"มะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคร้ายที่หลายคนมองข้าม"
จากข่าวการเสียชีวิตของนักแสดงชื่อดังท่านหนึ่งด้วย “โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่” ในวัยเพียง 43 ปี ทำให้หลายคนเริ่มตื่นตัวและกลัวโรคนี้กันมากขึ้น วันนี้หมอจะมาอธิบายให้ฟังว่า...
* มะเร็งลำไส้เกิดจากอะไร ?
* ใครเสี่ยงที่จะเป็นบ้าง ?
* มีวิธีสังเกตอาการเบื้องต้นอย่างไร?
* แล้วต้องตรวจแบบไหนถึงจะเจอ ?
ซึ่งจากงานวิจัยหลายๆที่พบว่ามะเร็งลำไส้เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน มีทั้งการเป็นโรคลำไส้อักเสบหรือเป็นติ่งเนื้อในลำไส้เรื้อรัง รวมถึงปัจจัยด้านการกินอาหาร เช่นคนที่กินอาหารกากใยน้อย กินเนื้อแดง เนื้อสัตว์แปรรูปเป็นประจำ และอาหารที่เพิ่มความเสี่ยงให้เกิดโรคนี้มากที่สุด ก็คือส่วนเกรียมๆ หรืออาหารปิ้งย่างไหม้ๆที่หลายต่อหลายคนชอบกินกัน อันนี้เสี่ยงมากๆ
ส่วนปัจจัยจากเรื่องพันธุกรรมคนในครอบครัวที่เคยเป็นแล้วเราเสี่ยงจะเป็นไหม ? อันนี้ก็ยังตอบแบบแน่ชัดไม่ได้ แต่ถ้าคนในครอบครัวมีประวัติป่วยโรคมะเร็งหมอแนะนำว่าให้หมั่นเช็คและสังเกตอาการเป็นพิเศษ ซึ่งวิธีสังเกตอาการเบื้องต้นว่าเราเสี่ยงจะเป็นไหม?...
ในระยะเริ่มแรกสัญญาณเตือนโรคนี้ค่อนข้างจะไม่ชัดอาจจะมีอาการ เช่นท้องผูก ท้องเสีย ท้องอืด ปวดท้องนิดๆหน่อยๆ ซึ่งใกล้เคียงกับภาวะโรคที่เราสามารถเป็นกันได้ประจำ เลยแยกยากมาก ว่าเป็นแค่ท้องผูกหรือเป็นมะเร็งกันแน่ ยกเว้นว่ามะเร็งเริ่มลุกลามจนมีอาการหนักแล้ว หรือเป็นเยอะจนรูในลำไส้ตีบ จนอาการเด่นชัด เช่นเริ่มอุจจาระยากขึ้น หรือถ่ายหนักออกมาเป็นเส้นเล็กๆ ผสมกับมีเลือดปน พอเป็นเรื้อรังเข้าก็จะเห็นได้ชัดว่าน้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว
การตรวจหามะเร็งลำไส้ในปัจจุบันนี้ หลักๆมี 2 วิธีด้วยกัน
1.ตรวจหาการปนเปื้อนของเลือดในอุจจาระ อันนี้ทำง่าย สามารถขอตรวจพร้อมการตรวจร่างกายประจำปีได้เลย แต่ความไวในการบ่งชี้โรคอาจจะไม่มาก เพราะถ้าเนื้องอกในลำไส้ไม่มีเลือดออก ก็ไม่สามารถตรวจเจอโรคได้
2.ตรวจด้วยการมองหาชิ้นเนื้อ ไม่ว่าจะเป็นการ CT Scan, MRI หรือการส่องกล้องสวนทวาร แต่ส่วนใหญ่แพทย์จะเน้นเรื่องการส่องกล้องเป็นหลักเลย เพราะตรวจได้ละเอียดที่สุด รวมถึงมองเห็นได้ชัดเจนมาก ถ้าตรวจเจอติ่งเนื้อต้องสงสัยก็สามารถตัดผ่านการส่องกล้องได้เลยส่วนวิธี CT และ MRI จะเป็นทางเลือกในกรณีที่คนไข้ไม่สามารถส่องกล้องได้
พูดง่ายๆ ก็คือ ถ้าอยากตรวจให้ชัดเจนที่สุดต้องส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ เป็นหรือไม่เป็นส่องทีเดียวก็ตอบได้ชัดเจนเลยครับ
ส่วนผู้ที่ควรตรวจคัดกรองด้วยการส่องกล้องลำไส้ใหญ่นั้นหากไม่มีความเสี่ยงหรือไม่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็ง ให้เริ่มตรวจเมื่ออายุ 50 ปี แต่หากมีสมาชิกในครอบครัวเป็นมะเร็ง และมีพฤติกรรมเสี่ยงข้างต้นที่บอกไป ควรตรวจตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้นไปหากไม่พบความผิดปกติ แพทย์จะแนะนำให้ตรวจซ้ำในอีก 5-10 ปีแล้วแต่ปัจจัยเสี่ยงของแต่ละคน นอกจากนี้การทานอาหารที่มีกากใยมาก ลดอาหารที่มีไขมัน อาหารปิ้งย่าง ร่วมกับการออกกำลังกายสม่ำเสมอ และป้องกันไม่ให้ท้องผูกจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้อีกทาง
มะเร็งลำไส้ใหญ่สามารถป้องกันได้... ตรวจก่อน รู้เร็ว รักษาทัน
มะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคร้ายที่หลายคนมองข้าม
* มะเร็งลำไส้เกิดจากอะไร ?
* ใครเสี่ยงที่จะเป็นบ้าง ?
* มีวิธีสังเกตอาการเบื้องต้นอย่างไร?
* แล้วต้องตรวจแบบไหนถึงจะเจอ ?
ซึ่งจากงานวิจัยหลายๆที่พบว่ามะเร็งลำไส้เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน มีทั้งการเป็นโรคลำไส้อักเสบหรือเป็นติ่งเนื้อในลำไส้เรื้อรัง รวมถึงปัจจัยด้านการกินอาหาร เช่นคนที่กินอาหารกากใยน้อย กินเนื้อแดง เนื้อสัตว์แปรรูปเป็นประจำ และอาหารที่เพิ่มความเสี่ยงให้เกิดโรคนี้มากที่สุด ก็คือส่วนเกรียมๆ หรืออาหารปิ้งย่างไหม้ๆที่หลายต่อหลายคนชอบกินกัน อันนี้เสี่ยงมากๆ
ส่วนปัจจัยจากเรื่องพันธุกรรมคนในครอบครัวที่เคยเป็นแล้วเราเสี่ยงจะเป็นไหม ? อันนี้ก็ยังตอบแบบแน่ชัดไม่ได้ แต่ถ้าคนในครอบครัวมีประวัติป่วยโรคมะเร็งหมอแนะนำว่าให้หมั่นเช็คและสังเกตอาการเป็นพิเศษ ซึ่งวิธีสังเกตอาการเบื้องต้นว่าเราเสี่ยงจะเป็นไหม?...
ในระยะเริ่มแรกสัญญาณเตือนโรคนี้ค่อนข้างจะไม่ชัดอาจจะมีอาการ เช่นท้องผูก ท้องเสีย ท้องอืด ปวดท้องนิดๆหน่อยๆ ซึ่งใกล้เคียงกับภาวะโรคที่เราสามารถเป็นกันได้ประจำ เลยแยกยากมาก ว่าเป็นแค่ท้องผูกหรือเป็นมะเร็งกันแน่ ยกเว้นว่ามะเร็งเริ่มลุกลามจนมีอาการหนักแล้ว หรือเป็นเยอะจนรูในลำไส้ตีบ จนอาการเด่นชัด เช่นเริ่มอุจจาระยากขึ้น หรือถ่ายหนักออกมาเป็นเส้นเล็กๆ ผสมกับมีเลือดปน พอเป็นเรื้อรังเข้าก็จะเห็นได้ชัดว่าน้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว
การตรวจหามะเร็งลำไส้ในปัจจุบันนี้ หลักๆมี 2 วิธีด้วยกัน
1.ตรวจหาการปนเปื้อนของเลือดในอุจจาระ อันนี้ทำง่าย สามารถขอตรวจพร้อมการตรวจร่างกายประจำปีได้เลย แต่ความไวในการบ่งชี้โรคอาจจะไม่มาก เพราะถ้าเนื้องอกในลำไส้ไม่มีเลือดออก ก็ไม่สามารถตรวจเจอโรคได้
2.ตรวจด้วยการมองหาชิ้นเนื้อ ไม่ว่าจะเป็นการ CT Scan, MRI หรือการส่องกล้องสวนทวาร แต่ส่วนใหญ่แพทย์จะเน้นเรื่องการส่องกล้องเป็นหลักเลย เพราะตรวจได้ละเอียดที่สุด รวมถึงมองเห็นได้ชัดเจนมาก ถ้าตรวจเจอติ่งเนื้อต้องสงสัยก็สามารถตัดผ่านการส่องกล้องได้เลยส่วนวิธี CT และ MRI จะเป็นทางเลือกในกรณีที่คนไข้ไม่สามารถส่องกล้องได้
พูดง่ายๆ ก็คือ ถ้าอยากตรวจให้ชัดเจนที่สุดต้องส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ เป็นหรือไม่เป็นส่องทีเดียวก็ตอบได้ชัดเจนเลยครับ