สืบเนื่องจากปัญหาอุทกภัยครั้งใหญ่เมื่อปี พ.ศ. 2538 และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทอดพระเนตรเห็นว่า ปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นนั้นเรื้อรังกว่า 2 เดือน ในวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 จึงมีพระราชดำริโครงการแก้มลิงขึ้นครั้งแรก เพื่อแก้ปัญหาอุทกภัย พร้อมทั้งช่วยอนุรักษ์น้ำและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนแนวคิดโครงการแก้มลิงเกิดจากการที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 มีพระราชดำรัสถึงลิงที่อมกล้วยไว้ในกระพุ้งแก้มได้คราวละมาก ๆ โดยมีพระราชกระแสอธิบายว่า
"ลิงโดยทั่วไปถ้าเราส่งกล้วยให้ ลิงจะรีบปอกเปลือก เอาเข้าปากเคี้ยว แล้วนำไปเก็บไว้ที่แก้มก่อน ลิงจะทำอย่างนี้จนกล้วยหมดหวีหรือเต็มกระพุ้งแก้ม จากนั้นจะค่อย ๆ นำออกมาเคี้ยวและกลืนกินภายหลัง"
โครงการแก้มลิงสร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมขัง โดยใช้หลักการทางธรรมชาติคือกักเก็บน้ำฝนเอาไว้ เพื่อรอเวลาระบายออก ซึ่งลักษณะการดำเนินงานของแก้มลิงจะมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
ลักษณะและวิธีการของโครงการแก้มลิง
1.ดำเนินการระบายน้ำออกจากพื้นที่ตอนบนให้ไหลไปตามคลองในแนวเหนือใต้ลงคลองพักน้ำขนาดใหญ่ที่บริเวณชายทะเล เช่น คลองชายทะเลของฝั่งตะวันออก ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นบ่อเก็บน้ำขนาดใหญ่ คือ แก้มลิง ต่อไป
2.เมื่อระดับน้ำทะเลลดต่ำลงกว่าระดับน้ำในคลองก็ทำการระบายน้ำจากคลองดังกล่าวออกทางประตูระบายน้ำโดยอาศัยทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของโลกตามธรรมชาติ
3.สูบน้ำออกจากคลองที่ทำหน้าที่แก้มลิงให้ระบายออกในระดับต่ำที่สุดออกสู่ทะเลเพื่อจะได้ทำให้น้ำตอนบนค่อยไหลมาเองอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ปริมาณน้ำท่วมพื้นที่ลดน้อยลง
4.เมื่อระดับน้ำทะเลสูงกว่าระดับน้ำในลำคลองให้ทำการปิดประตูระบายน้ำเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำทะเลไหลย้อนกลับโดยยึดหลักน้ำไหลทางเดียว
https://sites.google.com/site/10khorngkarphrarachdaari/10-khorngkar-thi-dod-den/2
โครงการเเก้มลิง
"ลิงโดยทั่วไปถ้าเราส่งกล้วยให้ ลิงจะรีบปอกเปลือก เอาเข้าปากเคี้ยว แล้วนำไปเก็บไว้ที่แก้มก่อน ลิงจะทำอย่างนี้จนกล้วยหมดหวีหรือเต็มกระพุ้งแก้ม จากนั้นจะค่อย ๆ นำออกมาเคี้ยวและกลืนกินภายหลัง"
โครงการแก้มลิงสร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมขัง โดยใช้หลักการทางธรรมชาติคือกักเก็บน้ำฝนเอาไว้ เพื่อรอเวลาระบายออก ซึ่งลักษณะการดำเนินงานของแก้มลิงจะมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
ลักษณะและวิธีการของโครงการแก้มลิง
1.ดำเนินการระบายน้ำออกจากพื้นที่ตอนบนให้ไหลไปตามคลองในแนวเหนือใต้ลงคลองพักน้ำขนาดใหญ่ที่บริเวณชายทะเล เช่น คลองชายทะเลของฝั่งตะวันออก ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นบ่อเก็บน้ำขนาดใหญ่ คือ แก้มลิง ต่อไป
2.เมื่อระดับน้ำทะเลลดต่ำลงกว่าระดับน้ำในคลองก็ทำการระบายน้ำจากคลองดังกล่าวออกทางประตูระบายน้ำโดยอาศัยทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของโลกตามธรรมชาติ
3.สูบน้ำออกจากคลองที่ทำหน้าที่แก้มลิงให้ระบายออกในระดับต่ำที่สุดออกสู่ทะเลเพื่อจะได้ทำให้น้ำตอนบนค่อยไหลมาเองอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ปริมาณน้ำท่วมพื้นที่ลดน้อยลง
4.เมื่อระดับน้ำทะเลสูงกว่าระดับน้ำในลำคลองให้ทำการปิดประตูระบายน้ำเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำทะเลไหลย้อนกลับโดยยึดหลักน้ำไหลทางเดียว
https://sites.google.com/site/10khorngkarphrarachdaari/10-khorngkar-thi-dod-den/2