โครงการแก้มลิง

สืบเนื่องจากปัญหาอุทกภัยครั้งใหญ่เมื่อปี พ.ศ. 2538 และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทอดพระเนตรเห็นว่า ปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นนั้นเรื้อรังกว่า 2 เดือน ในวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 จึงมีพระราชดำริโครงการแก้มลิงขึ้นครั้งแรก เพื่อแก้ปัญหาอุทกภัย พร้อมทั้งช่วยอนุรักษ์น้ำและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนแนวคิดโครงการแก้มลิงเกิดจากการที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 มีพระราชดำรัสถึงลิงที่อมกล้วยไว้ในกระพุ้งแก้มได้คราวละมาก ๆ โดยมีพระราชกระแสอธิบายว่า 
          "ลิงโดยทั่วไปถ้าเราส่งกล้วยให้ ลิงจะรีบปอกเปลือก เอาเข้าปากเคี้ยว แล้วนำไปเก็บไว้ที่แก้มก่อน ลิงจะทำอย่างนี้จนกล้วยหมดหวีหรือเต็มกระพุ้งแก้ม จากนั้นจะค่อย ๆ นำออกมาเคี้ยวและกลืนกินภายหลัง"

ลักษณะและวิธีการของโครงการแก้มลิง
          1. ดำเนินการระบายน้ำออกจากพื้นที่ตอนบนให้ไหลไปตามคลองในแนวเหนือ-ใต้ ลงคลองพักน้ำขนาดใหญ่ที่บริเวณชายทะเล เช่น คลองชายทะเลของฝั่งตะวันออก ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นบ่อเก็บน้ำขนาดใหญ่ คือ แก้มลิง ต่อไป
          2. เมื่อระดับน้ำทะเลลดต่ำลงกว่าระดับน้ำในคลอง ก็ทำการระบายน้ำจากคลองดังกล่าวออกทางประตูระบายน้ำ โดยอาศัยทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของโลก (Gravity Flow) ตามธรรมชาติ
    
          3. สูบน้ำออกจากคลองที่ทำหน้าที่ “แก้มลิง” ให้ระบายออกในระดับต่ำที่สุดออกสู่ทะเล เพื่อจะได้ทำให้น้ำตอนบนค่อย ๆ ไหลมาเองอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ปริมาณน้ำท่วมพื้นที่ลดน้อยลง
    
          4. เมื่อระดับน้ำทะเลสูงกว่าระดับน้ำในลำคลองให้ทำการปิดประตูระบายน้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำทะเลไหลย้อนกลับ โดยยึดหลักน้ำไหลทางเดียว (One Way Flow)

โครงการแก้มลิงมี ๓ ขนาด คือ
 ๑. แก้มลิงขนาดใหญ่ ( Retarding Basin) คือ สระน้ าหรือบึงขนาดใหญ่ ที่รวบรวมน้ าฝนจากพื้นที่
บริเวณนั้นๆ โดยจะกักเก็บไว้เป็นระยะเวลาหนึ่งก่อนที่จะระบายลงสู่ล าน้ า พื้นที่เก็บกักน้ าเหล่านี้ได้แก่ เขื่อน
อ่างเก็บน้ า ฝาย ทุ่งเกษตรกรรม เป็นต้น ลักษณะสิ่งก่อสร้างเหล่านี้จะมีวัตถุประสงค์อื่นประกอบด้วย เช่น เพื่อ
การชลประทาน เพื่อการประมง เป็นต้น
 ๒. แก้มลิงขนาดกลาง เป็นพื้นที่ชะลอน้ าที่มีขนาดเล็กกว่า ก่อสร้างในระดับลุ่มน้ า มักเป็นพื้นที่
ธรรมชาติ เช่น หนอง บึง คลอง เป็นต้น
 ๓. แก้มลิงขนาดเล็ก (Regulating Reservoir) คือแก้มลิงที่มีขนาดเล็กกว่า อาจเป็นพื้นที่สาธารณะ
สนามเด็กเล่น ลานจอดรถ หรือสนามในบ้าน ซึ่งต่อเข้ากับระบบระบายน้ าหรือคลอง
 ทั้งนี้แก้มลิงที่อยู่ในพื้นที่เอกชน เรียกว่า "แก้มลิงเอกชน" ส่วนที่อยู่ในพื้นที่ของราชการและรัฐวิสาหกิจ
จะเรียกว่า "แก้มลิงสาธารณะ"
ประโยชน์ของโครงการแก้มลิง
1. ช่วยระบายน้ำท่วมขังในที่ลุ่มทิ้งลงทะเล
2. ลดระยะเวลาน้ำท่วมขังให้สิ้นลง
3. ลดปัญหาความตึงเครียดทางด้านจิตใจของคนในพื้นที่น้ำท่วม
4. ลดความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจในพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วม
5. ลดค่าใช้จ่ายในการบูรณะซ่อมแซมสาธารณูปโภคต่าง ๆ
6. การชัดน้ำจืดจากแม่น้ำท่าจีนเพื่อนำมาช่วยไล่น้ำเสีย
7. ช่วยให้มีการชัดน้ำจืดจากแม่น้ำท่าจีนเพื่อนำมาช่วยไล่น้ำเสีย

 
จัดทำโดยนักเรียนโรงเรียนตากพิทยาคม
เลขที่1,4,8,9,22,28,39 ม3/5
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่