JJNY : อียูเริ่มขั้นตอนริบสิทธิพิเศษทางการค้าของกัมพูชา/โพล Change.org ชี้คนเตรียมตัวออกไปใช้สิทธิ ยังหวังผู้แทนฯ

กระทู้คำถาม
อียูเริ่มขั้นตอนริบสิทธิพิเศษทางการค้าของกัมพูชา
https://www.dailynews.co.th/foreign/692848

สหภาพยุโรปเริ่มกระบวนการ 18 เดือน ที่อาจนำไปสู่การออกมาตรการคว่ำบาตรทางการค้าต่อกัมพูชา จากความขัดแย้งเรื่องสถานการณ์การเมืองและสิทธิมนุษยชน

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงบรัสเซลส ประเทศเบลเยียม เมื่อวันที่ 12 ก.พ. ว่าคณะกรรมาธิการยุโรป ( อีซี ) ซึ่งเป็นฝ่ายบริหารของสหภาพยุโรป ( อียู ) ออกแถลงการณ์เมื่อวันจันทร์ เรื่องการเริ่มกระบวนการพิจารณาความร่วมมือทางการค้ากับกัมพูชา ที่อาจนำไปสู่การเพิกถอนสิทธิประโยชน์ทางการค้าของกัมพูชาในการเข้าถึงระบบตลาดเดียวของสหภาพ ซึ่งมอบให้แก่ "กลุ่มประเทศพัฒนาน้อยที่สุด" ( Least Developed Countries : LLDGs ) เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศเหล่านี้ แต่โควตานั้นให้ยกเว้นสินค้าจำพวกอาวุธยุทโธปกรณ์ ( Everything but Arms : EBA )

ขณะเดียวกัน รายงานของอีซีระบุด้วยว่า กระบวนการดังกล่าวเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 12 ก.พ. และมีกำหนดระยะเวลา 18 เดือน หมายความว่าจะสิ้นสุดภายในเดือนส.ค. 2563 ขณะที่สภาหอการค้ายุโรปประจำกัมพูชาซึ่งถือเป็นตัวแทนของผู้ประกอบการจากยุโรปทั้งหมดในกัมพูชา ออกแถลงการณ์ว่าความเคลื่อนไหวดังกล่าวคือเพื่อขจัด "การเอาเปรียบทางการค้า" ที่จะนำไปสู่การลดอัตราความยากจนในกัมพูชา และเตือนรัฐบาลพนมเปญว่าการเจรจาคือทางออกเหมาะสมที่สุด หลังเจ้าหน้าที่ระดับสูงหลายคนของอียูส่งสัญญาณเรื่องนี้เมื่อกลางปีที่แล้ว ว่าเป็นเพราะ "พื้นที่ประชาธิปไตย" ในกัมพูชาที่ "คับแคบ" จากการที่พรรคประชาชนกัมพูชา ( ซีพีพี ) ของสมเด็จฮุน เซน กวาดที่นั่งทั้ง 125 ที่นั่งของสภาผู้ทแนราษฎร ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 29 ก.ค. ปีที่แล้ว

ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กัมพูชาเป็นประเทศซึ่งได้รับสิทธิพิเศษจากโครงการดังกล่าวของอียูมากที่สุดเป็นอันดับ 2 รองจากบังกลาเทศ ปัจจุบันอียูถือเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของกัมพูชา ซึ่งรับซื้อสินค้าหลากหลายประเภทจากกัมพูชามากถึง 45% จากปริมาณการส่งออกสินค้าทั้งหมดเฉพาะเมื่อปีที่แล้ว โดยสินค้าที่อียูนำเข้าจากกัมพูชาส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับเครื่องแต่งกาย ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูปหรือรองเท้า ด้วยมูลค่าประมาณ 4,900 ล้านยูโรเมื่อปีที่แล้ว ( ราว 176,400 ล้านบาท ) ซึ่งหากอียูเพิกถอนสิทธินี้จากกัมพูชาจริง จะส่งผลกระทบต่อแรงงานในอุตสาหกรรมส่วนนี้มากกว่า 700,000 คน.
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่