หนี้ครัวเรือน สูงสุดรอบ 18 ปีครั้งใหม่
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/905068
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า ตามข้อมูลเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือน หรือ “หนี้ครัวเรือน” ล่าสุดในไตรมาสสองปี 2563 จากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
สะท้อนว่า ยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนของไทยยังคงขยับขึ้นสวนทางเศรษฐกิจที่หดตัวจากผลของโควิด-19 ซึ่งส่งผลทำให้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนของไทยเพิ่มสูงขึ้น แตะระดับสูงสุดในรอบ 18 ปีครั้งใหม่ที่ 83.8% ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) และสูงขึ้นต่อเนื่องจากในไตรมาส 1ปี2563 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 80.1% ต่อจีดีพี
โดยเมื่อเทียบไตรมาสต่อไตรมาส พบว่า ยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้น 9.22 หมื่นล้านบาทในไตรมาส 2 ปี2563 นำโดย สถาบันการเงินเฉพาะกิจและธนาคารพาณิชย์ เร่งขึ้นจากที่เพิ่มเพียง 1.2 หมื่นล้านบาทในไตรมาส 1 ปี2563 โดยระดับหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นสวนทางเศรษฐกิจไทยที่หดตัว
สำหรับแนวโน้มหนี้ครัวเรือนของไทยในปี 2563 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยยังคงมุมมองเดิมว่า ปัญหาหนี้ครัวเรือนจะยังคงเป็นหนึ่งในมาตรวัดที่สะท้อนความเปราะบางเชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจไทย โดยหนี้ครัวเรือนมีแนวโน้มขยับขึ้นมาอยู่ที่กรอบ 88-90% ต่อจีดีพีในปี 2563 จากระดับ 83.8% ต่อจีดีพีในไตรมาส 2/2563 เนื่องจากเศรษฐกิจไทยยังมีแนวโน้มหดตัวลงในครึ่งปีหลัง
ศูนย์วิจัย ธ.ก.ส. เผย ภัยธรรมชาติตปท.-ลานีญ่าในไทย ดันราคายาง สินค้าเกษตร ขึ้น
https://www.matichon.co.th/economy/news_2421028
ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรม ธ.ก.ส. ชี้ภัยธรรมชาติในต่างประเทศ ภาวะตลาดโลก ปรากฏการณ์ลานีญาครึ่งปีหลังของไทยและมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวภายใน ส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรเดือนพฤศจิกายน 2563 ได้แก่ น้ำตาลทรายดิบ ยางพาราแผ่นดิบ มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน สุกร และกุ้งขาวแวนนาไม มีแนวโน้มราคาเพิ่มขึ้น ด้านข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกหอมมะลิ ข้าวเปลือกเหนียว ข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ มีแนวโน้มราคาปรับตัวลดลง
นาย
สมเกียรติ กิมาวหา รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรม ธ.ก.ส. คาดการณ์ราคาสินค้าเกษตรในเดือนพฤศจิกายน 2563 โดยสินค้าเกษตรที่มีแนวโน้มราคาปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ น้ำตาลทรายดิบตลาดนิวยอร์ก ราคาอยู่ที่ 14.79 - 14.87 เซนต์/ปอนด์ (10.24 – 10.29 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.50 – 1.00 เนื่องจากได้รับ แรงหนุนจากความกังวลกับสภาวะอากาศที่แห้งแล้งในประเทศบราซิลและสหภาพยุโรปอาจทำให้ผลผลิตอ้อยลดลงส่งผลให้ผลผลิตน้ำตาลลดลง ขณะที่มีความต้องการนำเข้าน้ำตาลของประเทศจีนเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามทิศทางราคาน้ำมันดิบที่ปรับลดลง อาจส่งผลให้ราคาน้ำตาลทรายดิบปรับลดลงได้ ยางพาราแผ่นดิบ ชั้น 3 ราคาอยู่ที่ 54.15 – 56.61 บาท/กก. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 4.11 – 8.85 เนื่องจากความต้องการใช้ยางพาราภายในประเทศและต่างประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ปริมาณผลผลิตยางพาราออกสู่ตลาดน้อยลงจากการขาดแคลนแรงงาน และยางแผ่นรมควันขาดตลาดเนื่องจากเกษตรกรหันไปขายน้ำยางพาราสดกันมากขึ้น มันสำปะหลัง ราคาอยู่ที่ 1.74 – 1.79 บาท/กก.เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.58 – 3.47 เนื่องจากเป็นช่วงเริ่มต้นฤดูกาลผลิตปี 2563/64 ผลผลิตออกสู่ตลาดยังไม่มาก ประกอบกับความต้องการผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังในการส่งออกเพิ่มสูงขึ้นจากตลาดประเทศจีนที่ต้องการนำไปทดแทนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่มีปริมาณสต็อกคงเหลือลดลง
ปาล์มน้ำมัน ราคาอยู่ที่ 5.20 – 5.40 บาท/กก. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 2.20 – 7.78 เนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง ประกอบกับราคาน้ำมันปาล์มดิบยังปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้น สุกร ราคาอยู่ที่ 78.34 – 78.84 บาท/กก. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.66 – 1.31 เนื่องจากความต้องการสุกรมีชีวิตจากประเทศเพื่อนบ้านยังคงมีอย่างต่อเนื่องจากการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ประกอบกับคาดว่าความต้องการเนื้อสุกรภายในประเทศจะเพิ่มขึ้น จากมาตรการวันหยุดเพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศ และกุ้งขาวแวนนาไม ราคาอยู่ที่ 133.25 – 134.00 บาท/กก. เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนร้อยละ 0.19 – 0.75 เนื่องจากอากาศที่เริ่มเย็นลงทำให้กุ้งเจริญเติบโตช้า เกษตรกรชะลอการเพาะเลี้ยงตามการแปรปรวนของภูมิอากาศในช่วงเปลี่ยนฤดูกาล ในขณะที่ความต้องการของตลาดโลกมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น ประกอบกับมาตรการวันหยุดเพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ ส่งผลให้ความต้องการกุ้งเพิ่มขึ้น
ด้านสินค้าเกษตรที่มีแนวโน้มราคาปรับตัวลดลง ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% ราคาอยู่ที่8,547 – 8,739 บาท/ตัน ลดลงจากเดือนก่อน ร้อยละ 1.45 – 3.62 เนื่องจากผลผลิตข้าวนาปีออกสู่ตลาดมากขึ้น ประกอบกับผู้นำเข้าข้าวบางส่วนยังคงมีสต็อกข้าวเพียงพอจึงชะลอการนำเข้าข้าว ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาอยู่ที่ 11,180 – 11,433 บาท/ตัน ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 4.20 – 6.31 ข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ราคาอยู่ที่ 12,112 – 12,332 บาท/ตัน ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 1.61 – 3.36 เนื่องจากการเข้าสู่ปรากฏการณ์ลานีญาในช่วงครึ่งปีหลังของประเทศไทย ทำให้ปริมาณน้ำเพียงพอต่อการเพาะปลูกข้าว โดยคาดว่าผลผลิต ข้าวนาปีส่วนใหญ่ที่จะออกสู่ตลาดเดือนพฤศจิกายน 2563 จะเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ประกอบกับโรงสียังคงประสบปัญหาสภาพคล่อง ทำให้ระบายข้าวหอมมะลิออกสู่ตลาดในช่วงนี้เพื่อรองรับข้าวฤดูกาลใหม่ และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ความชื้นไม่เกิน 14.5% ราคาอยู่ที่ 7.39 – 7.42 บาท/กก. ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.50 -1.00 เนื่องจากอยู่ในช่วงเก็บเกี่ยวข้าวโพดเลี้ยงสัตว์รุ่นแรกที่เก็บเกี่ยวผลผลิตได้มากขึ้น ส่งผลให้มีผลผลิตออกสู่ตลาดต่อเนื่อง
JJNY : หนี้ครัวเรือนสูงสุดรอบ18ปี/ธกส.เผย ภัยธรรมชาติตปท.-ลานีญ่าดันราคายาง/พรายพลมองGDPลบ8%/หมอเผยอาการ3แกนนำ ไมค์หนัก
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/905068
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า ตามข้อมูลเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือน หรือ “หนี้ครัวเรือน” ล่าสุดในไตรมาสสองปี 2563 จากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
สะท้อนว่า ยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนของไทยยังคงขยับขึ้นสวนทางเศรษฐกิจที่หดตัวจากผลของโควิด-19 ซึ่งส่งผลทำให้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนของไทยเพิ่มสูงขึ้น แตะระดับสูงสุดในรอบ 18 ปีครั้งใหม่ที่ 83.8% ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) และสูงขึ้นต่อเนื่องจากในไตรมาส 1ปี2563 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 80.1% ต่อจีดีพี
โดยเมื่อเทียบไตรมาสต่อไตรมาส พบว่า ยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้น 9.22 หมื่นล้านบาทในไตรมาส 2 ปี2563 นำโดย สถาบันการเงินเฉพาะกิจและธนาคารพาณิชย์ เร่งขึ้นจากที่เพิ่มเพียง 1.2 หมื่นล้านบาทในไตรมาส 1 ปี2563 โดยระดับหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นสวนทางเศรษฐกิจไทยที่หดตัว
สำหรับแนวโน้มหนี้ครัวเรือนของไทยในปี 2563 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยยังคงมุมมองเดิมว่า ปัญหาหนี้ครัวเรือนจะยังคงเป็นหนึ่งในมาตรวัดที่สะท้อนความเปราะบางเชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจไทย โดยหนี้ครัวเรือนมีแนวโน้มขยับขึ้นมาอยู่ที่กรอบ 88-90% ต่อจีดีพีในปี 2563 จากระดับ 83.8% ต่อจีดีพีในไตรมาส 2/2563 เนื่องจากเศรษฐกิจไทยยังมีแนวโน้มหดตัวลงในครึ่งปีหลัง
ศูนย์วิจัย ธ.ก.ส. เผย ภัยธรรมชาติตปท.-ลานีญ่าในไทย ดันราคายาง สินค้าเกษตร ขึ้น
https://www.matichon.co.th/economy/news_2421028
ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรม ธ.ก.ส. ชี้ภัยธรรมชาติในต่างประเทศ ภาวะตลาดโลก ปรากฏการณ์ลานีญาครึ่งปีหลังของไทยและมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวภายใน ส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรเดือนพฤศจิกายน 2563 ได้แก่ น้ำตาลทรายดิบ ยางพาราแผ่นดิบ มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน สุกร และกุ้งขาวแวนนาไม มีแนวโน้มราคาเพิ่มขึ้น ด้านข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกหอมมะลิ ข้าวเปลือกเหนียว ข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ มีแนวโน้มราคาปรับตัวลดลง
นายสมเกียรติ กิมาวหา รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรม ธ.ก.ส. คาดการณ์ราคาสินค้าเกษตรในเดือนพฤศจิกายน 2563 โดยสินค้าเกษตรที่มีแนวโน้มราคาปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ น้ำตาลทรายดิบตลาดนิวยอร์ก ราคาอยู่ที่ 14.79 - 14.87 เซนต์/ปอนด์ (10.24 – 10.29 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.50 – 1.00 เนื่องจากได้รับ แรงหนุนจากความกังวลกับสภาวะอากาศที่แห้งแล้งในประเทศบราซิลและสหภาพยุโรปอาจทำให้ผลผลิตอ้อยลดลงส่งผลให้ผลผลิตน้ำตาลลดลง ขณะที่มีความต้องการนำเข้าน้ำตาลของประเทศจีนเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามทิศทางราคาน้ำมันดิบที่ปรับลดลง อาจส่งผลให้ราคาน้ำตาลทรายดิบปรับลดลงได้ ยางพาราแผ่นดิบ ชั้น 3 ราคาอยู่ที่ 54.15 – 56.61 บาท/กก. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 4.11 – 8.85 เนื่องจากความต้องการใช้ยางพาราภายในประเทศและต่างประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ปริมาณผลผลิตยางพาราออกสู่ตลาดน้อยลงจากการขาดแคลนแรงงาน และยางแผ่นรมควันขาดตลาดเนื่องจากเกษตรกรหันไปขายน้ำยางพาราสดกันมากขึ้น มันสำปะหลัง ราคาอยู่ที่ 1.74 – 1.79 บาท/กก.เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.58 – 3.47 เนื่องจากเป็นช่วงเริ่มต้นฤดูกาลผลิตปี 2563/64 ผลผลิตออกสู่ตลาดยังไม่มาก ประกอบกับความต้องการผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังในการส่งออกเพิ่มสูงขึ้นจากตลาดประเทศจีนที่ต้องการนำไปทดแทนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่มีปริมาณสต็อกคงเหลือลดลง
ปาล์มน้ำมัน ราคาอยู่ที่ 5.20 – 5.40 บาท/กก. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 2.20 – 7.78 เนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง ประกอบกับราคาน้ำมันปาล์มดิบยังปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้น สุกร ราคาอยู่ที่ 78.34 – 78.84 บาท/กก. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.66 – 1.31 เนื่องจากความต้องการสุกรมีชีวิตจากประเทศเพื่อนบ้านยังคงมีอย่างต่อเนื่องจากการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ประกอบกับคาดว่าความต้องการเนื้อสุกรภายในประเทศจะเพิ่มขึ้น จากมาตรการวันหยุดเพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศ และกุ้งขาวแวนนาไม ราคาอยู่ที่ 133.25 – 134.00 บาท/กก. เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนร้อยละ 0.19 – 0.75 เนื่องจากอากาศที่เริ่มเย็นลงทำให้กุ้งเจริญเติบโตช้า เกษตรกรชะลอการเพาะเลี้ยงตามการแปรปรวนของภูมิอากาศในช่วงเปลี่ยนฤดูกาล ในขณะที่ความต้องการของตลาดโลกมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น ประกอบกับมาตรการวันหยุดเพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ ส่งผลให้ความต้องการกุ้งเพิ่มขึ้น
ด้านสินค้าเกษตรที่มีแนวโน้มราคาปรับตัวลดลง ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% ราคาอยู่ที่8,547 – 8,739 บาท/ตัน ลดลงจากเดือนก่อน ร้อยละ 1.45 – 3.62 เนื่องจากผลผลิตข้าวนาปีออกสู่ตลาดมากขึ้น ประกอบกับผู้นำเข้าข้าวบางส่วนยังคงมีสต็อกข้าวเพียงพอจึงชะลอการนำเข้าข้าว ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาอยู่ที่ 11,180 – 11,433 บาท/ตัน ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 4.20 – 6.31 ข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ราคาอยู่ที่ 12,112 – 12,332 บาท/ตัน ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 1.61 – 3.36 เนื่องจากการเข้าสู่ปรากฏการณ์ลานีญาในช่วงครึ่งปีหลังของประเทศไทย ทำให้ปริมาณน้ำเพียงพอต่อการเพาะปลูกข้าว โดยคาดว่าผลผลิต ข้าวนาปีส่วนใหญ่ที่จะออกสู่ตลาดเดือนพฤศจิกายน 2563 จะเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ประกอบกับโรงสียังคงประสบปัญหาสภาพคล่อง ทำให้ระบายข้าวหอมมะลิออกสู่ตลาดในช่วงนี้เพื่อรองรับข้าวฤดูกาลใหม่ และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ความชื้นไม่เกิน 14.5% ราคาอยู่ที่ 7.39 – 7.42 บาท/กก. ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.50 -1.00 เนื่องจากอยู่ในช่วงเก็บเกี่ยวข้าวโพดเลี้ยงสัตว์รุ่นแรกที่เก็บเกี่ยวผลผลิตได้มากขึ้น ส่งผลให้มีผลผลิตออกสู่ตลาดต่อเนื่อง