การเมืองแรงขย่มศก.หลังยื้อโหวตแก้รธน.
https://www.innnews.co.th/economy/news_781983/
ฝ่ายวิจัย บล.เอเซียพลัส มอง บรรยากาศทางการเมืองมีแนวโน้มร้อนแรงขึ้น หลังจากรัฐสภายังไม่โหวตญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยมีมติ 431 ต่อ 255 ให้ตั้งกรรมาธิการศึกษาญัตติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเป็นเวลา 30 วันแทน
ทั้งนี้ มองว่า ความเห็นที่ไม่ลงรอยกันภายในรัฐสภา สะท้อนได้จากผลการโหวตที่ออกมา แสดงให้เห็นถึงความคิดเห็นบางส่วนที่ไม่ตรงกันของฝ่ายรัฐบาล รวมถึงระหว่างพรรคร่วมรัฐบาลด้วยกันเอง
2. ความไม่พอใจของผู้ชุมนุมนอกสภา ที่เรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ อาจจะกระตุ้น เกิดการชุมนุมเรียกร้องที่มีความร้อนแรงขึ้น ทั้งนี้จะมีการนัดชุมนุมใหญ่ในวันที่ 14 ต.ค. 2563
ดังนั้น ประเด็นทางการเมืองที่ยังหาจุดพอดีไม่เจอ เป็นหนึ่งในตัวแปรสำคัญที่อาจจะกดดันภาพรวมของเศรษฐกิจที่ยังเปราะบางในช่วงนี้ และส่งผลให้ตลาดหุ้นมีความผันผวนมากขึ้น ดังนั้นนักลงทุนจำเป็นต้องติดตามประเด็นทางการเมืองอย่างใกล้ชิดในช่วงนี้ รวมถึงการชุมนุมใหญ่ที่จะเกิดขึ้นในช่วงกลางเดือน ต.ค. ว่าจะส่งผลให้การเมืองเป็นไปทิศทางใด
อย่างไรก็ตามยังมีอีกประเด็นหนึ่ง ที่น่าจะเป็นข่าวดีและช่วยลดทอนประเด็นลบทางการเมืองที่ร้อนแรงขึ้น คือ ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณปี 2564 วงเงิน 3.3 ล้านล้านบาท จะเบิกจ่ายได้ปกติ ไม่ได้ล่าช้ามาก ล่าสุดมีกำหนดวันแล้วว่าจะนำร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ 2564 ขึ้นทูลเกล้าฯ และประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นกฎหมาย อ้างอิงเอกสารของสำนักนโยบาย คือ 29 ก.ย.63 หมายความว่างบประมาณปี 64 จะเบิกจ่ายได้ปกติ ไม่ได้ล่าช้ามาก
"ดุสิตธานี" เบรกลงทุนใหม่ เก็บเงินสดประคองตัวถึงสิ้นปี"64
https://www.prachachat.net/tourism/news-528030
แม้ว่า “ดุสิตธานี” จะเป็นกลุ่มทุนรายใหญ่ จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีโรงแรม รีสอร์ตและวิลล่าหรูอยู่ในพอร์ต
บริหารอยู่ถึง 14 ประเทศทั่วโลก ภายใต้ 6 แบรนด์ คือ ดุสิตธานี, ดุสิตเดวาราณา,ดุสิตดีทู, ดุสิตปริ๊นเซส, อาศัย และอีลิตเฮเวน แต่ด้วยธุรกิจหลักที่ยังคงพึ่งพาเซ็กเตอร์ท่องเที่ยวทำให้ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เช่นกัน
“ประชาชาติธุรกิจ” ได้ร่วมสัมภาษณ์
“ศุภจี สุธรรมพันธุ์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) ถึงสถานการณ์ธุรกิจโรงแรมหลังจากที่กลับมาเปิดให้บริการอีกครั้งและทิศทางการลงทุน การบริหารจัดการของกลุ่มดุสิตธานี ไว้ดังนี้
“ศุภจี” อัพเดตสถานการณ์ให้ฟังว่านับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 กลุ่มดุสิตธานีได้เตรียมการสำหรับอนาคตที่ผันผวน โดยตัดสินใจชะลอการลงทุนทั้งหมด ยกเว้นโครงการดุสิต เซ็นทรัล ปาร์ค และโครงการอาศัย (ASAI) เพื่อสะสมกระแสเงินสด วางแผนให้สามารถอยู่ยาวไปจนถึงสิ้นปีหน้า และประเมินสินทรัพย์ที่พร้อมนำออกขายในกรณีฉุกเฉินหากสถานการณ์ไม่เป็นไปตามคาดการณ์
ชะลอลงทุนเพิ่มเติมทั้งหมด
โดยแรกเริ่ม “ดุสิตธานี” ตัดสินใจชะลอการลงทุนเพิ่มเติมทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นโครงการโรงแรมในสหราชอาณาจักร และญี่ปุ่น รวมถึงการเข้าซื้อวิลลาสำหรับอีลิตเฮเวน (Elite Heaven) เพิ่มเติมในออสเตรเลีย เหลือเพียงโครงการในไปป์ไลน์ของดุสิต เซ็นทรัล ปาร์ค ที่เป็นแผนการลงทุนระยะยาว และโครงการภายใต้ชื่ออาศัย (ASAI) แบรนด์โรงแรมไลฟ์สไตล์ที่เพิ่งเปิดให้บริการแห่งแรกที่เยาวราช ด้วยงบฯลงทุนกว่า 1,100 ล้านบาท และเตรียมก่อสร้างเพิ่มเติม พร้อมเข้าบริหารอีกกว่า 6 แห่ง
กระนั้นก็ตาม กลุ่มดุสิตก็ยังเดินหน้าเปิดโรงแรมได้ 5 โรงแรมจากที่วางแผนไว้กว่า 12 โรงแรมในปี 2563 ในจีน,กาตาร์, กวม และไทย รวมถึงเตรียมเปิดให้บริการอีก 1 แห่งในประเทศสิงคโปร์
นอกจากนั้นยังมีโรงแรมที่ดุสิตธานีเข้าบริหารภายใต้ชื่อแบรนด์ของลูกค้า (White label) อีก 3 แห่งที่เปิดไปแล้ว และกำลังจะเปิดให้บริการอีก 1 แห่ง รวม 4 แห่ง ซึ่งทำให้ดุสิตธานีสามารถหาตำแหน่งงานให้กับพนักงานจากโรงแรมดุสิตธานีที่ยังเหลืออยู่ระหว่างรอการก่อสร้างดุสิต เซ็นทรัล ปาร์ค
“ตอนนี้ดุสิตธานีมีที่พักเปิดให้บริการในเครือทั้งหมด 40 โรงแรม 300 วิลล่า รวม 340 แห่ง ใน 15 ประเทศทั่วโลก โดยขณะนี้เราได้กลับมาเปิดให้บริการครบทุกแห่งทั้งในไทยและทั่วโลกแล้ว โดยเรายังยืนยันเดินหน้าเปิดโรงแรมตามไปป์ไลน์เดิม เพียงแต่ขยับช่วงเวลาการเปิดให้บริการโรงแรมไปตามสถานการณ์ ที่สำคัญ ดุสิตธานีจะลงทุนแบบคอนเซอร์เวทีฟเหมือนที่เคยเป็นมา”
เก็บเงินสดประคองธุรกิจ
“ศุภจี” บอกว่า
“ดุสิตธานี” ได้สะสมกระแสเงินสดไว้ราว 1,260 ล้านบาท พร้อมวงเงินที่ยังไม่ได้ใช้งานอีกราว 1,250 ล้านบาท ไม่รวมวงเงินที่วางไว้สำหรับการลงทุนในไปป์ไลน์ของอาศัย (ASAI) ทำให้เชื่อว่ากระแสเงินสดที่มีอยู่จะเพียงพอต่อการประกอบกิจการตามปกติไปจนถึงสิ้นปี 2564
ขณะเดียวกันยังเตรียมแผนสำรองในการขายสินทรัพย์บางอย่างบางชิ้น ที่ไม่มีนัยสำคัญต่อกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจอีกราว 8,000 ล้านบาทด้วย
ปรับโมเดลรับ New Normal
“ศุภจี” อธิบายเสริมว่า ดุสิตธานียังได้วางแผนในการบริหารงานตามสถานการณ์ไว้ 3 แผน จาก 3 ช่วงเวลาที่ไทยจะสามารถเปิดประเทศได้ โดยคาดว่าการเปิดประเทศในช่วงกลางปี 2564 น่าจะเป็นไปได้มากที่สุด เมื่อเทียบกับการเปิดประเทศในช่วงสิ้นปี 2563 นี้ หรือสิ้นปี 2564 ขณะเดียวกันยังจัดทัพบุคลากรในองค์กรใหม่ โดยจัดแบ่งเป็นคลัสเตอร์และเข้าสู่ส่วนกลางมากขึ้น เพื่อลดต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร หันนำเอาเทคโนโลยีและฐานข้อมูลมาช่วยดำเนินการแทน
นอกจากนั้น ยังได้ปรับโมเดลธุรกิจหันมาให้ความสำคัญกับความสะอาด ปลอดภัย และถูกสุขอนามัยมากกว่าเดิมพร้อมตอบโจทย์นิวนอร์มอล (new normal) มอบการพักผ่อนที่ให้ความสุขสบาย ประสบการณ์ที่ตรงใจ และประสบการณ์คุ้มค่าให้กับลูกค้า รวมถึงปรับองค์กรให้ยืดหยุ่นเข้ากับสถานการณ์ ไม่ว่าจะยืดหยุ่นเวลาเช็กอินและเช็กเอาต์ เวลารับประทานอาหารเช้า และอื่น ๆ
แนะเร่งกระตุ้นวันธรรมดา
“ศุภจี” ยังพูดถึงโครงการ
“เราเที่ยวด้วยกัน” ด้วยว่า จากการประเมินเหมือนจะยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าไรนัก เนื่องจากมีผู้ใช้บริการเพียง9 แสนกว่าคืน (room night) จากเป้าหมาย 5 ล้านคืน (room night) ซึ่งเห็นว่าจริง ๆ แล้วคนไทยนิยมท่องเที่ยวอยู่แล้ว โดยเฉพาะพื้นที่รอบกรุงเทพฯ ราว200-300 กิโลเมตร ที่ช่วงนี้แน่นขนัดในวันหยุดสุดสัปดาห์และวันหยุดตามเทศกาล พร้อมยกตัวอย่างว่า สำหรับเครือดุสิตธานีในพื้นที่พัทยาและหัวหินมีอัตราการเข้าพักมากกว่า 40-50% ในขณะที่ในพื้นที่เขาใหญ่มีนักท่องเที่ยวจองเต็มแล้ว
ดังนั้นจึงอยากให้รัฐพิจารณากระตุ้นการท่องเที่ยวในวันธรรมดามากกว่า เพราะแม้แต่ในพื้นที่ที่โดดเด่นด้านการท่องเที่ยวหลังโควิด-19 เช่น กาญจนบุรี ก็มีอัตราการเข้าพักเฉลี่ยแค่ 30-40% เท่านั้น เพราะโดนวันธรรมดาฉุดตัวเลขลง ขณะที่นักท่องเที่ยวแออัดมากในวันเสาร์-อาทิตย์ จึงอยากให้รัฐบาลและเอกชนร่วมกันเสนอให้พนักงานสลับวันหยุดเป็นวันธรรมดาบางส่วน เพื่อให้การท่องเที่ยวกระจายตัวมากขึ้น
แนะใช้มัลดีฟส์โมเดลเปิด ปท.
สำหรับประเด็นการเปิดประเทศเพื่อรับนักท่องเที่ยวต่างชาตินั้น
“ศุภจี” บอกว่าเสนอให้รัฐบาลใช้แนวทางเดียวกับที่ดุสิตธานีใช้ในมัลดีฟส์ โดยการเปิดให้นักท่องเที่ยวสามารถเข้าพักได้ตามปกติ พร้อมกักตัว 14 วัน แต่ให้จัดสรรเวลาสำหรับออกมานอกห้องพักให้กับนักท่องเที่ยว โดยจำกัดพื้นที่และเวลาที่แขกสามารถออกจากห้องได้ พร้อมสับเปลี่ยนพนักงานเป็นชุดสำหรับดูแลแขกช่วงกักตัว และทำความสะอาดเชิงลึกหลังแขกกลับเข้าพื้นที่รวมถึงเสนอให้เลือกรับนักท่องเที่ยวในรูปแบบดังกล่าวผ่านการเดินทางโดยเที่ยวบินเช่าเหมาลำเท่านั้น โดยต้องผ่านมาตรการตรวจสอบจากประเทศต้นทางมาก่อน พร้อมกำหนดให้นักท่องเที่ยวลงในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง อาทิ ส่วนหนึ่งของเกาะภูเก็ต หรือเกาะสมุย
ทั้งนี้ เพื่อให้นักท่องเที่ยวรู้สึกผ่อนคลายและไม่อึดอัด รวมถึงเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวตัดสินใจเดินทางมาได้ง่ายขึ้น ซึ่งนับตั้งแต่ดุสิตธานีเปิดให้บริการด้วยมาตรการลักษณะนี้ในเดือนสิงหาคมมาจนถึงปัจจุบันรับนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคยุโรปหลายประเภทจนถึงตอนนี้ยังไม่พบการแพร่ระบาดแม้แต่เคสเดียว
พร้อมย้ำว่า ประเทศไทยมีความจำเป็นที่จะต้องเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว ซึ่งที่พูดแบบนี้ไม่ใช่เพราะว่าดุสิตธานีอยู่ในเซ็กเตอร์โรงแรม แต่เพราะว่าธุรกิจท่องเที่ยวเป็นจุดเริ่มต้นของหลาย ๆ อย่างที่แม้จะมีการท่องเที่ยวภายในประเทศ แต่คนไทยก็ไม่จับจ่ายใช้สอยสินค้าประเภทเดียวกันกับนักท่องเที่ยวต่างชาติ
JJNY : การเมืองแรงขย่มศก./"ดุสิตธานี"เบรกลงทุน เก็บเงินสด/โรมมั่นใจพท.ไม่เปลี่ยนจุดยืน/โคทมชี้กม.ไม่ได้ยุติธรรมเสมอไป
https://www.innnews.co.th/economy/news_781983/
ฝ่ายวิจัย บล.เอเซียพลัส มอง บรรยากาศทางการเมืองมีแนวโน้มร้อนแรงขึ้น หลังจากรัฐสภายังไม่โหวตญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยมีมติ 431 ต่อ 255 ให้ตั้งกรรมาธิการศึกษาญัตติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเป็นเวลา 30 วันแทน
ทั้งนี้ มองว่า ความเห็นที่ไม่ลงรอยกันภายในรัฐสภา สะท้อนได้จากผลการโหวตที่ออกมา แสดงให้เห็นถึงความคิดเห็นบางส่วนที่ไม่ตรงกันของฝ่ายรัฐบาล รวมถึงระหว่างพรรคร่วมรัฐบาลด้วยกันเอง
2. ความไม่พอใจของผู้ชุมนุมนอกสภา ที่เรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ อาจจะกระตุ้น เกิดการชุมนุมเรียกร้องที่มีความร้อนแรงขึ้น ทั้งนี้จะมีการนัดชุมนุมใหญ่ในวันที่ 14 ต.ค. 2563
ดังนั้น ประเด็นทางการเมืองที่ยังหาจุดพอดีไม่เจอ เป็นหนึ่งในตัวแปรสำคัญที่อาจจะกดดันภาพรวมของเศรษฐกิจที่ยังเปราะบางในช่วงนี้ และส่งผลให้ตลาดหุ้นมีความผันผวนมากขึ้น ดังนั้นนักลงทุนจำเป็นต้องติดตามประเด็นทางการเมืองอย่างใกล้ชิดในช่วงนี้ รวมถึงการชุมนุมใหญ่ที่จะเกิดขึ้นในช่วงกลางเดือน ต.ค. ว่าจะส่งผลให้การเมืองเป็นไปทิศทางใด
อย่างไรก็ตามยังมีอีกประเด็นหนึ่ง ที่น่าจะเป็นข่าวดีและช่วยลดทอนประเด็นลบทางการเมืองที่ร้อนแรงขึ้น คือ ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณปี 2564 วงเงิน 3.3 ล้านล้านบาท จะเบิกจ่ายได้ปกติ ไม่ได้ล่าช้ามาก ล่าสุดมีกำหนดวันแล้วว่าจะนำร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ 2564 ขึ้นทูลเกล้าฯ และประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นกฎหมาย อ้างอิงเอกสารของสำนักนโยบาย คือ 29 ก.ย.63 หมายความว่างบประมาณปี 64 จะเบิกจ่ายได้ปกติ ไม่ได้ล่าช้ามาก
"ดุสิตธานี" เบรกลงทุนใหม่ เก็บเงินสดประคองตัวถึงสิ้นปี"64
https://www.prachachat.net/tourism/news-528030
แม้ว่า “ดุสิตธานี” จะเป็นกลุ่มทุนรายใหญ่ จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีโรงแรม รีสอร์ตและวิลล่าหรูอยู่ในพอร์ต
บริหารอยู่ถึง 14 ประเทศทั่วโลก ภายใต้ 6 แบรนด์ คือ ดุสิตธานี, ดุสิตเดวาราณา,ดุสิตดีทู, ดุสิตปริ๊นเซส, อาศัย และอีลิตเฮเวน แต่ด้วยธุรกิจหลักที่ยังคงพึ่งพาเซ็กเตอร์ท่องเที่ยวทำให้ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เช่นกัน
“ประชาชาติธุรกิจ” ได้ร่วมสัมภาษณ์ “ศุภจี สุธรรมพันธุ์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) ถึงสถานการณ์ธุรกิจโรงแรมหลังจากที่กลับมาเปิดให้บริการอีกครั้งและทิศทางการลงทุน การบริหารจัดการของกลุ่มดุสิตธานี ไว้ดังนี้
“ศุภจี” อัพเดตสถานการณ์ให้ฟังว่านับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 กลุ่มดุสิตธานีได้เตรียมการสำหรับอนาคตที่ผันผวน โดยตัดสินใจชะลอการลงทุนทั้งหมด ยกเว้นโครงการดุสิต เซ็นทรัล ปาร์ค และโครงการอาศัย (ASAI) เพื่อสะสมกระแสเงินสด วางแผนให้สามารถอยู่ยาวไปจนถึงสิ้นปีหน้า และประเมินสินทรัพย์ที่พร้อมนำออกขายในกรณีฉุกเฉินหากสถานการณ์ไม่เป็นไปตามคาดการณ์
ชะลอลงทุนเพิ่มเติมทั้งหมด
โดยแรกเริ่ม “ดุสิตธานี” ตัดสินใจชะลอการลงทุนเพิ่มเติมทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นโครงการโรงแรมในสหราชอาณาจักร และญี่ปุ่น รวมถึงการเข้าซื้อวิลลาสำหรับอีลิตเฮเวน (Elite Heaven) เพิ่มเติมในออสเตรเลีย เหลือเพียงโครงการในไปป์ไลน์ของดุสิต เซ็นทรัล ปาร์ค ที่เป็นแผนการลงทุนระยะยาว และโครงการภายใต้ชื่ออาศัย (ASAI) แบรนด์โรงแรมไลฟ์สไตล์ที่เพิ่งเปิดให้บริการแห่งแรกที่เยาวราช ด้วยงบฯลงทุนกว่า 1,100 ล้านบาท และเตรียมก่อสร้างเพิ่มเติม พร้อมเข้าบริหารอีกกว่า 6 แห่ง
กระนั้นก็ตาม กลุ่มดุสิตก็ยังเดินหน้าเปิดโรงแรมได้ 5 โรงแรมจากที่วางแผนไว้กว่า 12 โรงแรมในปี 2563 ในจีน,กาตาร์, กวม และไทย รวมถึงเตรียมเปิดให้บริการอีก 1 แห่งในประเทศสิงคโปร์
นอกจากนั้นยังมีโรงแรมที่ดุสิตธานีเข้าบริหารภายใต้ชื่อแบรนด์ของลูกค้า (White label) อีก 3 แห่งที่เปิดไปแล้ว และกำลังจะเปิดให้บริการอีก 1 แห่ง รวม 4 แห่ง ซึ่งทำให้ดุสิตธานีสามารถหาตำแหน่งงานให้กับพนักงานจากโรงแรมดุสิตธานีที่ยังเหลืออยู่ระหว่างรอการก่อสร้างดุสิต เซ็นทรัล ปาร์ค
“ตอนนี้ดุสิตธานีมีที่พักเปิดให้บริการในเครือทั้งหมด 40 โรงแรม 300 วิลล่า รวม 340 แห่ง ใน 15 ประเทศทั่วโลก โดยขณะนี้เราได้กลับมาเปิดให้บริการครบทุกแห่งทั้งในไทยและทั่วโลกแล้ว โดยเรายังยืนยันเดินหน้าเปิดโรงแรมตามไปป์ไลน์เดิม เพียงแต่ขยับช่วงเวลาการเปิดให้บริการโรงแรมไปตามสถานการณ์ ที่สำคัญ ดุสิตธานีจะลงทุนแบบคอนเซอร์เวทีฟเหมือนที่เคยเป็นมา”
เก็บเงินสดประคองธุรกิจ
“ศุภจี” บอกว่า “ดุสิตธานี” ได้สะสมกระแสเงินสดไว้ราว 1,260 ล้านบาท พร้อมวงเงินที่ยังไม่ได้ใช้งานอีกราว 1,250 ล้านบาท ไม่รวมวงเงินที่วางไว้สำหรับการลงทุนในไปป์ไลน์ของอาศัย (ASAI) ทำให้เชื่อว่ากระแสเงินสดที่มีอยู่จะเพียงพอต่อการประกอบกิจการตามปกติไปจนถึงสิ้นปี 2564
ขณะเดียวกันยังเตรียมแผนสำรองในการขายสินทรัพย์บางอย่างบางชิ้น ที่ไม่มีนัยสำคัญต่อกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจอีกราว 8,000 ล้านบาทด้วย
ปรับโมเดลรับ New Normal
“ศุภจี” อธิบายเสริมว่า ดุสิตธานียังได้วางแผนในการบริหารงานตามสถานการณ์ไว้ 3 แผน จาก 3 ช่วงเวลาที่ไทยจะสามารถเปิดประเทศได้ โดยคาดว่าการเปิดประเทศในช่วงกลางปี 2564 น่าจะเป็นไปได้มากที่สุด เมื่อเทียบกับการเปิดประเทศในช่วงสิ้นปี 2563 นี้ หรือสิ้นปี 2564 ขณะเดียวกันยังจัดทัพบุคลากรในองค์กรใหม่ โดยจัดแบ่งเป็นคลัสเตอร์และเข้าสู่ส่วนกลางมากขึ้น เพื่อลดต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร หันนำเอาเทคโนโลยีและฐานข้อมูลมาช่วยดำเนินการแทน
นอกจากนั้น ยังได้ปรับโมเดลธุรกิจหันมาให้ความสำคัญกับความสะอาด ปลอดภัย และถูกสุขอนามัยมากกว่าเดิมพร้อมตอบโจทย์นิวนอร์มอล (new normal) มอบการพักผ่อนที่ให้ความสุขสบาย ประสบการณ์ที่ตรงใจ และประสบการณ์คุ้มค่าให้กับลูกค้า รวมถึงปรับองค์กรให้ยืดหยุ่นเข้ากับสถานการณ์ ไม่ว่าจะยืดหยุ่นเวลาเช็กอินและเช็กเอาต์ เวลารับประทานอาหารเช้า และอื่น ๆ
แนะเร่งกระตุ้นวันธรรมดา
“ศุภจี” ยังพูดถึงโครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน” ด้วยว่า จากการประเมินเหมือนจะยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าไรนัก เนื่องจากมีผู้ใช้บริการเพียง9 แสนกว่าคืน (room night) จากเป้าหมาย 5 ล้านคืน (room night) ซึ่งเห็นว่าจริง ๆ แล้วคนไทยนิยมท่องเที่ยวอยู่แล้ว โดยเฉพาะพื้นที่รอบกรุงเทพฯ ราว200-300 กิโลเมตร ที่ช่วงนี้แน่นขนัดในวันหยุดสุดสัปดาห์และวันหยุดตามเทศกาล พร้อมยกตัวอย่างว่า สำหรับเครือดุสิตธานีในพื้นที่พัทยาและหัวหินมีอัตราการเข้าพักมากกว่า 40-50% ในขณะที่ในพื้นที่เขาใหญ่มีนักท่องเที่ยวจองเต็มแล้ว
ดังนั้นจึงอยากให้รัฐพิจารณากระตุ้นการท่องเที่ยวในวันธรรมดามากกว่า เพราะแม้แต่ในพื้นที่ที่โดดเด่นด้านการท่องเที่ยวหลังโควิด-19 เช่น กาญจนบุรี ก็มีอัตราการเข้าพักเฉลี่ยแค่ 30-40% เท่านั้น เพราะโดนวันธรรมดาฉุดตัวเลขลง ขณะที่นักท่องเที่ยวแออัดมากในวันเสาร์-อาทิตย์ จึงอยากให้รัฐบาลและเอกชนร่วมกันเสนอให้พนักงานสลับวันหยุดเป็นวันธรรมดาบางส่วน เพื่อให้การท่องเที่ยวกระจายตัวมากขึ้น
แนะใช้มัลดีฟส์โมเดลเปิด ปท.
สำหรับประเด็นการเปิดประเทศเพื่อรับนักท่องเที่ยวต่างชาตินั้น “ศุภจี” บอกว่าเสนอให้รัฐบาลใช้แนวทางเดียวกับที่ดุสิตธานีใช้ในมัลดีฟส์ โดยการเปิดให้นักท่องเที่ยวสามารถเข้าพักได้ตามปกติ พร้อมกักตัว 14 วัน แต่ให้จัดสรรเวลาสำหรับออกมานอกห้องพักให้กับนักท่องเที่ยว โดยจำกัดพื้นที่และเวลาที่แขกสามารถออกจากห้องได้ พร้อมสับเปลี่ยนพนักงานเป็นชุดสำหรับดูแลแขกช่วงกักตัว และทำความสะอาดเชิงลึกหลังแขกกลับเข้าพื้นที่รวมถึงเสนอให้เลือกรับนักท่องเที่ยวในรูปแบบดังกล่าวผ่านการเดินทางโดยเที่ยวบินเช่าเหมาลำเท่านั้น โดยต้องผ่านมาตรการตรวจสอบจากประเทศต้นทางมาก่อน พร้อมกำหนดให้นักท่องเที่ยวลงในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง อาทิ ส่วนหนึ่งของเกาะภูเก็ต หรือเกาะสมุย
ทั้งนี้ เพื่อให้นักท่องเที่ยวรู้สึกผ่อนคลายและไม่อึดอัด รวมถึงเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวตัดสินใจเดินทางมาได้ง่ายขึ้น ซึ่งนับตั้งแต่ดุสิตธานีเปิดให้บริการด้วยมาตรการลักษณะนี้ในเดือนสิงหาคมมาจนถึงปัจจุบันรับนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคยุโรปหลายประเภทจนถึงตอนนี้ยังไม่พบการแพร่ระบาดแม้แต่เคสเดียว
พร้อมย้ำว่า ประเทศไทยมีความจำเป็นที่จะต้องเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว ซึ่งที่พูดแบบนี้ไม่ใช่เพราะว่าดุสิตธานีอยู่ในเซ็กเตอร์โรงแรม แต่เพราะว่าธุรกิจท่องเที่ยวเป็นจุดเริ่มต้นของหลาย ๆ อย่างที่แม้จะมีการท่องเที่ยวภายในประเทศ แต่คนไทยก็ไม่จับจ่ายใช้สอยสินค้าประเภทเดียวกันกับนักท่องเที่ยวต่างชาติ