เราเคยสงสัยกันไหมคะว่า เวลาทหารที่ผ่านศึกสงคราม แล้วเกิดความศูนย์เสียอวัยวะ หรือมีความพิการเกิดขึ้น พวกเขาหาเลี้ยงชีพกันได้อย่างไร? ซึ่งวันนี้มี่มีรายละเอียดจะมาขอแบ่งปันให้ทุกคนได้ทราบกันค่ะ
ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน พวกเราดำรงชีพอย่างสงบได้ แม้มีสงคราม เพราะมีผู้เสียสละอย่าง “ทหารไทย” ผู้ซึ่งยอมเสียสละชีวิต เลือดเนื้อ ความสุขส่วนตัวเพื่อปกป้องประเทศชาติอย่างกล้าหาญ ทหารบางคนโชคร้าย ได้รับบาดเจ็บจนต้องสูญเสียอวัยวะ บางรายเป็นผู้พิการ หรือทุพพลภาพ ทำให้พวกเขากลายเป็นผู้ป่วยในโรงพยาลบาลทหารผ่านศึก…ทหารเหล่านี้ ต้องได้รับการดูแลทั้งสภาพร่างกาย และจิตใจเป็นพิเศษ โรงพยาบาลฯ จึงได้ให้การรักษาแบบองค์รวมในทุกมิติ คือ ร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ มีการรักษาตามสภาพอาการ ฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายด้วยกายภาพบำบัด และฟื้นฟูจิตใจควบคู่กันไปด้วย ศูนย์ฝึกอบรมอาชีพของโรงพยาบาลทหารผ่านศึก เริ่มต้นการการสอนผู้ป่วยให้แกะสลักไม้วิจิตรศิลป์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงขอให้อาจารย์ เทรุโอะ โยมูระ อาจารย์ชาวญี่ปุ่น ผู้มีความสนใจในศิลปไทยอย่างมาก และเป็นอาจารย์สอนวิชาวาดเขียนในโรงเรียนจิตลดา ให้มาช่วยสอนงานศิลปะที่ผสมผสานระหว่างศิลปะญี่ปุ่น และศิลปะไทย ที่เรียกว่า “ศิลปะประดิษฐ์ไทย - โอชิเอะ” ให้แก่ทหารผ่านศึกพิการทุพพลภาพ ซึ่งถือได้ว่าศิลปะแขนงนี้ต้องใช้ความประณีต และความคิดสร้างสรรค์เป็นอย่างสูง
ในการออกแบบผลงานแต่ละชิ้น มีขั้นตอน และวิธีการทำที่ละเอียดอ่อนมาก ต้องใช้มือในการทำทุกชิ้น โดยผู้ประดิษฐ์จะทำชิ้นส่วนต่างๆทีละชิ้น จากนั้นห่อหุ้งชิ้นส่วนให้สวยงามด้วยผ้าลายต่างๆที่ผู้ประดิษฐ์สร้างสรรค์ให้เสมือนจริงที่สุด ไม่ว่าจะเป็นใบหน้า อวัยวะ เครื่องนุ่มห่ม หรือส่วนประกอบอื่นๆ แล้วมาประกอบเป็นภาพนูน สามมิติ ซึ่งภาพที่เป็นที่นิยม และมีความต้องการสูง เช่น ภาพบูชาในศาสนาต่างๆ ภาพวิวทิวทัศน์ ภาพตัวละครในวรรณคดี ภาพประเพณีไทย รวมไปถึงการรับทำตามความต้องการของลูกค้าอีกด้วย ซึ่งระยะเวลาในการทำนั้นขึ้นอยู่กับความละเอียด และขนาดของภาพ บางชิ้นงานต้องใช้เวลานานถึง 2 สัปดาห์เลยทีเดียวค่ะ
จะเห็นได้ว่า ศิลปะประดิษฐ์ไทย – โอชิเอะนั้น เน้นที่คุณค่าของสินค้า มีระยะเวลาการผลิต มีรายละเอียดที่ประณีต และต้องทำด้วยมือ ผลิตโดยทหารผ่านศึกที่พิการ เพื่อให้มีรายได้เลี้ยงดูครอบครัว และช่วยบำบัดจิตใจ ส่วนการดำเนินการสนับสนุนนั้น ทำโดยผ่านองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก จัดจำหน่ายที่ร้าน ๑ นิคม ๑ ผลิตภัณฑ์ หรือช่องทางออนไลน์
https://www.facebook.com/wvoshopofficial
++++ ขอบคุณที่เข้ามาชมกันค่ะ ++++
ศิลปะประดิษฐ์ไทย - โอชิเอะ ผลงานอันน่าภาคภูมิใจของทหารผ่านศึกไทย
ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน พวกเราดำรงชีพอย่างสงบได้ แม้มีสงคราม เพราะมีผู้เสียสละอย่าง “ทหารไทย” ผู้ซึ่งยอมเสียสละชีวิต เลือดเนื้อ ความสุขส่วนตัวเพื่อปกป้องประเทศชาติอย่างกล้าหาญ ทหารบางคนโชคร้าย ได้รับบาดเจ็บจนต้องสูญเสียอวัยวะ บางรายเป็นผู้พิการ หรือทุพพลภาพ ทำให้พวกเขากลายเป็นผู้ป่วยในโรงพยาลบาลทหารผ่านศึก…ทหารเหล่านี้ ต้องได้รับการดูแลทั้งสภาพร่างกาย และจิตใจเป็นพิเศษ โรงพยาบาลฯ จึงได้ให้การรักษาแบบองค์รวมในทุกมิติ คือ ร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ มีการรักษาตามสภาพอาการ ฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายด้วยกายภาพบำบัด และฟื้นฟูจิตใจควบคู่กันไปด้วย ศูนย์ฝึกอบรมอาชีพของโรงพยาบาลทหารผ่านศึก เริ่มต้นการการสอนผู้ป่วยให้แกะสลักไม้วิจิตรศิลป์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงขอให้อาจารย์ เทรุโอะ โยมูระ อาจารย์ชาวญี่ปุ่น ผู้มีความสนใจในศิลปไทยอย่างมาก และเป็นอาจารย์สอนวิชาวาดเขียนในโรงเรียนจิตลดา ให้มาช่วยสอนงานศิลปะที่ผสมผสานระหว่างศิลปะญี่ปุ่น และศิลปะไทย ที่เรียกว่า “ศิลปะประดิษฐ์ไทย - โอชิเอะ” ให้แก่ทหารผ่านศึกพิการทุพพลภาพ ซึ่งถือได้ว่าศิลปะแขนงนี้ต้องใช้ความประณีต และความคิดสร้างสรรค์เป็นอย่างสูง
จะเห็นได้ว่า ศิลปะประดิษฐ์ไทย – โอชิเอะนั้น เน้นที่คุณค่าของสินค้า มีระยะเวลาการผลิต มีรายละเอียดที่ประณีต และต้องทำด้วยมือ ผลิตโดยทหารผ่านศึกที่พิการ เพื่อให้มีรายได้เลี้ยงดูครอบครัว และช่วยบำบัดจิตใจ ส่วนการดำเนินการสนับสนุนนั้น ทำโดยผ่านองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก จัดจำหน่ายที่ร้าน ๑ นิคม ๑ ผลิตภัณฑ์ หรือช่องทางออนไลน์ https://www.facebook.com/wvoshopofficial