ไทยไร้ รมว.คลังประชุมเวทีโลก
https://www.posttoday.com/finance-stock/news/634361
ไทยส่งตัวแทน รมว.คลัง ประชุมรมว.คลังเอเปค ครั้งที่ 27
นาย
ลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า นางสาวเกตสุดา สุประดิษฐ์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้รับมอบหมายเป็นผู้แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปค (APEC Virtual Finance Ministers’ Meeting: APEC VFMM) ครั้งที่ 27 ในรูปแบบการประชุมทางไกล เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2563 ณ สศค. โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหพันธรัฐมาเลเซีย (นาย Tengku Zafrul Tengku Abdul Aziz) เป็นประธาน พร้อมด้วยผู้แทนระดับสูงจากสมาชิกเอเปคทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจ และผู้แทนจากองค์กรระหว่างประเทศ อาทิ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Co-operation and Development: OECD) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund: IMF) กลุ่มธนาคารโลก (World Bank Group) ธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) เป็นต้น เข้าร่วมการประชุม ซึ่งแนวคิดหลักของการประชุมเอเปคประจำปี 2563 คือ การใช้ประโยชน์สูงสุดจากศักยภาพมนุษย์เพื่ออนาคตที่พร้อมรับความเปลี่ยนแปลงไปสู่ความรุ่งเรืองร่วมกัน ผ่านการกำหนดความสำคัญ การจัดลำดับความสำคัญ และความก้าวหน้า (Optimizing Human Potential towards a Resilient Future of Shared Prosperity: Pivot. Priorities. Progress.) โดยมีการหารือที่สำคัญ ดังนี้
1. การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลกระทบในเชิงลบต่อชีวิตความเป็นอยู่และเศรษฐกิจของโลกอย่างมาก ทั้งในด้านอุปสงค์และอุปทานของสินค้าและบริการทั้งในและต่างประเทศ ระบบห่วงโซ่อุปทาน ความผันผวนของตลาดการเงิน ฐานะทางการคลัง และปัญหาการว่างงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบที่มีต่อวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (Micro, Small and Medium Enterprises: MSMEs) และจากการที่สมาชิกเอเปคดำเนินนโยบายด้านการเงินและการคลังเพื่อการรับมือและฟื้นฟูเศรษฐกิจจากผลกระทบของ COVID-19 ความโปร่งใสและความยั่งยืนทางการคลังเป็นสิ่งต้องให้ความสำคัญ
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้มีการหารือเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดจาก COVID-19 ที่ได้ก่อให้เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำที่สุดนับแต่ปี 2473 (ค.ศ. 1930) ซึ่งส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเปราะบาง ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีการนำมาใช้ IMF คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวในช่วงปลายปี 2564 และกลุ่มธนาคารโลกคาดการณ์ตัวเลขคนยากจนมาก (Extreme Poverty) จะเพิ่มจาก 100 ล้านคนในปี 2563 เป็น 150 ล้านคน ในปี 2564
2. การประชุม APEC VFMM ในครั้งนี้สมาชิกได้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการรับมือและใช้มาตรการต่าง ๆ ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจจากผลกระทบของ COVID-19 เพื่อที่เขตเศรษฐกิจต่าง ๆ จะนำไปพิจารณาปรับใช้ตามความเหมาะสม โดยผู้แทนไทยได้ชี้แจงต่อที่ประชุมถึงมาตรการด้านการคลังและการเงินในการรับมือและกระตุ้นเศรษฐกิจ ผ่านการให้เงินช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบ การบรรเทาค่าใช้จ่ายด้านอุปโภคบริโภค การขยายระยะเวลาการยื่นแบบชำระภาษี รวมไปถึงการให้ความช่วยเหลือด้านเงินทุนแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises: SMEs) และการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย การปรับโครงสร้างหนี้ และการออกกองทุนเพื่อรักษาสภาพคล่องของการระดมทุนในตลาดตราสารของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งมีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจไทยเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวที่ดีขึ้น
ทั้งนี้ ประสบการณ์ในการรับมือกับวิกฤต COVID-19 ของสมาชิกแสดงให้เห็นว่า ทุกเขตเศรษฐกิจดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ใช้งบประมาณจำนวนมาก โดยต่างให้ความสำคัญกับการรักษาระดับหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศเพื่อการฟื้นตัวและการเติบโตอย่างยั่งยืน เช่นเดียวกับไทยที่ดำเนินการด้วยความระมัดระวัง โดยระดับหนี้สาธารณะของไทยยังคงอยู่ภายใต้กรอบความมั่นคงทางการคลัง โดยร้อยละ 98 ของแหล่งเงินกู้มาจากแหล่งเงินกู้ในประเทศ
พร้อมกันนี้ เอเปคยังให้ความสำคัญกับการดำเนินการด้านสุขภาพ สาธารณสุข และการนำระบบดิจิทัลมาใช้ในระบบการเงิน ซึ่งได้มีบทบาทที่สำคัญในช่วงของการระบาดของ COVID-19 ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการดำเนินธุรกิจของภาคส่วนต่างๆ รวมไปถึงการควบคุมการระบาดของ COVID-19 เอเปคยังคงมุ่งมั่นต่อการดำเนินการในอนาคต (APEC post-2020 vision) และให้ความสำคัญกับความร่วมมือในทุกรูปแบบต่อไป จึงกล่าวได้ว่า การประชุมครั้งนี้ทำให้ไทยได้เห็นมุมมองต่อการรับมือ COVID-19 ของสมาชิกเอเปค ขณะเดียวกันก็ได้เห็นทิศทางการดำเนินการร่วมกันของสมาชิกเอเปคต่อไปในอนาคต
การประชุม APEC FMM ครั้งที่ 28 จะจัดขึ้นในเดือนตุลาคม 2564 โดยมีนิวซีแลนด์เป็นเจ้าภาพ
หนุ่มสาวโรงงานน้ำตาคลอ นิคมฯเวลโกรว์ 'พานาโซนิค' ปิดตัว ย้ายฐานการผลิตไปเวียดนาม
https://www.matichon.co.th/social/news_2373847
จากภาวะเศรษฐกิจถดถอย ปี 2563 ถือว่าหนักหนาสาหัสสำหรับผู้ประกอบการและผู้บริโภคมากทีเดียว เห็นได้จากสถานประกอบการหลายแหล่งประกาศปิดตัว พร้อมจ่ายค่าชดเชยแก่พนักงานให้อย่างเหมาะสม ล่าสุด เมื่อวันที่ 30 กันยายน เกิดขึ้นกับ นิคมอุตสาหกรรมเวลโกรว์ จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นแหล่งผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า กลุ่มเครื่องซักผ้า และตู้เย็น ของ บริษัท พานาโซนิค จำกัด ที่ปิดตัวลง
โดยเพจ
“มนุษย์โรงงาน” ได้โพสต์ภาพพนักงานของโรงงานพานาโซนิคที่ปิดตัวลงในวันนี้ พร้อมระบุว่าจะย้ายฐานการผลิตไปที่ประเทศเวียดนามแทน ทำให้พนักงานต้องตกงาน
อย่างไรก็ตาม นาย
สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เคยเปิดเผยเมื่อเดือนพฤษภาคมว่า บริษัท พานาโซนิค จำกัด ได้ย้ายฐานการผลิตตู้เย็นและเครื่องซักผ้าไปยังประเทศเวียดนาม และจากการรายงานผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรมว่ากรณีดังกล่าวเป็นการปรับแผนทางธุรกิจของพานาโซนิคที่วางไว้เดิมอยู่แล้ว เพื่อให้ขนาดการลงทุนมีความคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น ทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดหาวัตถุดิบและมีต้นทุนการผลิตลดลง และการย้ายฐานนั้นเป็นการรวมสายการผลิตไว้ที่ประเทศเวียดนาม ซึ่งปัจจุบันเป็นฐานการผลิตหลักของตู้เย็น และเครื่องซักผ้าของกลุ่มบริษัท พานาโซนิคในอาเซียนอยู่แล้ว
JJNY : ไทยไร้รมว.คลังประชุมเวทีโลก/นิคมฯเวลโกรว์'พานาโซนิค'ปิดตัว ย้ายไปเวียดนาม/โควิด:ทั่วโลกป่วย34ล./ติดเชื้อเพิ่มxx
https://www.posttoday.com/finance-stock/news/634361
ไทยส่งตัวแทน รมว.คลัง ประชุมรมว.คลังเอเปค ครั้งที่ 27
นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า นางสาวเกตสุดา สุประดิษฐ์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้รับมอบหมายเป็นผู้แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปค (APEC Virtual Finance Ministers’ Meeting: APEC VFMM) ครั้งที่ 27 ในรูปแบบการประชุมทางไกล เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2563 ณ สศค. โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหพันธรัฐมาเลเซีย (นาย Tengku Zafrul Tengku Abdul Aziz) เป็นประธาน พร้อมด้วยผู้แทนระดับสูงจากสมาชิกเอเปคทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจ และผู้แทนจากองค์กรระหว่างประเทศ อาทิ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Co-operation and Development: OECD) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund: IMF) กลุ่มธนาคารโลก (World Bank Group) ธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) เป็นต้น เข้าร่วมการประชุม ซึ่งแนวคิดหลักของการประชุมเอเปคประจำปี 2563 คือ การใช้ประโยชน์สูงสุดจากศักยภาพมนุษย์เพื่ออนาคตที่พร้อมรับความเปลี่ยนแปลงไปสู่ความรุ่งเรืองร่วมกัน ผ่านการกำหนดความสำคัญ การจัดลำดับความสำคัญ และความก้าวหน้า (Optimizing Human Potential towards a Resilient Future of Shared Prosperity: Pivot. Priorities. Progress.) โดยมีการหารือที่สำคัญ ดังนี้
1. การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลกระทบในเชิงลบต่อชีวิตความเป็นอยู่และเศรษฐกิจของโลกอย่างมาก ทั้งในด้านอุปสงค์และอุปทานของสินค้าและบริการทั้งในและต่างประเทศ ระบบห่วงโซ่อุปทาน ความผันผวนของตลาดการเงิน ฐานะทางการคลัง และปัญหาการว่างงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบที่มีต่อวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (Micro, Small and Medium Enterprises: MSMEs) และจากการที่สมาชิกเอเปคดำเนินนโยบายด้านการเงินและการคลังเพื่อการรับมือและฟื้นฟูเศรษฐกิจจากผลกระทบของ COVID-19 ความโปร่งใสและความยั่งยืนทางการคลังเป็นสิ่งต้องให้ความสำคัญ
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้มีการหารือเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดจาก COVID-19 ที่ได้ก่อให้เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำที่สุดนับแต่ปี 2473 (ค.ศ. 1930) ซึ่งส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเปราะบาง ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีการนำมาใช้ IMF คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวในช่วงปลายปี 2564 และกลุ่มธนาคารโลกคาดการณ์ตัวเลขคนยากจนมาก (Extreme Poverty) จะเพิ่มจาก 100 ล้านคนในปี 2563 เป็น 150 ล้านคน ในปี 2564
2. การประชุม APEC VFMM ในครั้งนี้สมาชิกได้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการรับมือและใช้มาตรการต่าง ๆ ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจจากผลกระทบของ COVID-19 เพื่อที่เขตเศรษฐกิจต่าง ๆ จะนำไปพิจารณาปรับใช้ตามความเหมาะสม โดยผู้แทนไทยได้ชี้แจงต่อที่ประชุมถึงมาตรการด้านการคลังและการเงินในการรับมือและกระตุ้นเศรษฐกิจ ผ่านการให้เงินช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบ การบรรเทาค่าใช้จ่ายด้านอุปโภคบริโภค การขยายระยะเวลาการยื่นแบบชำระภาษี รวมไปถึงการให้ความช่วยเหลือด้านเงินทุนแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises: SMEs) และการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย การปรับโครงสร้างหนี้ และการออกกองทุนเพื่อรักษาสภาพคล่องของการระดมทุนในตลาดตราสารของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งมีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจไทยเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวที่ดีขึ้น
ทั้งนี้ ประสบการณ์ในการรับมือกับวิกฤต COVID-19 ของสมาชิกแสดงให้เห็นว่า ทุกเขตเศรษฐกิจดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ใช้งบประมาณจำนวนมาก โดยต่างให้ความสำคัญกับการรักษาระดับหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศเพื่อการฟื้นตัวและการเติบโตอย่างยั่งยืน เช่นเดียวกับไทยที่ดำเนินการด้วยความระมัดระวัง โดยระดับหนี้สาธารณะของไทยยังคงอยู่ภายใต้กรอบความมั่นคงทางการคลัง โดยร้อยละ 98 ของแหล่งเงินกู้มาจากแหล่งเงินกู้ในประเทศ
พร้อมกันนี้ เอเปคยังให้ความสำคัญกับการดำเนินการด้านสุขภาพ สาธารณสุข และการนำระบบดิจิทัลมาใช้ในระบบการเงิน ซึ่งได้มีบทบาทที่สำคัญในช่วงของการระบาดของ COVID-19 ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการดำเนินธุรกิจของภาคส่วนต่างๆ รวมไปถึงการควบคุมการระบาดของ COVID-19 เอเปคยังคงมุ่งมั่นต่อการดำเนินการในอนาคต (APEC post-2020 vision) และให้ความสำคัญกับความร่วมมือในทุกรูปแบบต่อไป จึงกล่าวได้ว่า การประชุมครั้งนี้ทำให้ไทยได้เห็นมุมมองต่อการรับมือ COVID-19 ของสมาชิกเอเปค ขณะเดียวกันก็ได้เห็นทิศทางการดำเนินการร่วมกันของสมาชิกเอเปคต่อไปในอนาคต
การประชุม APEC FMM ครั้งที่ 28 จะจัดขึ้นในเดือนตุลาคม 2564 โดยมีนิวซีแลนด์เป็นเจ้าภาพ
หนุ่มสาวโรงงานน้ำตาคลอ นิคมฯเวลโกรว์ 'พานาโซนิค' ปิดตัว ย้ายฐานการผลิตไปเวียดนาม
https://www.matichon.co.th/social/news_2373847
จากภาวะเศรษฐกิจถดถอย ปี 2563 ถือว่าหนักหนาสาหัสสำหรับผู้ประกอบการและผู้บริโภคมากทีเดียว เห็นได้จากสถานประกอบการหลายแหล่งประกาศปิดตัว พร้อมจ่ายค่าชดเชยแก่พนักงานให้อย่างเหมาะสม ล่าสุด เมื่อวันที่ 30 กันยายน เกิดขึ้นกับ นิคมอุตสาหกรรมเวลโกรว์ จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นแหล่งผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า กลุ่มเครื่องซักผ้า และตู้เย็น ของ บริษัท พานาโซนิค จำกัด ที่ปิดตัวลง
โดยเพจ “มนุษย์โรงงาน” ได้โพสต์ภาพพนักงานของโรงงานพานาโซนิคที่ปิดตัวลงในวันนี้ พร้อมระบุว่าจะย้ายฐานการผลิตไปที่ประเทศเวียดนามแทน ทำให้พนักงานต้องตกงาน
อย่างไรก็ตาม นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เคยเปิดเผยเมื่อเดือนพฤษภาคมว่า บริษัท พานาโซนิค จำกัด ได้ย้ายฐานการผลิตตู้เย็นและเครื่องซักผ้าไปยังประเทศเวียดนาม และจากการรายงานผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรมว่ากรณีดังกล่าวเป็นการปรับแผนทางธุรกิจของพานาโซนิคที่วางไว้เดิมอยู่แล้ว เพื่อให้ขนาดการลงทุนมีความคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น ทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดหาวัตถุดิบและมีต้นทุนการผลิตลดลง และการย้ายฐานนั้นเป็นการรวมสายการผลิตไว้ที่ประเทศเวียดนาม ซึ่งปัจจุบันเป็นฐานการผลิตหลักของตู้เย็น และเครื่องซักผ้าของกลุ่มบริษัท พานาโซนิคในอาเซียนอยู่แล้ว