ประวัติโรงพยาบาลทหารผ่านศึก
โรงพยาบาลทหารผ่านศึก เป็นโรงพยาบาลรัฐในสังกัดกระทรวงกลาโหม จัดตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการช่วยเหลือทหารผู้ได้รับบาดเจ็บจากศึกสงคราม ตั้งแต่ครั้งสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศไทยได้จัดส่งกำลังทหารเข้าร่วมทำการรบ ในสงคราม มหาเอเซียบูรพา เมื่อสิ้นสุดสงครามทหารที่ปฏิบัติหน้าที่ ในการรบถูกปลดประจำการโดยกะทันหัน ส่งผลให้ทหารและครอบครัว ได้รับการเดือดร้อนในการครองชีพ รัฐบาลในขณะนั้นซึ่งมี พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี จึงมอบหมายให้กระทรวงกลาโหมพิจารณาดำเนินการช่วยเหลือ ต่อมาเมื่อมีการขยายการสงเคราะห์เพิ่มขึ้น จึงได้มีการพิจารณาว่าการดำเนินงาน ในรูปของคณะกรรมการจะขาดความรัดกุมและเหมาะสม กระทรวงกลาโหมจึงได้เสนอเป็น พระราชบัญญัติ จัดตั้ง องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก หรือที่เรียกโดยย่อว่า "อผศ." ขึ้นเป็นหน่วยงานถาวร เพื่อทำหน้าที่ในการสงเคราะห์ทหารผ่านศึกโดยตรง มีฐานะเป็นองค์กรของรัฐเพื่อการกุศล โรงพยาบาลทหารผ่านศึก" เป็นโรงพยาบาลที่ก่อตั้งโดยพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แรกเริ่มได้ถือกำเนิดจากการสถานปฐมพยาบาล มีฐานะเป็นเพียงแผนกหนึ่งในกองสวัสดิการ องศ์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ตามมติสภาฯครั้งที่2/91 เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2491 ให้ตั้งสถานพยาบาลขึ้น และในวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2491 ได้จัดตั้งขึ้นเป็นหน่วยปฏิบัติการด้านการรักษาพยาบาลแก่ทหารผ่านศึกนอก ประจำการ เพื่อให้การสงเคราะห์ ตามระเบียบ อผศ.ฉบับที่ 3 ข้อ 5 ตั้งแต่ วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2491 และ ให้บริการแก่ประชาชนในด้านการรักษาพยาบาลจ่ายค่ารักษาพยาบาลโดยคิดค่า รักษาตามสมควร โดยมีสถานที่ตั้งแต่แรกเริ่มจนถึงปัจจุบัน
พ.ศ. 2491-2494 ห้องชั้นล่างที่ทำการ อผศ.เก่า ศาลหลักเมือง
พ.ศ. 2495-2497 ย้ายและขยายที่ทำการไปอยู่ที่ กองพยาบาลศาลเด็ก ชั้นบนจัดเป็น สถานที่พักผู้ป่วย และรับทำการคลอดบุตร
พ.ศ. 2497-2505 ย้ายกลับ ห้องชั้นล่าง อผศ.เก่า ศาลหลักเมือง
พ.ศ. 2505-2510 ย้ายมาที่อาคารทหารผ่านศึกพิการทุพพลภาพ พญาไท ถนนราชวิถี เนื่องจากมีผู้มาใช้บริการเพิ่มขึ้น
พ.ศ. 2510-2513 ย้ายจากอาคารทหารผ่านศึก มาอยู่ ตึกเล็กสองชั้นข้างทางเข้า อผศ
พ.ศ. 2512 ได้ ยกฐานะ สถานพยาบาลขึ้นเป็น กองแพทย์ โดยรวมกิจการการรักษาพยาบาล การฟื้นฟูบำบัด และ การฝึกอาชีพทหารผ่านศึกทุพพลภาพไว้ด้วยกัน จึงได้ทำการก่อสร้างอาคารกองแพทย์ขึ้นในที่ดินที่รับมอบจากกองทัพบก ที่ถนนวิภาวดี รังสิต
พ.ศ. 2513 ย้าย มาอยู่ที่ถนนวิภาวดี จนมาถึงปัจจุบัน กองแพทย์แห่งนี้ได้เกิดขึ้น โดยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โดยทรงมีพระราชดำริให้มีการดูแลทหารผ่านศึกพิการทุพพลภาพในด้านการฟื้นฟู บำบัด และการฝึกหัดอาชีพ ทั้งได้เสด็จพระราชดำเนินเปิดอาคารด้วยพระองค์เอง เมื่อวันศุกร์ที่ 8 ตุลาคม 2513 เวลา 16.00 น.
พ.ศ. 2517 ได้ยกฐานะกองแพทย์ขึ้นเป็นโรงพยาบาลทหารผ่านศึก ตามมติสภาฯ ครั้งที่ 1/17 และได้ทำการก่อสร้างอาคาร 6 ชั้น เพื่อรับผู้ป่วยไว้รักษาพยาบาล 1 หลัง ซึ่งมีขีดความสามารถรับผู้ป่วยไว้รักษาพยาบาลได้ 100-120 เตียง และได้เริ่มให้บริการในรูปโรงพยาบาลได้ตั้งแต่ 2521 เป็นต้นมา
พ.ศ. 2528 ได้ ทำการก่อสร้างอาคารเวชศาสตร์ฟื้นฟูและออร์โธปิดิคส์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก ครม. อนุมัติให้ก่อสร้าง ตามแผนการโรงพยาบาลทหารผ่านศึก ระยะที่ 2 และย้ายผู้ป่วยทหารพิการอัมพาตมาไว้ที่อาคารนี้ เพราะสถานที่เดิมคับแคบไม่ค่อยถูกสุขลักษณะ
พ.ศ. 2530 ได้ทำการรื้อถอนอาคารอำนวยการเดิม ซึ่งได้ทำการก่อสร้าง เมื่อ พ.ศ. 2512 (เนื่องจากอาคารเดิมทรุดตัว) และได้ก่อสร้างอาคารอำนวยการใหม่ แนบกับอาคารโรงพยาบาลเดิมขนาด 6 ชั้น หากก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ และ รพ.ผศ. มีงบประมาณสนับสนุนเพียงพอแล้วจะสามารถเพิ่มเตียงรับผู้ป่วยไว้รักษาได้อีก รวมเป็น 300 เตียง
#โรงพยาบาลทหารผ่านศึก #ทหารผ่านศึก #ร้อยดวงใจเสียสละเพื่อผู้เสียสละ #บริจาคเงิน
ประวัติ โรงพยาบาลทหารผ่านศึก
โรงพยาบาลทหารผ่านศึก เป็นโรงพยาบาลรัฐในสังกัดกระทรวงกลาโหม จัดตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการช่วยเหลือทหารผู้ได้รับบาดเจ็บจากศึกสงคราม ตั้งแต่ครั้งสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศไทยได้จัดส่งกำลังทหารเข้าร่วมทำการรบ ในสงคราม มหาเอเซียบูรพา เมื่อสิ้นสุดสงครามทหารที่ปฏิบัติหน้าที่ ในการรบถูกปลดประจำการโดยกะทันหัน ส่งผลให้ทหารและครอบครัว ได้รับการเดือดร้อนในการครองชีพ รัฐบาลในขณะนั้นซึ่งมี พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี จึงมอบหมายให้กระทรวงกลาโหมพิจารณาดำเนินการช่วยเหลือ ต่อมาเมื่อมีการขยายการสงเคราะห์เพิ่มขึ้น จึงได้มีการพิจารณาว่าการดำเนินงาน ในรูปของคณะกรรมการจะขาดความรัดกุมและเหมาะสม กระทรวงกลาโหมจึงได้เสนอเป็น พระราชบัญญัติ จัดตั้ง องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก หรือที่เรียกโดยย่อว่า "อผศ." ขึ้นเป็นหน่วยงานถาวร เพื่อทำหน้าที่ในการสงเคราะห์ทหารผ่านศึกโดยตรง มีฐานะเป็นองค์กรของรัฐเพื่อการกุศล โรงพยาบาลทหารผ่านศึก" เป็นโรงพยาบาลที่ก่อตั้งโดยพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แรกเริ่มได้ถือกำเนิดจากการสถานปฐมพยาบาล มีฐานะเป็นเพียงแผนกหนึ่งในกองสวัสดิการ องศ์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ตามมติสภาฯครั้งที่2/91 เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2491 ให้ตั้งสถานพยาบาลขึ้น และในวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2491 ได้จัดตั้งขึ้นเป็นหน่วยปฏิบัติการด้านการรักษาพยาบาลแก่ทหารผ่านศึกนอก ประจำการ เพื่อให้การสงเคราะห์ ตามระเบียบ อผศ.ฉบับที่ 3 ข้อ 5 ตั้งแต่ วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2491 และ ให้บริการแก่ประชาชนในด้านการรักษาพยาบาลจ่ายค่ารักษาพยาบาลโดยคิดค่า รักษาตามสมควร โดยมีสถานที่ตั้งแต่แรกเริ่มจนถึงปัจจุบัน
พ.ศ. 2491-2494 ห้องชั้นล่างที่ทำการ อผศ.เก่า ศาลหลักเมือง
พ.ศ. 2495-2497 ย้ายและขยายที่ทำการไปอยู่ที่ กองพยาบาลศาลเด็ก ชั้นบนจัดเป็น สถานที่พักผู้ป่วย และรับทำการคลอดบุตร
พ.ศ. 2497-2505 ย้ายกลับ ห้องชั้นล่าง อผศ.เก่า ศาลหลักเมือง
พ.ศ. 2505-2510 ย้ายมาที่อาคารทหารผ่านศึกพิการทุพพลภาพ พญาไท ถนนราชวิถี เนื่องจากมีผู้มาใช้บริการเพิ่มขึ้น
พ.ศ. 2510-2513 ย้ายจากอาคารทหารผ่านศึก มาอยู่ ตึกเล็กสองชั้นข้างทางเข้า อผศ
พ.ศ. 2512 ได้ ยกฐานะ สถานพยาบาลขึ้นเป็น กองแพทย์ โดยรวมกิจการการรักษาพยาบาล การฟื้นฟูบำบัด และ การฝึกอาชีพทหารผ่านศึกทุพพลภาพไว้ด้วยกัน จึงได้ทำการก่อสร้างอาคารกองแพทย์ขึ้นในที่ดินที่รับมอบจากกองทัพบก ที่ถนนวิภาวดี รังสิต
พ.ศ. 2513 ย้าย มาอยู่ที่ถนนวิภาวดี จนมาถึงปัจจุบัน กองแพทย์แห่งนี้ได้เกิดขึ้น โดยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โดยทรงมีพระราชดำริให้มีการดูแลทหารผ่านศึกพิการทุพพลภาพในด้านการฟื้นฟู บำบัด และการฝึกหัดอาชีพ ทั้งได้เสด็จพระราชดำเนินเปิดอาคารด้วยพระองค์เอง เมื่อวันศุกร์ที่ 8 ตุลาคม 2513 เวลา 16.00 น.
พ.ศ. 2517 ได้ยกฐานะกองแพทย์ขึ้นเป็นโรงพยาบาลทหารผ่านศึก ตามมติสภาฯ ครั้งที่ 1/17 และได้ทำการก่อสร้างอาคาร 6 ชั้น เพื่อรับผู้ป่วยไว้รักษาพยาบาล 1 หลัง ซึ่งมีขีดความสามารถรับผู้ป่วยไว้รักษาพยาบาลได้ 100-120 เตียง และได้เริ่มให้บริการในรูปโรงพยาบาลได้ตั้งแต่ 2521 เป็นต้นมา
พ.ศ. 2528 ได้ ทำการก่อสร้างอาคารเวชศาสตร์ฟื้นฟูและออร์โธปิดิคส์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก ครม. อนุมัติให้ก่อสร้าง ตามแผนการโรงพยาบาลทหารผ่านศึก ระยะที่ 2 และย้ายผู้ป่วยทหารพิการอัมพาตมาไว้ที่อาคารนี้ เพราะสถานที่เดิมคับแคบไม่ค่อยถูกสุขลักษณะ
พ.ศ. 2530 ได้ทำการรื้อถอนอาคารอำนวยการเดิม ซึ่งได้ทำการก่อสร้าง เมื่อ พ.ศ. 2512 (เนื่องจากอาคารเดิมทรุดตัว) และได้ก่อสร้างอาคารอำนวยการใหม่ แนบกับอาคารโรงพยาบาลเดิมขนาด 6 ชั้น หากก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ และ รพ.ผศ. มีงบประมาณสนับสนุนเพียงพอแล้วจะสามารถเพิ่มเตียงรับผู้ป่วยไว้รักษาได้อีก รวมเป็น 300 เตียง
#โรงพยาบาลทหารผ่านศึก #ทหารผ่านศึก #ร้อยดวงใจเสียสละเพื่อผู้เสียสละ #บริจาคเงิน