-- เมื่อไหร่น้ำจะมาถึงกรุงเทพฯ คำถามที่ถูกถามบ่อยๆ --

กระทู้ข่าว
..

น้ำจากนครสวรรค์ 4500 m^3/s
หากมาถึงกรุงเทพฯ  โดยไม่ล้นตลิ่งที่ไหนเลย แต่มาล้นตลิ่งที่กรุงเทพฯ
ซึ่งมีความสามารถในการระบายน้ำสูงสุด 3500 m^3/s

นั่นก็หมายความว่า
จะมีน้ำส่วนเกิน 1000 m^3/s ล้นตลิ่งที่กรุงเทพฯ
คิดเป็นปริมาณน้ำ = 86.4 ล้าน ลบ.ม. ต่อวัน

เรามาดูความเร็วการไหลของน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยากัน
สมมุติน้ำไหลที่ความเร็ว 1 เมตร/วินาที
1 วัน  น้ำจะไหลไปได้ไกล 86.4 ก.ม.
ซึ่งระยะทางจากเขื่อนภูมิพล ถึง กรุงเทพฯ  มีระยะทางประมาณ 500 ก.ม.
ก็ควรจะใช้เวลาเพียง 5.8 วัน

ถ้าน้ำ มันมาล้นตลิ่งที่กรุงเทพฯ  มันก็ควรจะล้นตลิ่งตั้งแต่ 6 วันแรกแล้วล่ะ
ซึ่งหากเป็นแบบนี้
น้ำจะท่วมกรุงเทพฯ โดยค่อยๆ สูงขึ้นเรื่อยๆ
สมมุติว่าพื้นที่กรุงเทพฯ  มีพื้นที่โดยประมาณ  1600 ตารางกิโลเมตร
นั่นก็หมายความว่า
พื้นที่กรุงเทพฯ  จะถูกน้ำท่วมโดยเฉลี่ย สูงขึ้น วันละ 86.4/1600 = 5.4 cm/วัน

หากเป็นแบบนี้ติดต่อกัน 1 เดือน
น้ำจะสูงขึ้นสูงสุด = 162 cm.

แต่บังเอิญว่า
น้ำ มันล้นตลิ่งตั้งแต่ที่นครสวรรค์
และมันก็แผ่พื้นที่ หลากกว้างออกไป  นับแล้วก็ร่วมเดือน
ซึ่งในข่าวก็บอกว่า  น้ำท่วมกินพื้นที่ราวๆ 8 ล้านไร่
คิดเป็นพื้นที่ = 12800 ล้านตารางเมตร  หรือ  12800 ตารางกิโลเมตร

น้ำทั้งหมดตลอดระยะเวลา 1 เดือนที่ล้นมานั้น
คิดเป็นปริมาณทั้งหมด = 86.4 x 30 = 2592 ล้าน ลบ.ม.

มันจึงท่วมพื้นที่โดยเฉลี่ย  สูง = 20.25 cm.
(ซึ่งบางที่อาจจะท่วมสูง 2 เมตร  บางที่ท่วมสูง 10 cm  ก็เป็นไปตามลักษณะของพื้นที่)

ทีนี้น้ำมันมาถึงกรุงเทพฯ
มันไม่ใช่ว่า น้ำ 2592  ล้าน ลบ.ม.  มันมากองอยู่ที่กรุงเทพฯ ตูมเดียว
แต่มันก็ยังกระจายท่วมที่อื่นๆ อยู่  ไล่ตั้งแต่นครสวรรค์ ลงมา
และน้ำที่หลากออกนอกแนวแม่น้ำ
มันจะลดความเร็วลงมาก  เพราะมันมีสิ่งกีดขวางตลอดทาง  โดยเฉพาะระดับของพื้นดินเอง
น้ำมันจึงไหลมาอย่างเอื่อยๆ
วันๆ หนึ่งที่มันมาถึงกรุงเทพฯ  มันจึงมีน้ำที่มีหน้าตัดกว้างหลายกิโลเมตร ไหลเข้ามาอย่างช้าๆ
หากคำนวณดูก็อาจจะพบว่า  ในแต่ละวัน  น้ำที่ขยายพื้นที่มาถึงกรุงเทพฯ นั้น
อาจจะมีปริมาณเพียงไม่กี่ล้านลูกบาศก์เมตร
เพราะยังมีน้ำอีกเยอะแยะ ที่มันไปท่วมขังอยู่ที่อื่นอยู่  เช่นตามแอ่งที่ต่ำ หรือจะเรียกว่าแก้มลิงต่างๆ ก็ได้ ไม่ผิด

น้ำเพียงไม่กี่ล้านลูกบาศก์เมตรที่มาถึงกรุงเทพฯ
เพียงแค่ถูกเครื่องสูบน้ำที่มีกำลังในการผลักดันน้ำรวมเพียงแค่  100 m^3/s
ก็สามารถถูกสูบลงทะเลได้ถึง วันละ 8.6 ล้าน ลบ.ม./วัน

ซึ่งกรุงเทพฯ เอง ก็สูบน้ำออกมาเป็นเดือนๆ
อย่างน้อยๆ น้ำที่ถูกสูบออกไปแล้ว  ก็รวมแล้ว = 259 ล้าน ลบ.ม.
แต่เอาเข้าจริง  ตัวเลข 100 m^3/s นั้น  ผมยังคิดว่าเป็นตัวเลขที่ประมาณการต่ำกว่าความเป็นจริงมาก
นี่ยังไม่นับ
น้ำที่ไหลผ่านคลองต่างๆ ไปลงทะเล
รวมกันหลายๆ สาย  มันน่าจะมากกว่า 500 m^3 /s ด้วยซ้ำ

เป็นเหตุผลว่า  ทำไม ตอนนี้กรุงเทพฯ น้ำยังไม่ท่วม  ทั้งๆ ที่พรุ่งนี้แล้ว
ที่เป็นวันที่น้ำทะเลหนุนสูงสุด
มันควรจะท่วมกรุงเทพฯ ได้แล้ว

แต่ในหลายๆ กระทู้ ก็ยังแปลกใจว่า น้ำในคลอง แห้งขอดกันหมด
และริมตลิ่งของแม่น้ำเจ้าพระยา น้ำยังต่ำกว่าตลิ่งอีกเกือบเมตร
ซึ่งบ่งบอกว่า  น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยานั้นยังเพียงพอที่จะระบายน้ำส่วนที่มาถึงกรุงเทพฯ และยังไม่ล้นตลิ่งได้อีก

แต่ส่วนที่มันล้นตลิ่งมาแล้วนั่นแหละ ที่มันท่วมที่อื่นๆ อยู่ในตอนนี้
ส่วนนั้น มันไม่ใช่ส่วนหนึ่งที่อยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยา  มันจึงไม่มีผลต่อการล้นตลิ่ง
หรืออันที่จริงก็หมายความว่า
น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา มันจะไม่มีทางล้นตลิ่งที่สูงจากระดับน้ำทะเลถึง 2 เมตรกว่า

เพราะน้ำส่วนเกิน วันละ 86.4 ล้าน ลบ.ม. นั้น  มันอยู่นอกแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่แล้ว
ยิ่งผ่านไปนานวันเท่าไหร่
น้ำส่วนเกินนี้ ก็กินพื้นที่กว้างไปเรื่อยๆ  ไม่ใช่ว่าจะทิ้งตัวมุ่งสู่กรุงเทพฯ อย่างเดียว
มันไปทุกที่ที่มันไปถึง
บางที่มันจึงร่วมไปท่วมเค้าสัก 10 cm
บางที่ไปร่วมเค้าสักเมตรนึง
บางที่ไปท่วมเค้าสักสองเมตร
มันจะเหลือมาถึงกรุงเทพฯ กี่มากน้อยก็คิดดูเอาแล้วกันครับ

ทีนี้  พอน้ำเหนือลดลง เนื่องจากปริมาณฝนลดลง
น้ำจากที่เคยไหล 4500 m^3/s
ก็อาจจะเหลือเพียง 3500 m^3/s  เท่ากับที่ปลายน้ำ  โดยที่ก็ยังคงมีบางส่วนล้นตลิ่งออกมา ในจุดที่ไม่สามารถรับน้ำเกินนี้ได้
น้ำที่ไปถึงกรุงเทพฯ  ก็อาจจะลดเหลือเพียง 3000 m^3/s
ซึ่งต่ำกว่าความสามารถในการระบายน้ำของปลายน้ำ
น้ำที่มันล้นตลิ่งก่อนหน้านั้น
ก็จะไหลกลับคืนมายังแม่น้ำเจ้าพระยา  ซึ่งก็ได้คำนวณให้ดูแล้วว่า
ส่วนที่เกินวันละ 86.4 ล้าน ลบ.ม./วัน นั้น
พอกลับมารวมกับน้ำ 3000 m^3/s มันก็จะไม่เกินที่อัตรา 3500 m^3/s
เพราะ น้ำที่ล้นตลิ่งออกมานั้นเป็นเพราะมันเกิน 3500  น้ำที่ไหลกลับไปที่แม่น้ำ ก็ต้องไม่เกิน 3500 เช่นกัน
(ตรงนี้ผมอธิบายลำบาก   คุณต้องคิดวิเคราะห์ดูด้วยตนเอง)

ส่วนที่ยังค้างอยู่ตามแก้มลิง หรือ จุดที่ท่วมอยู่ตอนนี้
ก็จะค่อยๆ ลดระดับลงมาเรื่อยๆ ตามระยะเวลาที่ผ่านไป

และยิ่งในช่วงที่น้ำทะเล ลง
มันจะมีพฤติกรรมแบบเครื่องสูบน้ำขนาดยักษ์  ซึ่งมีต้นกำลังอยู่ที่ดวงจันทร์
ช่วยดึงน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา ให้ลดระดับลงอย่างฮวบฮาบ
ต่างจากการที่น้ำเหนือ ทิ้งตัวเองไหลลงมาตามแรงดึงดูดของโลกแต่อย่างเดียว

จังหวะนี้เองที่น้ำจะไหลเร็วยิ่งกว่า 3500 m^s/s
เพราะน้ำในคลองเล็กคลองน้อย  จะถูกดึงลงทะเลอย่างรวดเร็วไปด้วยพร้อมกัน

สรุปแล้ว
หากใครจะถามว่าเมื่อไหร่น้ำจะมาถึงกรุงเทพฯ ซะที
ก็ตอบว่า  น้ำมันมาถึงตั้งแต่ 6 วันแรกแล้ว
ส่วนที่ล้นมานี้ มันมาช้ามาก  ขณะเดียวกัน
มันก็มาถึงคราวละไม่มาก มันทยอยมา
และด้วยความสามารถของเครื่องสูบน้ำพลังงานน้ำมัน  และ เครื่องสูบน้ำพลังงานดวงจันทร์
ช่วยให้ระบายน้ำส่วนที่ค่อยๆ มาถึงนี้ได้สบายๆ

..

แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่