เราจะมาลิสท์รายข้อนโยบายการใช้งบประมาณรวมทั้งการกู้และผลงานของตระกูลชินกันค่ะ

//อยากโพสเพิ่มโพสได้นะคะ แต่บอร์ดนี้ขอสาระที่จับต้องได้ ไม่ใช่เหลวเป๋วมโนเองค่ะ จะโพสอะไรขอที่มาที่น่าเชื่อถือด้วยนะคะ//

มาที่ นโยบายกันก่อนนะคะ

1. นโยบายลดรายจ่าย ซึ่งจะดำเนินการเป็นนโยบายแรก ช่วง 6 เดือนแรกของการเป็นรัฐบาล ประกอบด้วย
- หนี้ไม่เกิน 5 แสน พักหนี้ 5 ปี  ไม่มีดอกเบี้ย
- หนี้ไม่เกิน 5 ล้าน ยืดเวลาชำระหนี้  10 ปี ให้เกษตรกร ได้พักปัญหาหนี้สิน เพื่อฟื้นฟูอาชีพและสร้างรายได้
- ธนาคารประชาชน เพื่อส่งเสริมการลงทุนและแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบของประชาชน และข้าราชการ

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้


2. นโยบายเพิ่มรายได้ จะดำเนินการสำหรับ 6 เดือนถัดมา ได้แก่
- เกษตรเศรษฐี
- บินก่อนผ่อนทีหลัง
- ลดดอกเบี้ยเพื่อประชาชน

3. นโยบายขยายโอกาส ประกอบด้วย
- โครงการ SML 5-7-9 แสนบาท
- 1 จังหวัด 1 อุตสาหกรรมเกษตร
- ท่องถิ่นแดนไทยไปได้ทุกมุม
- โครงการกองทุนตั้งตัวได้
- แก้ไขปัญหาหนี้สินครู และบุคลากรทางการศึกษา (พลังครู)  
- ศูนย์ซ่อมสร้างโดยนักศึกษาอาชีวะ (โครงการ Fix It Center)
- โครงการที่พักอาศัย
- โครงการพุทธบูชาเยือนสังเวชนียสถานของพระภิกษุ

แก้ปัญหาน้ำท่วมอย่างยั่งยืนด้วย คือ

1.สร้างเขื่อนและประตูกันน้ำทะเลหนุน และประตูเพื่อระบายน้ำลงทะเลรอบกรุงเทพฯ สมุทรปราการ พร้อมเพิ่มพื้นที่เขียวเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ โดยไม่ต้องกู้เงิน
2.สร้างแก้มลิงตามแนวพระราชดำริตามแนวบริเวณที่ลุ่มของแม่น้ำสายหลักทั่วประเทศรวมทั้งแม่น้ำโขงเพื่อกักน้ำไว้เวลาน้ำมาก เรียกว่าเบรกน้ำ และเก็บไว้ใช้ยามน้ำน้อย และไม่ต้องกู้เงิน
3.ขุดเชื่อมแม่น้ำสายหลักที่ไม่ไกลกันมากเข้าหากันเหมือนที่เคยทำแล้วโดยเชื่อมแม่น้ำยมเข้ากับแม่น้ำน่าน ทำให้สามารถผันน้ำไปมา ตามปริมาณน้ำได้
4.สร้างป่าชุมชนขึ้น 1 หมู่บ้าน 1 ป่าชุมชน เพื่อเกิดพื้นที่ชุ่มน้ำมากขึ้น
5.พื้นป่าต้นน้ำ ปลูกหญ้าแฝกกันดิน (Soil Erosion) ตามแนวพระราชดำริ

จาก http://www.ptp.or.th/news/m-hot.aspx?news_id=1938 ค่ะ

=======================================================================

นโยบายของรัฐบาลที่ประชาชนพึงพอใจในระดับมากถึงมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ
1. การขึ้นเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุแบบขั้นบันได (ร้อยละ 91.2)
2. โครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค (ร้อยละ 87.8)  
3. การพักหนี้เกษตรกร (ร้อยละ 84.7)  
4. การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติด (ร้อยละ 81.0)  
5. การส่งเสริมกองทุนหมู่บ้าน กองทุน SML (ร้อยละ 80.6)  

นโยบายที่ประชาชนพึงพอใจในระดับมากถึงมากที่สุด 5 อันดับสุดท้าย คือ
1. การเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม (ร้อยละ 63.9)
2. การสร้างสันติสุขและความปลอดภัยในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ร้อยละ 58.9)
3. การปฏิรูปการเมือง (ร้อยละ 57.0)
4. การสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติ (ร้อยละ 54.7) และ
5. แก้ไขปัญหาสินค้าราคาแพง (ร้อยละ 51.9)

จาก http://www.tpd.in.th/content/details_1.php?ID=000184&type=000003 ค่ะ

=======================================================================

อันนี้นโยบายที่ตั้งไว้ที่เป็นที่เชิญชวนที่ใช้ในป้ายหาเสียงค่ะ

- เรียนก่อนผ่อนทีหลัง
- เท็ปเล็ตหนึ่งเครื่องต่อนักเรียนหนึ่งคน
- คอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่องต่อนักเรียนหนึ่งคน
- ฟรีไวไฟ
- สานต่อนโยบายแก้ความยากจน ยาเสพติด ทุจริตคอรัปชั่น
- นำ 30 บาทรักษาทุกโรคกลับมาใช้ใหม่
- รับจำนำข้าวเปลือก เกวียนละ 15,000 บาท
- ออกบัตรเครดิตเกษตรกร เพื่อใช้ซื้อปัจจัยการผลิต
- กองทุนตั้งตัวได้ สำหรับนิสิต นักศึกษา อาจารย์ และกองทุนตั้งตัวได้สำหรับประชาชน
- พักหนี้ครัวเรือนที่ต่ำกว่า 5 แสนบาทอย่างน้อย 3 ปี
- เครดิตการ์ดพลังงาน ให้คนขับแท็กซี่ สามล้อ รถตู้ มอเตอร์ไซค์รับจ้าง ไว้เติมน้ำมันหรือก๊าซ NGV
- คืนภาษีบ้านหลังแรก/รถคันแรก
- พัฒนาโครงข่ายระบบราง ทำรถไฟรางคู่ รถไฟความเร็วสูง ขยายแอร์พอร์ตลิงก์ไปฉะเชิงเทรา ชลบุรี พัทยา
- สร้างรถไฟฟ้า 10 สายใน กทม. เก็บค่าบริการ 20 บาทตลอดสาย
- ปรับเงินเดือนปริญญาตรีเป็น 15,000 บาท และปรับค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวัน
- ปรับปรุงคุณภาพการศึกษาไทย แจกแท็บเล็ตนักเรียน ให้ใช้อินเทอร์เน็ตฟรีในที่สาธารณะ
- เพิ่มกองทุน ICL : 1 อำเภอ 1 ทุนต่างประเทศ
- สร้างเมกะโปรเจ็คท์กระตุ้นเศรษฐกิจ
- ป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพ/ภาคกลาง ด้วยการทำเขื่อนกั้นน้ำทะเลลึกลงไปในทะเล
- พัฒนาระบบน้ำทั้งประเทศ ปรับปรุง 25 ลุ่มน้ำ
- ทำสะพานเชื่อมเศรษฐกิจภาคใต้















=======================================================================

ผลงานที่ออกมาจริง


มีเพียงสองปีที่เวิร์ลแบงค์ประกาศออกมาในช่วงสิบปีนี้ก็มีปี 2548 กับ 2556 ค่ะ
2548 - 20
2556 - 18 (ปัจจุบัน)

=======================================================================



นับจากสีแดงอันแรกคือช่วงการปกครองนายกไปเรื่อยๆจนถึงปัจจุบันนะคะ
- พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร
- พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์
- สมัคร สุนทรเวช
- สมชาย วงศ์สวัสดิ์
- ชวรัตน์ ชาญวีรกูล
- อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
- ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
(ขอโทษนะคะที่กราฟไม่มีถึงปัจจุบัน หาไม่ได้จริงๆค่ะ)

เครดิต http://www.thinkasiainvestthailand.com/boicontent/newsletter/pdf_758.pdf

=======================================================================

ในช่วงปี 2554 หรือปีที่นายกปูเข้ามาพอดีก็เกิดอุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554 หรือที่นิยมเรียกกันว่า มหาอุทกภัย เป็นอุทกภัยรุนแรงที่ส่งผลกระทบต่อบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและลุ่มน้ำโขง เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคมและสิ้นสุดเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2555 (แต่การฟื้นฟูยังมีต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน) มีราษฎรได้รับผลกระทบกว่า 12.8 ล้านคน ธนาคารโลกประเมินมูลค่าความเสียหายสูงถึง 1.44 ล้านล้านบาท เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2554 และจัดให้เป็นภัยพิบัติครั้งสร้างความเสียหายมากที่สุดเป็นอันดับสี่ของโลก

สรุปข้อเท็จจริงจากเหตุการณ์อุทกภัยปี 2554

- ปริมาณน้ำจากลุ่มน้ำยมที่ไหลมารวมกับแม่น้ำเจ้าพระยา ในปี 2554 มีมากถึง 6,000 ล้านลูกบาศก์เมตร
- ประตูระบายน้ำพลเทพ และประตูระบายน้ำบรมธาตุ ไม่ได้เปิดรับน้ำเพื่อผันน้ำเข้าสู่ทุ่งตะวันตก แม้จะมีการเปิดรับน้ำมากขึ้นในภายหลัง แต่มีการควบคุมน้ำให้อยู่เฉพาะในลำน้ำ ไม่มีการปล่อยน้ำเข้าทุ่งเพื่อให้เป็นแก้มลิงชะลอน้ำ
- การปล่อยให้ประตูระบายน้ำบางโฉมศรี พังทลายโดยไม่มีการรีบซ่อมแซม ส่งผลให้ปริมาณน้ำไหลเข้าสู่จังหวัดลพบุรีมากเกินไป และปริมาณน้ำทั้งหมดได้ไหลกลับมายังอำเภอพระนครศรีอยุธยาทางแม่น้ำลพบุรี
- ปริมาณน้ำจำนวนมากที่ระบายจากเขื่อนป่าสักที่ไหลมายังเขื่อนพระรามหก ไม่มีการผันน้ำเข้าสู่คลองระพีพัฒน์แยกใต้อย่างเต็มศักยภาพ ทำให้ปริมาณน้ำส่วนใหญ่ไหลเข้าสู่อำเภอพระนครศรีอยุธยา
- จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยเฉพาะอำเภอพระนครศรีอยุธยา รับปริมาณน้ำมากเกินไปทั้งจากแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำลพบุรี
- ปริมาณน้ำที่ไหลมารวมที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยามากเกินไป ทำให้น้ำจำนวนมากไหลย้อนข้ามประตูประบายน้ำคลองข้าวเม่า เข้าสู่นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ และไหลไปรวมกันกับปริมาณน้ำที่ล้นมาจากแม่น้ำป่าสัก เข้าสู่นิคมอุตสาหกรรมนวนคร สวนอุตสาหกรรมบางกระดี และไหลเข้าสู่พื้นที่กรุงเทพมหานครทางทิศเหนือ
- คลองระพีพัฒน์ ไม่สามารถผันน้ำเข้าสู่ทุ่งตะวันออกได้ ในทางกลับกัน เรือกสวนไร่นาที่อยู่ในพื้นที่ทุ่งตะวันออกกลับสูบน้ำเข้าสู่คลองระพีพัฒน์ ทำให้คลองระพีพัฒน์รับน้ำมากเกินไป
- พื้นที่รองรับน้ำหลากของกรุงเทพมหานครเกิดการเปลี่ยนสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็น หมู่บ้านจัดสรรและพื้นที่อุตสาหกรรม ทำให้ไม่สามารถระบายน้ำเข้าสู่ระบบสถานีสูบน้ำริมชายทะเลได้ ส่งผลให้ปริมาณน้ำที่อยู่ทางด้านเหนือกรุงเทพมหานคร บริเวณอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี แขตสายไหมและเขตคลองสามวา ไม่สามารถระบายลงสู่ระบบคลองไปยังสถานีสูบชายทะเลได้
- มีการปลูกสิ่งก่อสร้าง รุกล้ำเข้าไปในแม่น้ำ ลำคลอง การขาดการดูแลรักษาแม่น้ำ ลำคลอง ส่งผลให้ไม่สามารถระบายน้ำได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ที่คลองระบายน้ำสำคัญอย่างเช่น คลองเปรมประชากร และคลองลาดพร้าว มีการรุกล้ำลำน้ำจนคลองเหลือขนาดเพียงครึ่งเดียวจากเดิม
- สะพานหลายแห่ง กลายเป็นปัญหาในการระบายน้ำ ทั้งตอหม้อสะพานที่มีขนาดใหญ่เกินไป ช่องสะพานไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกับการไหลของน้ำ ที่สำคัญสะพานในแหล่งชุมชนเกือบทุกแห่ง ช่องด้านข้างทั้ง 2 ของสะพานจะเกิดการรุกล้ำ จนมีเพียงช่องกลางสะพานเพียงช่องเดียวที่สามารถระบายน้ำได้
- ประชาชน และองค์กรในส่วนย่อย มีการสร้างพนังและคันกั้นน้ำของตัวเอง ทำให้การระบายน้ำในภาพรวมไม่สามารถดำเนินการได้ประสิทธิภาพ

*นอกจากประเด็นทางการบริหารทางการเมืองที่จัดการเขื่อนแล้ว อาจเป็นผลกระทบจากประกฏการณ์ทางธรรมชาติเองก็ได้ค่ะ

• ความเสียหาย 1.44 ล้านล้านบาท (ธนาคารโลกประเมิน)
• ยอดผู้เสียชีวิต 815 คน
• 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 - 16 มกราคม พ.ศ. 2555 (175 วัน)

เครดิต http://www.thaiwater.net/current/flood54.html

=======================================================================

รัฐก็ไม่นิ่งเฉยค่ะ
• อนุมัติให้ความช่วยเหลือประชาชนพื้นที่น้ำท่วม 6 แสนครัวเรือน โดยจ่ายชดเชยครอบครัวละ 5 พันบาท
ใน 2 กรณี ประกอบด้วย ผู้ที่ประสบภัยน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำท่วมขังเกิน 7 วัน
• ส่วนพื้นที่การเกษตรเสียหาย ชดเชยไร่ละ 1,113 บาท
• รัฐบาลกำหนดจ่ายเงินช่วยซ่อมบ้านที่ถูกน้ำท่วมหลังละ 33,000 บาทกรณีรุนแรง
• ส่วนผู้เสียชีวิต รัฐบาลจะมอบเงินส่งเคราะห์ให้รายละ 25,000 บาท
• หากผู้เสียชีวิตเป็นหัวหน้าครอบครัว จะให้รายละ 50,000 บาท

ต่อมา พรรคภูมิใจไทย ได้ตั้งกระทู้สดถามรัฐบาลเรื่องสถานการณ์น้ำท่วม และการแก้ปัญหาระยะยาว เนื่องจากหลายพื้นที่เป็นพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก และรัฐบาลได้เบิกเงินจำนวน 125,000 ล้านบาทไปใช้แล้ว ในปี 2555 มีการเบิกจ่ายครบ 100% ไปแล้ว 146 โครงการ จากทั้งหมด 154 โครงการ แต่ก็ยังเกิดปัญหาน้ำท่วมในปีนี้อีก

ที่มา http://hilight.kapook.com/view/53090
www.krobkruakao.com/ข่าวการเมือง/81077/รัฐบาลช่วยซ่อมบ้านน้ำท่วมหลังละ-33-000-บาท.html

=======================================================================

มาดูโครงการ “1 อำเภอ 1 ทุน”ส่งเด็กไปนอก เริ่มโครงการสมัยคุณทักษิณ มาจนถึงปัจจุบัน



นับตั้งแต่ปี ๒๕๔๗-๒๕๕๖ เป็นเงินรวม  ๑๐,๘๐๙,๖๗๗,๒๐๐ บาท มีนักศึกษาเข้าร่วมโครงการ 3 รุ่นรวม 2,525 คน   สำเร็จการศึกษา 1,351 คน  พ้นสภาพ 176 คน ส่งกลับมาเรียนในไทย 150 คน พบหลายปัญหาจึงมีนักเรียนสำเร็จได้ไม่ทั่วถึงในบางส่วน

เครดิต http://www.isranews.org//เรื่องเด่น-สำนักข่าวอิศรา/item/23062-โครงการ-“1-อำเภอ-1-ทุน”ส่งเด็กไปนอก-ใช้เงินแล้วหมื่นล-เรียนจบ-1,351-คน.html


ยาวมาก มันจะเกินหนึ่งหมื่นตัวอักษรแล้วค่ะ ถือว่าอ่านเอาบุญนะคะ แล้วก็ดูช่วงปีที่อภิสิทธิ์กับยิ่งลักษณ์ดูแลบ้านเมืองด้วยก็ดีนะคะ จะเห็นถึงความแตกต่างได้ง่ายๆ...
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่