ปิยบุตร ชงแก้มาตราสำคัญ ใน รธน.-บทเฉพาะกาล ลดความร้อนแรงม็อบ
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_4663577
“ปิยบุตร” ชงโละ บทเฉพาะกาล มาตรา 279 ที่รับรองคำสั่ง คสช. และ มาตรา 272 ส.ว. 250 คน ไร้จำเป็น แนะทำไปพร้อมตั้ง ส.ส.ร. เชื่อลดความร้อนแรงม็อบได้
เมื่อวันที่ 7 ส.ค.เวลา 09.50 น. ที่รัฐสภา นาย
ปิยบุตร แสงกนกกุล แกนนำคณะก้าวหน้า
ในฐานะคณะกรรมาธิการ(กมธ.)วิสามัญพิจารณาศึกษาหลักเกณฑ์และวิธีการแก้ไขเพิ่มเติม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ในการประชุม กมธ.วันนี้ (7 ส.ค.) เป็นการพูดถึงบทเฉพาะกาล
ซึ่งตนเห็นว่ารัฐธรรมนูญ 60 มีปัญหาอยู่หลายเรื่อง โดยเฉพาะในบทเฉพาะกาล ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่วางเอาไว้เพื่อการสืบทอดอำนาจของ คสช. ซึ่งตามความเห็นของตนสิ่งแรกที่จำเป็นจะต้องแก้ไขไปก่อนคือเรื่องการยกเลิกมาตรา 279 ซึ่งรับรองให้บรรดาประกาศ คำสั่งและการใช้อำนาจต่างๆ ของ คสช. ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
ทั้งที่มาตรา 279 เหมือนหลุมดำของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เพราะยกเว้นให้กับการใช้อำนาจของ คสช. ตลอดช่วง 6-7 ปีที่ผ่านมา ซึ่งบทเฉพาะกาลควรจะมีผลใช้บังคับชั่วคราว แต่กลายเป็นว่ามาตรา 279 ใช้บังคับตลอดกาล อย่างนี้ไม่ใช่เฉพาะกาล แต่เป็นบทสืบทอดอำนาจและรับรองการใช้อำนาจ บทป้องกันไม่ให้การใช้อำนาจต่างๆ ของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในช่วงที่เป็นหัวหน้า คสช.ขัดรัฐธรรมนูญ
นาย
ปิยบุตร กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ยังมีจะมีการเสนอให้ยกเลิกมาตรา 269, 270, 271 และ 272 ซึ่งว่าด้วยสมาชิกวุฒิสภาตามบทเฉพาะกาล 250 คนมีเวลา 5 ปี ซึ่งตนเห็นว่าเวลานี้ภารกิจของ ส.ว. ตามบทเฉพาะกาลได้สิ้นสุดลงไปแล้ว คือ ได้เลือก พลเอก
ประยุทธ์ เป็นนายกฯ เรียบร้อยแล้ว ดังนั้นเพื่อความยุติธรรมกับทุกฝ่ายในกรณีที่หากจะมีการเลือกตั้งเกิดขึ้นครั้งหน้า
ตนคิดว่า ส.ว. ทั้ง 250 คนควรต้องยุติบทบาทตรงนี้ ส่วนคนที่มีความรู้ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ สามารถกลับเข้ามาสมัครใหม่เป็น ส.ว. ตามช่องทางปกติได้ และถ้ากังวลใจว่า ส.ว. 250 คนจะคอยประคับประคองรัฐบาลโดยเฉพาะเวลาออกกฎหมายปฏิรูป ตนเห็นว่าเรื่องนี้แทบจะไม่มีความจำเป็นแล้วเพราะเสียงของรัฐบาลเวลานี้ทิ้งขาดฝ่ายค้านไปกว่า 60 เสียงแล้ว
เมื่อถามว่าการแก้มาตรา 256 จำเป็นต้องใช้เสียง ส.ว. สนับสนุนและการแก้มาตราอื่นๆ โอกาสเป็นไปได้แทบไม่มี นาย
ปิยบุตรกล่าวว่า มันเป็นปัญหาไก่กับไข่ว่าอะไรเกิดขึ้นก่อนกัน ในเมื่อรัฐธรรมนูญฉบับนี้วางไว้ว่า ส.ว. จะต้องมีส่วนแก้รัฐธรรมนูญด้วย ถ้าเราไม่มี ส.ว. 84 คนเป็นอย่างน้อยก็ไม่มีทางแก้ไขรัฐธรรมนูญได้สำเร็จ
ดังนั้นตนขอความร่วมมือกับ ส.ว. 250 คนว่าถ้าท่านนั่งอยู่แบบนี้ต่อไป นานวันขึ้นความชอบธรรมก็จะลดน้อยถอลงไปเรื่อยๆ จนทุกวันนี้ตนยังไม่เห็นใครมีความสามารถมาอธบายเหตุผลการมีอยู่ของ ส.ว. ได้ ดังนั้นแทนที่ท่านจะถูกกดดันและไล่ออกไป ตนคิดว่าท่านควรแก้เรื่องนี้ดีกว่า แล้วกลับมาเป็น ส.ว. ตามปกติ
และที่สำคัญก่อนหน้านั้น คนจำนวนมากมักพูดว่า ไม่ให้แก้รัฐธรรมนูญ เพราะแก้รัฐธรรมนูญแล้วเป็นไปเพื่อประโยชน์ของนักการเมืองเอง และคนเหล่านี้จำนวนมากก็เข้ามาเป็น ส.ว. ชุดปัจจุบัน และวันนี้ คนเหล่านี้กำลังมาบอกว่าไม่ให้แก้รัฐธรรมนูญ ซึ่งก็คือเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง ทั้งนี้ตนเห็นว่าการไม่มี ส.ว. 250 คนไม่เห็นมีใครกระทบกระเทือนนอกจาก ส.ว. เองเท่านั้น ดังนั้นควรมองภาพใหญ่มากกว่าตัวเองได้ตำแหน่ง
เมื่อถามว่ามาตราต่างๆ ที่เสนอมาจำเป็นต้องเข้าไปแก้ในสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) หรือทำเฉพาะประเด็น นายปิบุตร กล่าวว่า มีขั้นตอนในการเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญตามขั้นตอนอยู่แล้ว ซึ่งตนเห็นว่าสามารถเสนอไปพร้อมกันทั้ง 3 ฉบับ คือ ยกเลิก ส.ว. ตามบทเฉพาะกาล, ยกเลิกมาตรา 279, และแก้ไขมาตรา 256 แล้วจัดให้มี ส.ส.ร. ซึ่งทั้ง 3 ฉบับนี้กว่าจะผ่านความเห็นชอบต้องใช้เวลา
แต่คิดว่า 2 ฉบับแรกจะเร็วกว่าเพราะแก้ง่ายมาก ส่วนการตั้ง ส.ส.ร. ก็ดำเนินการไปซึ่งที่สุดแล้จะเกี่ยวข้องกับการชุมนุมทางการเมืองของนิสิตนักศึกษาว่าอย่างน้อยที่สุดเรื่องเหล่านี้ได้รับการแก้ไข ตนเชื่อว่าจะทำให้อุณหภูมความร้อนแรงของการชุมนุมบรรเทาเบาบางลงไปบ้าง ดีกว่าปล่อยย่างนี้ไปเรื่อยๆ แล้วไม่มีการแกก้ไขอะไรเลย
“ในเมื่อทุกวันนี้เรายืนยันแล้วว่ามีการเลือกตั้งเกิดขึ้น ประเทศไทยกำลังทยอยกลับเข้าสู่ระบบปกติ ดังนั้นอะไรที่เป็นสิ่งผิดปกติอยู่ในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ที่ปรากฎอยู่ในบทเฉพาะกาลก็ควรจะต้องยกเลิกออกไป ซึ่งความเห็นของผมคือ 2 เรื่องใหญ่ๆ มาตราสุดท้ายที่รับรองอำนาจของ คสช. และมาตราที่ว่าด้วยอำนาจของวุฒิสภา 250 คน” นาย
ปิยบุตร กล่าว
เมื่อถามว่าต้องแก้รัฐธรรมนูญก่อนยุบสภา เพื่อเลือกกตั้งครั้ต่อไปหรือไม่ นายปิยบุตรกล่าวว่า เท่าที่ตนได้ฟังที่คนพูดเรื่อยุบสภา คือ หากยุบสภาตอนนี้ก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร เพราะเป็นไปได้ว่า พล.อ.
ประยุทธ์ จะกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีก โดยกลไก ส.ว. 250 คน ซึ่งการเลือตั้งครั้งที่แล้ว หลายพรรคการเมืองรณรงค์ไว้ว่าจะไม่สนับสนน พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกฯ
แต่เมื่อผลกรเลือกตั้งออกมาปรากฎว่ามีบางพรรคการเมืองไปสนับสนุน พล.อ.
ประยุทธ์ เป็นนายกฯ ตนเชื่อว่าเพราะกติกาที่ ส.ว. ไปเลือกนายกรัฐมนตรี เพราะหากไม่มี ส.ว. แล้วใช้ระบบปกติ พรรคการเมืองอันดับหนึ่งตั้งรัฐบาลได้แน่ๆ แต่เมื่อมี ส.ว. ทำให้บดผันการตัดสินใจของพรรคการเมืองไปจำนวนมาก หากเรายกเลิก ส.ว. ออกไป
เชื่อว่าหากมีการยุบสภาเกิดขึ้น เชื่อการตัดสินใจของคนที่จะไปร่วมรัฐบาลจะเปลี่ยนไปอย่างชัดเจน และที่สำคัญประชาชนมีอำนาจกำหนดตัวรัฐมนตรีและรัฐบาลอย่างแท้จริง ส่วนเรื่องกรแก้ไขระบบเลือกตั้งก็สุดแท้แต่ที่จะแก้ แต่ในความเห็นของตนระบบเลือกตั้งขณะนี้มีความแปลกประหลาด แต่ตนพยายามละเว้นไม่พูดเรื่องนี้ เพราะจะมากล่าวหาว่า ต้องการแก้เพื่อพรรคพวกตัวเอง
"สมชัย" สรุปประเด็น 15 ข้อ รัฐธรรมนูญ ทำไมต้องแก้ แก้ตรงไหน-อย่างไร
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2297699
“สมชัย” สรุปประเด็น รธน.ทำไมต้องแก้ แก้ตรงไหน-อย่างไร
เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม นาย
สมชัย ศรีสุทธิยากร ผอ.ศูนย์วิจัยการเมืองและการพัฒนา มหาวิทยาลัยรังสิต และเป็นรองประธานกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหาหลักเกณฑ์และแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊กเรื่อง
ทำไมต้องแก้รัฐธรรมนูญ ระบุว่า
1. รัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นกลาง (ร่างมาเพื่อสร้างความได้เปรียบแก่พรรคการเมืองบางพรรค)
2. รัฐธรรมนูญที่ทำให้การเมืองย้อนยุค (พรรคเล็ก และงูเห่าเต็มสภา การเมืองที่ต้องใช้กล้วย)
3. รัฐธรรมนูญที่สร้างความยากลำบากในการบริหารราชการแผ่นดิน (ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศที่รัฐบาลเองยังทำตามไม่ได้)
4. รัฐธรรมนูญที่สร้างความขัดแย้งในสังคม (ประชาชนไม่ยอมรับกลไกที่ถูกออกแบบมา)
5. รัฐธรรมนูญที่ไม่เห็นหัวประชาชน (ประชาชนไม่มีสิทธิถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางเมืองและองค์กรอิสระ)
แก้รัฐธรรมนูญต้องแก้ตรงไหน
1. เอาวุฒิสภา ที่คสช.แต่งตั้ง ออกไป (ไม่เอา 250 ส.ว.ที่ คสช.แต่งตั้ง)
2. แก้ระบบเลือกตั้งเป็นบัตรสองใบ (แก้ปัญหาการคำนวณปัดเศษ)
3. ทบทวนเรื่องยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ (อะไรไม่เข้าท่าก็ยกเลิก)
4. แก้ไขที่มา และ การถอดถอนองค์กรอิสระ (มีที่มาที่เชื่อมโยงกับประชาชน และประชาชนมีช่องทางถอดถอน)
5. สร้างความชัดเจนในการกระจายอำนาจ และสิทธิทางการเมืองของประชาชน (เลิกรวมศูนย์ มีสิ่งที่ต้องดำเนินการและกำหนดการที่ชัดเจน)
แก้รัฐธรรมนูญอย่างไร
1. มีต้นเรื่องการเสนอญัตติจากทางใดทางหนึ่ง (ครม. ,ส.ส., ส.ส.+ ส.ว. หรือ ประชาชน 50,000 ชื่อ)
2. สร้างการรับรู้และฉันทามติจากประชาชน (ช่วยกันแชร์ ช่วยกันส่งเสียงดังๆ)
3. ฝ่าด่านวุฒิสภาให้ได้ (ให้รู้ว่า ตัวเองเป็นสิ่งที่ประชาชนไม่ต้องการ)
4. มี สสร.เพื่อร่างใหม่ทั้งฉบับ (เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วม และเป็นของประชาชน มีความเป็นกลาง)
5. หลังประชามติ ต้องเริ่มต้นใหม่ทั้งระบบ (ยุบสภา เลือกตั้งใหม่ องค์กรอิสระ เริ่มต้นใหม่ ตามวิธีการได้มาตามรัฐธรรมนูญใหม่
7 สิงหาคม 2563
https://www.facebook.com/Somchai.Srisutthiyakorn/posts/3054697827912933
JJNY : ปิยบุตรชงแก้มาตราสำคัญ-บทเฉพาะกาล/สมชัยสรุป 15ข้อ รธน.ทำไมต้องแก้/ยอดต่างชาติ ขอส่งเสริมลงทุนลด/ตกงานยังพุ่ง
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_4663577
เมื่อวันที่ 7 ส.ค.เวลา 09.50 น. ที่รัฐสภา นายปิยบุตร แสงกนกกุล แกนนำคณะก้าวหน้า ในฐานะคณะกรรมาธิการ(กมธ.)วิสามัญพิจารณาศึกษาหลักเกณฑ์และวิธีการแก้ไขเพิ่มเติม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ในการประชุม กมธ.วันนี้ (7 ส.ค.) เป็นการพูดถึงบทเฉพาะกาล
ซึ่งตนเห็นว่ารัฐธรรมนูญ 60 มีปัญหาอยู่หลายเรื่อง โดยเฉพาะในบทเฉพาะกาล ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่วางเอาไว้เพื่อการสืบทอดอำนาจของ คสช. ซึ่งตามความเห็นของตนสิ่งแรกที่จำเป็นจะต้องแก้ไขไปก่อนคือเรื่องการยกเลิกมาตรา 279 ซึ่งรับรองให้บรรดาประกาศ คำสั่งและการใช้อำนาจต่างๆ ของ คสช. ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
ทั้งที่มาตรา 279 เหมือนหลุมดำของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เพราะยกเว้นให้กับการใช้อำนาจของ คสช. ตลอดช่วง 6-7 ปีที่ผ่านมา ซึ่งบทเฉพาะกาลควรจะมีผลใช้บังคับชั่วคราว แต่กลายเป็นว่ามาตรา 279 ใช้บังคับตลอดกาล อย่างนี้ไม่ใช่เฉพาะกาล แต่เป็นบทสืบทอดอำนาจและรับรองการใช้อำนาจ บทป้องกันไม่ให้การใช้อำนาจต่างๆ ของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในช่วงที่เป็นหัวหน้า คสช.ขัดรัฐธรรมนูญ
นายปิยบุตร กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ยังมีจะมีการเสนอให้ยกเลิกมาตรา 269, 270, 271 และ 272 ซึ่งว่าด้วยสมาชิกวุฒิสภาตามบทเฉพาะกาล 250 คนมีเวลา 5 ปี ซึ่งตนเห็นว่าเวลานี้ภารกิจของ ส.ว. ตามบทเฉพาะกาลได้สิ้นสุดลงไปแล้ว คือ ได้เลือก พลเอก ประยุทธ์ เป็นนายกฯ เรียบร้อยแล้ว ดังนั้นเพื่อความยุติธรรมกับทุกฝ่ายในกรณีที่หากจะมีการเลือกตั้งเกิดขึ้นครั้งหน้า
ตนคิดว่า ส.ว. ทั้ง 250 คนควรต้องยุติบทบาทตรงนี้ ส่วนคนที่มีความรู้ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ สามารถกลับเข้ามาสมัครใหม่เป็น ส.ว. ตามช่องทางปกติได้ และถ้ากังวลใจว่า ส.ว. 250 คนจะคอยประคับประคองรัฐบาลโดยเฉพาะเวลาออกกฎหมายปฏิรูป ตนเห็นว่าเรื่องนี้แทบจะไม่มีความจำเป็นแล้วเพราะเสียงของรัฐบาลเวลานี้ทิ้งขาดฝ่ายค้านไปกว่า 60 เสียงแล้ว
เมื่อถามว่าการแก้มาตรา 256 จำเป็นต้องใช้เสียง ส.ว. สนับสนุนและการแก้มาตราอื่นๆ โอกาสเป็นไปได้แทบไม่มี นายปิยบุตรกล่าวว่า มันเป็นปัญหาไก่กับไข่ว่าอะไรเกิดขึ้นก่อนกัน ในเมื่อรัฐธรรมนูญฉบับนี้วางไว้ว่า ส.ว. จะต้องมีส่วนแก้รัฐธรรมนูญด้วย ถ้าเราไม่มี ส.ว. 84 คนเป็นอย่างน้อยก็ไม่มีทางแก้ไขรัฐธรรมนูญได้สำเร็จ
ดังนั้นตนขอความร่วมมือกับ ส.ว. 250 คนว่าถ้าท่านนั่งอยู่แบบนี้ต่อไป นานวันขึ้นความชอบธรรมก็จะลดน้อยถอลงไปเรื่อยๆ จนทุกวันนี้ตนยังไม่เห็นใครมีความสามารถมาอธบายเหตุผลการมีอยู่ของ ส.ว. ได้ ดังนั้นแทนที่ท่านจะถูกกดดันและไล่ออกไป ตนคิดว่าท่านควรแก้เรื่องนี้ดีกว่า แล้วกลับมาเป็น ส.ว. ตามปกติ
และที่สำคัญก่อนหน้านั้น คนจำนวนมากมักพูดว่า ไม่ให้แก้รัฐธรรมนูญ เพราะแก้รัฐธรรมนูญแล้วเป็นไปเพื่อประโยชน์ของนักการเมืองเอง และคนเหล่านี้จำนวนมากก็เข้ามาเป็น ส.ว. ชุดปัจจุบัน และวันนี้ คนเหล่านี้กำลังมาบอกว่าไม่ให้แก้รัฐธรรมนูญ ซึ่งก็คือเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง ทั้งนี้ตนเห็นว่าการไม่มี ส.ว. 250 คนไม่เห็นมีใครกระทบกระเทือนนอกจาก ส.ว. เองเท่านั้น ดังนั้นควรมองภาพใหญ่มากกว่าตัวเองได้ตำแหน่ง
เมื่อถามว่ามาตราต่างๆ ที่เสนอมาจำเป็นต้องเข้าไปแก้ในสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) หรือทำเฉพาะประเด็น นายปิบุตร กล่าวว่า มีขั้นตอนในการเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญตามขั้นตอนอยู่แล้ว ซึ่งตนเห็นว่าสามารถเสนอไปพร้อมกันทั้ง 3 ฉบับ คือ ยกเลิก ส.ว. ตามบทเฉพาะกาล, ยกเลิกมาตรา 279, และแก้ไขมาตรา 256 แล้วจัดให้มี ส.ส.ร. ซึ่งทั้ง 3 ฉบับนี้กว่าจะผ่านความเห็นชอบต้องใช้เวลา
แต่คิดว่า 2 ฉบับแรกจะเร็วกว่าเพราะแก้ง่ายมาก ส่วนการตั้ง ส.ส.ร. ก็ดำเนินการไปซึ่งที่สุดแล้จะเกี่ยวข้องกับการชุมนุมทางการเมืองของนิสิตนักศึกษาว่าอย่างน้อยที่สุดเรื่องเหล่านี้ได้รับการแก้ไข ตนเชื่อว่าจะทำให้อุณหภูมความร้อนแรงของการชุมนุมบรรเทาเบาบางลงไปบ้าง ดีกว่าปล่อยย่างนี้ไปเรื่อยๆ แล้วไม่มีการแกก้ไขอะไรเลย
“ในเมื่อทุกวันนี้เรายืนยันแล้วว่ามีการเลือกตั้งเกิดขึ้น ประเทศไทยกำลังทยอยกลับเข้าสู่ระบบปกติ ดังนั้นอะไรที่เป็นสิ่งผิดปกติอยู่ในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ที่ปรากฎอยู่ในบทเฉพาะกาลก็ควรจะต้องยกเลิกออกไป ซึ่งความเห็นของผมคือ 2 เรื่องใหญ่ๆ มาตราสุดท้ายที่รับรองอำนาจของ คสช. และมาตราที่ว่าด้วยอำนาจของวุฒิสภา 250 คน” นายปิยบุตร กล่าว
เมื่อถามว่าต้องแก้รัฐธรรมนูญก่อนยุบสภา เพื่อเลือกกตั้งครั้ต่อไปหรือไม่ นายปิยบุตรกล่าวว่า เท่าที่ตนได้ฟังที่คนพูดเรื่อยุบสภา คือ หากยุบสภาตอนนี้ก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร เพราะเป็นไปได้ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จะกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีก โดยกลไก ส.ว. 250 คน ซึ่งการเลือตั้งครั้งที่แล้ว หลายพรรคการเมืองรณรงค์ไว้ว่าจะไม่สนับสนน พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกฯ
แต่เมื่อผลกรเลือกตั้งออกมาปรากฎว่ามีบางพรรคการเมืองไปสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกฯ ตนเชื่อว่าเพราะกติกาที่ ส.ว. ไปเลือกนายกรัฐมนตรี เพราะหากไม่มี ส.ว. แล้วใช้ระบบปกติ พรรคการเมืองอันดับหนึ่งตั้งรัฐบาลได้แน่ๆ แต่เมื่อมี ส.ว. ทำให้บดผันการตัดสินใจของพรรคการเมืองไปจำนวนมาก หากเรายกเลิก ส.ว. ออกไป
เชื่อว่าหากมีการยุบสภาเกิดขึ้น เชื่อการตัดสินใจของคนที่จะไปร่วมรัฐบาลจะเปลี่ยนไปอย่างชัดเจน และที่สำคัญประชาชนมีอำนาจกำหนดตัวรัฐมนตรีและรัฐบาลอย่างแท้จริง ส่วนเรื่องกรแก้ไขระบบเลือกตั้งก็สุดแท้แต่ที่จะแก้ แต่ในความเห็นของตนระบบเลือกตั้งขณะนี้มีความแปลกประหลาด แต่ตนพยายามละเว้นไม่พูดเรื่องนี้ เพราะจะมากล่าวหาว่า ต้องการแก้เพื่อพรรคพวกตัวเอง
"สมชัย" สรุปประเด็น 15 ข้อ รัฐธรรมนูญ ทำไมต้องแก้ แก้ตรงไหน-อย่างไร
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2297699
“สมชัย” สรุปประเด็น รธน.ทำไมต้องแก้ แก้ตรงไหน-อย่างไร
เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม นายสมชัย ศรีสุทธิยากร ผอ.ศูนย์วิจัยการเมืองและการพัฒนา มหาวิทยาลัยรังสิต และเป็นรองประธานกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหาหลักเกณฑ์และแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊กเรื่อง
ทำไมต้องแก้รัฐธรรมนูญ ระบุว่า
1. รัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นกลาง (ร่างมาเพื่อสร้างความได้เปรียบแก่พรรคการเมืองบางพรรค)
2. รัฐธรรมนูญที่ทำให้การเมืองย้อนยุค (พรรคเล็ก และงูเห่าเต็มสภา การเมืองที่ต้องใช้กล้วย)
3. รัฐธรรมนูญที่สร้างความยากลำบากในการบริหารราชการแผ่นดิน (ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศที่รัฐบาลเองยังทำตามไม่ได้)
4. รัฐธรรมนูญที่สร้างความขัดแย้งในสังคม (ประชาชนไม่ยอมรับกลไกที่ถูกออกแบบมา)
5. รัฐธรรมนูญที่ไม่เห็นหัวประชาชน (ประชาชนไม่มีสิทธิถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางเมืองและองค์กรอิสระ)
แก้รัฐธรรมนูญต้องแก้ตรงไหน
1. เอาวุฒิสภา ที่คสช.แต่งตั้ง ออกไป (ไม่เอา 250 ส.ว.ที่ คสช.แต่งตั้ง)
2. แก้ระบบเลือกตั้งเป็นบัตรสองใบ (แก้ปัญหาการคำนวณปัดเศษ)
3. ทบทวนเรื่องยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ (อะไรไม่เข้าท่าก็ยกเลิก)
4. แก้ไขที่มา และ การถอดถอนองค์กรอิสระ (มีที่มาที่เชื่อมโยงกับประชาชน และประชาชนมีช่องทางถอดถอน)
5. สร้างความชัดเจนในการกระจายอำนาจ และสิทธิทางการเมืองของประชาชน (เลิกรวมศูนย์ มีสิ่งที่ต้องดำเนินการและกำหนดการที่ชัดเจน)
แก้รัฐธรรมนูญอย่างไร
1. มีต้นเรื่องการเสนอญัตติจากทางใดทางหนึ่ง (ครม. ,ส.ส., ส.ส.+ ส.ว. หรือ ประชาชน 50,000 ชื่อ)
2. สร้างการรับรู้และฉันทามติจากประชาชน (ช่วยกันแชร์ ช่วยกันส่งเสียงดังๆ)
3. ฝ่าด่านวุฒิสภาให้ได้ (ให้รู้ว่า ตัวเองเป็นสิ่งที่ประชาชนไม่ต้องการ)
4. มี สสร.เพื่อร่างใหม่ทั้งฉบับ (เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วม และเป็นของประชาชน มีความเป็นกลาง)
5. หลังประชามติ ต้องเริ่มต้นใหม่ทั้งระบบ (ยุบสภา เลือกตั้งใหม่ องค์กรอิสระ เริ่มต้นใหม่ ตามวิธีการได้มาตามรัฐธรรมนูญใหม่
7 สิงหาคม 2563
https://www.facebook.com/Somchai.Srisutthiyakorn/posts/3054697827912933