบหน้าการพัฒนาวัคซีน COVID-19 ขณะนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีการทดสอบในสัตว์
และได้ส่งตัวอย่างเลือดของสัตว์ มาให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตรวจวิเคราะห์ ว่า
เลือดดังกล่าวสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันขึ้นหรือไม่ คาดว่า จะทราบผลในสัปดาห์หน้า
ซึ่งหากภูมิคุ้มกันขึ้นก็จะสามารถนำไปสู่กระบวนการทดสอบในคนต่อไป
ส่วนกรณีที่โรงพยาบาลศิริราช ได้ขอให้เพาะเชื้อฯเพิ่มนั้น ทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
ได้รับไปพัฒนาวัคซีนแล้ว และอยู่ระหว่างการทดลอง
หนึ่งข่าวดีในวันนี้....ความหวัง! ไทยลุ้นผลวิจัยวัคซีน โควิด-19 ของจุฬาฯ ก่อนทดลองในคน
กล่าวถึงการตรวจวิเคราะห์รหัสพันธุกรรมเชื้อไวรัสโคโรนา2019(โควิด-19) ว่า
ธรรมชาติของเชื้อไวรัสสามารถกลายพันธุ์ได้ตลอดเวลา แต่ช้ากว่าไข้หวัดใหญ่
ซึ่งจากการศึกษาเบื้องต้นพบว่าไวรัสโคโรนา2019กลายพันธุ์น้อยมาก
ยังไม่มีนัยสำคัญว่าการกลายพันธุ์ทำให้เชื้อรุนแรงขึ้นหรือติดง่ายขึ้น
ซึ่งขณะนี้ได้มีการนำเชื้อจากผู้ป่วยมาตรวจสอบและวิเคราะห์ 20 ตัวอย่าง และกำลังจะวิเคราะห์ให้ครบ 40 ตัวอย่าง
โดยคณะผู้วิจัย ทั้งกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ โรงพยาบาลศิริราช
จะพยายามศึกษาติดตามถอดรหัสพันธุกรรมให้มากที่สุด เพื่อติดตามความรุนแรงต่อไป
ซึ่งจะส่งผลต่อข้อมูลเพื่อนำไปพัฒนาวัคซีนหรือวิธีการตรวจใหม่ๆ ด้วย
สำหรับความคืบหน้าการพัฒนาวัคซีน COVID-19 ขณะนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีการทดสอบในสัตว์
และได้ส่งตัวอย่างเลือดของสัตว์ มาให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตรวจวิเคราะห์ ว่า
เลือดดังกล่าวสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันขึ้นหรือไม่ คาดว่า จะทราบผลในสัปดาห์หน้า
ซึ่งหากภูมิคุ้มกันขึ้นก็จะสามารถนำไปสู่กระบวนการทดสอบในคนต่อไป
ส่วนกรณีที่โรงพยาบาลศิริราช ได้ขอให้เพาะเชื้อฯเพิ่มนั้น ทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
ได้รับไปพัฒนาวัคซีนแล้ว และอยู่ระหว่างการทดลอง