ปัญหาน้ำท่วมในประเทศไทยเป็นปัญหาที่เรื้อรังมายาวนาน และตั้งแต่เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ในเขตกรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑลยาวนานกว่า 2 เดือน เมื่อปี พ.ศ. 2538 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 จึงมีพระราชดำริจัดทำโครงการแก้มลิง เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาอุทกภัย โดยอิงจากหลักการกินกล้วยของฝูงลิง
แนวคิดโครงการแก้มลิงเกิดจากการที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 มีพระราชดำรัสถึงลิงที่อมกล้วยไว้ในกระพุ้งแก้มได้คราวละมาก ๆ โดยมีพระราชกระแสอธิบายว่า
"ลิงโดยทั่วไปถ้าเราส่งกล้วยให้ ลิงจะรีบปอกเปลือก เอาเข้าปากเคี้ยว แล้วนำไปเก็บไว้ที่แก้มก่อน ลิงจะทำอย่างนี้จนกล้วยหมดหวีหรือเต็มกระพุ้งแก้ม จากนั้นจะค่อย ๆ นำออกมาเคี้ยวและกลืนกินภายหลัง"

โครงการแก้มลิงสร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมขัง โดยใช้หลักการทางธรรมชาติคือกักเก็บน้ำฝนเอาไว้ เพื่อรอเวลาระบายออก ซึ่งลักษณะการดำเนินงานของแก้มลิงจะมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
ลักษณะและวิธีการของโครงการแก้มลิง
1. ดำเนินการระบายน้ำออกจากพื้นที่ตอนบนให้ไหลไปตามคลองในแนวเหนือ-ใต้ ลงคลองพักน้ำขนาดใหญ่ที่บริเวณชายทะเล เช่น คลองชายทะเลของฝั่งตะวันออก ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นบ่อเก็บน้ำขนาดใหญ่ คือ แก้มลิง ต่อไป
2. เมื่อระดับน้ำทะเลลดต่ำลงกว่าระดับน้ำในคลอง ก็ทำการระบายน้ำจากคลองดังกล่าวออกทางประตูระบายน้ำ โดยอาศัยทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของโลก (Gravity Flow) ตามธรรมชาติ
3. สูบน้ำออกจากคลองที่ทำหน้าที่ �แก้มลิง� ให้ระบายออกในระดับต่ำที่สุดออกสู่ทะเล เพื่อจะได้ทำให้น้ำตอนบนค่อย ๆ ไหลมาเองอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ปริมาณน้ำท่วมพื้นที่ลดน้อยลง
4. เมื่อระดับน้ำทะเลสูงกว่าระดับน้ำในลำคลองให้ทำการปิดประตูระบายน้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำทะเลไหลย้อนกลับ โดยยึดหลักน้ำไหลทางเดียว (One Way Flow)
ประโยชน์ของโครงการแก้มลิง
แก้มลิง เป็นโครงการอเนกประสงค์สำคัญยิ่ง เพราะไม่เพียงแต่ช่วยบรรเทาอุทกภัยให้กับพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลเท่านั้น แต่ยังช่วยระบายน้ำจากภาคเหนือลงสู่อ่าวไทยตามจังหวะการขึ้นลงของระดับน้ำทะเล โดยอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลกและการสูบน้ำที่เหมาะสม ทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำตามคู คลองธรรมชาติในช่วงฤดูฝนอีกด้วย
นอกจากนี้โครงการแก้มลิงยังช่วยป้องกันการรุกล้ำของน้ำเค็มในช่วงฤดูแล้ง ไม่ให้น้ำเค็มจากทะเลไหลเข้าสู่แม่น้ำลำคลองและพื้นที่การเกษตร รวมทั้งแก้มลิงยังสามารถเก็บกักน้ำจืดไว้ด้านเหนือประตูระบายน้ำ ประชาชนจึงสามารถนำน้ำไปใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตรกรรมอุตสาหกรรม และการอุปโภคบริโภคอีกด้วย
ที่สำคัญโครงการแก้มลิงยังมีส่วนสำคัญในการช่วยอนุรักษ์น้ำและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากน้ำที่ถูกกักเก็บไว้ในแก้มลิงต่าง ๆ เมื่อถูกระบายสู่คู คลอง จะไปช่วยบำบัดน้ำเน่าเสียให้เจือจางลง กระทั่งผลักดันให้น้ำเน่าเสียเดิมที่มีอยู่ ถูกระบายออกไปได้ในที่สุด
โครงการแก้มลิงนับเป็นอีกหนึ่งโครงการพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ที่ช่วยให้ชาวไทยรอดพ้นจากปัญหาน้ำท่วม รวมไปถึงปัญหาขาดแคลนน้ำ แสดงถึงความห่วงใยที่พระองค์ทรงมีให้แก่พสกนิกรตลอดระยะเวลา 70 ปีที่ครองราชย์
และแม้วันนี้พระองค์จะเสด็จสู่สวรรคาลัย แต่พระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่จะสถิตอยู่ในใจคนไทยชั่วกาลนาน ไม่ต่างจากโครงการพระราชดำริต่าง ๆ ที่จะก่อเกิดประโยชน์แก่ลูกหลานเราสืบไป ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้
จัดทำโดยนักเรียน โรงเรียนตากพิทยาคม
โครงการแก้มลิง 'พระราชดำริจากพฤติกรรมของลิงโครงการแก้มลิง
ปัญหาน้ำท่วมในประเทศไทยเป็นปัญหาที่เรื้อรังมายาวนาน และตั้งแต่เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ในเขตกรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑลยาวนานกว่า 2 เดือน เมื่อปี พ.ศ. 2538 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 จึงมีพระราชดำริจัดทำโครงการแก้มลิง เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาอุทกภัย โดยอิงจากหลักการกินกล้วยของฝูงลิง
แนวคิดโครงการแก้มลิงเกิดจากการที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 มีพระราชดำรัสถึงลิงที่อมกล้วยไว้ในกระพุ้งแก้มได้คราวละมาก ๆ โดยมีพระราชกระแสอธิบายว่า
"ลิงโดยทั่วไปถ้าเราส่งกล้วยให้ ลิงจะรีบปอกเปลือก เอาเข้าปากเคี้ยว แล้วนำไปเก็บไว้ที่แก้มก่อน ลิงจะทำอย่างนี้จนกล้วยหมดหวีหรือเต็มกระพุ้งแก้ม จากนั้นจะค่อย ๆ นำออกมาเคี้ยวและกลืนกินภายหลัง"
โครงการแก้มลิงสร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมขัง โดยใช้หลักการทางธรรมชาติคือกักเก็บน้ำฝนเอาไว้ เพื่อรอเวลาระบายออก ซึ่งลักษณะการดำเนินงานของแก้มลิงจะมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
ลักษณะและวิธีการของโครงการแก้มลิง
1. ดำเนินการระบายน้ำออกจากพื้นที่ตอนบนให้ไหลไปตามคลองในแนวเหนือ-ใต้ ลงคลองพักน้ำขนาดใหญ่ที่บริเวณชายทะเล เช่น คลองชายทะเลของฝั่งตะวันออก ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นบ่อเก็บน้ำขนาดใหญ่ คือ แก้มลิง ต่อไป
2. เมื่อระดับน้ำทะเลลดต่ำลงกว่าระดับน้ำในคลอง ก็ทำการระบายน้ำจากคลองดังกล่าวออกทางประตูระบายน้ำ โดยอาศัยทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของโลก (Gravity Flow) ตามธรรมชาติ
3. สูบน้ำออกจากคลองที่ทำหน้าที่ �แก้มลิง� ให้ระบายออกในระดับต่ำที่สุดออกสู่ทะเล เพื่อจะได้ทำให้น้ำตอนบนค่อย ๆ ไหลมาเองอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ปริมาณน้ำท่วมพื้นที่ลดน้อยลง
4. เมื่อระดับน้ำทะเลสูงกว่าระดับน้ำในลำคลองให้ทำการปิดประตูระบายน้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำทะเลไหลย้อนกลับ โดยยึดหลักน้ำไหลทางเดียว (One Way Flow)
ประโยชน์ของโครงการแก้มลิง
แก้มลิง เป็นโครงการอเนกประสงค์สำคัญยิ่ง เพราะไม่เพียงแต่ช่วยบรรเทาอุทกภัยให้กับพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลเท่านั้น แต่ยังช่วยระบายน้ำจากภาคเหนือลงสู่อ่าวไทยตามจังหวะการขึ้นลงของระดับน้ำทะเล โดยอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลกและการสูบน้ำที่เหมาะสม ทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำตามคู คลองธรรมชาติในช่วงฤดูฝนอีกด้วย
นอกจากนี้โครงการแก้มลิงยังช่วยป้องกันการรุกล้ำของน้ำเค็มในช่วงฤดูแล้ง ไม่ให้น้ำเค็มจากทะเลไหลเข้าสู่แม่น้ำลำคลองและพื้นที่การเกษตร รวมทั้งแก้มลิงยังสามารถเก็บกักน้ำจืดไว้ด้านเหนือประตูระบายน้ำ ประชาชนจึงสามารถนำน้ำไปใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตรกรรมอุตสาหกรรม และการอุปโภคบริโภคอีกด้วย
ที่สำคัญโครงการแก้มลิงยังมีส่วนสำคัญในการช่วยอนุรักษ์น้ำและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากน้ำที่ถูกกักเก็บไว้ในแก้มลิงต่าง ๆ เมื่อถูกระบายสู่คู คลอง จะไปช่วยบำบัดน้ำเน่าเสียให้เจือจางลง กระทั่งผลักดันให้น้ำเน่าเสียเดิมที่มีอยู่ ถูกระบายออกไปได้ในที่สุด
โครงการแก้มลิงนับเป็นอีกหนึ่งโครงการพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ที่ช่วยให้ชาวไทยรอดพ้นจากปัญหาน้ำท่วม รวมไปถึงปัญหาขาดแคลนน้ำ แสดงถึงความห่วงใยที่พระองค์ทรงมีให้แก่พสกนิกรตลอดระยะเวลา 70 ปีที่ครองราชย์
และแม้วันนี้พระองค์จะเสด็จสู่สวรรคาลัย แต่พระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่จะสถิตอยู่ในใจคนไทยชั่วกาลนาน ไม่ต่างจากโครงการพระราชดำริต่าง ๆ ที่จะก่อเกิดประโยชน์แก่ลูกหลานเราสืบไป ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้
จัดทำโดยนักเรียน โรงเรียนตากพิทยาคม