ขอสอบถามนักกฏหมายหน่อยครับ ตรรกะของ สคบ. คืออะไร?

ศาลชั้นต้นมีคำพิภากษาเป็นคดีดำ (ความอาญา)
คดีนี้โจทย์: ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 47
จำเลย: ให้การรับสารภาพ
ศาลพิพากษา: จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 47 มีโทษปรับ และจำคุก

แต่สำนักคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคมีหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงว่าไม่อยู่ในฐานะเป็น "ผู้บริโภค"

สรุปคือ ผิดตาม พรบ.คุ้มครองผู้บริโภค แต่ไม่ใช่ผู้บริโภค แบบนี้ หรือครับ

หมายเหตุ
   1. จากหนังสือชี้แจง สำนักคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ทำให้รู้ว่า "ประชาชนชาวไทย ที่ซื้ออาคารพาณิชย์ ไม่ใช่ผู้บริโภค"
   2. ประชาชนจะหวังพึ่งหน่วยงานรัฐ หน่วยไหนได้บ้าง

#มีตังค์ไปฟ้องเอง #ที่ดูมีตังค์หน่ะกู้มา


ข่าวปัญหาโครงการ

     https://www.youtube.com/watch?v=mU5G6nknmks
     https://www.youtube.com/watch?v=3St5yCz77BI (นาทีที่ 30.51)
     https://www.youtube.com/watch?v=sIpq2lqEMJI
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
สินค้าและบริการอะไรก็ตามที่เจ้าของหรือผู้ใช้ไม่ได้มีแนวโน้มจะเป็น end user จริงๆ พูดง่ายๆ คือมีโอกาสที่จะนำสินค้าและบริการนั้นไปหากำไรต่อ ทาง สคบ และมูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภคจะไม่มองว่าเป็น "ผู้บริโภค" ค่ะ และถ้าในคำฟ้องหรือในการสืบพยานมีปรากฏว่าเจ้าของนำไปหากำไรต่อก็อาจจะไม่เป็นคดีผู้บริโภคได้เหมือนกัน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่