พรรคร่วมฝ่ายค้านหารือเตรียมเสนอญัตติแก้รธน.
https://www.innnews.co.th/politics/news_745664/
การประชุมพรรคร่วมฝ่ายค้าน นำโดยนาย
สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ หัวหน้าพรรคเพื่อไทยและผู้นำฝ่านค้าน , นาย
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล , นาย
วันมูฮัมหมัดนอร์ มะทา หัวหน้าพรรคประชาชาติ , พล.ต.อ.
เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย , นาย
สงคราม กิจเลิศไพโรจน์ พรรคเพื่อชาติ และนาย
นิคม บุญวิเศษ พรรคพลังปวงชนไทย ประชุมหารือร่วมกันเพื่อเตรียมเสนอญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งญัตติการแก้ไขมาตรา 256 เกี่ยวกับวิธีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ(สสร.) เสนอโดยพรรคเพื่อไทย , ญัตติแก้ไขมาตรา 269 – 272 เกี่ยวกับที่มาสมาชิกวุฒิสภาตามบทเฉพาะกาล และการตัดอำนาจเลือกนายกรัฐมนตรี และมาตรา 279 เกี่ยวกับการรับรองประกาศหรือคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เสนอโดยพรรคก้าวไกล
ซึ่งจะยื่นต่อประธานสภาผู้แทนราษฎรเพื่อเสนอญัตติเร็วๆ นี้ โดยอาจจะเป็นวันที่ 14 สิงหาคมนี้ หรือไม่เกินสัปดาห์หน้า
EU ลงดาบ! ตัดสิทธิพิเศษทางการค้าต่อกัมพูชา
https://www.thansettakij.com/content/world/445371
ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนทำให้กัมพูชาถูกสหภาพยุโรป (อียู) ประกาศตัดสิทธิพิเศษทางการค้าเมื่อวานนี้ (12 ส.ค.) ส่งผลกระทบต่อการส่งออกเสื้อผ้า รองเท้า และสินค้าด้านการเดินทางท่องเที่ยวของกัมพูชาไปยังตลาดอียู
สหภาพยุโรป (อียู) ประกาศ ตัด
สิทธิพิเศษทางการค้าต่อกัมพูชา เมื่อวานนี้ (12 ส.ค.) และแสดงความกังวลต่อสถานการณ์ การละเมิดสิทธิมนุษยชน ในประเทศกำลังพัฒนาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประเทศนี้
มาตรการดังกล่าวของอียูจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกเสื้อผ้า รองเท้า และสินค้าด้านการเดินทางท่องเที่ยวของกัมพูชา ส่งผลให้กัมพูชาต้องเสียภาษีในอัตราเดียวกับประเทศอื่น ๆที่เป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก (WTO)
มาตรการของอียูทำให้กัมพูชาสูญเสียสิทธิพิเศษทางการค้าราว 20% จากที่เคยได้รับจากอียูภายใต้โครงการ
"Everything but Arms" (EBA) ซึ่งอียูอนุญาตให้กัมพูชาสามารถส่งออกสินค้าไปยังอียูได้ทุกรายการโดยไม่ถูกเรียกเก็บภาษีนำเข้า ยกเว้นอาวุธ
EBA เป็นโครงการที่อียูให้สิทธิพิเศษทางการค้าแก่ประเทศ “
ยากจนที่สุดในโลก” จำนวน 48 ประเทศ
อย่างไรก็ดี อียูยังคงเปิดกว้างต่อการทบทวนการตัดสิทธิพิเศษทางการค้าดังกล่าว ถ้าหากกัมพูชาดำเนินการปฏิรูป โดยให้สมาชิกพรรคฝ่ายค้านมีบทบาททางการเมือง และเริ่มกระบวนการปรองดองแห่งชาติ
ทั้งนี้ อียูนับเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของกัมพูชา โดยกัมพูชาส่งออกสินค้าในสัดส่วน 45% ไปยังอียูในปี 2561 คิดเป็นมูลค่า 5,400 ล้านยูโร
ข้อมูลอ้างอิง
Cambodia loses duty-free access to the EU market over human rights concerns
Cambodia loses EU trade privileges as it rushes FTA with China
JJNY : ฝ่ายค้านหารือเตรียมเสนอญัตติแก้รธน./EU ตัดสิทธิพิเศษการค้ากัมพูชา/หอการค้าขอแก้ 3 ข้อด่วน/เบิกจ่ายเงินกู้1ล.ล.อืด
https://www.innnews.co.th/politics/news_745664/
ซึ่งจะยื่นต่อประธานสภาผู้แทนราษฎรเพื่อเสนอญัตติเร็วๆ นี้ โดยอาจจะเป็นวันที่ 14 สิงหาคมนี้ หรือไม่เกินสัปดาห์หน้า
EU ลงดาบ! ตัดสิทธิพิเศษทางการค้าต่อกัมพูชา
https://www.thansettakij.com/content/world/445371
ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนทำให้กัมพูชาถูกสหภาพยุโรป (อียู) ประกาศตัดสิทธิพิเศษทางการค้าเมื่อวานนี้ (12 ส.ค.) ส่งผลกระทบต่อการส่งออกเสื้อผ้า รองเท้า และสินค้าด้านการเดินทางท่องเที่ยวของกัมพูชาไปยังตลาดอียู
สหภาพยุโรป (อียู) ประกาศ ตัดสิทธิพิเศษทางการค้าต่อกัมพูชา เมื่อวานนี้ (12 ส.ค.) และแสดงความกังวลต่อสถานการณ์ การละเมิดสิทธิมนุษยชน ในประเทศกำลังพัฒนาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประเทศนี้
มาตรการดังกล่าวของอียูจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกเสื้อผ้า รองเท้า และสินค้าด้านการเดินทางท่องเที่ยวของกัมพูชา ส่งผลให้กัมพูชาต้องเสียภาษีในอัตราเดียวกับประเทศอื่น ๆที่เป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก (WTO)
มาตรการของอียูทำให้กัมพูชาสูญเสียสิทธิพิเศษทางการค้าราว 20% จากที่เคยได้รับจากอียูภายใต้โครงการ "Everything but Arms" (EBA) ซึ่งอียูอนุญาตให้กัมพูชาสามารถส่งออกสินค้าไปยังอียูได้ทุกรายการโดยไม่ถูกเรียกเก็บภาษีนำเข้า ยกเว้นอาวุธ
EBA เป็นโครงการที่อียูให้สิทธิพิเศษทางการค้าแก่ประเทศ “ยากจนที่สุดในโลก” จำนวน 48 ประเทศ
อย่างไรก็ดี อียูยังคงเปิดกว้างต่อการทบทวนการตัดสิทธิพิเศษทางการค้าดังกล่าว ถ้าหากกัมพูชาดำเนินการปฏิรูป โดยให้สมาชิกพรรคฝ่ายค้านมีบทบาททางการเมือง และเริ่มกระบวนการปรองดองแห่งชาติ
ทั้งนี้ อียูนับเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของกัมพูชา โดยกัมพูชาส่งออกสินค้าในสัดส่วน 45% ไปยังอียูในปี 2561 คิดเป็นมูลค่า 5,400 ล้านยูโร
ข้อมูลอ้างอิง
Cambodia loses duty-free access to the EU market over human rights concerns
Cambodia loses EU trade privileges as it rushes FTA with China