ที่มา นสพ.มติชนรายวัน
ผู้เขียน ทีมข่าวเศรษฐกิจ
เผยแพร่ วันที่ 23 ตุลาคม 2560
สร้างความตื่นตระหนกให้กับคนกรุงเทพฯ ไม่น้อย หลังจากช่วงกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องนานหลายชั่วโมง ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมขังสูงกว่า 50-60 เซนติเมตร (ซม.) โดยเฉพาะพื้นที่ใจกลางย่านเศรษฐกิจอย่างถนนอโศกมนตรี ย่านทองหล่อ เอกมัย ถนนวิภาวดีรังสิต ถนนพหลโยธิน และห้าแยกลาดพร้าว ที่ต้องใช้เวลานานหลายชั่วโมงกว่าระดับน้ำจะระบายจนเข้าสู่ภาวะปกติ ซึ่งข้อมูลจากสำนักการระบายน้ำ กรุงเทพฯ พบว่า ปริมาณฝนสะสมในบางเขตสูงสุดถึง 203 มิลลิเมตร (มม.) ถือเป็นปริมาณที่สูงสุดในรอบ 30 ปี
ประกอบกับในหลายจังหวัดภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) กำลังเผชิญกับปัญหาน้ำท่วมจากฝนตกหนัก และมวลน้ำที่สะสมมากกว่าทุกปี โดยขณะนี้อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และกลางหลายแห่งก็เริ่มเต็มความจุแล้ว ปริมาณน้ำตามลำน้ำต่างๆ ก็ดูใกล้จะล้นตลิ่ง ดูเค้าลางคล้ายกับมหาอุทกภัยใหญ่ปี 2554
ประกอบกับที่ นายโสรัจจะ นวลอยู่ โหรชื่อดังฉายานอสตราดามุสเมืองไทย ออกมาทำนายว่า ในต้นปี 2561 จะเกิดมหาอุทกภัยหนักยิ่งกว่าปี 2554 ก็ยิ่งสร้างความตระหนกให้แก่ประชาชนอย่างมาก จึงถึงเวลามาตรวจสอบการดำเนินงานของรัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อย่างกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่าเดินหน้าไปถึงไหน หรือยังอยู่ที่เดิม
ย้ำทุกหน่วยบูรณาการดีกว่าทุกปี
นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ อธิบดีกรมชลประทาน ระบุว่า หากจะเทียบการบริหารจัดการน้ำของรัฐบาลชุดนี้ ถือว่ามีพัฒนาการที่ดีขึ้น และมีความแตกต่างจากรัฐบาลในอดีต รวมถึงการบริหารจัดการในช่วงมหาอุทกภัยปี 2554 เป็นอย่างมาก เนื่องจากการทำงานของรัฐบาลจะเน้นการทำงานในลักษณะบูรณาการทั้งแผนงาน และงบประมาณ ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย กรมอุตุนิยมวิทยา ทำให้การทำงานเป็นไปในลักษณะที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
จะเห็นได้จากทุกหน่วยงานไม่ได้รอตั้งรับกับสถานการณ์น้ำท่วมเฉพาะหน้าเพียงอย่างเดียว แต่ทั้งหมดได้เตรียมรับมือไว้ล่วงหน้าแล้ว ดังจะเห็นได้จากในช่วงต้นปี ถือเป็นปีแรกที่รัฐบาลได้ปรับเปลี่ยนปฏิทินการ
เพาะปลูกของเกษตรกรในพื้นที่ภาคกลางเร็วขึ้นกว่าเดิม โดยส่งน้ำให้กับเกษตรกรไวขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน-31 กรกฎาคม เพื่อให้สามารถเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวได้ทันก่อนฤดูน้ำหลากในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน และนำพื้นที่ที่เก็บเกี่ยวแล้วมาเป็นพื้นที่ตัดยอดน้ำในกรณีที่มีฝนตกชุก และมีมวลน้ำสะสมจำนวนมาก เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดกับพื้นที่เพาะปลูก และพื้นที่ทางเศรษฐกิจในตัวเมือง โดยในพื้นที่เจ้าพระยาตอนบน
มีจำนวน 1 ทุ่ง คือทุ่งบางระกำ จ.พิษณุโลก พื้นที่ 265,000 ไร่ สามารถรองรับน้ำได้ 400 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ส่วนพื้นที่เจ้าพระยาตอนล่าง มีจำนวน 12 ทุ่ง ประกอบด้วย ทุ่งเชียงราก จ.สิงห์บุรี ทุ่งฝั่งซ้ายคลองชัยนาท-ป่าสัก ทุ่งท่าวุ้ง จ.ลพบุรี ทุ่งบางกุ่ม ทุ่งบางกุ้ง ทุ่งป่าโมก จ.อ่างทอง ทุ่งผักไห่ ทุ่งเจ้าเจ็ด ทุ่งพระยาบันลือ ทุ่งโพธิ์พระยา ทุ่งบางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา และทุ่งรังสิตใต้ พื้นที่รวม 1.15 ล้านไร่ สามารถรองรับน้ำได้ 1,500 ล้าน ลบ.ม. รวมทั้งสิ้น 1,900 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันสามารถนำพื้นที่ดังกล่าวมารองรับน้ำหลากได้รวมกันประมาณ 1,600 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งถือว่าเป็นประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก
โครงการน้ำขนาดใหญ่ไม่คืบ
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของโครงการบริหารจัดการน้ำขนาดใหญ่ เพื่อมาช่วยเสริมศักยภาพของลุ่มน้ำเจ้าพระยาและลุ่มน้ำท่าจีน ที่ปัจจุบันแทบจะเต็มศักยภาพในการรองรับนั้น ต้องยอมรับว่า ในช่วง 1-2 ปีแรกของรัฐบาลชุดนี้ หมดไปกับการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ระยะเวลา 12 ปี (2558-2569) โครงการส่วนใหญ่ที่อนุมัติและเริ่มก่อสร้างก็จะเป็นเพียงโครงการขนาดเล็กเท่านั้น อาทิ การจัดทำแก้มลิง ขุดบ่อกักเก็บ ส่วนโครงการขนาดใหญ่แทบจะไม่มีการอนุมัติ และเริ่มก่อสร้างเลย เนื่องจากต้องใช้ระยะเวลาในการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) การสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนในพื้นที่ การทำประชาพิจารณ์เปิดรับฟังความคิดเห็น
ซึ่งทุกขั้นตอนล้วนกินระยะเวลานาน รวมไปถึงปัญหาในเรื่องของงบประมาณ แต่คาดว่าโครงการดังกล่าวน่าจะเริ่มทยอยอนุมัติและเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2561-2562
ลุยแผนจัดการลุ่มน้ำภาคกลาง
ทั้งนี้ การบริหารจัดการน้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยาและลุ่มน้ำใกล้เคียง ประกอบด้วย 9 แผนงาน วงเงินรวม 239,400 ล้านบาท ได้แก่
1.โครงการปรับปรุงระบบชลประทานเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่าง วงเงิน 57,100 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 7 ปี (2560-2566) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำลงสู่ทะเล และเพื่อพื้นที่กักเก็บน้ำในคลอง 18 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันศึกษาความเหมาะสมแล้วเสร็จบางส่วน แต่ต้องดำเนินการออกแบบรายละเอียดเพิ่มเติม 2.โครงการคลองระบายน้ำหลากเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงคลองชัยนาท-ป่าสัก วงเงิน 36,400 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี (2561-2565) เพื่อให้มีความสามารถระบายน้ำของคลองจาก 130 ลบ.ม.ต่อวินาที เป็น 930 ลบ.ม.ต่อวินาที และเพิ่มพื้นที่กักเก็บน้ำ 80 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันศึกษาความเหมาะสมแล้วเสร็จ และช่วงคลองป่าสัก-อ่าวไทย วงเงิน 86,300 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 7 ปี (2562-2568) เพื่อระบายน้ำหลากจากแม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำเจ้าพระยาที่ระบายมาทางคลองชัยนาท-ป่าสัก ลงสู่ทะเลเร็วขึ้นสูงสุด 600 ลบ.ม.ต่อวินาที เพิ่มพื้นที่เก็บกักน้ำ 50 ล้าน ลบ.ม. และลดพื้นที่น้ำท่วมลุ่มเจ้าพระยาได้ 2.86 ล้านไร่ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.)
ขุดคลองแก้ไขปัญหาคอขวด
3.โครงการคลองระบายน้ำควบคู่กับถนนวงแหวนรอบที่ 3 ภายใต้ความร่วมมือกับองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (ไจก้า) โดยจัดทำคลองระบายน้ำคู่ขนานถนน ขนาด 500 ลบ.ม.ต่อวินาที ความยาว 110.85 กม. คาดว่าการทบทวนผลการศึกษาจะแล้วเสร็จประมาณเดือนกุมภาพันธ์ 2561 และขอรับงบประมาณการศึกษาอีไอเอในปีงบประมาณ 2562
4.โครงการปรับปรุงโครงข่ายระบบชลประทานฝั่งตะวันตก วงเงิน 34,300 ล้านบาท ระยะเวลาก่อสร้าง 6 ปี (2561-2566) เพื่อระบายน้ำในแนวเหนือ-ใต้ ตั้งแต่คลองเจ้าเจ็ดต่อเนื่องออกสู่ทะเลอ่าวไทยให้ได้มากที่สุด โดยเพิ่มขึ้นจาก 52 ลบ.ม.ต่อวินาที เป็น 130 ลบ.ม.ต่อวินาที เพื่อลดการระบายน้ำลงสู่แม่น้ำท่าจีนและเจ้าพระยา ปัจจุบันศึกษาความเหมาะสมแล้วเสร็จ
5.โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา วงเงิน 2,400 ล้านบาท โดยการขุดลอกแม่น้ำเจ้าพระยา รวม 29 กม. ให้สามารถระบายน้ำได้ 2,500 ลบ.ม.ต่อวินาที ที่ระดับตลิ่ง และ 2,800 ลบ.ม.ต่อวินาที ที่ระดับคันกั้นน้ำ ปัจจุบันศึกษาความเหมาะสมแล้วเสร็จ 6.โครงการบริหารจัดการพื้นที่นอกคันกั้นน้ำ โดยดำเนินการตามแผนเพื่อลดผล
กระทบในพื้นที่ 14 แห่ง
7.โครงการคลองระบายน้ำหลากบางบาล-บางไทร วงเงิน 17,600 ล้านบาท ระยะเวลาก่อสร้าง 4 ปี (2562-2565) โดยขุดคลองสายใหม่ เพื่อเลี่ยง อ.เมือง จ.พระนครศรีอยุธยา ผ่าน อ.บางบาล ถึง อ.บางไทร ความยาว 22.4 กม. ระบายน้ำ 1,200 ลบ.ม.ต่อวินาที ปัจจุบันอยู่ระหว่างออกแบบ คาดว่าแล้วเสร็จปี 2562 อย่างไรก็ตาม รัฐบาลมีแนวคิดที่จะให้ดำเนินโครงการได้รวดเร็วมากขึ้นภายในปีนี้
8.โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำแม่น้ำท่าจีน วงเงิน 2,800 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 6 ปี (2561-2566) โดยการขุดลอกตะกอนในลำน้ำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำสูงสุด 90 ลบ.ม.ต่อวินาที และแก้ไขปัญหาคอขวด จ.สุพรรณบุรี และ
9.โครงการพื้นที่รับน้ำนอง โดยใช้พื้นที่ที่ว่างจากการเพาะปลูกรองรับน้ำ 1,500 ล้าน ลบ.ม.
เมื่อทั้ง 9 แผนงานแล้วเสร็จ จะช่วยตัดยอดน้ำหลากหน้าเขื่อนเจ้าพระยา ได้เพิ่มขึ้น 880 ลบ.ม.ต่อวินาที หน้าเขื่อนพระราม 6 ได้เพิ่มขึ้น 800 ลบ.ม.ต่อวินาที ระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยาได้ 2,800 ลบ.ม.ต่อวินาที โดยพื้นที่นอกคั้นกั้นน้ำไม่ได้รับผลกระทบ และเพิ่มความสามารถในการระบายน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณ จ.พระนครศรีอยุธยา 1,200 ลบ.ม.ต่อวินาที ส่วนแม่น้ำท่าจีนระบายน้ำลงสู่ทะเลได้ 600-650 ลบ.ม.ต่อวินาที นอกจากนี้ยังสามารถเก็บน้ำหลากไว้ในคลองขุดใหม่ได้รวม 200 ล้าน ลบ.ม. และในพื้นที่ลุ่มต่ำประมาณ 1,500 ล้าน ลบ.ม. เพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้ในช่วงต้นฤดูร้อน รวมทั้งลดพื้นที่น้ำท่วมเทียบกับปี 2554 ได้ประมาณ 1.7-5.04 ล้านไร่ในพื้นที่ 14 จังหวัด
‘ทองเปลว’ชี้น้ำปีนี้ต่างจาก”54
นายทองเปลว กองจันทร์ รองอธิบดีกรมชลประทาน ระบุว่า ปัญหาน้ำท่วมในปีนี้ถือว่าแตกต่างจากปี 2554 อย่างมาก ซึ่งจะพบว่าในพื้นที่ภาคกลางมีน้ำท่วมในปีนี้ มีเพียงประมาณ 1 ล้านไร่ ต่างจากในปี 2554 ที่มีน้ำท่วมสูงถึง 7 ล้านไร่ และจากการติดตามสภาพอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา ก็คาดว่าตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคมเป็นต้นไป ทุกภาคของไทยยกเว้นภาคใต้จะเริ่มเข้าสู่ฤดูหนาวแล้ว ซึ่งหมายความว่าปริมาณฝนจะลดลงเมื่อเทียบกับช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา ดังนั้นจึงมั่นใจได้ว่าหลังจากนี้การบริหารน้ำในลุ่มเจ้าพระยาน่าจะเริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ โดยมวลน้ำที่บริเวณลุ่มเจ้าพระยาตอนบนที่ขณะนี้มีปริมาณมาก น่าจะเริ่มทรงตัวภายใน 1 สัปดาห์ต่อจากนี้ จากนั้นคาดว่ามวลน้ำจะเริ่มลดระดับลง และระบายลงสู่อ่าวไทย จนเข้าสู่ภาวะปกติในช่วงที่ 20 พฤศจิกายน 2560 อย่างไรก็ตามกรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้เร่งพร่องน้ำลงสู่ทะเลให้ได้มากที่สุด เพื่อป้องกันหากจะมีพายุเข้ามาเพิ่มเติมในช่วงเวลาดังกล่าว
ท้ายที่สุดจะเกิดเหตุการณ์ตามคำทำนายของโหรชื่อดังหรือไม่ ยังไม่มีใครกล้าฟันธง แต่หากเดินหน้าตามแผนบริหารจัดการน้ำไม่สำเร็จ ปัญหาท่วมซ้ำซากจะยังตามหลอกหลอนทุกปีแน่!!
JJNY : ปฏิรูปดี๊ดี...ซี้จุกสูญ ส่องแผนจัดการน้ำ 2.4 แสนล. 3 ปีฉลุยจิ๊บๆ...'บิ๊กโปรเจ็กต์' นิ่งสนิท
ผู้เขียน ทีมข่าวเศรษฐกิจ
เผยแพร่ วันที่ 23 ตุลาคม 2560
สร้างความตื่นตระหนกให้กับคนกรุงเทพฯ ไม่น้อย หลังจากช่วงกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องนานหลายชั่วโมง ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมขังสูงกว่า 50-60 เซนติเมตร (ซม.) โดยเฉพาะพื้นที่ใจกลางย่านเศรษฐกิจอย่างถนนอโศกมนตรี ย่านทองหล่อ เอกมัย ถนนวิภาวดีรังสิต ถนนพหลโยธิน และห้าแยกลาดพร้าว ที่ต้องใช้เวลานานหลายชั่วโมงกว่าระดับน้ำจะระบายจนเข้าสู่ภาวะปกติ ซึ่งข้อมูลจากสำนักการระบายน้ำ กรุงเทพฯ พบว่า ปริมาณฝนสะสมในบางเขตสูงสุดถึง 203 มิลลิเมตร (มม.) ถือเป็นปริมาณที่สูงสุดในรอบ 30 ปี
ประกอบกับในหลายจังหวัดภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) กำลังเผชิญกับปัญหาน้ำท่วมจากฝนตกหนัก และมวลน้ำที่สะสมมากกว่าทุกปี โดยขณะนี้อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และกลางหลายแห่งก็เริ่มเต็มความจุแล้ว ปริมาณน้ำตามลำน้ำต่างๆ ก็ดูใกล้จะล้นตลิ่ง ดูเค้าลางคล้ายกับมหาอุทกภัยใหญ่ปี 2554
ประกอบกับที่ นายโสรัจจะ นวลอยู่ โหรชื่อดังฉายานอสตราดามุสเมืองไทย ออกมาทำนายว่า ในต้นปี 2561 จะเกิดมหาอุทกภัยหนักยิ่งกว่าปี 2554 ก็ยิ่งสร้างความตระหนกให้แก่ประชาชนอย่างมาก จึงถึงเวลามาตรวจสอบการดำเนินงานของรัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อย่างกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่าเดินหน้าไปถึงไหน หรือยังอยู่ที่เดิม
ย้ำทุกหน่วยบูรณาการดีกว่าทุกปี
นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ อธิบดีกรมชลประทาน ระบุว่า หากจะเทียบการบริหารจัดการน้ำของรัฐบาลชุดนี้ ถือว่ามีพัฒนาการที่ดีขึ้น และมีความแตกต่างจากรัฐบาลในอดีต รวมถึงการบริหารจัดการในช่วงมหาอุทกภัยปี 2554 เป็นอย่างมาก เนื่องจากการทำงานของรัฐบาลจะเน้นการทำงานในลักษณะบูรณาการทั้งแผนงาน และงบประมาณ ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย กรมอุตุนิยมวิทยา ทำให้การทำงานเป็นไปในลักษณะที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
จะเห็นได้จากทุกหน่วยงานไม่ได้รอตั้งรับกับสถานการณ์น้ำท่วมเฉพาะหน้าเพียงอย่างเดียว แต่ทั้งหมดได้เตรียมรับมือไว้ล่วงหน้าแล้ว ดังจะเห็นได้จากในช่วงต้นปี ถือเป็นปีแรกที่รัฐบาลได้ปรับเปลี่ยนปฏิทินการ
เพาะปลูกของเกษตรกรในพื้นที่ภาคกลางเร็วขึ้นกว่าเดิม โดยส่งน้ำให้กับเกษตรกรไวขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน-31 กรกฎาคม เพื่อให้สามารถเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวได้ทันก่อนฤดูน้ำหลากในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน และนำพื้นที่ที่เก็บเกี่ยวแล้วมาเป็นพื้นที่ตัดยอดน้ำในกรณีที่มีฝนตกชุก และมีมวลน้ำสะสมจำนวนมาก เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดกับพื้นที่เพาะปลูก และพื้นที่ทางเศรษฐกิจในตัวเมือง โดยในพื้นที่เจ้าพระยาตอนบน
มีจำนวน 1 ทุ่ง คือทุ่งบางระกำ จ.พิษณุโลก พื้นที่ 265,000 ไร่ สามารถรองรับน้ำได้ 400 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ส่วนพื้นที่เจ้าพระยาตอนล่าง มีจำนวน 12 ทุ่ง ประกอบด้วย ทุ่งเชียงราก จ.สิงห์บุรี ทุ่งฝั่งซ้ายคลองชัยนาท-ป่าสัก ทุ่งท่าวุ้ง จ.ลพบุรี ทุ่งบางกุ่ม ทุ่งบางกุ้ง ทุ่งป่าโมก จ.อ่างทอง ทุ่งผักไห่ ทุ่งเจ้าเจ็ด ทุ่งพระยาบันลือ ทุ่งโพธิ์พระยา ทุ่งบางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา และทุ่งรังสิตใต้ พื้นที่รวม 1.15 ล้านไร่ สามารถรองรับน้ำได้ 1,500 ล้าน ลบ.ม. รวมทั้งสิ้น 1,900 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันสามารถนำพื้นที่ดังกล่าวมารองรับน้ำหลากได้รวมกันประมาณ 1,600 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งถือว่าเป็นประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก
โครงการน้ำขนาดใหญ่ไม่คืบ
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของโครงการบริหารจัดการน้ำขนาดใหญ่ เพื่อมาช่วยเสริมศักยภาพของลุ่มน้ำเจ้าพระยาและลุ่มน้ำท่าจีน ที่ปัจจุบันแทบจะเต็มศักยภาพในการรองรับนั้น ต้องยอมรับว่า ในช่วง 1-2 ปีแรกของรัฐบาลชุดนี้ หมดไปกับการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ระยะเวลา 12 ปี (2558-2569) โครงการส่วนใหญ่ที่อนุมัติและเริ่มก่อสร้างก็จะเป็นเพียงโครงการขนาดเล็กเท่านั้น อาทิ การจัดทำแก้มลิง ขุดบ่อกักเก็บ ส่วนโครงการขนาดใหญ่แทบจะไม่มีการอนุมัติ และเริ่มก่อสร้างเลย เนื่องจากต้องใช้ระยะเวลาในการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) การสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนในพื้นที่ การทำประชาพิจารณ์เปิดรับฟังความคิดเห็น
ซึ่งทุกขั้นตอนล้วนกินระยะเวลานาน รวมไปถึงปัญหาในเรื่องของงบประมาณ แต่คาดว่าโครงการดังกล่าวน่าจะเริ่มทยอยอนุมัติและเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2561-2562
ลุยแผนจัดการลุ่มน้ำภาคกลาง
ทั้งนี้ การบริหารจัดการน้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยาและลุ่มน้ำใกล้เคียง ประกอบด้วย 9 แผนงาน วงเงินรวม 239,400 ล้านบาท ได้แก่
1.โครงการปรับปรุงระบบชลประทานเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่าง วงเงิน 57,100 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 7 ปี (2560-2566) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำลงสู่ทะเล และเพื่อพื้นที่กักเก็บน้ำในคลอง 18 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันศึกษาความเหมาะสมแล้วเสร็จบางส่วน แต่ต้องดำเนินการออกแบบรายละเอียดเพิ่มเติม 2.โครงการคลองระบายน้ำหลากเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงคลองชัยนาท-ป่าสัก วงเงิน 36,400 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี (2561-2565) เพื่อให้มีความสามารถระบายน้ำของคลองจาก 130 ลบ.ม.ต่อวินาที เป็น 930 ลบ.ม.ต่อวินาที และเพิ่มพื้นที่กักเก็บน้ำ 80 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันศึกษาความเหมาะสมแล้วเสร็จ และช่วงคลองป่าสัก-อ่าวไทย วงเงิน 86,300 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 7 ปี (2562-2568) เพื่อระบายน้ำหลากจากแม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำเจ้าพระยาที่ระบายมาทางคลองชัยนาท-ป่าสัก ลงสู่ทะเลเร็วขึ้นสูงสุด 600 ลบ.ม.ต่อวินาที เพิ่มพื้นที่เก็บกักน้ำ 50 ล้าน ลบ.ม. และลดพื้นที่น้ำท่วมลุ่มเจ้าพระยาได้ 2.86 ล้านไร่ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.)
ขุดคลองแก้ไขปัญหาคอขวด
3.โครงการคลองระบายน้ำควบคู่กับถนนวงแหวนรอบที่ 3 ภายใต้ความร่วมมือกับองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (ไจก้า) โดยจัดทำคลองระบายน้ำคู่ขนานถนน ขนาด 500 ลบ.ม.ต่อวินาที ความยาว 110.85 กม. คาดว่าการทบทวนผลการศึกษาจะแล้วเสร็จประมาณเดือนกุมภาพันธ์ 2561 และขอรับงบประมาณการศึกษาอีไอเอในปีงบประมาณ 2562
4.โครงการปรับปรุงโครงข่ายระบบชลประทานฝั่งตะวันตก วงเงิน 34,300 ล้านบาท ระยะเวลาก่อสร้าง 6 ปี (2561-2566) เพื่อระบายน้ำในแนวเหนือ-ใต้ ตั้งแต่คลองเจ้าเจ็ดต่อเนื่องออกสู่ทะเลอ่าวไทยให้ได้มากที่สุด โดยเพิ่มขึ้นจาก 52 ลบ.ม.ต่อวินาที เป็น 130 ลบ.ม.ต่อวินาที เพื่อลดการระบายน้ำลงสู่แม่น้ำท่าจีนและเจ้าพระยา ปัจจุบันศึกษาความเหมาะสมแล้วเสร็จ
5.โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา วงเงิน 2,400 ล้านบาท โดยการขุดลอกแม่น้ำเจ้าพระยา รวม 29 กม. ให้สามารถระบายน้ำได้ 2,500 ลบ.ม.ต่อวินาที ที่ระดับตลิ่ง และ 2,800 ลบ.ม.ต่อวินาที ที่ระดับคันกั้นน้ำ ปัจจุบันศึกษาความเหมาะสมแล้วเสร็จ 6.โครงการบริหารจัดการพื้นที่นอกคันกั้นน้ำ โดยดำเนินการตามแผนเพื่อลดผล
กระทบในพื้นที่ 14 แห่ง
7.โครงการคลองระบายน้ำหลากบางบาล-บางไทร วงเงิน 17,600 ล้านบาท ระยะเวลาก่อสร้าง 4 ปี (2562-2565) โดยขุดคลองสายใหม่ เพื่อเลี่ยง อ.เมือง จ.พระนครศรีอยุธยา ผ่าน อ.บางบาล ถึง อ.บางไทร ความยาว 22.4 กม. ระบายน้ำ 1,200 ลบ.ม.ต่อวินาที ปัจจุบันอยู่ระหว่างออกแบบ คาดว่าแล้วเสร็จปี 2562 อย่างไรก็ตาม รัฐบาลมีแนวคิดที่จะให้ดำเนินโครงการได้รวดเร็วมากขึ้นภายในปีนี้
8.โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำแม่น้ำท่าจีน วงเงิน 2,800 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 6 ปี (2561-2566) โดยการขุดลอกตะกอนในลำน้ำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำสูงสุด 90 ลบ.ม.ต่อวินาที และแก้ไขปัญหาคอขวด จ.สุพรรณบุรี และ
9.โครงการพื้นที่รับน้ำนอง โดยใช้พื้นที่ที่ว่างจากการเพาะปลูกรองรับน้ำ 1,500 ล้าน ลบ.ม.
เมื่อทั้ง 9 แผนงานแล้วเสร็จ จะช่วยตัดยอดน้ำหลากหน้าเขื่อนเจ้าพระยา ได้เพิ่มขึ้น 880 ลบ.ม.ต่อวินาที หน้าเขื่อนพระราม 6 ได้เพิ่มขึ้น 800 ลบ.ม.ต่อวินาที ระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยาได้ 2,800 ลบ.ม.ต่อวินาที โดยพื้นที่นอกคั้นกั้นน้ำไม่ได้รับผลกระทบ และเพิ่มความสามารถในการระบายน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณ จ.พระนครศรีอยุธยา 1,200 ลบ.ม.ต่อวินาที ส่วนแม่น้ำท่าจีนระบายน้ำลงสู่ทะเลได้ 600-650 ลบ.ม.ต่อวินาที นอกจากนี้ยังสามารถเก็บน้ำหลากไว้ในคลองขุดใหม่ได้รวม 200 ล้าน ลบ.ม. และในพื้นที่ลุ่มต่ำประมาณ 1,500 ล้าน ลบ.ม. เพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้ในช่วงต้นฤดูร้อน รวมทั้งลดพื้นที่น้ำท่วมเทียบกับปี 2554 ได้ประมาณ 1.7-5.04 ล้านไร่ในพื้นที่ 14 จังหวัด
‘ทองเปลว’ชี้น้ำปีนี้ต่างจาก”54
นายทองเปลว กองจันทร์ รองอธิบดีกรมชลประทาน ระบุว่า ปัญหาน้ำท่วมในปีนี้ถือว่าแตกต่างจากปี 2554 อย่างมาก ซึ่งจะพบว่าในพื้นที่ภาคกลางมีน้ำท่วมในปีนี้ มีเพียงประมาณ 1 ล้านไร่ ต่างจากในปี 2554 ที่มีน้ำท่วมสูงถึง 7 ล้านไร่ และจากการติดตามสภาพอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา ก็คาดว่าตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคมเป็นต้นไป ทุกภาคของไทยยกเว้นภาคใต้จะเริ่มเข้าสู่ฤดูหนาวแล้ว ซึ่งหมายความว่าปริมาณฝนจะลดลงเมื่อเทียบกับช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา ดังนั้นจึงมั่นใจได้ว่าหลังจากนี้การบริหารน้ำในลุ่มเจ้าพระยาน่าจะเริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ โดยมวลน้ำที่บริเวณลุ่มเจ้าพระยาตอนบนที่ขณะนี้มีปริมาณมาก น่าจะเริ่มทรงตัวภายใน 1 สัปดาห์ต่อจากนี้ จากนั้นคาดว่ามวลน้ำจะเริ่มลดระดับลง และระบายลงสู่อ่าวไทย จนเข้าสู่ภาวะปกติในช่วงที่ 20 พฤศจิกายน 2560 อย่างไรก็ตามกรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้เร่งพร่องน้ำลงสู่ทะเลให้ได้มากที่สุด เพื่อป้องกันหากจะมีพายุเข้ามาเพิ่มเติมในช่วงเวลาดังกล่าว
ท้ายที่สุดจะเกิดเหตุการณ์ตามคำทำนายของโหรชื่อดังหรือไม่ ยังไม่มีใครกล้าฟันธง แต่หากเดินหน้าตามแผนบริหารจัดการน้ำไม่สำเร็จ ปัญหาท่วมซ้ำซากจะยังตามหลอกหลอนทุกปีแน่!!