ช่วงนี้มีเวลานั่งดูซีรีส์เรื่อง Ruyi's Royal Love in the Palace (如懿传) หรือตำนานหรูอี้ ซึ่งเป็นเรื่องราวของสมเด็จพระมเหสี ตระกูลอูลาน่าลาในสมเด็จพระจักรพรรดิเฉียนหลง เลยนึกสนุกอยากเขียนกระทู้เกี่ยวกับเรื่องการเลื่อนพระอิสริยยศของบรรดาสตรีฝ่ายในในราชวงศ์ชิง เริ่มแล้วก็มาเข้าเรื่องกันเลย ใครมีข้อมูลเพิ่มเติมแลกเปลี่ยนกันได้นะครับ หรือว่าหากข้อมูลผมผิดพลาดประการใดก็บอกกล่าวกันได้
ราชวงศ์ชิง ราชวงศ์สุดท้ายในระบอบจักรวรรดินิยมของจีน เป็นราชวงศ์ที่ชาวแมนจูเข้ามาปกครองแผ่นดินมังกรของชาวฮั่นนานหลายศตวรรษ วัฒนธรรมบางประการ กระทั่งชื่อเรียกขานจึงได้รับอิทธิพลมาจากนอกด่าน ผสมผสานกับวัฒนธรรมชาวฮั่น กระทั่งระบบของสตรีฝ่ายในก็มีการปรับเปลี่ยนต่างไปจากราชวงศ์หมิง ซึ่งเป็นราชวงศ์ก่อนหน้าพอสมควร
โดยหลัก ๆ การสถาปนาเลื่อนพระอิสริยยศของสตรีฝ่ายในจะมีอยู่ด้วยกัน 2 กรณี คือ
กรณีได้รับการสถาปนาจากสมเด็จพระจักรพรรดิ
ลำดับขั้นของสตรีฝ่ายในช่วงก่อนตั้งราชวงศ์ชิง ต้องเท้าความถึงรัชสมัยจักรพรรดิชิงไท่จู่ นูร์ฮาชี (清太祖努尔哈赤) และรัชสมัยจักรพรรดิหวางไท่จี๋ (皇太极)
รัชสมัยจักรพรรดิชิงไท่จู่ ยังมิได้สถาปนาราชวงศ์ เอกภรรยาเรียกกันว่า “ต้าฝูจิ้น” (大福晋) , ภรรยารองเรียกว่า “เช่อฝูจิ้น” (侧福晋) และบรรดาอนุภรรยาเรียกว่า “เก๋อเก๋อ” (格格)
รัชสมัยจักรพรรดิหวางไท่จี๋ แรกเริ่มก็ใช้ระบบเดียวกันกับสมัยของพระราชบิดา แต่เมื่อสถาปนาราชวงศ์ชิงเหนือแผ่นดินจีนแล้ว จึงได้สถาปนาพระราชวงศ์ฝ่ายในขึ้น เรียกกันว่า “ห้าตำหนักฝ่ายใน” ประกอบด้วย
- สมเด็จพระมเหสีตำหนักชิงหนิง (清宁宫皇后) ป๋อเอ่อร์จี้จี๋เท่อ เจ๋อเจ๋อ ที่แต่เดิมเป็นสมเด็จพระชายาแห่งตำหนักกลาง (正宫大福晋)
- พระนางเฉินเฟยแห่งตำหนักกวานจวี (关雎宫宸妃) ป๋อเอ่อร์จี้จี๋เท่อ ไห่หลานจู
- พระนางกุ้ยเฟยแห่งตำหนักหลินจื่อ (麟趾宫贵妃) ป๋อเอ่อร์จี้จี๋เท่อ น่ามู่จง
- พระนางซูเฟยแห่งตำหนักเหยี่ยนชิ่ง (衍庆宫淑妃) ป๋อเอ่อร์จี้จี๋เท่อ ปาเท่อหม่าเจ่า
- พระนางจวงเฟยแห่งตำหนักหย่งฝู (永福宫庄妃) ป๋อเอ่อร์จี้จี๋เท่อ ปู้มู่ปู้ไท่
โดยคำว่า ฝูจิ้น ใช้เรียกพระชายาบรรดาอ๋องและพระราชวงศ์ในชั้นต่าง ๆ ส่วนคำว่า เก๋อเก๋อ ใช้เรียกบรรดาอนุภรรยาของอ๋องและเชื้อพระวงศ์ (ต่อมาภายหลัง เก๋อเก๋อ เป็นตำแหน่งสตรีผู้ทรงบรรดาศักดิ์ในพระราชวงศ์ เทียบเท่าพระยศ “หม่อมเจ้า” หรือ “ท่านหญิง”)
พอหลังตั้งราชวงศ์ชิง รัชสมัยจักรพรรดิซุ่นจื้อ (顺治帝) ได้ออกประกาศชื่อตำแหน่งใหม่ โดยแบ่งเป็น 2 ตำหนัก คือ ตำหนักเฉียนชิง มีฟูเหริน (夫人) เป็นประมุขฝ่ายใน พระสนมซูอี๋ (淑仪) 1 ตำแหน่ง , พระสนมหว่านซื่อ (婉侍) 1 ตำแหน่ง และมีพระสนมโหรวหว่าน (柔婉) , พระสนมฟางหว่าน (芳婉) อีก 30 ตำแหน่ง อีกตำหนักคือ ตำหนักฉือหนิง ประกอบด้วยพระสนมเจินหรง (贞容) 1 ตำแหน่ง , พระสนมเซิ่นหรง (慎容) 1 ตำแหน่ง และพระสนมฉินซื่อ (勤侍) อีกโดยไม่จำกัดจำนวน ซึ่งตำแหน่งฟูเหรินประมุขฝ่ายในที่ว่านี้ก็คือตำแหน่งสมเด็จพระมเหสี หรือ ฮองเฮา (皇后) นั่นเอง
มาถึงรัชสมัยจักรพรรดิคังซี ได้มีการออกประกาศชื่อตำแหน่งฝ่ายในใหม่ โดยหลังจากยุคนี้เป็นต้นไป ก็ใช้ระบบนี้มาตลอด มีแก้ไขบ้างบางช่วง โดยเรียงเป็น
- สมเด็จพระมเหสี หรือ หวางโฮ่ว (皇后) เป็นประมุขฝ่ายใน
- สมเด็จพระอัครเทวี หรือ หวางกุ้ยเฟย (皇贵妃) 1 ตำแหน่ง รองลงมาจากฮองเฮา
- พระอัครเทวี หรือ กุ้ยเฟย (贵妃) 2 ตำแหน่ง
- พระสนมชั้นเฟย (妃) 4 ตำแหน่ง
- พระสนมชั้นผิน (嫔) 6 ตำแหน่ง
- พระสนมกุ้ยเหริน (贵人) ไม่จำกัดจำนวน
- พระสนมฉางจ้าย (常在) ไม่จำกัดจำนวน
- พระสนมตาอิ้ง (答应) ไม่จำกัดจำนวน
เหล่าพระสนมนางกำนัล ล้วนสังกัด 12 ตำหนัก แบ่งออกเป็น หกตำหนักตะวันออก (东六宫) และ หกตำหนักตะวันตก (西六宫)
- หกตำหนักตะวันออก ได้แก่ ตำหนักจิ่งเหริน (景仁宫) , ตำหนักเฉิงเฉียน (承乾宫) , ตำหนักจงชุ่ย (钟粹宫) , ตำหนักเหยียนสี่ (延禧宫) , ตำหนักหย่งเหอ (永和宫) และตำหนักจิ่งหยาง (景阳宫)
- หกตำหนักตะวันออก ได้แก่ ตำหนักหย่งโซ่ว (永寿宫) , ตำหนักอวี้คุน (翊坤宫) , ตำหนักฉี่เสียง (启祥宫) , ตำหนักฉางชุน (长春宫) , ตำหนักเสียนฝู (咸福宫) และตำหนักฉู่ซิ่ว (储秀宫)
โดยตำหนักที่ประทับของจักรพรรดิและพระมเหสี เรียกกันว่า “สามพระตำหนักฝ่ายใน” (后三宫) ประกอบด้วย ตำหนักเฉียนชิง (乾清宫) , พระที่นั่งเจียวไท่ (交泰殿) และตำหนักคุนหนิง (坤宁宫) ส่วนที่ประทับของพระพันปี อยู่ที่ ตำหนักฉือหนิง (慈宁宫)
บรรดาพระชายาเอก พระชายารอง และอนุภรรยาทั้งหลายที่ถวายตัวเข้าตำหนักของจักรพรรดิตั้งแต่ครั้งยังไม่ครองราชย์ เมื่อขึ้นครองราชย์ พระชายาเอกมักจะได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระมเหสี และพระชายารอง มักจะได้รับการแต่งตั้งเป็นพระสนมชั้นเฟยขึ้นไป ส่วนบรรดาอนุภรรยาจะได้รับแต่งตั้งในตำแหน่งพระสนมชั้นอื่น ๆ แล้วแต่ความโปรดปรานและความดีความชอบ (ผู้ที่มีพระโอรสพระธิดา)
พระสนมบางองค์อาจจะได้รับการสถาปนาย้อนหลังเมื่อสิ้นพระชนม์ไปแล้ว โดยสมเด็จพระจักรพรรดิผู้เป็นสวามีสถาปนาขึ้นเองด้วยความสนิทสิเนหา หรือรำลึกถึงในฐานพระมารดาของพระราชโอรสพระราชธิดาที่ทรงโปรดปราน หรืออาจจะสถาปนาย้อนหลัง โดยสมเด็จพระจักรพรรดิในรัชกาลต่อมาในฐานะที่เคยอภิบาลเลี้ยงดูจักรพรรดิเมื่อยังเยาว์
ยกตัวอย่าง
ภาพพระสนมหวาเฟย (华妃) จากเรื่องตำนานเจินหวน (甄嬛传) ตัวละครที่มีที่มาจากสมเด็จพระอัครเทวีตุนซู่
สมเด็จพระอัครเทวีตุนซู่ ตระกูลเหนียน (敦肃皇贵妃年氏) พระชายารองในจักรพรรดิยงเจิ้งตั้งแต่ครั้งยังไม่ขึ้นครองราชย์ เมื่อขึ้นครองราชย์ ได้รับสถาปนาไว้ในตำแหน่ง พระอัครเทวี – กุ้ยเฟย (贵妃) รัชศกยงเจิ้งปีที่ 3 พระนางสิ้นพระชนม์ จักรพรรดิยงเจิ้งจึงสถาปนาย้อนหลังขึ้นเป็น สมเด็จพระอัครเทวี - หวางกุ้ยเฟย
ภาพพระสนมเจียเฟย (嘉妃) จากเรื่องตำนานหรูอี้ (如懿传) ตัวละครที่มีที่มาจากสมเด็จพระอัครเทวีซูเจีย
สมเด็จพระอัครเทวีซูเจีย ตระกูลจินเจีย (淑嘉皇贵妃金佳氏) อนุภรรยาตำแหน่ง เก๋อเก๋อ ในจักรพรรดิเฉียนหลงเมื่อครั้งยังไม่ขึ้นครองราชย์ เมื่อขึ้นครองราชย์แล้ว ได้สถาปนาไว้ในตำแหน่งพระสนมจินกุ้ยเหริน (金贵人) และพระสนมเจียผิน (嘉嫔) ตามลำดับ ต่อมาประสูติองค์ชายสี่ จึงสถาปนาขึ้นเป็นพระสนมเจียเฟย (嘉妃) และต่อมาก็ประสูติองค์ชายแปดจึงได้สถาปนาขึ้นเป็น พระอัครเทวีเจียกุ้ยเฟย (嘉贵妃) รัชศกเฉียนหลงปีที่ 20 สิ้นพระชนม์ จึงสถาปนาย้อนหลังเป็น สมเด็จพระอัครเทวี – หวางกุ้ยเฟย
*** บรรดาพระสนมในจักรพรรดิ ตามขนบของขงจื๊อถือเป็นมารดาเลี้ยงของพระราชโอรสพระราชธิดาของจักรพรรดิ ต้องให้ความเคารพนับถือดุจมารดาตน ด้วยเหตุนี้ สถานะของพระสนมต่าง ๆ ถือว่าอยู่เหนือบรรดาขุนนางทั่วไป และต้องกราบทูลด้วยราชาศัพท์ ซึ่งต่างจากเจ้าจอมพระสนมในวัฒนธรรมไทยที่ใช้เพียงคำสุภาพ
[เกร็ดประวัติศาสตร์จีน] การเลื่อนพระอิสริยยศของสตรีในราชสำนักฝ่ายในสมัยราชวงศ์ชิง
ราชวงศ์ชิง ราชวงศ์สุดท้ายในระบอบจักรวรรดินิยมของจีน เป็นราชวงศ์ที่ชาวแมนจูเข้ามาปกครองแผ่นดินมังกรของชาวฮั่นนานหลายศตวรรษ วัฒนธรรมบางประการ กระทั่งชื่อเรียกขานจึงได้รับอิทธิพลมาจากนอกด่าน ผสมผสานกับวัฒนธรรมชาวฮั่น กระทั่งระบบของสตรีฝ่ายในก็มีการปรับเปลี่ยนต่างไปจากราชวงศ์หมิง ซึ่งเป็นราชวงศ์ก่อนหน้าพอสมควร
โดยหลัก ๆ การสถาปนาเลื่อนพระอิสริยยศของสตรีฝ่ายในจะมีอยู่ด้วยกัน 2 กรณี คือ
ลำดับขั้นของสตรีฝ่ายในช่วงก่อนตั้งราชวงศ์ชิง ต้องเท้าความถึงรัชสมัยจักรพรรดิชิงไท่จู่ นูร์ฮาชี (清太祖努尔哈赤) และรัชสมัยจักรพรรดิหวางไท่จี๋ (皇太极)
รัชสมัยจักรพรรดิชิงไท่จู่ ยังมิได้สถาปนาราชวงศ์ เอกภรรยาเรียกกันว่า “ต้าฝูจิ้น” (大福晋) , ภรรยารองเรียกว่า “เช่อฝูจิ้น” (侧福晋) และบรรดาอนุภรรยาเรียกว่า “เก๋อเก๋อ” (格格)
รัชสมัยจักรพรรดิหวางไท่จี๋ แรกเริ่มก็ใช้ระบบเดียวกันกับสมัยของพระราชบิดา แต่เมื่อสถาปนาราชวงศ์ชิงเหนือแผ่นดินจีนแล้ว จึงได้สถาปนาพระราชวงศ์ฝ่ายในขึ้น เรียกกันว่า “ห้าตำหนักฝ่ายใน” ประกอบด้วย
- สมเด็จพระมเหสีตำหนักชิงหนิง (清宁宫皇后) ป๋อเอ่อร์จี้จี๋เท่อ เจ๋อเจ๋อ ที่แต่เดิมเป็นสมเด็จพระชายาแห่งตำหนักกลาง (正宫大福晋)
- พระนางเฉินเฟยแห่งตำหนักกวานจวี (关雎宫宸妃) ป๋อเอ่อร์จี้จี๋เท่อ ไห่หลานจู
- พระนางกุ้ยเฟยแห่งตำหนักหลินจื่อ (麟趾宫贵妃) ป๋อเอ่อร์จี้จี๋เท่อ น่ามู่จง
- พระนางซูเฟยแห่งตำหนักเหยี่ยนชิ่ง (衍庆宫淑妃) ป๋อเอ่อร์จี้จี๋เท่อ ปาเท่อหม่าเจ่า
- พระนางจวงเฟยแห่งตำหนักหย่งฝู (永福宫庄妃) ป๋อเอ่อร์จี้จี๋เท่อ ปู้มู่ปู้ไท่
โดยคำว่า ฝูจิ้น ใช้เรียกพระชายาบรรดาอ๋องและพระราชวงศ์ในชั้นต่าง ๆ ส่วนคำว่า เก๋อเก๋อ ใช้เรียกบรรดาอนุภรรยาของอ๋องและเชื้อพระวงศ์ (ต่อมาภายหลัง เก๋อเก๋อ เป็นตำแหน่งสตรีผู้ทรงบรรดาศักดิ์ในพระราชวงศ์ เทียบเท่าพระยศ “หม่อมเจ้า” หรือ “ท่านหญิง”)
พอหลังตั้งราชวงศ์ชิง รัชสมัยจักรพรรดิซุ่นจื้อ (顺治帝) ได้ออกประกาศชื่อตำแหน่งใหม่ โดยแบ่งเป็น 2 ตำหนัก คือ ตำหนักเฉียนชิง มีฟูเหริน (夫人) เป็นประมุขฝ่ายใน พระสนมซูอี๋ (淑仪) 1 ตำแหน่ง , พระสนมหว่านซื่อ (婉侍) 1 ตำแหน่ง และมีพระสนมโหรวหว่าน (柔婉) , พระสนมฟางหว่าน (芳婉) อีก 30 ตำแหน่ง อีกตำหนักคือ ตำหนักฉือหนิง ประกอบด้วยพระสนมเจินหรง (贞容) 1 ตำแหน่ง , พระสนมเซิ่นหรง (慎容) 1 ตำแหน่ง และพระสนมฉินซื่อ (勤侍) อีกโดยไม่จำกัดจำนวน ซึ่งตำแหน่งฟูเหรินประมุขฝ่ายในที่ว่านี้ก็คือตำแหน่งสมเด็จพระมเหสี หรือ ฮองเฮา (皇后) นั่นเอง
มาถึงรัชสมัยจักรพรรดิคังซี ได้มีการออกประกาศชื่อตำแหน่งฝ่ายในใหม่ โดยหลังจากยุคนี้เป็นต้นไป ก็ใช้ระบบนี้มาตลอด มีแก้ไขบ้างบางช่วง โดยเรียงเป็น
- สมเด็จพระมเหสี หรือ หวางโฮ่ว (皇后) เป็นประมุขฝ่ายใน
- สมเด็จพระอัครเทวี หรือ หวางกุ้ยเฟย (皇贵妃) 1 ตำแหน่ง รองลงมาจากฮองเฮา
- พระอัครเทวี หรือ กุ้ยเฟย (贵妃) 2 ตำแหน่ง
- พระสนมชั้นเฟย (妃) 4 ตำแหน่ง
- พระสนมชั้นผิน (嫔) 6 ตำแหน่ง
- พระสนมกุ้ยเหริน (贵人) ไม่จำกัดจำนวน
- พระสนมฉางจ้าย (常在) ไม่จำกัดจำนวน
- พระสนมตาอิ้ง (答应) ไม่จำกัดจำนวน
เหล่าพระสนมนางกำนัล ล้วนสังกัด 12 ตำหนัก แบ่งออกเป็น หกตำหนักตะวันออก (东六宫) และ หกตำหนักตะวันตก (西六宫)
- หกตำหนักตะวันออก ได้แก่ ตำหนักจิ่งเหริน (景仁宫) , ตำหนักเฉิงเฉียน (承乾宫) , ตำหนักจงชุ่ย (钟粹宫) , ตำหนักเหยียนสี่ (延禧宫) , ตำหนักหย่งเหอ (永和宫) และตำหนักจิ่งหยาง (景阳宫)
- หกตำหนักตะวันออก ได้แก่ ตำหนักหย่งโซ่ว (永寿宫) , ตำหนักอวี้คุน (翊坤宫) , ตำหนักฉี่เสียง (启祥宫) , ตำหนักฉางชุน (长春宫) , ตำหนักเสียนฝู (咸福宫) และตำหนักฉู่ซิ่ว (储秀宫)
โดยตำหนักที่ประทับของจักรพรรดิและพระมเหสี เรียกกันว่า “สามพระตำหนักฝ่ายใน” (后三宫) ประกอบด้วย ตำหนักเฉียนชิง (乾清宫) , พระที่นั่งเจียวไท่ (交泰殿) และตำหนักคุนหนิง (坤宁宫) ส่วนที่ประทับของพระพันปี อยู่ที่ ตำหนักฉือหนิง (慈宁宫)
บรรดาพระชายาเอก พระชายารอง และอนุภรรยาทั้งหลายที่ถวายตัวเข้าตำหนักของจักรพรรดิตั้งแต่ครั้งยังไม่ครองราชย์ เมื่อขึ้นครองราชย์ พระชายาเอกมักจะได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระมเหสี และพระชายารอง มักจะได้รับการแต่งตั้งเป็นพระสนมชั้นเฟยขึ้นไป ส่วนบรรดาอนุภรรยาจะได้รับแต่งตั้งในตำแหน่งพระสนมชั้นอื่น ๆ แล้วแต่ความโปรดปรานและความดีความชอบ (ผู้ที่มีพระโอรสพระธิดา)
พระสนมบางองค์อาจจะได้รับการสถาปนาย้อนหลังเมื่อสิ้นพระชนม์ไปแล้ว โดยสมเด็จพระจักรพรรดิผู้เป็นสวามีสถาปนาขึ้นเองด้วยความสนิทสิเนหา หรือรำลึกถึงในฐานพระมารดาของพระราชโอรสพระราชธิดาที่ทรงโปรดปราน หรืออาจจะสถาปนาย้อนหลัง โดยสมเด็จพระจักรพรรดิในรัชกาลต่อมาในฐานะที่เคยอภิบาลเลี้ยงดูจักรพรรดิเมื่อยังเยาว์
*** บรรดาพระสนมในจักรพรรดิ ตามขนบของขงจื๊อถือเป็นมารดาเลี้ยงของพระราชโอรสพระราชธิดาของจักรพรรดิ ต้องให้ความเคารพนับถือดุจมารดาตน ด้วยเหตุนี้ สถานะของพระสนมต่าง ๆ ถือว่าอยู่เหนือบรรดาขุนนางทั่วไป และต้องกราบทูลด้วยราชาศัพท์ ซึ่งต่างจากเจ้าจอมพระสนมในวัฒนธรรมไทยที่ใช้เพียงคำสุภาพ