Upper Mustang
มุสตางค์ เดิมคืออาณาจักรโล ตั้งอยู่ในเขต ธวัลคิรี หนึ่งใน 14 เขตปกครองของประเทศเนปาล สภาพภูมิศาสตร์ส่วนใหญ่ของ มุสตาง เป็นผาสูงและเสาหินทราย ซึ่งถูกกัดเซาะจนเกิดเป็นช่องเขาและถ้ำหลายแห่ง บางถ้ำนั้นมีอายุกว่า 1,000 ปี และไม่พบหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้างและสร้างขึ้นเพื่อจุดประสงค์ใด มุสตางค์ จึงเป็นอดีตราชอาณาจักรสุดลึกลับและไม่เป็นที่รู้จักมากนัก
ในอดีตมุสตางค์เป็นดินแดนเอกราชที่ใช้ภาษาทิเบต ปกครองด้วยกษัตริย์ในฐานะผู้นำทางจิตวิญญาณมานานกว่า 50 ปี ก่อนที่เนปาลจะยุบเลิกระบอบกษัตริย์ทั้งหมดของตนไปเมื่อปี 2008 และเคยเป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนาที่สำคัญในแถบเนปาลตอนเหนือและที่ราบสูงทิเบต ในปัจจุบัน การที่มีพรมแดนติดกับจีน ทำให้ได้รับอิทธิพลทางการค้าและวัฒนธรรมจากจีนอย่างมาก โดยกษัตริย์จิ๊กมี่ ดอร์เจ พัลบาร์ บิสตา เป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของอดีตราชอาณาจักรนี้
จากศูนย์กลางธรรมที่เคยรุ่งเรือง มุสตางค์ เริ่มเกิดการเสื่อมถอยทางเศรษฐกิจ ผู้คนเลือนหายและกลายเป็นอาณาจักรที่ถูกลืมไปในที่สุด ต่อมาในปี 1990 นักโบราณคดีค้นพบโครงกระดูกมนุษย์อายุไม่ตำกว่า 2,000 ปี จากการเข้าไปสำรวจถ้ำในมุสตาง ถ้ำเหล่านี้อยู่บนแนวแบ่งหุบเขาที่สูงชันใกล้กับทางน้ำเจอสิ่งของ เครื่องประดับสมัยโบราณ และภาพวาดบนผนังถ้ำเป็นจำนวนมาก
ด้วยความสวยงามที่ถูกค้นพบอีกครั้ง ปัจจุบัน มุสตางค์ จึงกลายเป็นหนึ่งจุดหมายปลายทางท่องเที่ยวยอดนิยม โดยเฉพาะในหมู่นักเดินป่าผู้รักการผจญภัย ช่วงเวลาที่เหมาะไปเยือน มุสตางค์ ประเทศเนปาล มากที่สุด คือ ช่วงเดือน กุมภาพันธ์-มิถุนายน และ กันยายน-พฤศจิกายน จนถึงต้นเดือนธันวาคมของทุกปี
ข้อมูล travel.thaiza.com เรียบเรียง travel.mthai.com
Cr.ภาพ highlandexpeditions.com
Cr.
https://travel.mthai.com/world-travel/40209.html
Cr.
https://www.bbc.com/thai/international-38362627
Ani
เมืองเอนี่ (Ani) ในอดีตถือเป็นเมืองศูนย์กลางแห่งมหาอำนาจในภูมิภาคที่บัดนี้ได้กลายเป็นเมืองร้างไปแล้ว ราชอาณาจักรที่เคยถูกสืบทอดโดยกษัตริย์แล้วคนเล่า เริ่มตั้งแต่ราชอาณาจักรไบเซนไทน์จนกระทั่งถึงสมัยอาณาจักรออตโตมันมานานนับหลายศตวรรษ ซึ่งเมืองแห่งนี้มีผู้คนอาศัยอยู่หลายพันคน และเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมและมหาอำนาจในช่วงการปกครองของราชวงศ์แห่งอาร์เมเนีย
ปัจจุบันเมืองที่เคยยิ่งใหญ่ในอดีตได้กลายเป็นเมืองที่ถูกผู้คนทิ้งร้างจนถูกขนานนามว่า เมืองผี ที่ยังคงหลงเหลือไว้ซึ่งซากตึกที่ปรักหักพัง ตั้งอยู่บริเวณที่ราบสูงที่อยู่ห่างจากเมืองคาร์สประมาณ 45 กิโลเมตรบริเวณชายแดนของตุรกี ในกำแพงเมืองจะมีซากตึกที่มีอายุประมาณกว่าสามศตวรรษกับอีกห้าจักรวรรดิผู้ปกครอง รวมทั้งราชวงศ์แห่งอาณาจักรอาร์เมเนีย อาณาจักรบักราติด อาณาจักรไบเซนไทน์ อาณาจักรเติร์ก อาณาจักรจอร์เจีย
และอาณาจักรออตโตมัน
ที่ราบสูงของเมืองเอนี่ถูกส่งมอบให้กับรัฐบาลรัสเซียภายหลังจากที่อาณาจักรออตโตมันพ่ายแพ้สงครามในช่วงสงครามรัสเซียกับตุรกีในปี 1877-1878 และหลังจากที่สงครามโลกครั้งที่หนึ่งปะทุขึ้น ทางอาณาจักรออตโตมันได้ต่อสู้พยามทวงคืนเมืองดังกล่าวกลับมาสู่ในความครอบครองอีกครั้ง ถึงแม้ว่าพวกเขาสามารถที่จะยึดครอบครองเมืองเอนี่และบริเวณโดยรอบได้อย่างสำเร็จ แต่ในที่สุดได้มอบเมืองแห่งนี้ให้กับสาธารณรัฐอาร์เมเนียที่เป็นประเทศเกิดใหม่
ในสมัยแห่งความรุ่งเรืองในช่วงศตวรรษที่ 11 นักวิชาการคาดการณ์ว่าน่าจะมีประชากรอาศัยอยู่ในเมืองดังกล่าวไม่ต่ำกว่า 100,000 คน ศิลปะการตกแต่งบนฝาผนังบางส่วนที่ค้นพบบนซากปรักหักพังของแหล่งโบราณคดี ได้แสดงให้เห็นว่าเมืองแห่งนี้ ในยุคกลางจะมีบ้านเรือนของประชาชนอาศัยอยู่อย่างแออัดที่มีเป็นจำนวนมาก และศิลปะที่สวยงามและโบสถ์คริสต์ที่สวยสดงดงามที่พบอยู่อย่างกระจายทั่วเมือง เมืองนี้เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะ “เมืองแห่งโบสถ์ 1001 แห่ง” ในจำนวนนี้นักโบราณคดีได้ค้นพบหลักฐานอย่างน้อยจำนวน 40 โบสถ์วิหารที่เป็นสุสาน
Cr.
https://www.fatonionline.com/2845
Pyu Ancient Cities
เมืองโบราณอาณาจักรพยู ถูกประกาศให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งแรกของเมียนมาร์ เมื่อวันที่ 22 มิ.ย 2557 โดยรวมไปถึงพื้นที่ของเมืองโบราณศรีเกษตร (Sri Ksetra) เปียทะโนมโย (Peikthanomyo) และหะลินยี (Halingyi) ที่สร้างขึ้นในยุคเดียวกัน ในราวพุทธศตวรรษที่ 4 นับเป็นโบราณสถานของพม่าแห่งแรกที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก
ชาวพยู เป็นชนชาติดั้งเดิมที่มาตั้งถิ่นฐานอยู่ก่อนชาวพม่า มีอาชีพหลักในการทำเกษตรกรรม บริเวณถิ่นฐานที่ชาวพยูตั้งอยู่นั้นมีลักษณะเป็นที่ราบสูง ถึงแม้จะมีแม่น้ำไหลผ่านแต่ในหน้าร้อนก็แห้งเหือด ชาวพยูมีความสามารถปรับตัวกับสภาพแวดล้อมที่โหดร้ายได้ โดยการผันน้ำจากแม่น้ำอิรวดีและแม่น้ำสายรองเข้ามาเป็นตัวช่วยในการทำเกษตรกรรม มีการขุดคูคลองรอบๆ เมือง มีอ่างเก็บน้ำ
เมื่อความเจริญมากขึ้นชาวพยูรวมกันสร้างอาณาจักรขนาดใหญ่ขึ้นมา มีชื่อว่า “อาณาจักรศรีเกษตร” เป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ ขนาดกว้างขวาง กินพื้นที่เกือบทั้งหมดของลุ่มน้ำอิรวดี ได้รับอิทธิพลในเรื่องของภาษา ศิลปะ สถาปัตยกรรม และ พระพุทธศาสนาจากประเทศอินเดีย
เมืองศรีเกษตรปัจจุบันตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองแปร นอกจากนี้ในช่วงเวลาใกล้เคียงกันยังพบหลักฐานการก่อตั้งชุมชนของชาวพยูใน เมืองเบคถาโนซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองพุกามประมาณ 100 กิโลเมตร และเมืองฮาลินอยู่ทางทิศเหนือของเมืองมัณฑะเลย์ ก่อนที่จะเสื่อมไป เนื่องจากถูกกลุ่มคนไตจากน่านเจ้ายกกองทัพลงมาตีและกวาดต้อนผู้คนชาวพยูไป อยู่ที่เมืองจาตุง ตอนใต้ของจีนบริเวณเมืองคุณหมิงปัจจุบัน
จากหลักฐานที่พบนับได้ว่าชนชาติพยู เป็นชนชาติที่มีความสำคัญในการวางรากฐานงานสถาปัตยกรรมให้กับผู้คนยุคหลังของพม่าเป็นอย่างยิ่ง โดยได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมอินเดียนำมาปรับประยุกต์ให้สอดคล้องกับวัฒนธรรม วิถีชีวิตของตนอย่างเหมาะสม
เรียบเรียง เสถียรพงศ์ ใจเย็น
Cr.
https://buddhafacts.wordpress.com/2016/01/07/กลุ่มเมืองโบราณอาณาจัก/
Timgad
ทิมกาด อาณาจักรโบราณหนึ่งในอาณานิคมของโรมัน ตั้งอยู่ในเทือกเขา Aurès ณ ประเทศแอลจีเรีย เป็นเมืองเก่าแก่ที่เคยรุ่งเรืองมากในสมัย2,000 ปีที่แล้ว โดยเมืองมีพื้นที่กว้างขวางสำหรับผู้อยู่อาศัยกว่า 15,000 คน และเมืองนี้ยังเป็นหนึ่งในต้นแบบการวางผังเมืองแบบตาราง ซึ่งได้รับการจดทะเบียนเป็นมรดกโลกเรียบร้อยแล้ว
เมืองโบราณทิมกาดยังมีซากปรักหักพังที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรสมัยก่อนไว้มากมาย เมืองนี้ก่อตั้งโดยจักพรรดิทราจัน (จักรพรรดิไตรยานุส) ผู้ได้ชื่อว่าเป็นจักรพรรดิที่ดีและเก่งกาจทั้งด้านการปกครองและด้านการทหารของโรมัน โดยเจตนาแรกต้องการสร้างเป็นป้อมปราการเพื่อป้องกันชนเผ่าเบอร์เบอร์ พลเมืองส่วนใหญ่ก็คือทหารนั่นเอง ผังเมืองนี้เป็นรูปทรงจัตรุรัสมีความยาว 355 เมตรในทุกด้าน แต่ต่อมาประชากรได้เพิ่มจำนวนมากขึ้น จึงได้แผ่ขยายเมืองเพิ่มเติมไป 4 เท่า แต่ยังคงรูปทรงจัตรุรัสไว้
สมัยก่อนเมืองนี้แสดงถึงความรุ่งเรืองทางด้านวัฒนธรรมและความเป็นอยู่ที่ดี ตั้งแต่แหล่งทำการเกษตรที่สมบูรณ์ขนาด 1,000 เมตร มีโรงละครขนาดใหญ่ซึ่งมีความจุกว่า 3,500 ที่นั่งอยู่ใจกลางเมือง และยังมีสถานที่สำหรับชุมชนทั้งห้องสมุด โบส์และห้องอายน้ำสาธารณะ นอกจากนี้ยังมีแลนด์มาร์คประตูชัยทราจันที่สร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์ให้เกียรติจักรพรรดิทราจัน
ทิมกาดสงบสุขมาได้หลายร้อยปี แต่ในช่วงศตวรรษที่ 5 เมืองได้ถูกบุกรุกและโดนพวกชนเผ่าเบอร์เบอร์โจมตีจนเมืองเสื่อมโทรมลง แต่ก็ถูกฟื้นฟูอีกครั้งโดยจักรพรรดิท่านอื่น แต่สุดท้ายในศตวรรษที่ 7 เมืองก็ถูกโจมตีอีกครั้งจากชนเผ่าอาหรับอย่างรุนแรงจนเมืองล่มสลายไป ฝังอยู่ในดินทรายและถูกขุดพบขึ้นในปีค.ศ.1881
ที่มา en.wikipedia.org meekhao.com
Cr.ภาพ flickr/Dan Sloan
Cr.
https://travel.thaiza.com/foreign/340805/
Jenla Kingdom
เป็นอาณาจักรโบราณ รุ่งเรืองอยู่ในช่วงพุทธศตรวรรษที่ 11 ครอบคลุมพื้นที่ภาคอีสานตอนล่างของไทย ตอนบนของประเทศกัมพูชา และลาวตอนใต้ สถาปนาขึ้นโดยพระเจ้าอิศานวรมัน ผู้สืบเชื้อสายมาจากกษัตริย์เจนละ คือพระเจ้ามเหนทระวรมันหรือที่จิตรเสน ผู้ครองแคล้นเจนละ ที่ทรงครอบครองดินแดนในพื้นที่อีสานตอนใต้และลาวทางตอนใต้แถบวัดภู
หลังจากที่ได้รับการสิบทอดอำนาจ พระเจ้าอีศานวรมันเสด็จขึ้นครองราชย์ (ราวพ.ศ. ๑๑๕๓-๑๑๙๘) ได้ทำสงครามกับอาณาจักรฟูนัน ที่ยึดของพื้นที่ทางตอนใต้ควบรวมเป็นอาณาจักรเดียวกัน ซึ่งเป็นการสูญสิ้นอาณาจักรฟูนันและได้สถาปนาศูนย์กลางการปกครองขึ้นใหม่ชื่อว่า "อีศานปุระ" สิ่งก่อสร้างในสมัยอิศานปุระนั้น ยังปรากฏให้เห็นได้ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นปราสาทหินรูปแบบขอมโบราณ เช่น
ปราสาทนครธม ปราสาทตาพรหม ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทปรางค์กู่ ปราสาทหินพนมรุ้ง ปราสาทเมืองต่ำ
ปราสาทศรีขรภูมิ พระปรางค์สามยอด ปราสาทเมืองสิงห์ (จ.กาญจนบุรี / ในภาพ )
นอกจากนี้แล้ว ยังมีแหล่งโบราณสถานอิศานปุระอีกหลายแห่งกระจายอยู่ทั่วภาคอีสานอีกด้วย อาณาจักรขอมได้เผยแพร่อารยธรรมไปยังรัฐที่อยู่ใกล้เคียงหลายด้าน ทั้งด้านการปกครอง ได้แก่ การปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ความเป็นสมมติเทพของกษัตริย์ ระบบขุนนาง การปกครองแบบจตุสดมภ์ และกฎหมายพระธรรมศาสตร
ด้านศาสนา และความเชื่อ ได้แก่ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู พระพุทธศาสนานิกายอาจริยวาทหรือมหายาน ดังจะเห็นได้จากโบราณสถานและโบราณวัตถุ เช่น เทวรูปพระโพธิ์สัตว์ ศิวลึงค์ พระพุทธรูปปางนาคปรก ความเชื่อเรื่องพญานาค เป็นต้น
Cr.
https://sites.google.com/a/thantong.ac.th/xanacakr-boran4phakh/xana-cak-rxisan-pu-ra
Cr.
http://119.46.166.126/self_all/selfaccess7/m1/633/lesson4/more6.php
Cr.
http://www.photoontour.com/thai_history/Esan_Pura_kingdom.htm
Lost city
โครงการสำรวจโดยนักโบราณคดีจาก Oriental Institute และทีมนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยชิคาโก สหรัฐอเมริกาได้เข้าสำรวจในแถบเมืองคอนยา มีการทำแผนที่แหล่งโบราณคดีและเก็บรวบรวมเศษเครื่องปั้นดินเผาแตกจากพื้นที่ที่เคยเป็นถิ่นอาศัยของผู้คนเมื่อ 3,000 ปีก่อน จนค้นพบแท่งหินที่จมอยู่ในน้ำ ซึ่งมีเครื่องหมายพิเศษเป็นอักษรโบราณจารึกอยู่บนแผ่นหิน
การได้หลักฐานชิ้นนี้ในพื้นที่ Türkmen-Karahöyük อาจเปิดประตูการค้นพบอาณาจักรโบราณที่หายสาบสูญไปถึง 1,400-600 ปี ก่อนคริสตกาล อักษรโบราณถูกระบุว่าเป็นอักษรลูเวีย (Luwian scripts) หนึ่งในภาษาที่เก่าแก่ที่สุดของภาษาอินโด-ยูโรเปียน ที่ใช้ในยุคสำริดและยุคเหล็กในพื้นที่ดังกล่าว
ภาษานี้ไม่เหมือนใคร เพราะเขียนด้วยอักษรอียิปต์โบราณมีลักษณะเป็นภาษาตุรกี อ่านสลับกันจากขวาไปซ้ายและซ้ายไปขวา คำแปลบนจารึกกล่าวถึงกษัตริย์ฮาร์ตาปุ และ Türkmen-Karahöyük ที่อาจเป็นเมืองหลวงของเขา นอกจากนี้หินยังเล่าถึงการสู้รบของกษัตริย์ฮาร์ตาปุที่เอาชนะอาณาจักรฟรีเจีย (Phrygia) ซึ่งปกครองโดยกษัตริย์ไมดาส
เมืองโบราณแห่งนี้ตั้งอยู่บนเนินครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 300 เอเคอร์ หรือราวๆ 759 ไร่ ทำให้เป็นหนึ่งในเมืองโบราณที่ใหญ่ที่สุดในยุคสำริดและยุคเหล็กของตุรกี แม้จะยังไม่รู้ว่าราชอาณาจักรโบราณแห่งนี้เรียกว่าอะไร แต่นักโบราณคดีเผยว่านี่จะเป็นข้อมูลใหม่เกี่ยวกับยุคสำริดในตะวันออกกลาง
Cr.
https://www.thairath.co.th/news/foreign/1780160
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
ร่องรอยอาณาจักรโบราณที่เคยยิ่งใหญ่
มุสตางค์ เดิมคืออาณาจักรโล ตั้งอยู่ในเขต ธวัลคิรี หนึ่งใน 14 เขตปกครองของประเทศเนปาล สภาพภูมิศาสตร์ส่วนใหญ่ของ มุสตาง เป็นผาสูงและเสาหินทราย ซึ่งถูกกัดเซาะจนเกิดเป็นช่องเขาและถ้ำหลายแห่ง บางถ้ำนั้นมีอายุกว่า 1,000 ปี และไม่พบหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้างและสร้างขึ้นเพื่อจุดประสงค์ใด มุสตางค์ จึงเป็นอดีตราชอาณาจักรสุดลึกลับและไม่เป็นที่รู้จักมากนัก
ในอดีตมุสตางค์เป็นดินแดนเอกราชที่ใช้ภาษาทิเบต ปกครองด้วยกษัตริย์ในฐานะผู้นำทางจิตวิญญาณมานานกว่า 50 ปี ก่อนที่เนปาลจะยุบเลิกระบอบกษัตริย์ทั้งหมดของตนไปเมื่อปี 2008 และเคยเป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนาที่สำคัญในแถบเนปาลตอนเหนือและที่ราบสูงทิเบต ในปัจจุบัน การที่มีพรมแดนติดกับจีน ทำให้ได้รับอิทธิพลทางการค้าและวัฒนธรรมจากจีนอย่างมาก โดยกษัตริย์จิ๊กมี่ ดอร์เจ พัลบาร์ บิสตา เป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของอดีตราชอาณาจักรนี้
จากศูนย์กลางธรรมที่เคยรุ่งเรือง มุสตางค์ เริ่มเกิดการเสื่อมถอยทางเศรษฐกิจ ผู้คนเลือนหายและกลายเป็นอาณาจักรที่ถูกลืมไปในที่สุด ต่อมาในปี 1990 นักโบราณคดีค้นพบโครงกระดูกมนุษย์อายุไม่ตำกว่า 2,000 ปี จากการเข้าไปสำรวจถ้ำในมุสตาง ถ้ำเหล่านี้อยู่บนแนวแบ่งหุบเขาที่สูงชันใกล้กับทางน้ำเจอสิ่งของ เครื่องประดับสมัยโบราณ และภาพวาดบนผนังถ้ำเป็นจำนวนมาก
ด้วยความสวยงามที่ถูกค้นพบอีกครั้ง ปัจจุบัน มุสตางค์ จึงกลายเป็นหนึ่งจุดหมายปลายทางท่องเที่ยวยอดนิยม โดยเฉพาะในหมู่นักเดินป่าผู้รักการผจญภัย ช่วงเวลาที่เหมาะไปเยือน มุสตางค์ ประเทศเนปาล มากที่สุด คือ ช่วงเดือน กุมภาพันธ์-มิถุนายน และ กันยายน-พฤศจิกายน จนถึงต้นเดือนธันวาคมของทุกปี
ข้อมูล travel.thaiza.com เรียบเรียง travel.mthai.com
Cr.ภาพ highlandexpeditions.com
Cr.https://travel.mthai.com/world-travel/40209.html
Cr.https://www.bbc.com/thai/international-38362627
Ani
เมืองเอนี่ (Ani) ในอดีตถือเป็นเมืองศูนย์กลางแห่งมหาอำนาจในภูมิภาคที่บัดนี้ได้กลายเป็นเมืองร้างไปแล้ว ราชอาณาจักรที่เคยถูกสืบทอดโดยกษัตริย์แล้วคนเล่า เริ่มตั้งแต่ราชอาณาจักรไบเซนไทน์จนกระทั่งถึงสมัยอาณาจักรออตโตมันมานานนับหลายศตวรรษ ซึ่งเมืองแห่งนี้มีผู้คนอาศัยอยู่หลายพันคน และเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมและมหาอำนาจในช่วงการปกครองของราชวงศ์แห่งอาร์เมเนีย
ปัจจุบันเมืองที่เคยยิ่งใหญ่ในอดีตได้กลายเป็นเมืองที่ถูกผู้คนทิ้งร้างจนถูกขนานนามว่า เมืองผี ที่ยังคงหลงเหลือไว้ซึ่งซากตึกที่ปรักหักพัง ตั้งอยู่บริเวณที่ราบสูงที่อยู่ห่างจากเมืองคาร์สประมาณ 45 กิโลเมตรบริเวณชายแดนของตุรกี ในกำแพงเมืองจะมีซากตึกที่มีอายุประมาณกว่าสามศตวรรษกับอีกห้าจักรวรรดิผู้ปกครอง รวมทั้งราชวงศ์แห่งอาณาจักรอาร์เมเนีย อาณาจักรบักราติด อาณาจักรไบเซนไทน์ อาณาจักรเติร์ก อาณาจักรจอร์เจีย
และอาณาจักรออตโตมัน
ที่ราบสูงของเมืองเอนี่ถูกส่งมอบให้กับรัฐบาลรัสเซียภายหลังจากที่อาณาจักรออตโตมันพ่ายแพ้สงครามในช่วงสงครามรัสเซียกับตุรกีในปี 1877-1878 และหลังจากที่สงครามโลกครั้งที่หนึ่งปะทุขึ้น ทางอาณาจักรออตโตมันได้ต่อสู้พยามทวงคืนเมืองดังกล่าวกลับมาสู่ในความครอบครองอีกครั้ง ถึงแม้ว่าพวกเขาสามารถที่จะยึดครอบครองเมืองเอนี่และบริเวณโดยรอบได้อย่างสำเร็จ แต่ในที่สุดได้มอบเมืองแห่งนี้ให้กับสาธารณรัฐอาร์เมเนียที่เป็นประเทศเกิดใหม่
ในสมัยแห่งความรุ่งเรืองในช่วงศตวรรษที่ 11 นักวิชาการคาดการณ์ว่าน่าจะมีประชากรอาศัยอยู่ในเมืองดังกล่าวไม่ต่ำกว่า 100,000 คน ศิลปะการตกแต่งบนฝาผนังบางส่วนที่ค้นพบบนซากปรักหักพังของแหล่งโบราณคดี ได้แสดงให้เห็นว่าเมืองแห่งนี้ ในยุคกลางจะมีบ้านเรือนของประชาชนอาศัยอยู่อย่างแออัดที่มีเป็นจำนวนมาก และศิลปะที่สวยงามและโบสถ์คริสต์ที่สวยสดงดงามที่พบอยู่อย่างกระจายทั่วเมือง เมืองนี้เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะ “เมืองแห่งโบสถ์ 1001 แห่ง” ในจำนวนนี้นักโบราณคดีได้ค้นพบหลักฐานอย่างน้อยจำนวน 40 โบสถ์วิหารที่เป็นสุสาน
Cr.https://www.fatonionline.com/2845
Pyu Ancient Cities
เมืองโบราณอาณาจักรพยู ถูกประกาศให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งแรกของเมียนมาร์ เมื่อวันที่ 22 มิ.ย 2557 โดยรวมไปถึงพื้นที่ของเมืองโบราณศรีเกษตร (Sri Ksetra) เปียทะโนมโย (Peikthanomyo) และหะลินยี (Halingyi) ที่สร้างขึ้นในยุคเดียวกัน ในราวพุทธศตวรรษที่ 4 นับเป็นโบราณสถานของพม่าแห่งแรกที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก
ชาวพยู เป็นชนชาติดั้งเดิมที่มาตั้งถิ่นฐานอยู่ก่อนชาวพม่า มีอาชีพหลักในการทำเกษตรกรรม บริเวณถิ่นฐานที่ชาวพยูตั้งอยู่นั้นมีลักษณะเป็นที่ราบสูง ถึงแม้จะมีแม่น้ำไหลผ่านแต่ในหน้าร้อนก็แห้งเหือด ชาวพยูมีความสามารถปรับตัวกับสภาพแวดล้อมที่โหดร้ายได้ โดยการผันน้ำจากแม่น้ำอิรวดีและแม่น้ำสายรองเข้ามาเป็นตัวช่วยในการทำเกษตรกรรม มีการขุดคูคลองรอบๆ เมือง มีอ่างเก็บน้ำ
เมื่อความเจริญมากขึ้นชาวพยูรวมกันสร้างอาณาจักรขนาดใหญ่ขึ้นมา มีชื่อว่า “อาณาจักรศรีเกษตร” เป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ ขนาดกว้างขวาง กินพื้นที่เกือบทั้งหมดของลุ่มน้ำอิรวดี ได้รับอิทธิพลในเรื่องของภาษา ศิลปะ สถาปัตยกรรม และ พระพุทธศาสนาจากประเทศอินเดีย
เมืองศรีเกษตรปัจจุบันตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองแปร นอกจากนี้ในช่วงเวลาใกล้เคียงกันยังพบหลักฐานการก่อตั้งชุมชนของชาวพยูใน เมืองเบคถาโนซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองพุกามประมาณ 100 กิโลเมตร และเมืองฮาลินอยู่ทางทิศเหนือของเมืองมัณฑะเลย์ ก่อนที่จะเสื่อมไป เนื่องจากถูกกลุ่มคนไตจากน่านเจ้ายกกองทัพลงมาตีและกวาดต้อนผู้คนชาวพยูไป อยู่ที่เมืองจาตุง ตอนใต้ของจีนบริเวณเมืองคุณหมิงปัจจุบัน
จากหลักฐานที่พบนับได้ว่าชนชาติพยู เป็นชนชาติที่มีความสำคัญในการวางรากฐานงานสถาปัตยกรรมให้กับผู้คนยุคหลังของพม่าเป็นอย่างยิ่ง โดยได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมอินเดียนำมาปรับประยุกต์ให้สอดคล้องกับวัฒนธรรม วิถีชีวิตของตนอย่างเหมาะสม
เรียบเรียง เสถียรพงศ์ ใจเย็น
Cr.https://buddhafacts.wordpress.com/2016/01/07/กลุ่มเมืองโบราณอาณาจัก/
Timgad
ทิมกาด อาณาจักรโบราณหนึ่งในอาณานิคมของโรมัน ตั้งอยู่ในเทือกเขา Aurès ณ ประเทศแอลจีเรีย เป็นเมืองเก่าแก่ที่เคยรุ่งเรืองมากในสมัย2,000 ปีที่แล้ว โดยเมืองมีพื้นที่กว้างขวางสำหรับผู้อยู่อาศัยกว่า 15,000 คน และเมืองนี้ยังเป็นหนึ่งในต้นแบบการวางผังเมืองแบบตาราง ซึ่งได้รับการจดทะเบียนเป็นมรดกโลกเรียบร้อยแล้ว
เมืองโบราณทิมกาดยังมีซากปรักหักพังที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรสมัยก่อนไว้มากมาย เมืองนี้ก่อตั้งโดยจักพรรดิทราจัน (จักรพรรดิไตรยานุส) ผู้ได้ชื่อว่าเป็นจักรพรรดิที่ดีและเก่งกาจทั้งด้านการปกครองและด้านการทหารของโรมัน โดยเจตนาแรกต้องการสร้างเป็นป้อมปราการเพื่อป้องกันชนเผ่าเบอร์เบอร์ พลเมืองส่วนใหญ่ก็คือทหารนั่นเอง ผังเมืองนี้เป็นรูปทรงจัตรุรัสมีความยาว 355 เมตรในทุกด้าน แต่ต่อมาประชากรได้เพิ่มจำนวนมากขึ้น จึงได้แผ่ขยายเมืองเพิ่มเติมไป 4 เท่า แต่ยังคงรูปทรงจัตรุรัสไว้
สมัยก่อนเมืองนี้แสดงถึงความรุ่งเรืองทางด้านวัฒนธรรมและความเป็นอยู่ที่ดี ตั้งแต่แหล่งทำการเกษตรที่สมบูรณ์ขนาด 1,000 เมตร มีโรงละครขนาดใหญ่ซึ่งมีความจุกว่า 3,500 ที่นั่งอยู่ใจกลางเมือง และยังมีสถานที่สำหรับชุมชนทั้งห้องสมุด โบส์และห้องอายน้ำสาธารณะ นอกจากนี้ยังมีแลนด์มาร์คประตูชัยทราจันที่สร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์ให้เกียรติจักรพรรดิทราจัน
ทิมกาดสงบสุขมาได้หลายร้อยปี แต่ในช่วงศตวรรษที่ 5 เมืองได้ถูกบุกรุกและโดนพวกชนเผ่าเบอร์เบอร์โจมตีจนเมืองเสื่อมโทรมลง แต่ก็ถูกฟื้นฟูอีกครั้งโดยจักรพรรดิท่านอื่น แต่สุดท้ายในศตวรรษที่ 7 เมืองก็ถูกโจมตีอีกครั้งจากชนเผ่าอาหรับอย่างรุนแรงจนเมืองล่มสลายไป ฝังอยู่ในดินทรายและถูกขุดพบขึ้นในปีค.ศ.1881
ที่มา en.wikipedia.org meekhao.com
Cr.ภาพ flickr/Dan Sloan
Cr.https://travel.thaiza.com/foreign/340805/
Jenla Kingdom
เป็นอาณาจักรโบราณ รุ่งเรืองอยู่ในช่วงพุทธศตรวรรษที่ 11 ครอบคลุมพื้นที่ภาคอีสานตอนล่างของไทย ตอนบนของประเทศกัมพูชา และลาวตอนใต้ สถาปนาขึ้นโดยพระเจ้าอิศานวรมัน ผู้สืบเชื้อสายมาจากกษัตริย์เจนละ คือพระเจ้ามเหนทระวรมันหรือที่จิตรเสน ผู้ครองแคล้นเจนละ ที่ทรงครอบครองดินแดนในพื้นที่อีสานตอนใต้และลาวทางตอนใต้แถบวัดภู
หลังจากที่ได้รับการสิบทอดอำนาจ พระเจ้าอีศานวรมันเสด็จขึ้นครองราชย์ (ราวพ.ศ. ๑๑๕๓-๑๑๙๘) ได้ทำสงครามกับอาณาจักรฟูนัน ที่ยึดของพื้นที่ทางตอนใต้ควบรวมเป็นอาณาจักรเดียวกัน ซึ่งเป็นการสูญสิ้นอาณาจักรฟูนันและได้สถาปนาศูนย์กลางการปกครองขึ้นใหม่ชื่อว่า "อีศานปุระ" สิ่งก่อสร้างในสมัยอิศานปุระนั้น ยังปรากฏให้เห็นได้ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นปราสาทหินรูปแบบขอมโบราณ เช่น
ปราสาทนครธม ปราสาทตาพรหม ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทปรางค์กู่ ปราสาทหินพนมรุ้ง ปราสาทเมืองต่ำ
ปราสาทศรีขรภูมิ พระปรางค์สามยอด ปราสาทเมืองสิงห์ (จ.กาญจนบุรี / ในภาพ )
นอกจากนี้แล้ว ยังมีแหล่งโบราณสถานอิศานปุระอีกหลายแห่งกระจายอยู่ทั่วภาคอีสานอีกด้วย อาณาจักรขอมได้เผยแพร่อารยธรรมไปยังรัฐที่อยู่ใกล้เคียงหลายด้าน ทั้งด้านการปกครอง ได้แก่ การปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ความเป็นสมมติเทพของกษัตริย์ ระบบขุนนาง การปกครองแบบจตุสดมภ์ และกฎหมายพระธรรมศาสตร
ด้านศาสนา และความเชื่อ ได้แก่ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู พระพุทธศาสนานิกายอาจริยวาทหรือมหายาน ดังจะเห็นได้จากโบราณสถานและโบราณวัตถุ เช่น เทวรูปพระโพธิ์สัตว์ ศิวลึงค์ พระพุทธรูปปางนาคปรก ความเชื่อเรื่องพญานาค เป็นต้น
Cr.https://sites.google.com/a/thantong.ac.th/xanacakr-boran4phakh/xana-cak-rxisan-pu-ra
Cr.http://119.46.166.126/self_all/selfaccess7/m1/633/lesson4/more6.php
Cr.http://www.photoontour.com/thai_history/Esan_Pura_kingdom.htm
Lost city
โครงการสำรวจโดยนักโบราณคดีจาก Oriental Institute และทีมนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยชิคาโก สหรัฐอเมริกาได้เข้าสำรวจในแถบเมืองคอนยา มีการทำแผนที่แหล่งโบราณคดีและเก็บรวบรวมเศษเครื่องปั้นดินเผาแตกจากพื้นที่ที่เคยเป็นถิ่นอาศัยของผู้คนเมื่อ 3,000 ปีก่อน จนค้นพบแท่งหินที่จมอยู่ในน้ำ ซึ่งมีเครื่องหมายพิเศษเป็นอักษรโบราณจารึกอยู่บนแผ่นหิน
การได้หลักฐานชิ้นนี้ในพื้นที่ Türkmen-Karahöyük อาจเปิดประตูการค้นพบอาณาจักรโบราณที่หายสาบสูญไปถึง 1,400-600 ปี ก่อนคริสตกาล อักษรโบราณถูกระบุว่าเป็นอักษรลูเวีย (Luwian scripts) หนึ่งในภาษาที่เก่าแก่ที่สุดของภาษาอินโด-ยูโรเปียน ที่ใช้ในยุคสำริดและยุคเหล็กในพื้นที่ดังกล่าว
ภาษานี้ไม่เหมือนใคร เพราะเขียนด้วยอักษรอียิปต์โบราณมีลักษณะเป็นภาษาตุรกี อ่านสลับกันจากขวาไปซ้ายและซ้ายไปขวา คำแปลบนจารึกกล่าวถึงกษัตริย์ฮาร์ตาปุ และ Türkmen-Karahöyük ที่อาจเป็นเมืองหลวงของเขา นอกจากนี้หินยังเล่าถึงการสู้รบของกษัตริย์ฮาร์ตาปุที่เอาชนะอาณาจักรฟรีเจีย (Phrygia) ซึ่งปกครองโดยกษัตริย์ไมดาส
เมืองโบราณแห่งนี้ตั้งอยู่บนเนินครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 300 เอเคอร์ หรือราวๆ 759 ไร่ ทำให้เป็นหนึ่งในเมืองโบราณที่ใหญ่ที่สุดในยุคสำริดและยุคเหล็กของตุรกี แม้จะยังไม่รู้ว่าราชอาณาจักรโบราณแห่งนี้เรียกว่าอะไร แต่นักโบราณคดีเผยว่านี่จะเป็นข้อมูลใหม่เกี่ยวกับยุคสำริดในตะวันออกกลาง
Cr.https://www.thairath.co.th/news/foreign/1780160
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)