โครงการแก้มลิงเป็นแนวคิดมาจากสาเหตุปัญหาอุทกภัยครั้งใหญ่ในปีพ.ศ.2538 ในหลวงรัชกาลที่9 ได้เห็นว่าปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นเป็นระยะเวลากว่า2เดือน ในวันที่14 พฤศจิกายน พ.ศ.2538 จึงได้มีพระราชดำริโครงการแก้มลิงขึ้นมา เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม พร้อมทั้งช่วยอนุรักษ์รักษาน้ำและสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน แนวคิดโครงการแก้มลิงจากในหลวงรัชการที่9 มีพระราชดำรัสถึงลิงที่อมกล้วยเอาไว้ในแก้มคราวละมากโดยมีพระราชกระแสอธิบายว่า "ถ้าเราให้กล้วยกับลิง ลิงจะรีบปลอกเปลือกและนำกล้วยเข้าปากให้หมดหวีหรือจนเต็มแก้ม จากนั้นลิงจะค่อยๆคายออกมาเคี้ยวและกลืนลงไป" ประโยชน์ของโครงการแก้มลิง โครงการแก้มลิงเกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมที่ขัง โดยกักเก็บน้ำฝนเอาไว้ เพื่อรอเวลาน้ำระบายออก
ลักษณะและวิธีการของโครงการแก้มลิง
1.ระบายน้ำออกจากพื้นที่ตอบบนให้ไหลตามคลองในทิศเหนือลงใต้ ลงคลองพักน้ำขนาดใหญ่บริเวณชายทะเล ซึ่งทำหน้าที่เป็นบ่อเก็บน้ำขนาดใหญ่
2.เมื่อระดับของน้ำทะเลน้อย กว่าระดับน้ำคลอง ก็ทำการระบายน้ำจากคลองออกทางประตูระบายน้ำโดยอาศัยจากทิศเหนือลงไปทิศใต้
3.สูบน้ำออกจากคลอง ให้ระบายออกอยู่ในระดับที่ต่ำสุดออกสู่ทะเล เพื่อที่จะได้ให้น้ำในทางตอนบนค่อยๆไหลลงมาสู่ทางใต้ ทำให้ปริมาณน้ำท่วมในพื้นที่ลดน้อยลง
4.เมื่อระดับของน้ำทะเลสูงกว่าระดับของน้ำในคลองให้ปิดประตูระบายน้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำทะเลไหลย้อนกลับขึ้นมา โดยยึดน้ำไหลทางเดียว
โครงการแก้มลิงแบ่งออกเป็น3ประเภท
1.แก้มลิงขนาดใหญ่ เป็นบึงใหญ่ที่รวมน้ำฝนจากพื้นที่บริเวณนั้น โดยจะกักเก็บไว้เป็นระยะเวลาหนึ่งก่อนที่จะทำการระบายสู่ลำน้ำพื้นที่กักเก็บน้ำเหล่านี้ไว้
2.แก้มลิงขนาดกลาง เป็นพื้นที่ที่ชะลอให้น้ำที่มีขนาดเล็กกว่าก่อสร้างในระดับของลุ่มน้ำและมักเป็นพื้นที่ธรรมชาติ
3.แก้มลิงขนาดเล็ก เป็นแก้มลิงที่มีขนาดเล็กอาจเป้นพื้นที่สาธารณะสนามเด็กเล่น ลานจอดรถ หรือสนามในบ้านซึ่งต่อเข้ากับระบบระบายน้ำหรือระบบระบาบคลอง
แหล่งที่มา:
https://sites.google.com/site/10khorngkarphrarachdaari/10-khorngkar-thi-dod-den/2?fbclid=IwAR2B51Sr8t4womLpNORcJ7DU7KSmyVjq4b4kFJh4o5nV8RywAZt13u6IgSo
จัดทำโดย เลขที่5,7,8,10,12,27,28,30,33 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/4 โรงเรียนตากพิทยาคม
โครงการแก้มลิง
ลักษณะและวิธีการของโครงการแก้มลิง
1.ระบายน้ำออกจากพื้นที่ตอบบนให้ไหลตามคลองในทิศเหนือลงใต้ ลงคลองพักน้ำขนาดใหญ่บริเวณชายทะเล ซึ่งทำหน้าที่เป็นบ่อเก็บน้ำขนาดใหญ่
2.เมื่อระดับของน้ำทะเลน้อย กว่าระดับน้ำคลอง ก็ทำการระบายน้ำจากคลองออกทางประตูระบายน้ำโดยอาศัยจากทิศเหนือลงไปทิศใต้
3.สูบน้ำออกจากคลอง ให้ระบายออกอยู่ในระดับที่ต่ำสุดออกสู่ทะเล เพื่อที่จะได้ให้น้ำในทางตอนบนค่อยๆไหลลงมาสู่ทางใต้ ทำให้ปริมาณน้ำท่วมในพื้นที่ลดน้อยลง
4.เมื่อระดับของน้ำทะเลสูงกว่าระดับของน้ำในคลองให้ปิดประตูระบายน้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำทะเลไหลย้อนกลับขึ้นมา โดยยึดน้ำไหลทางเดียว
โครงการแก้มลิงแบ่งออกเป็น3ประเภท
1.แก้มลิงขนาดใหญ่ เป็นบึงใหญ่ที่รวมน้ำฝนจากพื้นที่บริเวณนั้น โดยจะกักเก็บไว้เป็นระยะเวลาหนึ่งก่อนที่จะทำการระบายสู่ลำน้ำพื้นที่กักเก็บน้ำเหล่านี้ไว้
2.แก้มลิงขนาดกลาง เป็นพื้นที่ที่ชะลอให้น้ำที่มีขนาดเล็กกว่าก่อสร้างในระดับของลุ่มน้ำและมักเป็นพื้นที่ธรรมชาติ
3.แก้มลิงขนาดเล็ก เป็นแก้มลิงที่มีขนาดเล็กอาจเป้นพื้นที่สาธารณะสนามเด็กเล่น ลานจอดรถ หรือสนามในบ้านซึ่งต่อเข้ากับระบบระบายน้ำหรือระบบระบาบคลอง
แหล่งที่มา:https://sites.google.com/site/10khorngkarphrarachdaari/10-khorngkar-thi-dod-den/2?fbclid=IwAR2B51Sr8t4womLpNORcJ7DU7KSmyVjq4b4kFJh4o5nV8RywAZt13u6IgSo
จัดทำโดย เลขที่5,7,8,10,12,27,28,30,33 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/4 โรงเรียนตากพิทยาคม