ผมอ่านกระทู้ที่ชื่อ หลวงสุรสาคร หรือ ฟอลคอน เป็นคนไม่ดีจริงๆหรอ ของคุณ
สมาชิกหมายเลข 1443742 20 มีนาคม 2561 เวลา 22:56 น.
https://ppantip.com/topic/37483561
ความคิดเห็นที่ 12 คุณ
ศรีสรรเพชญ์ 21 มีนาคม 2561 เวลา 09:32 น. ขอคัดมาเฉพาะเนื้อหาที่ตรงกับหัวข้อกระทู้
อย่างไรก็ตามเรื่องที่ฟอลคอนพยายามแทรกแซงการเมืองปกครองของอยุทธยาเป็นเรื่องจริง แม้ว่าเขาจะไม่ได้มองไกลขนาดจะขึ้นเป็นกษัตริย์เองก็ตาม
ฟอลคอนได้เริ่มวางแผนให้ฝรั่งเศสเข้ามาแทรกแซงการปกครองกรุงศรีอยุทธยาในแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยได้ร่างแผนกับบาทหลวงเยซูอิตเชื้อสายฟลาม็องด์ที่มีความสนิทสนมอย่างบาทหลวงมัลโดนาโด (Jean-Baptiste Maldonado) แต่เมื่อคณะทูตฝรั่งเศสเข้ามาถึง เขาเลยไปผูกสัมพันธ์กับบาทหลวงกีย์ ตาชารด์ (Guy Tachard) ที่มาในคณะทูตด้วย และได้ร่วมปรับปรุงแผนการใหม่ โดยที่ฟอลคอนอาจเป็นคนกุมอำนาจโดยเอาเชื้อพระวงศ์ขึ้นมาเป็นหุ่นเชิดซึ่งเป็นคนที่จะมีนโยบายสนองผลประโยชน์ให้ฝรั่งเศสได้หลังสมเด็จพระนารายณ์สวรรคต (ซึ่งมักกล่าวกันว่าคือพระปีย์) แล้วจะมีความเป็นไปได้มากขึ้นที่จะเปลี่ยนไทยให้เป็นดินแดนของคริสต์อย่างค่อยเป็นค่อยไป
แผนฉบับปรับปรุงใหม่ที่คิดร่วมกับตาชาร์ดคือให้พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ส่งข้าราชสำนัก ๗๐ คนที่มีคุณภาพเก็บความลับได้ดี มีบาทหลวงเยซูอิตที่ปลอมตัวมาให้ดูเหมือนคนธรรมดา พอคนกลุ่มนี้เรียนรู้ภาษาไทยได้แล้ว ฟอลคอนจะให้คนพวกนี้ได้ทำงานในระบบราชการที่สำคัญเช่นเป็นเจ้าเมืองคุมเมืองท่าบ้าง แม่ทัพบ้าง และให้คนกลุ่มนี้คอยสร้างสัมพันธ์อันดีกับคนไทยแล้วพยายามชักนำให้เข้ารีต โดยคนกลุ่มนี้จะต้องอยู่ใต้บังคับบัญชาของฟอลคอน นอกจากนี้ยังเสนอให้นำคนฝรั่งเศสระดับชาวบ้านเพื่อมาก่อตั้งชุมชนเล็กๆขึ้นโดยจะมีการจัดสรรที่ดิน อาคารและปศุสัตว์ให้เพื่อให้ใช้เป็นฐานสำหรับชาวคริสต์เวลาเกิดความวุ่นวายทางการเมือง รวมถึงเสนอเมืองสงขลาให้ฝรั่งเศสเป็นที่จอดเรือ ถ้ามีความจำเป็นก็นำเรือไปปิดปากน้ำเจ้าพระยาได้ ให้บาทหลวงไปสอนศาสนาแถวนั้นก็ได้ นอกจากนี้สงขลายังสามารถปลูกข้าวได้ปีละสองครั้ง
ตามแผนนี้บริษัทอินเดียตะวันออกของฝรั่งเศสจะได้ผลประโชน์คือได้ไทยเป็นฐานทำการค้าและท่าจอดเรือสำคัญที่จะสามารถแข่งกับดัตช์ได้ (คนละความหมายกับการยึดเป็นอาณานิคม) คริสตจักรทั้งที่ฝรั่งเศสและวาติกันจะได้ประโยชน์ในการเผยแผ่ศาสนา ส่วนฟอลคอนก็กลายเป็นผู้กุมอำนาจหลักในราชสำนักไทยโดยมีฝรั่งเศสเป็นผู้คุ้มครอง
แผนนี้เขียนเป็นภาษาโปรตุเกสส่งไปถวายพระสันตปาปาอินโนเซนต์ที่ ๑๑ พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ พระอธิการเดอ ลาแชส (Confessor พระไถ่บาปของพระเจ้าหลุยส์) และบาทหลวงเดอ นัวแยล เจ้าอธิการใหญ่คณะเยซูอิตประจำกรุงโรม ส่วนแผนภาษาฝรั่งเศสส่งให้เฉพาะพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ กับพระอธิกรณ์เดอ ลาแชส โดยมีบาทหลวงตาชารด์ซึ่งติดตามคณะทูตของออกพระวิสุทสุนธร (ปาน) กลับไปฝรั่งเศสเป็นผู้ดำเนินการในฐานะ "ราชทูต" ตัวจริง ในขณะที่ออกพระวิสุทสุนธรนั้นแทบไม่ได้มีบทบาทอะไรเลย และได้ใช้ส่วนใหญ่ไปกับการถูกพาไปท่องเที่ยวในฝรั่งเศส
ตั้งแต่ตาชาร์ดยังไม่กลับไปฝรั่งเศส ฟอลคอนก็เริ่มดำเนินตามแผน ดึงคนในคณะทูตฝรั่งเศสของโชมงต์ไว้ในกรุงไทยหลายคนเช่นเชอวาลิเยร์ เดอ ฟอร์แบ็ง ส่งไปเป็นเจ้าเมืองธนบุรีในบรรดาศักดิ์ออกพระศักดิสงคราม บิลลี (Billy) ผู้ดูแลส่วนตัวราชทูตส่งไปเป็นเจ้าเมืองถลาง (ภูเก็ต) ริวาลส์ (Rivals) เป็นเจ้าเมืองบางคลี เชอวาลิเยร์ เดอ โบเรอการด์ (Chevalier de Beauregard) ไปเป็นเจ้าเมืองมะริด
แต่ทางฝรั่งเศสกลับหวังจะได้ผลประโยชน์มากกว่าแผนที่ฟอลคอนกับตาชาร์ดวางไว้ จึงได้มีการเจรจาระหว่างมาร์กีส์ เดอ เซนเญอเลย์ (Jean-Baptiste Antoine Colbert, Marquis de Seignelay) เสนาบดีกระทรวงทหารเรือฝรั่งเศสกับออกพระวิสุทสุนธร ทางฝรั่งเศสอ้างว่าสงขลามีแต่ซากปรักหักพังใช้การไม่ได้จะขอเมืองบางกอกกับเมืองมะริดซึ่งเป็นเมืองสำคัญของอยุทธยาแทน ซึ่งถ้าฝรั่งเศสสามารถครอบครองป้อมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาที่บางกอกไปก็สามารถถึงโซ่ปิดแม่น้ำเจ้าพระยาเลยเท่ากับคุมเส้นทางหลักสู่อยุทธยา มะริดก็เป็นเมืองท่าทางทะเลที่สำคัญมากเช่นกัน นอกจากนี้จะส่งกำลังทหารไปด้วยอ้างว่า "นายทหารเหล่านี้จะช่วยฝึกสอนชาวสยาม" เรื่องนี้ทำให้ขุนนางไทยจำนวนมากไม่พอใจโดยเฉพาะออกพระเพทราชาที่คัดค้านการให้ทหารฝรั่งเศสเข้ามาประจำการในป้อมเมืองธนบุรีแต่ไม่สำเร็จ
เรื่องนี้ผิดไปจากแผนที่ฟอลคอนกับตาชาร์ดวางไว้มาก ตัวตาชาร์ดเองคิดว่าเป็นการเร่งรีบเกินไป (แม้กระทั่งเรื่องการยกสงขลาให้ฝรั่งเศสตามแผนด้วย) จะก่อให้เกิดความไม่วางใจจากคนไทย ควรดำเนินตามแผนอย่างค่อยเป็นค่อยไปมากกว่า แต่ทางฝรั่งเศสหวังได้ผลประโยชน์มากกว่าที่ฟอลคอนเสนอ
ผลคือคณะทูตชุดใหม่นำโดยลาลูแบร์ (Simon de La Loubère) ให้มาเจรจาเรื่องเมืองบางกอกกับมะริด ทางฝรั่งเศสส่งทหารมา ๖๓๖ นายภายใต้การบังคับบัญชาของนายพลเดส์ฟาร์ฌส์ (le général Desfarges) แต่ตายเสียกลางทางเหลือ ๔๙๓ บรรจุปืนใหญ่ปืนครกมาเต็มอัตราโดยนายพลเดส์ฟาร์ฌส์ได้รับคำสั่งลับมาว่าหากการเจรจาไม่ประสบผลสำเร็จให้ "โจมตีป้อมบางกอกและใช้กำลังยึดไว้ให้ได้" (ซึ่งฝรั่งเศสอาจจะคิดไปเองว่าทหารเพียงแค่นี้สามารถยึดเมืองได้ เพราะน้อยมาก)
แม้ไม่มีการปฏิบัติตามแผนของฟอลคอน แต่ทางฝรั่งเศสก็ยังให้ฟอลคอนเป็นตัวดำเนินการในไทยอยู่ นอกจากนี้ยังมอบสิทธิประโยชน์มากมายให้เช่นให้ยศชั้นกงต์ (comte-เคานท์) พระราชทางเครื่องราชชั้นแซงต์มิเชลให้ พระราชทานสิทธิในการตั้งถิ่นฐานในฝรั่งเศส รวมถึงเสนอให้ร่วมหุ้นในบริษัทอินเดียตะวันออกของฝรั่งเศสด้วย ซึ่งน่าจะเป็นช่องทางในการย้ายไปฝรั่งเศสในอนาคต ในกรณีที่เขาไม่อยากอยู่ในเมืองไทยแล้ว
การเจรจาขอเมืองบางกอกกับมะริดของฝรั่งเศสแทนที่จะเป็นสงขลาที่ฟอลคอนเสนอ (ตัวฟอลคอนเองก็ลำบากใจในเรื่องนี้ และเขารู้ว่าคนไทยจะต้องไม่พอใจมากจนอาจส่งผลเสียได้ เขาจึงเสนอให้ฝรั่งเศสจัดการอย่างค่อยเป็นค่อยไป) ซึ่งสมเด็จพระนารายณ์ก็พระราชทานให้โดยที่ออกพระเพทราชาคัดค้านเรื่องนี้อย่างที่สุดแต่กลับไม่สำเร็จ
แต่การนำทหารฝรั่งเศสเจ้ามาประจำการที่ธนบุรีทำให้ฟอลคอนโดนคนไทยเพ่งเล็งมากขึ้น ประกอบด้วยหลายปัจจัยจึงนำไปสู่การรัฐประหารสมเด็จพระนารายณ์โดยการนำของออกพระเพทราชา และการปฏิวัติขับไล่ทหารฝรั่งเศสใน พ.ศ.๒๒๓๑ ครับ
การรัฐประหารของออกพระเพทราชามีคนไทยในตอนนั้นสนับสนุนจำนวนมากไม่ว่าจะขุนนาง สถาบันสงฆ์ซึ่งได้รับความเสียหายจากนโยบายบริหารของสมเด็จพระนารายณ์จากเรื่องสึกพระมาทำงานหลวง หรือการให้ฆราวาสอย่างออกหลวงสุรศักดิ์มาควบคุมการสอบ รวมไปกระทั่งไพร่และเชื้อพระวงศ์ เพราะล้วนแต่กลัวว่าฝรั่งเศสจะมายึดบ้านยึดเมือง เจ้านายองค์หลักที่หนุนการรัฐประหารครั้งนี้ก็คือกรมหลวงโยธาเทพ พระธิดาของสมเด็จพระนารายณ์
หลายคนที่เข้ากับพระเพทราชาเพราะพระเพทราชาด้วยยข้ออ้างว่าเพื่อปกป้องบ้านเมืองและพระศาสนา (ซึ่งก็คงมีเจตนานั้นจริง) และแสดงท่าทีว่าจะยกพระอนุชาให้ครองบัลลังก์ต่อ เจ้านายอย่างกรมหลวงโยธาเทพจึงทรงเห็นชอบ
อย่างข้อความด้านบนน่าคิดนะครับว่า หากทางฝรั่งเศส พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ยอมทำตามแผนของ หลวงสุรสาคร หรือ ฟอลคอน ที่แบบค่อยๆ ทำ ไม่ใช่แบบเร่งอยากได้เร็วๆ ตามประวัติศาสตร์ พระเพทราชา จะสามารถรวบรวมผู้คนมาร่วมสนับสนุนก่อการรัฐประหารต่อสมเด็จพระนารายณ์ หรือต่อการสำเร็จได้หรือไม่
หาก พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ยอมทำตามแผนของ หลวงสุรสาคร หรือ ฟอลคอน ไม่ใจร้อน คิดว่าผลจะเป็นอย่างไรครับ
ความคิดเห็นที่ 12 คุณ ศรีสรรเพชญ์ 21 มีนาคม 2561 เวลา 09:32 น. ขอคัดมาเฉพาะเนื้อหาที่ตรงกับหัวข้อกระทู้
อย่างไรก็ตามเรื่องที่ฟอลคอนพยายามแทรกแซงการเมืองปกครองของอยุทธยาเป็นเรื่องจริง แม้ว่าเขาจะไม่ได้มองไกลขนาดจะขึ้นเป็นกษัตริย์เองก็ตาม
ฟอลคอนได้เริ่มวางแผนให้ฝรั่งเศสเข้ามาแทรกแซงการปกครองกรุงศรีอยุทธยาในแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยได้ร่างแผนกับบาทหลวงเยซูอิตเชื้อสายฟลาม็องด์ที่มีความสนิทสนมอย่างบาทหลวงมัลโดนาโด (Jean-Baptiste Maldonado) แต่เมื่อคณะทูตฝรั่งเศสเข้ามาถึง เขาเลยไปผูกสัมพันธ์กับบาทหลวงกีย์ ตาชารด์ (Guy Tachard) ที่มาในคณะทูตด้วย และได้ร่วมปรับปรุงแผนการใหม่ โดยที่ฟอลคอนอาจเป็นคนกุมอำนาจโดยเอาเชื้อพระวงศ์ขึ้นมาเป็นหุ่นเชิดซึ่งเป็นคนที่จะมีนโยบายสนองผลประโยชน์ให้ฝรั่งเศสได้หลังสมเด็จพระนารายณ์สวรรคต (ซึ่งมักกล่าวกันว่าคือพระปีย์) แล้วจะมีความเป็นไปได้มากขึ้นที่จะเปลี่ยนไทยให้เป็นดินแดนของคริสต์อย่างค่อยเป็นค่อยไป
แผนฉบับปรับปรุงใหม่ที่คิดร่วมกับตาชาร์ดคือให้พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ส่งข้าราชสำนัก ๗๐ คนที่มีคุณภาพเก็บความลับได้ดี มีบาทหลวงเยซูอิตที่ปลอมตัวมาให้ดูเหมือนคนธรรมดา พอคนกลุ่มนี้เรียนรู้ภาษาไทยได้แล้ว ฟอลคอนจะให้คนพวกนี้ได้ทำงานในระบบราชการที่สำคัญเช่นเป็นเจ้าเมืองคุมเมืองท่าบ้าง แม่ทัพบ้าง และให้คนกลุ่มนี้คอยสร้างสัมพันธ์อันดีกับคนไทยแล้วพยายามชักนำให้เข้ารีต โดยคนกลุ่มนี้จะต้องอยู่ใต้บังคับบัญชาของฟอลคอน นอกจากนี้ยังเสนอให้นำคนฝรั่งเศสระดับชาวบ้านเพื่อมาก่อตั้งชุมชนเล็กๆขึ้นโดยจะมีการจัดสรรที่ดิน อาคารและปศุสัตว์ให้เพื่อให้ใช้เป็นฐานสำหรับชาวคริสต์เวลาเกิดความวุ่นวายทางการเมือง รวมถึงเสนอเมืองสงขลาให้ฝรั่งเศสเป็นที่จอดเรือ ถ้ามีความจำเป็นก็นำเรือไปปิดปากน้ำเจ้าพระยาได้ ให้บาทหลวงไปสอนศาสนาแถวนั้นก็ได้ นอกจากนี้สงขลายังสามารถปลูกข้าวได้ปีละสองครั้ง
ตามแผนนี้บริษัทอินเดียตะวันออกของฝรั่งเศสจะได้ผลประโชน์คือได้ไทยเป็นฐานทำการค้าและท่าจอดเรือสำคัญที่จะสามารถแข่งกับดัตช์ได้ (คนละความหมายกับการยึดเป็นอาณานิคม) คริสตจักรทั้งที่ฝรั่งเศสและวาติกันจะได้ประโยชน์ในการเผยแผ่ศาสนา ส่วนฟอลคอนก็กลายเป็นผู้กุมอำนาจหลักในราชสำนักไทยโดยมีฝรั่งเศสเป็นผู้คุ้มครอง
แผนนี้เขียนเป็นภาษาโปรตุเกสส่งไปถวายพระสันตปาปาอินโนเซนต์ที่ ๑๑ พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ พระอธิการเดอ ลาแชส (Confessor พระไถ่บาปของพระเจ้าหลุยส์) และบาทหลวงเดอ นัวแยล เจ้าอธิการใหญ่คณะเยซูอิตประจำกรุงโรม ส่วนแผนภาษาฝรั่งเศสส่งให้เฉพาะพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ กับพระอธิกรณ์เดอ ลาแชส โดยมีบาทหลวงตาชารด์ซึ่งติดตามคณะทูตของออกพระวิสุทสุนธร (ปาน) กลับไปฝรั่งเศสเป็นผู้ดำเนินการในฐานะ "ราชทูต" ตัวจริง ในขณะที่ออกพระวิสุทสุนธรนั้นแทบไม่ได้มีบทบาทอะไรเลย และได้ใช้ส่วนใหญ่ไปกับการถูกพาไปท่องเที่ยวในฝรั่งเศส
ตั้งแต่ตาชาร์ดยังไม่กลับไปฝรั่งเศส ฟอลคอนก็เริ่มดำเนินตามแผน ดึงคนในคณะทูตฝรั่งเศสของโชมงต์ไว้ในกรุงไทยหลายคนเช่นเชอวาลิเยร์ เดอ ฟอร์แบ็ง ส่งไปเป็นเจ้าเมืองธนบุรีในบรรดาศักดิ์ออกพระศักดิสงคราม บิลลี (Billy) ผู้ดูแลส่วนตัวราชทูตส่งไปเป็นเจ้าเมืองถลาง (ภูเก็ต) ริวาลส์ (Rivals) เป็นเจ้าเมืองบางคลี เชอวาลิเยร์ เดอ โบเรอการด์ (Chevalier de Beauregard) ไปเป็นเจ้าเมืองมะริด
แต่ทางฝรั่งเศสกลับหวังจะได้ผลประโยชน์มากกว่าแผนที่ฟอลคอนกับตาชาร์ดวางไว้ จึงได้มีการเจรจาระหว่างมาร์กีส์ เดอ เซนเญอเลย์ (Jean-Baptiste Antoine Colbert, Marquis de Seignelay) เสนาบดีกระทรวงทหารเรือฝรั่งเศสกับออกพระวิสุทสุนธร ทางฝรั่งเศสอ้างว่าสงขลามีแต่ซากปรักหักพังใช้การไม่ได้จะขอเมืองบางกอกกับเมืองมะริดซึ่งเป็นเมืองสำคัญของอยุทธยาแทน ซึ่งถ้าฝรั่งเศสสามารถครอบครองป้อมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาที่บางกอกไปก็สามารถถึงโซ่ปิดแม่น้ำเจ้าพระยาเลยเท่ากับคุมเส้นทางหลักสู่อยุทธยา มะริดก็เป็นเมืองท่าทางทะเลที่สำคัญมากเช่นกัน นอกจากนี้จะส่งกำลังทหารไปด้วยอ้างว่า "นายทหารเหล่านี้จะช่วยฝึกสอนชาวสยาม" เรื่องนี้ทำให้ขุนนางไทยจำนวนมากไม่พอใจโดยเฉพาะออกพระเพทราชาที่คัดค้านการให้ทหารฝรั่งเศสเข้ามาประจำการในป้อมเมืองธนบุรีแต่ไม่สำเร็จ
เรื่องนี้ผิดไปจากแผนที่ฟอลคอนกับตาชาร์ดวางไว้มาก ตัวตาชาร์ดเองคิดว่าเป็นการเร่งรีบเกินไป (แม้กระทั่งเรื่องการยกสงขลาให้ฝรั่งเศสตามแผนด้วย) จะก่อให้เกิดความไม่วางใจจากคนไทย ควรดำเนินตามแผนอย่างค่อยเป็นค่อยไปมากกว่า แต่ทางฝรั่งเศสหวังได้ผลประโยชน์มากกว่าที่ฟอลคอนเสนอ
ผลคือคณะทูตชุดใหม่นำโดยลาลูแบร์ (Simon de La Loubère) ให้มาเจรจาเรื่องเมืองบางกอกกับมะริด ทางฝรั่งเศสส่งทหารมา ๖๓๖ นายภายใต้การบังคับบัญชาของนายพลเดส์ฟาร์ฌส์ (le général Desfarges) แต่ตายเสียกลางทางเหลือ ๔๙๓ บรรจุปืนใหญ่ปืนครกมาเต็มอัตราโดยนายพลเดส์ฟาร์ฌส์ได้รับคำสั่งลับมาว่าหากการเจรจาไม่ประสบผลสำเร็จให้ "โจมตีป้อมบางกอกและใช้กำลังยึดไว้ให้ได้" (ซึ่งฝรั่งเศสอาจจะคิดไปเองว่าทหารเพียงแค่นี้สามารถยึดเมืองได้ เพราะน้อยมาก)
แม้ไม่มีการปฏิบัติตามแผนของฟอลคอน แต่ทางฝรั่งเศสก็ยังให้ฟอลคอนเป็นตัวดำเนินการในไทยอยู่ นอกจากนี้ยังมอบสิทธิประโยชน์มากมายให้เช่นให้ยศชั้นกงต์ (comte-เคานท์) พระราชทางเครื่องราชชั้นแซงต์มิเชลให้ พระราชทานสิทธิในการตั้งถิ่นฐานในฝรั่งเศส รวมถึงเสนอให้ร่วมหุ้นในบริษัทอินเดียตะวันออกของฝรั่งเศสด้วย ซึ่งน่าจะเป็นช่องทางในการย้ายไปฝรั่งเศสในอนาคต ในกรณีที่เขาไม่อยากอยู่ในเมืองไทยแล้ว
การเจรจาขอเมืองบางกอกกับมะริดของฝรั่งเศสแทนที่จะเป็นสงขลาที่ฟอลคอนเสนอ (ตัวฟอลคอนเองก็ลำบากใจในเรื่องนี้ และเขารู้ว่าคนไทยจะต้องไม่พอใจมากจนอาจส่งผลเสียได้ เขาจึงเสนอให้ฝรั่งเศสจัดการอย่างค่อยเป็นค่อยไป) ซึ่งสมเด็จพระนารายณ์ก็พระราชทานให้โดยที่ออกพระเพทราชาคัดค้านเรื่องนี้อย่างที่สุดแต่กลับไม่สำเร็จ
แต่การนำทหารฝรั่งเศสเจ้ามาประจำการที่ธนบุรีทำให้ฟอลคอนโดนคนไทยเพ่งเล็งมากขึ้น ประกอบด้วยหลายปัจจัยจึงนำไปสู่การรัฐประหารสมเด็จพระนารายณ์โดยการนำของออกพระเพทราชา และการปฏิวัติขับไล่ทหารฝรั่งเศสใน พ.ศ.๒๒๓๑ ครับ
การรัฐประหารของออกพระเพทราชามีคนไทยในตอนนั้นสนับสนุนจำนวนมากไม่ว่าจะขุนนาง สถาบันสงฆ์ซึ่งได้รับความเสียหายจากนโยบายบริหารของสมเด็จพระนารายณ์จากเรื่องสึกพระมาทำงานหลวง หรือการให้ฆราวาสอย่างออกหลวงสุรศักดิ์มาควบคุมการสอบ รวมไปกระทั่งไพร่และเชื้อพระวงศ์ เพราะล้วนแต่กลัวว่าฝรั่งเศสจะมายึดบ้านยึดเมือง เจ้านายองค์หลักที่หนุนการรัฐประหารครั้งนี้ก็คือกรมหลวงโยธาเทพ พระธิดาของสมเด็จพระนารายณ์
หลายคนที่เข้ากับพระเพทราชาเพราะพระเพทราชาด้วยยข้ออ้างว่าเพื่อปกป้องบ้านเมืองและพระศาสนา (ซึ่งก็คงมีเจตนานั้นจริง) และแสดงท่าทีว่าจะยกพระอนุชาให้ครองบัลลังก์ต่อ เจ้านายอย่างกรมหลวงโยธาเทพจึงทรงเห็นชอบ
อย่างข้อความด้านบนน่าคิดนะครับว่า หากทางฝรั่งเศส พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ยอมทำตามแผนของ หลวงสุรสาคร หรือ ฟอลคอน ที่แบบค่อยๆ ทำ ไม่ใช่แบบเร่งอยากได้เร็วๆ ตามประวัติศาสตร์ พระเพทราชา จะสามารถรวบรวมผู้คนมาร่วมสนับสนุนก่อการรัฐประหารต่อสมเด็จพระนารายณ์ หรือต่อการสำเร็จได้หรือไม่