ไทยพบผู้ติดเชื้อ 'โควิด-19' เพิ่ม 5 ราย เป็นคนไทย 4 ราย ต่างชาติ 1 ราย
เมื่อวันที่ 19 ต.ค. 63 เพจเฟซบุ๊ก ศูนย์ข้อมูล COVID-19 รายงานสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประจำวัน ว่า ประเทศไทยพบจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 5 ราย ทำให้ยอดผู้ป่วยยืนยันสะสมอยู่ที่ 3,691 ราย ไม่พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม รวมยอดผู้เสียชีวิต 59 ราย ผู้ป่วยที่รักษาหายแล้ว 3,488 ราย ยังคงรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 144 ราย
ทั้งนี้ ผู้ป่วยรายใหม่ 5 ราย เป็นคนไทย 4 ราย และ สัญชาติเคนยา 1 ราย ทั้งหมดเดินทางมาจากต่างประเทศ จาก คูเวต 1 ราย ตุรกี 1 ราย ญี่ปุ่น 1 ราย เคนยา 1 ราย และ บาห์เรน 1 ราย เข้าพักสถานที่กักกันที่รัฐจัดให้ (State Quarantine , Alternative State Quarantine, Alternative Hospital Quarantine)
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/903329
มาเลเซียติดโควิดอีก 865 คน รัฐชั่งใจเพิ่มคุมเข้ม
รัฐบาลมาเลเซียพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่เพิ่มขึ้น 865 คน ด้านรัฐบาลกำลังพิจารณา จะยกระดับมาตรการควบคุมทางสังคมในเมืองใหญ่บางแห่งอีกหรือไม่
ทั้งนี้ ผลการสอบสวนโรคของผู้ป่วยกลุ่มล่าสุดปรากฏว่า เป็นผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศเพียง 7 คน เท่ากับที่เหลืออีก 858 คน ได้รับเชื้อจากภายในประเทศ ขณะที่พื้นที่วิกฤติยังคงเป็นรัฐซาบาห์ รัฐสลังงอร์ กรุงกัวลาลัมเปอร์ และเมืองปุตราจายา
ด้านนายอิสมาอิล ยาค็อบ รมว.กระทรวงกลาโหมของมาเลเซีย ในฐานะที่ปรึกษาอาวุโสของคณะทำงานตอบสนองต่อวิกฤติโรคโควิด-19 กล่าวว่ารัฐบาลขอความร่วมมือผู้ประกอบการเอกชน จัดสรรระบบการทำงานภายในองค์กร ให้พนักงานสามารถทำงานจากที่บ้านได้มากขึ้น เพื่อลดความแออัดตามสถานที่สาธารณะและระบบขนส่งมวลชน
ขณะเดียวกัน มีรายงานงานว่ารัฐบาลกำลังพิจารณายกระดับมาตรการควบคุมทางสังคม ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ เมืองปุตราจายา และรัฐสลังงอร์ โดยมาตรการปัจจุบันจะครบกำหนด 2 สัปดาห์ ในวันที่ 27 ต.ค.นี้
อ่านต่อที่ :
https://www.dailynews.co.th/foreign/802024
‘
ไทย’ มอบหน้ากากอนามัย ‘เมียนมา’ 1 ล้านชิ้น ป้องโควิด
กระทรวงการต่างประเทศ” ส่งมอบหน้ากากอนามัยให้รัฐบาลเมียนนมา 1 ล้านชิ้น โดยได้รับการสนับสนุนจากซีพี พร้อมประกาศความร่วมมือสาธารณสุขไทย-เมียนมา ฝ่าโควิด-19 ร่วมกัน
กระทรวงการต่างประเทศรับมอบหน้ากากอนามัยจำนวน 1 ล้านชิ้นจากบริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด โดยนายเนติธร ประดิษฐ์สาร ผู้ช่วยบริหารประธานคณะผู้บริหารและรองกรรมการผู้จัดการอาวุโส สำนักความร่วมมือระหว่างประเทศ ด้านความยั่งยืนและสื่อสารองค์กร เพื่อส่งมอบให้รัฐบาลเมียนมาในนามรัฐบาลไทย เพื่อช่วยเหลือเมียนมาในการรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) โดยนายชุตินทร คงศักดิ์ รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้แทนรับมอบ ที่กระทรวงการต่างประเทศ
ไทยตระหนักถึงความจำเป็นในการเสริมสร้างขีดความสามารถของเมียนมา ซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประเทศไทย ในการรับมือกับสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ เพี่อชะลอการระบาดออกไปในวงกว้าง โดยกระทรวงการต่างประเทศได้ให้การสนับสนุนรัฐบาลเมียนมาทางการเงิน และร่วมมือกับภาคเอกชนไทยในลักษณะ Public Private Partnership (PPP) ที่มีความประสงค์จะให้การสนับสนุนอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้แก่รัฐบาลเมียนมา
ด้านนายชุตินทร ได้กล่าวขอบคุณบริษัท และเน้นย้ำถึงความสำคัญของการช่วยเหลือกันในสถานการณ์ที่ยากลำบาก พร้อมกับกล่าวด้วยว่า กระทรวงการต่างประเทศยังร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ ได้แก่ 1.จัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นเร่งด่วน รวมถึงพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการแพทย์ ภายใต้แผนงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาไทย-เมียนมา ระยะ 3 ปี สาขาสาธารณสุข และในกรอบอื่น ๆ อาทิ ชุด PPE ที่ใช้ในห้องปฏิบัติการและการตรวจรักษาโรค เครื่อง RT-PCR แบบเคลื่อนย้ายและพกพาได้สำหรับจุดผ่านแดนสากลและตามแนวชายแดนไทย-เมียนมา อุปกรณ์สำหรับห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่ และห้องตรวจเชื้อความดันลบหรือบวกแบบเคลื่อนที่ได้ และ2.จัดกิจกรรมการฝึกอบรมทางไกลเพื่อสนับสนุนการพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรทางการแพทย์ให้แก่เมียนมา และพัฒนาองค์ความรู้ในการรับมือกับโรคโควิด-19
นอกจากนี้ กระทรวงฯ มีแผนจะเป็นการให้คำปรึกษาทางการแพทย์แบบ Real Time เพื่อเปิดช่องทางให้แพทย์เมียนมาและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไทยให้การปรึกษาในการรักษาและอภิบาลผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพและลดอัตราการเสียชีวิต
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/903381
3 'วัคซีนโควิด19'ในไทย เตรียมเข้าสู่ทดลองในคนระยะ1
สธ.ยัน “ทีมไทยแลนด์”ลุยจัดหาวัคซีนโควิด19 คาดคนไทยได้ใช้หลังต่างประเทศวิจัยสำเร็จเร็วสุดใน 3 -6 เดือนราวมิ.ย.64 ส่วนวิจัยของไทยเข้าสู่การทดสอบในคนระยะ1 มี 3 เทคโนโลยี ย้ำไทยไม่ได้ล่าช้า
เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2563 ที่กรทรวงสาธารณสุข(สธ.) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(รมว.สธ.) แถลงข่าว “ความคืบหน้าการจัดหาวัคซีนโควิด19 ของประชาชนไทย”ว่า...🔻
รัฐบาลให้ความสำคัญกับการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด 19 ได้จัดสรรงบประมาณสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาวัคซีนโควิด 19 เพื่อให้คนไทยเข้าถึงวัคซีน ตั้งเป้าหมายครอบคลุมประชากรไทย 50% โดยทีมประเทศไทยกระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ได้ร่วมกันเร่งรัดการจัดหาวัคซีนโควิด 19 ใน 3 แนวทาง คือ...🔺️
1.จัดหาวัคซีนโควิด 19 โดยการจองล่วงหน้าผ่าน COVAX Facility และการตกลงแบบทวิภาคี (Bilateral Agreement) ซึ่งสธ.ได้ส่งหนังสือแสดงเจตนารมณ์เข้าร่วม เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2563 และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อและบริหารจัดการวัคซีนในประเทศ เร่งประสานความร่วมมือเพื่อให้ประเทศสามารถเข้าถึงวัคซีนโควิด 19 ได้
2.การเจรจาขอความร่วมมือรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตวัคซีนโควิด 19 จากต่างประเทศ กับผู้ผลิตวัคซีนที่กำลังทดสอบวัคซีนในคนระยะที่ 3 ทั้งในเอเชียและยุโรปเพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าถึงวัคซีนของประชาชนไทยมากยิ่งขึ้น รวมถึง ความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข สยามไบโอไซเอนซ์ เอสซีจี และแอสตราเซนเนกา ในการลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนง (Letter of Intent) ในการผลิตและจัดสรรวัคซีนวิจัยป้องกันโควิด 19 ชนิด Adenoviral vector (AZD1222) ที่พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2563
และ3.การพัฒนาวัคซีนเองในประเทศ มีทั้งหมด 7 เทคโนโลยีการผลิต โดยการวิจัยที่มีความก้าวหน้ามากที่สุด และอยู่ระหว่างเตรียมเข้าสู่การทดสอบในมนุษย์ระยะที่ 1 มี 3 เทคโนโลยีการผลิต ได้แก่....🔺️
🔶️วัคซีนชนิด mRNA ซึ่งพัฒนาโดยศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางการวิจัยและพัฒนาวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
🔶️วัคซีนชนิด DNA โดยบริษัท ไบโอเนท-เอเซีย จำกัด และ
🔶️วัคซีนที่ใช้เทคโนโลยีการสกัดโปรตีนจากพืช (Plant based) โดยคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริษัท ใบยาไฟโตฟาร์ม จำกัด ซึ่งผู้วิจัยได้หารือกับหน่วยงานด้านควบคุมกำกับคุณภาพวัคซีนของประเทศอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การพัฒนาวัคซีนโควิด 19 อยู่บนกฎเกณฑ์ที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล
ด้าน นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ กล่าวว่า ในการจัดหาวัคซีนให้ได้50%ของประชากรไทย จะแบ่งสัดส่วนออกเป็น ...🔻
🔶️1. การจองวัคซีนกับโครงการ COVAX facility ประมาณ 20 % อยู่ระหว่างการเจรจาจองวัคซีน ซึ่งหากบริษัทใดกว่า 20 ประเทศทำเสร็จ ก็คาดว่าไทยจะได้ใช้ไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ซึ่งตามไทม์ไลน์ตั้งไว้ไม่น่าเกินกลางปี 2564 แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับผู้ผลิตวัคซีนว่าสำเร็จเมื่อไหร่
🔶️2.จากแอสตราเซนเนกาและมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดอีก 20% ได้มีการมาสำรวจในประเทศไทยว่าโรงงานใดมีศักยภาพ พบว่าสยามไบโอไซเอนซ์ มีประสิทธิภาพในการผลิตได้ถึง 200 ล้านโดส จึงมีการคัดเลือก
ทั้งนี้ ตามไทม์ไลน์ของแอสตราเซนเนกาต้องผ่านการทดสอบระยะ 3 และผลิตได้ในเดือนธันวาคม 2563 จากนั้นต้องขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.)ประเทศต้นทาง คือ อังกฤษ และต้องขึ้นทะเบียน อย.ในไทย ซึ่งหากผ่านกระบวนการต่างๆ แล้ว ไทยจะได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและพร้อมผลิตได้ประมาณเดือน มิถุนายน 2564 และ
🔶️3. อีก 10% เป็นการเจรจาวัคซีนกับแหล่งอื่นๆ ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้กำหนดราคาชัดเจน แต่เบื้องต้นในส่วนของ COVAX facility ราคาหน้าโรงงานอยู่ที่ 10.55 ดอลลาร์สหรัฐต่อโดส แต่ในส่วนของแอสตราเซนเนกา คาดว่าต้องราคาถูกกว่านี้ เนื่องจากคิดราคาต้นทุนเท่านั้น ไม่บวกกำไร
นพ.นคร กล่าวถึงความคืบหน้าการพัฒนาวัคซีนในประเทศไทยว่า ในส่วนของการผลิตวัคซีนโควิด19ของประเทศไทยนั้น จะมีการทดลองในคนระยะที่ 1 และ 2 หากใช้ได้ผลดีกระตุ้นภูมิคุ้มกันดี ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนนำผลมาเทียบเคียงกับต่างประทศที่มีการศึกษาได้ผลระยะที่ 3 แล้ว จากนั้นก็ต้องดำเนินการเสนอขออนุญาตการผลิตต่ออย. เนื่องจากประเทศไทยไม่ได้มีพื้นที่การระบาดที่จะทดลองในคนระยะที่ 3 ซึ่งต้องทำในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค อย่างไรก็ตาม ได้มีการเจรจาเบื้องต้นกับประเทศในอาเซียนที่ยังมีการระบาดของโรคโคสิด19ต่อเนื่องเช่นกัน เพื่อทดลองในคนระยะที่ 3 แต่ยังไม่สามารถระบุชื่อประเทศ ไทยต้องดูสถานการณ์การระบาดในช่วงครึ่งปีหน้าอีกครั้ง
นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ขณะนี้อาจจะมีข่าวประเทศนั้นประเทศนี้มีการฉีดวัคซีนแล้ว แต่ในความเป็นจริงวันนี้ยังไม่มีวัคซีนประเทศใดที่ผ่านการวิจัยในคนระยะที่ 3แล้วได้ผลไม่ว่าจะเป็นประเทศรัสเซียหรือจีน ที่มีการฉีดนั้นเป็นไปในเงื่อนไขจำกัดเฉพาะประชากรบางกลุ่ม ซึ่งประเทศไทยยังไม่ยอมรับมาให้คนไทยเสี่ยง ขอย้ำว่าการวิจัยวัคซีนที่ก้าวหน้าที่สุดยังอยู่ในการวิจัยในคนระยะที่ 3 เพื่อดูความปลอดภัยและประสิทธิผลป้องกันโรค เพราะฉะนั้นประเทศไทยไม่ได้ดำเนินการล่าช้าในเรื่องการจัดหาวัคซีนโควิด19
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/903395
🔴มาลาริน/19 ต.ค.ไทยพบโควิด 5 รายจากตปท./มาเลเซียติดโควิดอีก 865 คน/ไทยมอบหน้ากากอนามัยพม่า1ล้านชิ้น/คืบหน้า3วัคซีนในไทย
เมื่อวันที่ 19 ต.ค. 63 เพจเฟซบุ๊ก ศูนย์ข้อมูล COVID-19 รายงานสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประจำวัน ว่า ประเทศไทยพบจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 5 ราย ทำให้ยอดผู้ป่วยยืนยันสะสมอยู่ที่ 3,691 ราย ไม่พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม รวมยอดผู้เสียชีวิต 59 ราย ผู้ป่วยที่รักษาหายแล้ว 3,488 ราย ยังคงรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 144 ราย
ทั้งนี้ ผู้ป่วยรายใหม่ 5 ราย เป็นคนไทย 4 ราย และ สัญชาติเคนยา 1 ราย ทั้งหมดเดินทางมาจากต่างประเทศ จาก คูเวต 1 ราย ตุรกี 1 ราย ญี่ปุ่น 1 ราย เคนยา 1 ราย และ บาห์เรน 1 ราย เข้าพักสถานที่กักกันที่รัฐจัดให้ (State Quarantine , Alternative State Quarantine, Alternative Hospital Quarantine)
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/903329
มาเลเซียติดโควิดอีก 865 คน รัฐชั่งใจเพิ่มคุมเข้ม
รัฐบาลมาเลเซียพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่เพิ่มขึ้น 865 คน ด้านรัฐบาลกำลังพิจารณา จะยกระดับมาตรการควบคุมทางสังคมในเมืองใหญ่บางแห่งอีกหรือไม่
ทั้งนี้ ผลการสอบสวนโรคของผู้ป่วยกลุ่มล่าสุดปรากฏว่า เป็นผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศเพียง 7 คน เท่ากับที่เหลืออีก 858 คน ได้รับเชื้อจากภายในประเทศ ขณะที่พื้นที่วิกฤติยังคงเป็นรัฐซาบาห์ รัฐสลังงอร์ กรุงกัวลาลัมเปอร์ และเมืองปุตราจายา
ด้านนายอิสมาอิล ยาค็อบ รมว.กระทรวงกลาโหมของมาเลเซีย ในฐานะที่ปรึกษาอาวุโสของคณะทำงานตอบสนองต่อวิกฤติโรคโควิด-19 กล่าวว่ารัฐบาลขอความร่วมมือผู้ประกอบการเอกชน จัดสรรระบบการทำงานภายในองค์กร ให้พนักงานสามารถทำงานจากที่บ้านได้มากขึ้น เพื่อลดความแออัดตามสถานที่สาธารณะและระบบขนส่งมวลชน
ขณะเดียวกัน มีรายงานงานว่ารัฐบาลกำลังพิจารณายกระดับมาตรการควบคุมทางสังคม ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ เมืองปุตราจายา และรัฐสลังงอร์ โดยมาตรการปัจจุบันจะครบกำหนด 2 สัปดาห์ ในวันที่ 27 ต.ค.นี้
อ่านต่อที่ : https://www.dailynews.co.th/foreign/802024
‘ไทย’ มอบหน้ากากอนามัย ‘เมียนมา’ 1 ล้านชิ้น ป้องโควิด
กระทรวงการต่างประเทศ” ส่งมอบหน้ากากอนามัยให้รัฐบาลเมียนนมา 1 ล้านชิ้น โดยได้รับการสนับสนุนจากซีพี พร้อมประกาศความร่วมมือสาธารณสุขไทย-เมียนมา ฝ่าโควิด-19 ร่วมกัน
กระทรวงการต่างประเทศรับมอบหน้ากากอนามัยจำนวน 1 ล้านชิ้นจากบริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด โดยนายเนติธร ประดิษฐ์สาร ผู้ช่วยบริหารประธานคณะผู้บริหารและรองกรรมการผู้จัดการอาวุโส สำนักความร่วมมือระหว่างประเทศ ด้านความยั่งยืนและสื่อสารองค์กร เพื่อส่งมอบให้รัฐบาลเมียนมาในนามรัฐบาลไทย เพื่อช่วยเหลือเมียนมาในการรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) โดยนายชุตินทร คงศักดิ์ รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้แทนรับมอบ ที่กระทรวงการต่างประเทศ
ไทยตระหนักถึงความจำเป็นในการเสริมสร้างขีดความสามารถของเมียนมา ซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประเทศไทย ในการรับมือกับสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ เพี่อชะลอการระบาดออกไปในวงกว้าง โดยกระทรวงการต่างประเทศได้ให้การสนับสนุนรัฐบาลเมียนมาทางการเงิน และร่วมมือกับภาคเอกชนไทยในลักษณะ Public Private Partnership (PPP) ที่มีความประสงค์จะให้การสนับสนุนอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้แก่รัฐบาลเมียนมา
ด้านนายชุตินทร ได้กล่าวขอบคุณบริษัท และเน้นย้ำถึงความสำคัญของการช่วยเหลือกันในสถานการณ์ที่ยากลำบาก พร้อมกับกล่าวด้วยว่า กระทรวงการต่างประเทศยังร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ ได้แก่ 1.จัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นเร่งด่วน รวมถึงพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการแพทย์ ภายใต้แผนงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาไทย-เมียนมา ระยะ 3 ปี สาขาสาธารณสุข และในกรอบอื่น ๆ อาทิ ชุด PPE ที่ใช้ในห้องปฏิบัติการและการตรวจรักษาโรค เครื่อง RT-PCR แบบเคลื่อนย้ายและพกพาได้สำหรับจุดผ่านแดนสากลและตามแนวชายแดนไทย-เมียนมา อุปกรณ์สำหรับห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่ และห้องตรวจเชื้อความดันลบหรือบวกแบบเคลื่อนที่ได้ และ2.จัดกิจกรรมการฝึกอบรมทางไกลเพื่อสนับสนุนการพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรทางการแพทย์ให้แก่เมียนมา และพัฒนาองค์ความรู้ในการรับมือกับโรคโควิด-19
นอกจากนี้ กระทรวงฯ มีแผนจะเป็นการให้คำปรึกษาทางการแพทย์แบบ Real Time เพื่อเปิดช่องทางให้แพทย์เมียนมาและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไทยให้การปรึกษาในการรักษาและอภิบาลผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพและลดอัตราการเสียชีวิต
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/903381
3 'วัคซีนโควิด19'ในไทย เตรียมเข้าสู่ทดลองในคนระยะ1
สธ.ยัน “ทีมไทยแลนด์”ลุยจัดหาวัคซีนโควิด19 คาดคนไทยได้ใช้หลังต่างประเทศวิจัยสำเร็จเร็วสุดใน 3 -6 เดือนราวมิ.ย.64 ส่วนวิจัยของไทยเข้าสู่การทดสอบในคนระยะ1 มี 3 เทคโนโลยี ย้ำไทยไม่ได้ล่าช้า
เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2563 ที่กรทรวงสาธารณสุข(สธ.) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(รมว.สธ.) แถลงข่าว “ความคืบหน้าการจัดหาวัคซีนโควิด19 ของประชาชนไทย”ว่า...🔻
รัฐบาลให้ความสำคัญกับการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด 19 ได้จัดสรรงบประมาณสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาวัคซีนโควิด 19 เพื่อให้คนไทยเข้าถึงวัคซีน ตั้งเป้าหมายครอบคลุมประชากรไทย 50% โดยทีมประเทศไทยกระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ได้ร่วมกันเร่งรัดการจัดหาวัคซีนโควิด 19 ใน 3 แนวทาง คือ...🔺️
1.จัดหาวัคซีนโควิด 19 โดยการจองล่วงหน้าผ่าน COVAX Facility และการตกลงแบบทวิภาคี (Bilateral Agreement) ซึ่งสธ.ได้ส่งหนังสือแสดงเจตนารมณ์เข้าร่วม เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2563 และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อและบริหารจัดการวัคซีนในประเทศ เร่งประสานความร่วมมือเพื่อให้ประเทศสามารถเข้าถึงวัคซีนโควิด 19 ได้
2.การเจรจาขอความร่วมมือรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตวัคซีนโควิด 19 จากต่างประเทศ กับผู้ผลิตวัคซีนที่กำลังทดสอบวัคซีนในคนระยะที่ 3 ทั้งในเอเชียและยุโรปเพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าถึงวัคซีนของประชาชนไทยมากยิ่งขึ้น รวมถึง ความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข สยามไบโอไซเอนซ์ เอสซีจี และแอสตราเซนเนกา ในการลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนง (Letter of Intent) ในการผลิตและจัดสรรวัคซีนวิจัยป้องกันโควิด 19 ชนิด Adenoviral vector (AZD1222) ที่พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2563
และ3.การพัฒนาวัคซีนเองในประเทศ มีทั้งหมด 7 เทคโนโลยีการผลิต โดยการวิจัยที่มีความก้าวหน้ามากที่สุด และอยู่ระหว่างเตรียมเข้าสู่การทดสอบในมนุษย์ระยะที่ 1 มี 3 เทคโนโลยีการผลิต ได้แก่....🔺️
🔶️วัคซีนชนิด mRNA ซึ่งพัฒนาโดยศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางการวิจัยและพัฒนาวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
🔶️วัคซีนชนิด DNA โดยบริษัท ไบโอเนท-เอเซีย จำกัด และ
🔶️วัคซีนที่ใช้เทคโนโลยีการสกัดโปรตีนจากพืช (Plant based) โดยคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริษัท ใบยาไฟโตฟาร์ม จำกัด ซึ่งผู้วิจัยได้หารือกับหน่วยงานด้านควบคุมกำกับคุณภาพวัคซีนของประเทศอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การพัฒนาวัคซีนโควิด 19 อยู่บนกฎเกณฑ์ที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล
ด้าน นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ กล่าวว่า ในการจัดหาวัคซีนให้ได้50%ของประชากรไทย จะแบ่งสัดส่วนออกเป็น ...🔻
🔶️1. การจองวัคซีนกับโครงการ COVAX facility ประมาณ 20 % อยู่ระหว่างการเจรจาจองวัคซีน ซึ่งหากบริษัทใดกว่า 20 ประเทศทำเสร็จ ก็คาดว่าไทยจะได้ใช้ไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ซึ่งตามไทม์ไลน์ตั้งไว้ไม่น่าเกินกลางปี 2564 แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับผู้ผลิตวัคซีนว่าสำเร็จเมื่อไหร่
🔶️2.จากแอสตราเซนเนกาและมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดอีก 20% ได้มีการมาสำรวจในประเทศไทยว่าโรงงานใดมีศักยภาพ พบว่าสยามไบโอไซเอนซ์ มีประสิทธิภาพในการผลิตได้ถึง 200 ล้านโดส จึงมีการคัดเลือก
ทั้งนี้ ตามไทม์ไลน์ของแอสตราเซนเนกาต้องผ่านการทดสอบระยะ 3 และผลิตได้ในเดือนธันวาคม 2563 จากนั้นต้องขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.)ประเทศต้นทาง คือ อังกฤษ และต้องขึ้นทะเบียน อย.ในไทย ซึ่งหากผ่านกระบวนการต่างๆ แล้ว ไทยจะได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและพร้อมผลิตได้ประมาณเดือน มิถุนายน 2564 และ
🔶️3. อีก 10% เป็นการเจรจาวัคซีนกับแหล่งอื่นๆ ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้กำหนดราคาชัดเจน แต่เบื้องต้นในส่วนของ COVAX facility ราคาหน้าโรงงานอยู่ที่ 10.55 ดอลลาร์สหรัฐต่อโดส แต่ในส่วนของแอสตราเซนเนกา คาดว่าต้องราคาถูกกว่านี้ เนื่องจากคิดราคาต้นทุนเท่านั้น ไม่บวกกำไร
นพ.นคร กล่าวถึงความคืบหน้าการพัฒนาวัคซีนในประเทศไทยว่า ในส่วนของการผลิตวัคซีนโควิด19ของประเทศไทยนั้น จะมีการทดลองในคนระยะที่ 1 และ 2 หากใช้ได้ผลดีกระตุ้นภูมิคุ้มกันดี ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนนำผลมาเทียบเคียงกับต่างประทศที่มีการศึกษาได้ผลระยะที่ 3 แล้ว จากนั้นก็ต้องดำเนินการเสนอขออนุญาตการผลิตต่ออย. เนื่องจากประเทศไทยไม่ได้มีพื้นที่การระบาดที่จะทดลองในคนระยะที่ 3 ซึ่งต้องทำในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค อย่างไรก็ตาม ได้มีการเจรจาเบื้องต้นกับประเทศในอาเซียนที่ยังมีการระบาดของโรคโคสิด19ต่อเนื่องเช่นกัน เพื่อทดลองในคนระยะที่ 3 แต่ยังไม่สามารถระบุชื่อประเทศ ไทยต้องดูสถานการณ์การระบาดในช่วงครึ่งปีหน้าอีกครั้ง
นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ขณะนี้อาจจะมีข่าวประเทศนั้นประเทศนี้มีการฉีดวัคซีนแล้ว แต่ในความเป็นจริงวันนี้ยังไม่มีวัคซีนประเทศใดที่ผ่านการวิจัยในคนระยะที่ 3แล้วได้ผลไม่ว่าจะเป็นประเทศรัสเซียหรือจีน ที่มีการฉีดนั้นเป็นไปในเงื่อนไขจำกัดเฉพาะประชากรบางกลุ่ม ซึ่งประเทศไทยยังไม่ยอมรับมาให้คนไทยเสี่ยง ขอย้ำว่าการวิจัยวัคซีนที่ก้าวหน้าที่สุดยังอยู่ในการวิจัยในคนระยะที่ 3 เพื่อดูความปลอดภัยและประสิทธิผลป้องกันโรค เพราะฉะนั้นประเทศไทยไม่ได้ดำเนินการล่าช้าในเรื่องการจัดหาวัคซีนโควิด19
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/903395