มีเพื่อนสมาชิกท่านหนึ่งที่ติดตามกระทู้เคยรีเควสเอาไว้ว่า อยากให้ลองเขียนเกี่ยวกับตำแหน่งนางในและเชื้อพระวงศ์สมัยราชวงศ์ซ่งบ้าง พูดถึงซีรีส์ในสมัยราชวงศ์ซ่งของจีนแล้ว นอกจากเปาบุ้นจิ้นก็ไม่ค่อยมีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับในรั้วในวังฝ่ายในเท่าไหร่ จขกท.ก็ลังเลอยู่เหมือนกันนะคะว่าจะทำดีไหม เพราะข้อมูลหายากและซับซ้อนพอสมควร แต่พอได้ลองค้นหาดูก็พบว่ามีข้อมูลที่น่าสนใจต่างจากราชวงศ์อื่นๆ ที่เคยนำเสนอมาอยู่ไม่น้อยค่ะ หวังว่าเนื้อหาในกระทู้นี้จะทำให้คนที่ดูซีรีส์สมัยราชวงศ์ซ่งเข้าใจและสนุกได้มากขึ้นนะคะ ถ้าข้อมูลมีอะไรผิดพลาดตรงไหนสามารถแนะนำหรือชี้แจงได้ค่ะ (กระทู้ยาวหน่อยนะคะ ^_^)
ราชวงศ์ซ่งนั้นเป็นช่วงที่สามารถรวบรวมแผ่นดินจีนที่แตกแยกออกเป็นหลายสิบอาณาจักรให้เป็นหนึ่งเดียวกันได้อีกครั้ง โดยสมัยซ่งนี้ให้การสนับสนุนทางด้านวิชาการเป็นอย่างมาก การศึกษาของประชาชนมีความเจริญก้าวหน้าขึ้น แต่ด้านการทหารกลับอ่อนแอ ถึงอย่างนั้นในด้านเศรษฐกิจ การค้า ศิลปกรรม และวัฒนธรรมนั้นก็มีความเจริญรุ่งเรือง โดยเฉพาะการพัฒนาในด้านวิทยาศาสตร์และสิ่งประดิษฐ์ การเขียนบันทึกประวัติศาสตร์ และศิลปะการเขียนภาพเขียนพู่กัน ปกครองประชาชนในแผ่นดินจีนยาวนานถึง 319 ปี
ด้วยการบุกโจมตีของแคว้นต้าจินและการย้ายเมืองหลวงของต้าซ่งเพื่อหลบหนีการรุกราน ทำให้สมัยราชวงศ์ซ่งนั้นแบ่งออกเป็นราชวงศ์ซ่งเหนือและราชวงศ์ซ่งใต้ ซึ่งระดับและตำแหน่งสตรีฝ่ายในของวังหลังสมัยราชวงศ์ซ่งทั้งสองนั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก จึงขออธิบายรวมทั้งสองช่วงสมัยไปพร้อมกันนะคะ โดยระดับและตำแหน่งสตรีฝ่ายในสมัยราชวงศ์ซ่ง สามารถแบ่งได้ตามลำดับดังนี้
จักรพรรดินี พระชายา และพระสนม
ไท่หวงไท่โฮ่ว (太皇太后)
หรือรู้จักกันในชื่อ "ไทฮองไทเฮา" ตำแหน่งของจักรพรรดินีในจักรพรรดิองค์ก่อนหน้านับขึ้นไป 2 ขั้น หรือเป็นพระอัยยิกาในจักรพรรดิองค์ปัจจุบัน อาจจะมีฐานะเป็นพระอัยยิกาแท้ๆ หรือพระอัยยิกาเลี้ยงของจักรพรรดิก็ได้ เช่น เซวียนเหรินเซิ่งเลี่ยฮองเฮา เกาเทาเทา จักรพรรดินีในสมัยซ่งอิงจง ดำรงตำแหน่งเป็นไทฮองไทเฮาในสมัยซ่งเจ๋อจง (จากเรื่อง 東坡家事)
หวงไท่โฮ่ว (皇太后)
หรือรู้จักกันในชื่อ "ฮองไทเฮา" ตำแหน่งของจักรพรรดินีในจักรพรรดิองค์ก่อนหน้านับขึ้นไป 1 ขั้น หรือพระมารดาในจักรพรรดิองค์ปัจจุบัน ถ้าจักรพรรดิองค์ปัจจุบันไม่ได้เป็นพระโอรสที่เกิดแต่จักรพรรดินีองค์ก่อน ผู้เป็นพระชายาหรือพระสนมที่เป็นพระมารดาของจักรพรรดิองค์ปัจจุบัน จะสามารถมีตำแหน่งเป็นฮองไทเฮาได้ ก็ต่อเมื่อฮองไทเฮาซึ่งเป็นจักรพรรดินีองค์ก่อนสวรรคตแล้วเท่านั้น นอกจากนี้ในสมัยราชวงศ์ซ่ง พระชายาหรือพระสนมที่เคยทำหน้าที่เลี้ยงดูจักรพรรดิองค์ปัจจุบันตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ก็สามารถได้รับการยกย่องและมีตำแหน่งเป็นฮองไทเฮาได้ด้วยเช่นกัน เช่น เจาเซี่ยนฮองไทเฮา สกุลตู้ จักรพรรดินีในซ่งเซวียนจู่ ทรงดำรงตำแหน่งฮองไทเฮาในสมัยซ่งไท่จู่ (จากเรื่อง 大宋傳奇之趙匡胤)
หวงไท่เฟย (皇太妃)
ตำแหน่งรองจากฮองไทเฮา ในสมัยราชวงศ์ซ่งหากจักรพรรดิองค์ปัจจุบันเป็นพระโอรสที่เกิดแต่พระชายาหรือพระสนม และในขณะนั้นจักรพรรดินีในจักรพรรดิองค์ก่อนหน้าทรงมีตำแหน่งเป็นฮองไทเฮาอยู่ พระมารดาของจักรพรรดิองค์ปัจจุบันจะได้รับแต่งตั้งในตำแหน่งรองลงมาเป็นหวงไท่เฟยแทน และสามารถเลื่อนขึ้นเป็นฮองไทเฮาได้ในภายหลังเมื่อฮองไทเฮาซึ่งเป็นจักรพรรดินีองค์ก่อนสวรรคต พระชายาหรือพระสนมในจักรพรรดิองค์ก่อนที่เคยทำหน้าที่เป็นพระมารดาเลี้ยงให้แก่จักรพรรดิตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ หรือเป็นผู้ที่องค์จักรพรรดิให้ความเคารพนับถือ ก็สามารถได้รับการยกย่องแต่งตั้งเป็นหวงไท่เฟยได้เช่นกัน
เช่น หยางหวงไท่เฟย ดำรงตำแหน่งในสมัยซ่งเหรินจง ด้วยเคยทำหน้าที่เป็นพระมารดาเลี้ยงให้แก่จักรพรรดิซ่งเหรินจงเมื่อยังทรงพระเยาว์ ทรงเคยเป็นพระชายาในซ่งเจินจง ต่อมาได้รับแต่งตั้งขึ้นเป็นเป่าชิ่งฮองไทเฮา และได้รับสถาปนาเป็นจางฮุ่ยฮองเฮาเมื่อสวรรคต (จากเรื่อง 將軍在上)
หวังฟูเหริน (王夫人)
ในสมัยราชวงศ์ซ่ง พระมารดาขององค์จักรพรรดิที่ไม่ได้มีฐานะเป็นจักรพรรดินี พระชายา หรือพระสนม แต่มีฐานะเป็นพระชายาเอกหรืออนุชายาในเชื้อพระวงศ์ชายสายรอง จะมีตำแหน่งเป็น หวังฟูเหริน (王夫人) แทน ไม่สามารถแต่งตั้งเป็นไทเฮาได้ และมักไม่ได้รับการสถาปนาเป็นฮองเฮาเมื่อสิ้นพระชนม์ เช่น อนุชายา สกุลเริ่น ในหรู่หนานจวิ้นอ๋อง จ้าวหยวิ่นร่าง ลูกพี่ลูกน้องของซ่งเหรินจงซึ่งเป็นจักรพรรดิในเวลานั้น ภายหลังพระโอรสของนางขึ้นครองราชย์ต่อเป็นซ่งอิงจง พระสวามีได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นผูอันอี้อ๋อง อนุชายาเริ่นซึ่งเป็นพระมารดาจึงได้รับแต่งตั้งเป็น ผูอันอี้หวังฟูเหริน (จากเรื่อง 清平樂)
หวงโฮ่ว (皇后)
ตำแหน่งจักรพรรดินีองค์ปัจจุบันของจักรพรรดิ หรือรู้จักกันในชื่อ "ฮองเฮา" พระอัครมเหสีเอกซึ่งมีตำแหน่งเดียวและมีศักดิ์สูงสุดในการปกครองฝ่ายใน ไม่นับรวมลำดับขั้นกับพระชายาและพระสนมอื่นๆ พระมารดาขององค์จักรพรรดิที่ไม่ได้เป็นจักรพรรดินี เมื่อสิ้นพระชนม์จะได้รับการแต่งตั้งเป็นฮองเฮาทุกพระองค์ ในสมัยราชวงศ์ซ่ง พระชายาหรือพระสนมที่ได้รับความโปรดปรานมาก เมื่อสิ้นพระชนม์แล้วก็สามารถได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นฮองเฮาได้เช่นกัน เช่น เซี่ยวหมิงฮองเฮา สกุลหวัง จักรพรรดินีองค์ที่สองในซ่งไท่จู่, เซี่ยวจางฮองเฮา หรือไคเป่าฮองเฮา สกุลซ่ง จักรพรรดินีองค์ที่สามในซ่งไท่จู่ (จากเรื่อง 大宋傳奇之趙匡胤)
รองจากตำแหน่งฮองเฮาซึ่งเป็นจักรพรรดินี จะเป็นตำแหน่งพระเทวีชายาและพระสนมอีกหลายตำแหน่ง ซึ่งในที่นี้จะเทียบตามความเข้าใจของผู้เขียนนะคะ สมัยราชวงศ์ซ่งสืบต่อลำดับตำแหน่งต่างๆ บางส่วนมาจากราชวงศ์ถัง ทั้งหมดสามารถแบ่งได้ดังนี้
+ ซื่อฟูเหริน (四夫人) "สี่พระชายา" ขั้น 1 ชั้นเอก มีทั้งหมด 4 ตำแหน่ง ได้แก่
กุ้ยเฟย (貴妃) พระชายาลำดับที่ 1 ในองค์จักรพรรดิ "พระอัครเทวีผู้สูงศักดิ์ล้ำค่า"
ซูเฟย (淑妃) พระชายาลำดับที่ 2 ในองค์จักรพรรดิ "พระราชเทวีผู้บริสุทธิ์และดีงาม"
เต๋อเฟย (德妃) พระชายาลำดับที่ 3 ในองค์จักรพรรดิ "พระอัครชายาผู้มีศีลธรรมจริยา"
เสียนเฟย (賢妃) พระชายาลำดับที่ 4 ในองค์จักรพรรดิ "พระราชชายาผู้พร้อมด้วยคุณธรรมปัญญา"
เช่น จางกุ้ยเฟย ในสมัยซ่งเหรินจง ภายหลังสิ้นพระชนม์ได้รับสถาปนาขึ้นเป็นเวินเฉิงฮองเฮา, เหมียวเต๋อเฟย ในสมัยซ่งเหรินจง ภายหลังในรัชสมัยถัดมาได้รับการยกย่องขึ้นเป็นเจาเจี๋ยกุ้ยเฟย (จากเรื่อง 清平樂) ในบางครั้งองค์จักรพรรดิอาจพระราชทานนามนำหน้าตำแหน่งใหม่นอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้นทั้งสี่ตำแหน่งได้เช่นกัน แต่ไม่ได้มีปรากฎบ่อยนัก
+ สือชีผิน (十七嬪) "สิบเจ็ดพระสนมเอก" ขั้น 2 ชั้นเอก มีทั้งหมด 17 ตำแหน่ง โดยเรียงลำดับดังนี้
ไท่อี๋ (太儀) ผู้เพียบพร้อมเป็นมารดา กุ้ยอี๋ (貴儀) ผู้สง่างามสูงศักดิ์
ซูอี๋ (淑儀) ผู้งามบริสุทธิ์ยิ่ง ซูหรง (淑容) ผู้มีกิริยางามบริสุทธิ์
ซุ่นอี๋ (順儀) ผู้งามด้วยใจโอนอ่อนนอบน้อม ซุ่นหรง (順容) ผู้มีกิริยานอบน้อมว่าง่าย
หว่านอี๋ (婉儀) ผู้อ่อนโยนละมุนละไม หว่านหรง (婉容) ผู้มีกิริยานุ่มนวลอ่อนโยน
เจาอี๋ (昭儀) ผู้งามเลิศยิ่ง เจาหรง (昭容) ผู้มีกิริยางามสง่า เจาเยวี่ยน (昭媛) ผู้งามสง่าจับใจ
ซิวอี๋ (修儀) ผู้มีรูปโฉมวิจิตร ซิวหรง (修容) ผู้มีกิริยางามวิจิตร ซิวเยวี่ยน (修媛) ผู้งดงามวิจิตร
ชงอี๋ (充儀) ผู้งามตาเพียบพร้อม ชงหรง (充容) ผู้มีกิริยางามพร้อม ชงเยวี่ยน (充媛) ผู้สง่างามเพียบพร้อมยิ่ง
โดยแปดตำแหน่งแรกเพิ่มเข้ามาใหม่ในสมัยราชวงศ์ซ่ง ขณะที่เก้าตำแหน่งหลังนั้นสืบต่อมาจากสมัยราชวงศ์ถัง เมื่อมีการเรียกชื่อตำแหน่งเหล่านี้มักจะเติมคำว่า "ผิน" (嬪) ต่อท้ายไปด้วย เพื่อบ่งบอกระดับขั้นที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
เช่น ชงอี๋ผิน สกุลยวี๋ ในสมัยซ่งเหรินจง รัชสมัยถัดมาได้รับการเลื่อนขึ้นเป็นเจาอี๋ผิน หลังสิ้นพระชนม์ได้รับสถาปนาขึ้นเป็นกุ้ยอี๋ผิน เสียนเฟย และเต๋อเฟยตามลำดับ (จากเรื่อง 清平樂), กงเซิ่งฮองเฮา หยางกุ้ยจือ ในสมัยซ่งหนิงจง ทรงเคยมีตำแหน่งเป็นหว่านอี๋ผิน ก่อนได้รับแต่งตั้งขึ้นเป็นกุ้ยเฟย และฮองเฮาตามลำดับ (จากเรื่อง 造王者)
เจี๋ยยวี๋ (婕妤)
ตำแหน่งพระสนมในองค์จักรพรรดิ ขั้น 3 ชั้นเอก เจี๋ยยวี๋ หมายถึง หญิงงามผู้ได้รับความโปรดปรานจากองค์จักรพรรดิ เช่น หยางจงเมี่ยว ในสมัยซ่งเหรินจง เคยมีตำแหน่งเป็นเจี๋ยยวี๋ ต่อมาได้ขึ้นเป็นซิวเยวี่ยนผิน รัชสมัยถัดมาได้เลื่อนตำแหน่งเป็นซิวอี๋ผิน หลังสิ้นพระชนม์ได้รับสถาปนาขึ้นเป็นเสียนเฟย และเต๋อเฟยตามลำดับ (จากเรื่อง 清平樂)
เหม่ยเหริน (美人)
ตำแหน่งพระสนมในองค์จักรพรรดิ ขั้น 4 ชั้นเอก เหม่ยเหริน แปลว่า ผู้มีความงดงาม เช่น หลิวเหม่ยเหริน หลิวเอ๋อ ในสมัยซ่งเจินจง ต่อมามีตำแหน่งเป็นซิวอี๋ผิน เต๋อเฟย และได้รับแต่งตั้งขึ้นเป็นจางเซี่ยนหมิงซู่ฮองเฮาในภายหลัง (จากเรื่อง 大宋驚世傳奇)
ไฉเหริน (才人)
ตำแหน่งพระสนมในองค์จักรพรรดิ ขั้น 5 ชั้นเอก ไฉเหริน แปลว่า ผู้ฉลาดปราดเปรื่อง ตำแหน่งเริ่มต้นสำหรับสตรีที่ผ่านการคัดเลือกเข้าเป็นพระสนม เช่น อู๋ไฉเหริน ในสมัยซ่งเกาจง ต่อมามีตำแหน่งเป็นเหม่ยเหริน หว่านอี๋ผิน กุ้ยเฟย และได้รับแต่งตั้งขึ้นเป็นเซี่ยนเซิ่งฉือเลี่ยฮองเฮาในภายหลัง (จากเรื่อง 精忠岳飛)
กุ้ยเหริน (貴人)
ตำแหน่งพระสนมในองค์จักรพรรดิ เพิ่มเข้ามาในสมัยซ่งเจินจง ในช่วงแรกไม่มีลำดับขั้น ต่อมาได้กำหนดให้เป็นตำแหน่งขั้น 5 ชั้นเอก เทียบเท่าไฉเหริน กุ้ยเหริน หมายถึง ผู้ทรงเกียรติ เช่น ต่งกุ้ยเหริน ในสมัยซ่งเหรินจง ได้รับการเลื่อนตำแหน่งเรื่อยมาเป็นเหม่ยเหริน เจี๋ยยวี๋ และชงเยวี่ยนผิน หลังสิ้นพระชนม์ได้รับสถาปนาเป็นหว่านอี๋ผิน ซูเฟย และกุ้ยเฟย ตามลำดับ (จากเรื่อง 清平樂)
นอกจากตำแหน่งที่กล่าวมาข้างต้น สมัยราชวงศ์ซ่งยังมีการใช้ตำแหน่งที่เดิมกำหนดไว้สำหรับพระชายาในเชื้อพระวงศ์ ภริยาในขุนนางที่มีบรรดาศักดิ์หรือข้าราชสำนักชั้นสูง มาใช้กับสนมชั้นล่างในองค์จักรพรรดิด้วย สามารถแบ่งได้ดังนี้
สมัยราชวงศ์ซ่งเหนือ: จวิ้นจวิน (郡君) และ เสี้ยนจวิน (縣君) บางรัชสมัยใช้ กั๋วฟูเหริน (國夫人) และ ฟูเหริน (夫人) แทน
สมัยราชวงศ์ซ่งใต้: จวิ้นฟูเหริน (郡夫人)
สตรีที่ได้รับตำแหน่งเหล่านี้เดิมมักจะเป็นนางกำนัลที่ได้ถวายตัวกับองค์จักรพรรดิ หรือบางครั้งก็เป็นสตรีที่ผ่านการคัดเลือกเข้าวังแต่มีฐานะไม่สูงมากนัก ถือเป็นพระสนมอย่างไม่เป็นทางการ ในอนาคตหากให้กำเนิดบุตรหรือเป็นที่โปรดปรานก็สามารถเลื่อนขึ้นเป็นพระภรรยาอย่างเป็นทางการได้ เช่น สื่อผิงจวิ้นจวิน สกุลเฝิง ในสมัยซ่งเหรินจง รัชสมัยถัดมาได้รับการเลื่อนขึ้นเป็นไฉเหริน เจี๋ยยวี๋ และซิวหรงผิน หลังสิ้นพระชนม์ได้รับสถาปนาขึ้นเป็นเสียนเฟย (จากเรื่อง 清平樂)
ระดับขั้นตำแหน่งนางในและตำแหน่งเชื้อพระวงศ์แบบละเอียดของราชวงศ์ซ่งแห่งจีนค่ะ
ราชวงศ์ซ่งนั้นเป็นช่วงที่สามารถรวบรวมแผ่นดินจีนที่แตกแยกออกเป็นหลายสิบอาณาจักรให้เป็นหนึ่งเดียวกันได้อีกครั้ง โดยสมัยซ่งนี้ให้การสนับสนุนทางด้านวิชาการเป็นอย่างมาก การศึกษาของประชาชนมีความเจริญก้าวหน้าขึ้น แต่ด้านการทหารกลับอ่อนแอ ถึงอย่างนั้นในด้านเศรษฐกิจ การค้า ศิลปกรรม และวัฒนธรรมนั้นก็มีความเจริญรุ่งเรือง โดยเฉพาะการพัฒนาในด้านวิทยาศาสตร์และสิ่งประดิษฐ์ การเขียนบันทึกประวัติศาสตร์ และศิลปะการเขียนภาพเขียนพู่กัน ปกครองประชาชนในแผ่นดินจีนยาวนานถึง 319 ปี
ด้วยการบุกโจมตีของแคว้นต้าจินและการย้ายเมืองหลวงของต้าซ่งเพื่อหลบหนีการรุกราน ทำให้สมัยราชวงศ์ซ่งนั้นแบ่งออกเป็นราชวงศ์ซ่งเหนือและราชวงศ์ซ่งใต้ ซึ่งระดับและตำแหน่งสตรีฝ่ายในของวังหลังสมัยราชวงศ์ซ่งทั้งสองนั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก จึงขออธิบายรวมทั้งสองช่วงสมัยไปพร้อมกันนะคะ โดยระดับและตำแหน่งสตรีฝ่ายในสมัยราชวงศ์ซ่ง สามารถแบ่งได้ตามลำดับดังนี้
จักรพรรดินี พระชายา และพระสนม
ไท่หวงไท่โฮ่ว (太皇太后)
หรือรู้จักกันในชื่อ "ไทฮองไทเฮา" ตำแหน่งของจักรพรรดินีในจักรพรรดิองค์ก่อนหน้านับขึ้นไป 2 ขั้น หรือเป็นพระอัยยิกาในจักรพรรดิองค์ปัจจุบัน อาจจะมีฐานะเป็นพระอัยยิกาแท้ๆ หรือพระอัยยิกาเลี้ยงของจักรพรรดิก็ได้ เช่น เซวียนเหรินเซิ่งเลี่ยฮองเฮา เกาเทาเทา จักรพรรดินีในสมัยซ่งอิงจง ดำรงตำแหน่งเป็นไทฮองไทเฮาในสมัยซ่งเจ๋อจง (จากเรื่อง 東坡家事)
หรือรู้จักกันในชื่อ "ฮองไทเฮา" ตำแหน่งของจักรพรรดินีในจักรพรรดิองค์ก่อนหน้านับขึ้นไป 1 ขั้น หรือพระมารดาในจักรพรรดิองค์ปัจจุบัน ถ้าจักรพรรดิองค์ปัจจุบันไม่ได้เป็นพระโอรสที่เกิดแต่จักรพรรดินีองค์ก่อน ผู้เป็นพระชายาหรือพระสนมที่เป็นพระมารดาของจักรพรรดิองค์ปัจจุบัน จะสามารถมีตำแหน่งเป็นฮองไทเฮาได้ ก็ต่อเมื่อฮองไทเฮาซึ่งเป็นจักรพรรดินีองค์ก่อนสวรรคตแล้วเท่านั้น นอกจากนี้ในสมัยราชวงศ์ซ่ง พระชายาหรือพระสนมที่เคยทำหน้าที่เลี้ยงดูจักรพรรดิองค์ปัจจุบันตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ก็สามารถได้รับการยกย่องและมีตำแหน่งเป็นฮองไทเฮาได้ด้วยเช่นกัน เช่น เจาเซี่ยนฮองไทเฮา สกุลตู้ จักรพรรดินีในซ่งเซวียนจู่ ทรงดำรงตำแหน่งฮองไทเฮาในสมัยซ่งไท่จู่ (จากเรื่อง 大宋傳奇之趙匡胤)
ตำแหน่งรองจากฮองไทเฮา ในสมัยราชวงศ์ซ่งหากจักรพรรดิองค์ปัจจุบันเป็นพระโอรสที่เกิดแต่พระชายาหรือพระสนม และในขณะนั้นจักรพรรดินีในจักรพรรดิองค์ก่อนหน้าทรงมีตำแหน่งเป็นฮองไทเฮาอยู่ พระมารดาของจักรพรรดิองค์ปัจจุบันจะได้รับแต่งตั้งในตำแหน่งรองลงมาเป็นหวงไท่เฟยแทน และสามารถเลื่อนขึ้นเป็นฮองไทเฮาได้ในภายหลังเมื่อฮองไทเฮาซึ่งเป็นจักรพรรดินีองค์ก่อนสวรรคต พระชายาหรือพระสนมในจักรพรรดิองค์ก่อนที่เคยทำหน้าที่เป็นพระมารดาเลี้ยงให้แก่จักรพรรดิตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ หรือเป็นผู้ที่องค์จักรพรรดิให้ความเคารพนับถือ ก็สามารถได้รับการยกย่องแต่งตั้งเป็นหวงไท่เฟยได้เช่นกัน
เช่น หยางหวงไท่เฟย ดำรงตำแหน่งในสมัยซ่งเหรินจง ด้วยเคยทำหน้าที่เป็นพระมารดาเลี้ยงให้แก่จักรพรรดิซ่งเหรินจงเมื่อยังทรงพระเยาว์ ทรงเคยเป็นพระชายาในซ่งเจินจง ต่อมาได้รับแต่งตั้งขึ้นเป็นเป่าชิ่งฮองไทเฮา และได้รับสถาปนาเป็นจางฮุ่ยฮองเฮาเมื่อสวรรคต (จากเรื่อง 將軍在上)
ในสมัยราชวงศ์ซ่ง พระมารดาขององค์จักรพรรดิที่ไม่ได้มีฐานะเป็นจักรพรรดินี พระชายา หรือพระสนม แต่มีฐานะเป็นพระชายาเอกหรืออนุชายาในเชื้อพระวงศ์ชายสายรอง จะมีตำแหน่งเป็น หวังฟูเหริน (王夫人) แทน ไม่สามารถแต่งตั้งเป็นไทเฮาได้ และมักไม่ได้รับการสถาปนาเป็นฮองเฮาเมื่อสิ้นพระชนม์ เช่น อนุชายา สกุลเริ่น ในหรู่หนานจวิ้นอ๋อง จ้าวหยวิ่นร่าง ลูกพี่ลูกน้องของซ่งเหรินจงซึ่งเป็นจักรพรรดิในเวลานั้น ภายหลังพระโอรสของนางขึ้นครองราชย์ต่อเป็นซ่งอิงจง พระสวามีได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นผูอันอี้อ๋อง อนุชายาเริ่นซึ่งเป็นพระมารดาจึงได้รับแต่งตั้งเป็น ผูอันอี้หวังฟูเหริน (จากเรื่อง 清平樂)
ตำแหน่งจักรพรรดินีองค์ปัจจุบันของจักรพรรดิ หรือรู้จักกันในชื่อ "ฮองเฮา" พระอัครมเหสีเอกซึ่งมีตำแหน่งเดียวและมีศักดิ์สูงสุดในการปกครองฝ่ายใน ไม่นับรวมลำดับขั้นกับพระชายาและพระสนมอื่นๆ พระมารดาขององค์จักรพรรดิที่ไม่ได้เป็นจักรพรรดินี เมื่อสิ้นพระชนม์จะได้รับการแต่งตั้งเป็นฮองเฮาทุกพระองค์ ในสมัยราชวงศ์ซ่ง พระชายาหรือพระสนมที่ได้รับความโปรดปรานมาก เมื่อสิ้นพระชนม์แล้วก็สามารถได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นฮองเฮาได้เช่นกัน เช่น เซี่ยวหมิงฮองเฮา สกุลหวัง จักรพรรดินีองค์ที่สองในซ่งไท่จู่, เซี่ยวจางฮองเฮา หรือไคเป่าฮองเฮา สกุลซ่ง จักรพรรดินีองค์ที่สามในซ่งไท่จู่ (จากเรื่อง 大宋傳奇之趙匡胤)
รองจากตำแหน่งฮองเฮาซึ่งเป็นจักรพรรดินี จะเป็นตำแหน่งพระเทวีชายาและพระสนมอีกหลายตำแหน่ง ซึ่งในที่นี้จะเทียบตามความเข้าใจของผู้เขียนนะคะ สมัยราชวงศ์ซ่งสืบต่อลำดับตำแหน่งต่างๆ บางส่วนมาจากราชวงศ์ถัง ทั้งหมดสามารถแบ่งได้ดังนี้
+ ซื่อฟูเหริน (四夫人) "สี่พระชายา" ขั้น 1 ชั้นเอก มีทั้งหมด 4 ตำแหน่ง ได้แก่
กุ้ยเฟย (貴妃) พระชายาลำดับที่ 1 ในองค์จักรพรรดิ "พระอัครเทวีผู้สูงศักดิ์ล้ำค่า"
ซูเฟย (淑妃) พระชายาลำดับที่ 2 ในองค์จักรพรรดิ "พระราชเทวีผู้บริสุทธิ์และดีงาม"
เต๋อเฟย (德妃) พระชายาลำดับที่ 3 ในองค์จักรพรรดิ "พระอัครชายาผู้มีศีลธรรมจริยา"
เสียนเฟย (賢妃) พระชายาลำดับที่ 4 ในองค์จักรพรรดิ "พระราชชายาผู้พร้อมด้วยคุณธรรมปัญญา"
เช่น จางกุ้ยเฟย ในสมัยซ่งเหรินจง ภายหลังสิ้นพระชนม์ได้รับสถาปนาขึ้นเป็นเวินเฉิงฮองเฮา, เหมียวเต๋อเฟย ในสมัยซ่งเหรินจง ภายหลังในรัชสมัยถัดมาได้รับการยกย่องขึ้นเป็นเจาเจี๋ยกุ้ยเฟย (จากเรื่อง 清平樂) ในบางครั้งองค์จักรพรรดิอาจพระราชทานนามนำหน้าตำแหน่งใหม่นอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้นทั้งสี่ตำแหน่งได้เช่นกัน แต่ไม่ได้มีปรากฎบ่อยนัก
+ สือชีผิน (十七嬪) "สิบเจ็ดพระสนมเอก" ขั้น 2 ชั้นเอก มีทั้งหมด 17 ตำแหน่ง โดยเรียงลำดับดังนี้
ไท่อี๋ (太儀) ผู้เพียบพร้อมเป็นมารดา กุ้ยอี๋ (貴儀) ผู้สง่างามสูงศักดิ์
ซูอี๋ (淑儀) ผู้งามบริสุทธิ์ยิ่ง ซูหรง (淑容) ผู้มีกิริยางามบริสุทธิ์
ซุ่นอี๋ (順儀) ผู้งามด้วยใจโอนอ่อนนอบน้อม ซุ่นหรง (順容) ผู้มีกิริยานอบน้อมว่าง่าย
หว่านอี๋ (婉儀) ผู้อ่อนโยนละมุนละไม หว่านหรง (婉容) ผู้มีกิริยานุ่มนวลอ่อนโยน
เจาอี๋ (昭儀) ผู้งามเลิศยิ่ง เจาหรง (昭容) ผู้มีกิริยางามสง่า เจาเยวี่ยน (昭媛) ผู้งามสง่าจับใจ
ซิวอี๋ (修儀) ผู้มีรูปโฉมวิจิตร ซิวหรง (修容) ผู้มีกิริยางามวิจิตร ซิวเยวี่ยน (修媛) ผู้งดงามวิจิตร
ชงอี๋ (充儀) ผู้งามตาเพียบพร้อม ชงหรง (充容) ผู้มีกิริยางามพร้อม ชงเยวี่ยน (充媛) ผู้สง่างามเพียบพร้อมยิ่ง
โดยแปดตำแหน่งแรกเพิ่มเข้ามาใหม่ในสมัยราชวงศ์ซ่ง ขณะที่เก้าตำแหน่งหลังนั้นสืบต่อมาจากสมัยราชวงศ์ถัง เมื่อมีการเรียกชื่อตำแหน่งเหล่านี้มักจะเติมคำว่า "ผิน" (嬪) ต่อท้ายไปด้วย เพื่อบ่งบอกระดับขั้นที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
เช่น ชงอี๋ผิน สกุลยวี๋ ในสมัยซ่งเหรินจง รัชสมัยถัดมาได้รับการเลื่อนขึ้นเป็นเจาอี๋ผิน หลังสิ้นพระชนม์ได้รับสถาปนาขึ้นเป็นกุ้ยอี๋ผิน เสียนเฟย และเต๋อเฟยตามลำดับ (จากเรื่อง 清平樂), กงเซิ่งฮองเฮา หยางกุ้ยจือ ในสมัยซ่งหนิงจง ทรงเคยมีตำแหน่งเป็นหว่านอี๋ผิน ก่อนได้รับแต่งตั้งขึ้นเป็นกุ้ยเฟย และฮองเฮาตามลำดับ (จากเรื่อง 造王者)
เจี๋ยยวี๋ (婕妤)
ตำแหน่งพระสนมในองค์จักรพรรดิ ขั้น 3 ชั้นเอก เจี๋ยยวี๋ หมายถึง หญิงงามผู้ได้รับความโปรดปรานจากองค์จักรพรรดิ เช่น หยางจงเมี่ยว ในสมัยซ่งเหรินจง เคยมีตำแหน่งเป็นเจี๋ยยวี๋ ต่อมาได้ขึ้นเป็นซิวเยวี่ยนผิน รัชสมัยถัดมาได้เลื่อนตำแหน่งเป็นซิวอี๋ผิน หลังสิ้นพระชนม์ได้รับสถาปนาขึ้นเป็นเสียนเฟย และเต๋อเฟยตามลำดับ (จากเรื่อง 清平樂)
ตำแหน่งพระสนมในองค์จักรพรรดิ ขั้น 4 ชั้นเอก เหม่ยเหริน แปลว่า ผู้มีความงดงาม เช่น หลิวเหม่ยเหริน หลิวเอ๋อ ในสมัยซ่งเจินจง ต่อมามีตำแหน่งเป็นซิวอี๋ผิน เต๋อเฟย และได้รับแต่งตั้งขึ้นเป็นจางเซี่ยนหมิงซู่ฮองเฮาในภายหลัง (จากเรื่อง 大宋驚世傳奇)
ตำแหน่งพระสนมในองค์จักรพรรดิ ขั้น 5 ชั้นเอก ไฉเหริน แปลว่า ผู้ฉลาดปราดเปรื่อง ตำแหน่งเริ่มต้นสำหรับสตรีที่ผ่านการคัดเลือกเข้าเป็นพระสนม เช่น อู๋ไฉเหริน ในสมัยซ่งเกาจง ต่อมามีตำแหน่งเป็นเหม่ยเหริน หว่านอี๋ผิน กุ้ยเฟย และได้รับแต่งตั้งขึ้นเป็นเซี่ยนเซิ่งฉือเลี่ยฮองเฮาในภายหลัง (จากเรื่อง 精忠岳飛)
ตำแหน่งพระสนมในองค์จักรพรรดิ เพิ่มเข้ามาในสมัยซ่งเจินจง ในช่วงแรกไม่มีลำดับขั้น ต่อมาได้กำหนดให้เป็นตำแหน่งขั้น 5 ชั้นเอก เทียบเท่าไฉเหริน กุ้ยเหริน หมายถึง ผู้ทรงเกียรติ เช่น ต่งกุ้ยเหริน ในสมัยซ่งเหรินจง ได้รับการเลื่อนตำแหน่งเรื่อยมาเป็นเหม่ยเหริน เจี๋ยยวี๋ และชงเยวี่ยนผิน หลังสิ้นพระชนม์ได้รับสถาปนาเป็นหว่านอี๋ผิน ซูเฟย และกุ้ยเฟย ตามลำดับ (จากเรื่อง 清平樂)
สมัยราชวงศ์ซ่งเหนือ: จวิ้นจวิน (郡君) และ เสี้ยนจวิน (縣君) บางรัชสมัยใช้ กั๋วฟูเหริน (國夫人) และ ฟูเหริน (夫人) แทน
สมัยราชวงศ์ซ่งใต้: จวิ้นฟูเหริน (郡夫人)
สตรีที่ได้รับตำแหน่งเหล่านี้เดิมมักจะเป็นนางกำนัลที่ได้ถวายตัวกับองค์จักรพรรดิ หรือบางครั้งก็เป็นสตรีที่ผ่านการคัดเลือกเข้าวังแต่มีฐานะไม่สูงมากนัก ถือเป็นพระสนมอย่างไม่เป็นทางการ ในอนาคตหากให้กำเนิดบุตรหรือเป็นที่โปรดปรานก็สามารถเลื่อนขึ้นเป็นพระภรรยาอย่างเป็นทางการได้ เช่น สื่อผิงจวิ้นจวิน สกุลเฝิง ในสมัยซ่งเหรินจง รัชสมัยถัดมาได้รับการเลื่อนขึ้นเป็นไฉเหริน เจี๋ยยวี๋ และซิวหรงผิน หลังสิ้นพระชนม์ได้รับสถาปนาขึ้นเป็นเสียนเฟย (จากเรื่อง 清平樂)