สวัสดีปีใหม่ทุกคนค่ะ ห่างหายไปนานเลยทีเดียว ครั้งนี้มาพร้อมกับรายละเอียดตำแหน่งนางในและเชื้อพระวงศ์สมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตกของจีนค่ะ วางแผนนานแล้วค่ะว่าจะทำสมัยนี้ ถึงแม้ว่าจะมีซีรีย์ที่เกี่ยวกับสมัยนี้ไม่ค่อยมาก แต่รายละเอียดค่อนข้างน่าสนใจทีเดียว ก็หวังว่าเนื้อหาในกระทู้นี้น่าจะทำให้คนที่ดูซีรีส์จีนสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตกเข้าใจและสนุกได้มากขึ้นค่ะ ถ้าข้อมูลมีอะไรผิดพลาดตรงไหนสามารถแนะนำหรือชี้แจงได้นะคะ (กระทู้ยาวหน่อยนะคะ ^_^)
ราชวงศ์ฮั่นตะวันตกนั้นถือเป็นยุคทองของจีน พัฒนาฟื้นฟูบ้านเมืองอย่างต่อเนื่องหลังจากสงคราม เกิดงานผลผลิตต่างๆ หลายด้าน ราษฎรมีความสุขและมั่นคง ปกครองอาณาจักรให้เป็นหนึ่งเดียวกันและเจริญรุ่งเรืองอย่างยาวนานต่อจากราชวงศ์ฉินเป็นเวลามากกว่า 200 ปี
ระดับและตำแหน่งสตรีฝ่ายในของวังหลังสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตกนั้น สืบต่อมาจากราชวงศ์ฉินบางส่วน ซึ่งภายหลังได้มีการเพิ่มเติมตำแหน่งและจัดระเบียบใหม่อีกครั้ง โดยระดับและตำแหน่งสตรีฝ่ายในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก สามารถแบ่งได้ตามลำดับดังนี้
ตำแหน่งฝ่ายในของพระราชวังจักรพรรดิ
ไท่หวงไท่โฮ่ว (太皇太后)
หรือรู้จักกันในชื่อ "ไทฮองไทเฮา" ตำแหน่งของจักรพรรดินีในจักรพรรดิองค์ก่อนหน้านับขึ้นไป 2 ขั้นเท่านั้น อาจจะมีฐานะเป็นพระอัยยิกาแท้ๆ หรือพระอัยยิกาเลี้ยงของจักรพรรดิก็ได้ เช่น จักรพรรดินีหลวี่โฮ่วหรือฮั่นเกาโฮ่ว ในสมัยฮั่นเกาตี้ ซึ่งดำรงตำแหน่งไทฮองไทเฮาและกุมอำนาจในราชสำนักกว่าสามรัชสมัย (จากเรื่อง 美人心計) มีข้อยกเว้นเพียงในรัชสมัยฮั่นจิ่งตี้เท่านั้นที่ผู้มีตำแหน่งไทฮองไทเฮาเป็นพระสนมในอดีตจักรพรรดิ
ตี้ไท่ไท่โฮ่ว, หวงไท่ไท่โฮ่ว (帝太太后, 皇太太后)
หากในขณะนั้นมีไทฮองไทเฮาดำรงตำแหน่งอยู่แล้ว แต่จักรพรรดิองค์ปัจจุบันที่ไม่ใช่สายเลือดตรงต้องการยกย่องพระอัยยิกาแท้ๆ ซึ่งไม่ได้เป็นจักรพรรดินีขึ้นมามีตำแหน่งเทียบเท่า พระอัยยิกาองค์นั้นก็จะมีตำแหน่งเป็นตี้ไท่ไท่โฮ่ว หรือ หวงไท่ไท่โฮ่ว แทน ซึ่งในราชวงศ์ฮั่นตะวันตกมีเพียงพระองค์เดียว คือ ฟู่หวงไท่ไท่โฮ่ว ในสมัยฮั่นอายตี้ ทรงเคยเป็นพระมเหสีรองในฮั่นเยวี๋ยนตี้ (จากเรื่อง 母儀天下)
หวงไท่โฮ่ว (皇太后)
หรือรู้จักกันในชื่อ "ฮองไทเฮา" ตำแหน่งของจักรพรรดินีในจักรพรรดิองค์ก่อนหน้านับขึ้นไป 1 ขั้นเท่านั้น ซึ่งอาจเป็นพระมารดาแท้ๆ หรือพระมารดาเลี้ยงในจักรพรรดิองค์ปัจจุบันก็ได้ เช่น เซี่ยวจิ่งหวังฮองไทเฮา ในสมัยฮั่นอู่ตี้ (จากเรื่อง 大漢賢后衛子夫) มีข้อยกเว้นเพียงพระมารดาของฮั่นเหวินตี้ (พระอัยยิกาของฮั่นจิ่งตี้) เท่านั้นที่มีตำแหน่งเป็นฮองไทเฮาได้แม้เป็นพระสนมในอดีตจักรพรรดิ
ตี้ไท่โฮ่ว (帝太后)
หากในขณะนั้นมีฮองไทเฮาดำรงตำแหน่งอยู่แล้ว แต่จักรพรรดิองค์ปัจจุบันที่ไม่ใช่สายเลือดตรงต้องการยกย่องพระมารดาแท้ๆ ซึ่งไม่ได้เป็นจักรพรรดินีขึ้นมามีตำแหน่งเทียบเท่า พระมารดาของจักรพรรดิก็จะมีตำแหน่งเป็น ตี้ไท่โฮ่ว แทน ซึ่งในราชวงศ์ฮั่นตะวันตกมีเพียงพระองค์เดียวเช่นเดียวกัน คือ ติงตี้ไท่โฮ่ว ในสมัยฮั่นอายตี้ ทรงเคยเป็นพระสนมในติ้งเถาอ๋อง หลิวคัง (จากเรื่อง 母儀天下)
หวงโฮ่ว (皇后)
ตำแหน่งจักรพรรดินีองค์ปัจจุบันของจักรพรรดิ หรือรู้จักกันในชื่อ "ฮองเฮา" พระอัครมเหสีเอกซึ่งมีตำแหน่งเดียวและมีศักดิ์สูงสุดในการปกครองฝ่ายใน ไม่นับรวมลำดับขั้นกับพระชายาและพระสนมอื่นๆ สำหรับพระมารดาขององค์จักรพรรดิที่ซึ่งไม่ได้เป้นจักรพรรดินี เมื่อสิ้นพระชนม์มักจะได้รับการแต่งตั้งเป็นฮองเฮาทุกพระองค์ เช่น เซี่ยวเหวินโต้วฮองเฮา โต้วอีฝาง ในสมัยฮั่นเหวินตี้ (จากเรื่อง 美人心計), เซี่ยวอู่เว่ยฮองเฮา เว่ยจื่อฟู ในสมัยฮั่นอู่ตี้ (จากเรื่อง 大漢賢后衛子夫)
รองจากตำแหน่งฮองเฮาซึ่งเป็นจักรพรรดินี จะเป็นตำแหน่งพระชายาและพระสนมอีกหลายตำแหน่ง ในช่วงต้นราชวงศ์ฮั่นตะวันตกไปจนถึงต้นรัชสมัยฮั่นอู่ตี้นั้นมีทั้งหมด 7 ตำแหน่ง ต่อมาตั้งแต่ปลายรัชสมัยฮั่นอู่ตี้เป็นต้นไปก็ได้เพิ่มเติมปรับเปลี่ยนตำแหน่งใหม่เป็น 14 ขั้น เทียบศักดิ์ด้วยตำแหน่งและบรรดาศักดิ์ของขุนนาง ซึ่งตรงจุดนี้จะขออธิบายรวมทั้งสองช่วงและเทียบตำแหน่งตามความเข้าใจของผู้เขียนนะคะ ตำแหน่งสตรีฝ่ายในองค์จักรพรรดิสมัยฮั่นตะวันตก สามารถแบ่งได้เป็น 4 ระดับ ได้แก่
1) พระมเหสีและพระชายาชั้นสูง
ฟูเหริน (夫人)
ตำแหน่งพระภรรยาชั้นสูงในองค์จักรพรรดิช่วงต้นราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ฐานะสูงศักดิ์ เป็นรองเพียงจักรพรรดินี ฟูเหริน แปลว่า ผู้เป็นของสามี ซึ่งหมายถึงภรรยานั่นเอง เช่น เซิ่นฟูเหริน ในสมัยฮั่นเหวินตี้ (จากเรื่อง 美人心計), หลี่ฟูเหริน ในสมัยฮั่นอู่ตี้ (จากเรื่อง 大漢賢后衛子夫)
หลังจากสมัยฮั่นอู่ตี้เป็นต้นมา ตำแหน่งฟูเหรินได้ถูกแทนที่ด้วย 4 ตำแหน่งใหม่ ซึ่งมีดังนี้
เจาอี๋ (昭儀)
ตำแหน่งขั้น 1 พระมเหสีรองในองค์จักรพรรดิ เพิ่มเข้ามาในสมัยฮั่นเยวี๋ยนตี้ ตำแหน่งเทียบเท่าอัครมหาเสนาบดีราชสำนัก บรรดาศักดิ์เทียบเท่า "อ๋อง" เจ้าครองแคว้น เจาอี๋ หมายถึง ผู้มีความงามเป็นเลิศยิ่ง
เจี๋ยยวี๋ (婕妤)
ตำแหน่งขั้น 2 พระอัครเทวีในองค์จักรพรรดิ เพิ่มเข้ามาในสมัยฮั่นอู่ตี้ ตำแหน่งเทียบเท่าเสนาบดีอาวุโส และเทียบเท่าบรรดาศักดิ์ชั้นที่ 20 "เลี่ยโหว" เจ้าครองอาณาเขต เจี๋ยยวี๋ หมายถึง หญิงงามผู้ได้รับความโปรดปรานจากองค์จักรพรรดิ
สิงเอ๋อ (娙娥)
ตำแหน่งขั้น 3 พระราชเทวีในองค์จักรพรรดิ เพิ่มเข้ามาในสมัยฮั่นอู่ตี้ ตำแหน่งเทียบเท่าขุนนางระดับเก้าเสนาบดี และเทียบเท่าบรรดาศักดิ์ชั้นที่ 19 "กวานเน่ยโหว" (關內侯) สิงเอ๋อ หมายถึง ผู้มีรูปโฉมสะสวยงดงาม
หรงฮว๋า (傛華)
ตำแหน่งขั้น 4 พระราชชายาในองค์จักรพรรดิ เพิ่มเข้ามาในสมัยฮั่นอู่ตี้ ตำแหน่งเทียบเท่าขุนนางระดับอัครเสนาบดีประจำแคว้นอ๋อง และเทียบเท่าบรรดาศักดิ์ชั้นที่ 16 "ต้าซ่างเจ้า" (大上造) หรงฮว๋า หมายถึง ผู้มีความสง่างามร่าเริง
เช่น เจ้าเจาอี๋ หรือ เจ้าเหอเต๋อ ในสมัยฮั่นเฉิงตี้, เจ้าเจี๋ยยวี๋ หรือ เจ้าเฟยเยี่ยน ในสมัยฮั่นเฉิงตี้ ภายหลังได้รับการแต่งตั้งขึ้นเป็นเจ้าฮองเฮา (จากเรื่อง 母儀天下)
2) พระสนมชั้นเอก
เหม่ยเหริน (美人)
ตำแหน่งพระสนมเอกช่วงต้นราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ศักดิ์รองจากฟูเหริน ภายหลังถูกจัดอยู่ที่ตำแหน่งขั้น 5 ซึ่งยังคงเป็นพระสนมเอกในองค์จักรพรรดิเช่นเดิม ซึ่งเทียบเท่าขุนนางระดับผู้ว่าราชการนคร (郡) และเทียบเท่าบรรดาศักดิ์ชั้นที่ 15 "เส่าซ่างเจ้า" (少上造) เหม่ยเหริน แปลว่า ผู้มีความงดงาม
ปาจื่อ (八子)
ตำแหน่งพระสนมช่วงต้นราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ศักดิ์รองจากเหม่ยเหรินสองขั้น ภายหลังเป็นตำแหน่งขั้น 6 พระสนมชั้นสูงในองค์จักรพรรดิ ซึ่งเทียบเท่าขุนนางระดับผู้ช่วยอัครมหาเสนาบดี และเทียบเท่าบรรดาศักดิ์ชั้นที่ 13 "จงเกิ้ง" (中更) ปาจื่อ เป็นคำที่หมายถึงอนุภรรยา หรือก็คือพระสนมนั่นเอง
ชงอี (充依)
ตำแหน่งขั้น 7 พระสนมชั้นสูงในองค์จักรพรรดิ เพิ่มเข้ามาในสมัยฮั่นอู่ตี้ ตำแหน่งเทียบเท่าขุนนางระดับผู้ช่วยอัครมหาเสนาบดีเช่นเดียวกับปาจื่อ และเทียบเท่าบรรดาศักดิ์ชั้นที่ 12 "จั่วเกิ้ง" (左更) ชงอี เป็นคำที่ใช้หมายถึงการเติมเต็มสตรีฝ่ายในตามลำดับขั้น
เช่น หลี่เหม่ยเหริน ในสมัยฮั่นฮุ่ยตี้ (จากเรื่อง 美人心計), เจี่ยเหม่ยเหริน (จากเรื่อง 大漢賢后衛子夫, สมัยฮั่นอู่ตี้)
3) พระสนมชั้นโท
ชีจื่อ (七子)
ตำแหน่งพระสนมช่วงต้นราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ศักดิ์รองจากปาจื่อ ภายหลังเป็นตำแหน่งขั้น 8 พระสนมชั้นกลางในองค์จักรพรรดิ ซึ่งเทียบเท่าขุนนางระดับข้าราชการผู้ดูแลองค์รัชทายาท และเทียบเท่าบรรดาศักดิ์ชั้นที่ 11 "โย่วซู่จ่าง" (右庶長) ชีจื่อ เป็นคำที่หมายถึงพระสนมเช่นเดียวกับปาจื่อ ต่างกันตรงคำว่า ปา (八, แปด) และ ชี (七, เจ็ด) ที่เป็นตัวบ่งบอกระดับที่สูงต่ำต่างกัน
เหลียงเหริน (良人)
ตำแหน่งพระสนมช่วงต้นราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ศักดิ์รองจากเหม่ยเหริน ภายหลังถูกจัดอยู่ที่ตำแหน่งขั้น 9 พระสนมชั้นกลางในองค์จักรพรรดิ ซึ่งเทียบเท่าขุนนางระดับข้าราชการผู้ดูแลองค์รัชทายาทเช่นเดียวชีจื่อ และเทียบเท่าบรรดาศักดิ์ชั้นที่ 10 "จั่วซู่จ่าง" (左庶長) เหลียงเหริน แปลว่า ผู้มีจิตใจบริสุทธิ์ดีงาม
เช่น เถิงจี หรือ เถิงเหลียงเหริน (จากเรื่อง 大漢賢后衛子夫, สมัยฮั่นอู่ตี้), จางเหลียงเหริน ในสมัยฮั่นเซวียนตี้ ตามประวัติศาสตร์ภายหลังมีตำแหน่งเป็นจางเจี๋ยยวี๋ (จากเรื่อง 大漢情緣之雲中歌)
ฉางสื่อ (長使)
ตำแหน่งพระสนมช่วงต้นราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ศักดิ์รองจากชีจื่อ ภายหลังเป็นตำแหน่งขั้น 10 พระสนมชั้นกลางในองค์จักรพรรดิ ซึ่งเทียบเท่าขุนนางระดับข้าราชการกำกับดูแลสิบสามเขตการปกครองใหญ่ (十三州) และเทียบเท่าบรรดาศักดิ์ชั้นที่ 9 "อู่ไต้ฟู" (五大夫) ฉางสื่อ หมายถึง สตรีผู้ปรนนิบัติรับใช้มาเป็นเวลานาน
เสาสื่อ (少使)
ตำแหน่งพระสนมช่วงต้นราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ศักดิ์รองจากฉางสื่อ ภายหลังเป็นตำแหน่งขั้น 11 พระสนมชั้นกลางในองค์จักรพรรดิ ซึ่งเทียบเท่าขุนนางระดับข้าราชการดูแลความสงบเขตอำเภอใหญ่ และเทียบเท่าบรรดาศักดิ์ชั้นที่ 8 "กงเฉิง" (公乗) เสาสื่อ หมายถึง สตรีผู้พร้อมปรนนิบัติรับใช้มาเป็นระยะเวลาหนึ่ง
เช่น เฝิงเยวี่ยน ในสมัยฮั่นเยวี๋ยนตี้ เมื่อแรกเข้าวังมีตำแหน่งเป็นเฝิงฉางสื่อ ก่อนจะได้เลื่อนขึ้นเป็นเหม่ยเหริน เจี๋ยยวี๋ และเจาอี๋ตามลำดับ (จากเรื่อง 母儀天下), ปันเจี๋ยยวี๋ ในสมัยฮั่นเฉิงตี้ เมื่อแรกเข้าวังมีตำแหน่งเป็นปันเสาสื่อมาก่อน (จากเรื่อง 王昭君2007版)
จี (姬)
คำเรียกพระสนมระดับล่างในช่วงต้นราชวงศ์ฮั่นตะวันตก รองจากจักรพรรดินี ฟูเหรินและเหม่ยเหรินถือเป็นตำแหน่งที่ค่อนข้างสูงศักดิ์ ต่ำลงมากว่านี้จะถือว่าเป็นพระสนมระดับล่าง ดังนั้นตั้งแต่เหม่ยเหรินลงมาซึ่งได้แก่ เหลียงเหริน ปาจื่อ ชีจื่อ ฉางสื่อ และเสาสื่อ จึงมักจะเรียกต่อท้ายชื่อสกุลด้วยคำว่าจี แทนชื่อตำแหน่ง เช่น ลี่จี ในสมัยฮั่นจิ่งตี้ (จากเรื่อง 美人心計), ยวิ๋นจี (จากเรื่อง 大漢賢后衛子夫, สมัยฮั่นอู่ตี้) ซึ่งตำแหน่งเหล่านี้หลังสมัยฮั่นอู่ตี้ได้กลายเป็นพระสนมชั้นเอกและชั้นโทแทนดังที่กล่าวไปข้างต้น
4) พระสนมชั้นตรี
อู่กวน (五官) "ผู้มีองคาพยพทั้งห้าบนใบหน้างดงามเหนือจริง" ตำแหน่งขั้น 12 พระสนมระดับล่างในองค์จักรพรรดิ ซึ่งเทียบเท่าขุนนางระดับรองหัวหน้าข้าราชการระดับอำเภอ
ซุ่นฉาง (順常) "ผู้ประพฤติตนตามแบบแผน" ตำแหน่งขั้น 13 พระสนมระดับล่างในองค์จักรพรรดิ ซึ่งเทียบเท่าขุนนางระดับข้าราชการดูแลความสงบเขตอำเภอเล็ก
อู๋เจวียน (無涓) "ผู้บริสุทธิ์ไร้ราคี", ก้งเหอ (共和) "ผู้อ่อนโยนนอบน้อม", ยวี๋หลิง (娛靈) "ผู้สร้างความสำราญใจ", เป่าหลิน (保林) "ผู้สงบนิ่งดุจพงไพร", เหลียงสื่อ (良使) "ผู้ปรนนิบัติรับใช้ที่ดี" และเย่เจ่อ (夜者) "ผู้รับใช้ยามราตรี" ทั้งหมดเป็นตำแหน่งขั้น 14 สนมชั้นล่างในองค์จักรพรรดิ เทียบเท่าขุนนางระดับข้าราชการกองบันทึกประวัติศาสตร์
ตำแหน่งพระสนมชั้นตรีทั้งหมดเพิ่มเข้ามาในสมัยฮั่นเยวี๋ยนตี้ ไม่เทียบเท่าบรรดาศักดิ์ขุนนางใดทั้งสิ้น และถ้าหากเสียชีวิตจะต้องฝังที่สุสานนอกพระราชวัง ซึ่งแตกต่างจากพระเทวี พระชายา และพระสนมชั้นอื่นๆ
ระดับขั้นตำแหน่งนางในและตำแหน่งเชื้อพระวงศ์แบบละเอียดของราชวงศ์ฮั่นตะวันตกแห่งจีนค่ะ
ราชวงศ์ฮั่นตะวันตกนั้นถือเป็นยุคทองของจีน พัฒนาฟื้นฟูบ้านเมืองอย่างต่อเนื่องหลังจากสงคราม เกิดงานผลผลิตต่างๆ หลายด้าน ราษฎรมีความสุขและมั่นคง ปกครองอาณาจักรให้เป็นหนึ่งเดียวกันและเจริญรุ่งเรืองอย่างยาวนานต่อจากราชวงศ์ฉินเป็นเวลามากกว่า 200 ปี
ระดับและตำแหน่งสตรีฝ่ายในของวังหลังสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตกนั้น สืบต่อมาจากราชวงศ์ฉินบางส่วน ซึ่งภายหลังได้มีการเพิ่มเติมตำแหน่งและจัดระเบียบใหม่อีกครั้ง โดยระดับและตำแหน่งสตรีฝ่ายในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก สามารถแบ่งได้ตามลำดับดังนี้
ตำแหน่งฝ่ายในของพระราชวังจักรพรรดิ
ไท่หวงไท่โฮ่ว (太皇太后)
หรือรู้จักกันในชื่อ "ไทฮองไทเฮา" ตำแหน่งของจักรพรรดินีในจักรพรรดิองค์ก่อนหน้านับขึ้นไป 2 ขั้นเท่านั้น อาจจะมีฐานะเป็นพระอัยยิกาแท้ๆ หรือพระอัยยิกาเลี้ยงของจักรพรรดิก็ได้ เช่น จักรพรรดินีหลวี่โฮ่วหรือฮั่นเกาโฮ่ว ในสมัยฮั่นเกาตี้ ซึ่งดำรงตำแหน่งไทฮองไทเฮาและกุมอำนาจในราชสำนักกว่าสามรัชสมัย (จากเรื่อง 美人心計) มีข้อยกเว้นเพียงในรัชสมัยฮั่นจิ่งตี้เท่านั้นที่ผู้มีตำแหน่งไทฮองไทเฮาเป็นพระสนมในอดีตจักรพรรดิ
ตี้ไท่ไท่โฮ่ว, หวงไท่ไท่โฮ่ว (帝太太后, 皇太太后)
หากในขณะนั้นมีไทฮองไทเฮาดำรงตำแหน่งอยู่แล้ว แต่จักรพรรดิองค์ปัจจุบันที่ไม่ใช่สายเลือดตรงต้องการยกย่องพระอัยยิกาแท้ๆ ซึ่งไม่ได้เป็นจักรพรรดินีขึ้นมามีตำแหน่งเทียบเท่า พระอัยยิกาองค์นั้นก็จะมีตำแหน่งเป็นตี้ไท่ไท่โฮ่ว หรือ หวงไท่ไท่โฮ่ว แทน ซึ่งในราชวงศ์ฮั่นตะวันตกมีเพียงพระองค์เดียว คือ ฟู่หวงไท่ไท่โฮ่ว ในสมัยฮั่นอายตี้ ทรงเคยเป็นพระมเหสีรองในฮั่นเยวี๋ยนตี้ (จากเรื่อง 母儀天下)
หวงไท่โฮ่ว (皇太后)
หรือรู้จักกันในชื่อ "ฮองไทเฮา" ตำแหน่งของจักรพรรดินีในจักรพรรดิองค์ก่อนหน้านับขึ้นไป 1 ขั้นเท่านั้น ซึ่งอาจเป็นพระมารดาแท้ๆ หรือพระมารดาเลี้ยงในจักรพรรดิองค์ปัจจุบันก็ได้ เช่น เซี่ยวจิ่งหวังฮองไทเฮา ในสมัยฮั่นอู่ตี้ (จากเรื่อง 大漢賢后衛子夫) มีข้อยกเว้นเพียงพระมารดาของฮั่นเหวินตี้ (พระอัยยิกาของฮั่นจิ่งตี้) เท่านั้นที่มีตำแหน่งเป็นฮองไทเฮาได้แม้เป็นพระสนมในอดีตจักรพรรดิ
ตี้ไท่โฮ่ว (帝太后)
หากในขณะนั้นมีฮองไทเฮาดำรงตำแหน่งอยู่แล้ว แต่จักรพรรดิองค์ปัจจุบันที่ไม่ใช่สายเลือดตรงต้องการยกย่องพระมารดาแท้ๆ ซึ่งไม่ได้เป็นจักรพรรดินีขึ้นมามีตำแหน่งเทียบเท่า พระมารดาของจักรพรรดิก็จะมีตำแหน่งเป็น ตี้ไท่โฮ่ว แทน ซึ่งในราชวงศ์ฮั่นตะวันตกมีเพียงพระองค์เดียวเช่นเดียวกัน คือ ติงตี้ไท่โฮ่ว ในสมัยฮั่นอายตี้ ทรงเคยเป็นพระสนมในติ้งเถาอ๋อง หลิวคัง (จากเรื่อง 母儀天下)
หวงโฮ่ว (皇后)
ตำแหน่งจักรพรรดินีองค์ปัจจุบันของจักรพรรดิ หรือรู้จักกันในชื่อ "ฮองเฮา" พระอัครมเหสีเอกซึ่งมีตำแหน่งเดียวและมีศักดิ์สูงสุดในการปกครองฝ่ายใน ไม่นับรวมลำดับขั้นกับพระชายาและพระสนมอื่นๆ สำหรับพระมารดาขององค์จักรพรรดิที่ซึ่งไม่ได้เป้นจักรพรรดินี เมื่อสิ้นพระชนม์มักจะได้รับการแต่งตั้งเป็นฮองเฮาทุกพระองค์ เช่น เซี่ยวเหวินโต้วฮองเฮา โต้วอีฝาง ในสมัยฮั่นเหวินตี้ (จากเรื่อง 美人心計), เซี่ยวอู่เว่ยฮองเฮา เว่ยจื่อฟู ในสมัยฮั่นอู่ตี้ (จากเรื่อง 大漢賢后衛子夫)
รองจากตำแหน่งฮองเฮาซึ่งเป็นจักรพรรดินี จะเป็นตำแหน่งพระชายาและพระสนมอีกหลายตำแหน่ง ในช่วงต้นราชวงศ์ฮั่นตะวันตกไปจนถึงต้นรัชสมัยฮั่นอู่ตี้นั้นมีทั้งหมด 7 ตำแหน่ง ต่อมาตั้งแต่ปลายรัชสมัยฮั่นอู่ตี้เป็นต้นไปก็ได้เพิ่มเติมปรับเปลี่ยนตำแหน่งใหม่เป็น 14 ขั้น เทียบศักดิ์ด้วยตำแหน่งและบรรดาศักดิ์ของขุนนาง ซึ่งตรงจุดนี้จะขออธิบายรวมทั้งสองช่วงและเทียบตำแหน่งตามความเข้าใจของผู้เขียนนะคะ ตำแหน่งสตรีฝ่ายในองค์จักรพรรดิสมัยฮั่นตะวันตก สามารถแบ่งได้เป็น 4 ระดับ ได้แก่
1) พระมเหสีและพระชายาชั้นสูง
ฟูเหริน (夫人)
ตำแหน่งพระภรรยาชั้นสูงในองค์จักรพรรดิช่วงต้นราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ฐานะสูงศักดิ์ เป็นรองเพียงจักรพรรดินี ฟูเหริน แปลว่า ผู้เป็นของสามี ซึ่งหมายถึงภรรยานั่นเอง เช่น เซิ่นฟูเหริน ในสมัยฮั่นเหวินตี้ (จากเรื่อง 美人心計), หลี่ฟูเหริน ในสมัยฮั่นอู่ตี้ (จากเรื่อง 大漢賢后衛子夫)
หลังจากสมัยฮั่นอู่ตี้เป็นต้นมา ตำแหน่งฟูเหรินได้ถูกแทนที่ด้วย 4 ตำแหน่งใหม่ ซึ่งมีดังนี้
เจาอี๋ (昭儀)
ตำแหน่งขั้น 1 พระมเหสีรองในองค์จักรพรรดิ เพิ่มเข้ามาในสมัยฮั่นเยวี๋ยนตี้ ตำแหน่งเทียบเท่าอัครมหาเสนาบดีราชสำนัก บรรดาศักดิ์เทียบเท่า "อ๋อง" เจ้าครองแคว้น เจาอี๋ หมายถึง ผู้มีความงามเป็นเลิศยิ่ง
เจี๋ยยวี๋ (婕妤)
ตำแหน่งขั้น 2 พระอัครเทวีในองค์จักรพรรดิ เพิ่มเข้ามาในสมัยฮั่นอู่ตี้ ตำแหน่งเทียบเท่าเสนาบดีอาวุโส และเทียบเท่าบรรดาศักดิ์ชั้นที่ 20 "เลี่ยโหว" เจ้าครองอาณาเขต เจี๋ยยวี๋ หมายถึง หญิงงามผู้ได้รับความโปรดปรานจากองค์จักรพรรดิ
สิงเอ๋อ (娙娥)
ตำแหน่งขั้น 3 พระราชเทวีในองค์จักรพรรดิ เพิ่มเข้ามาในสมัยฮั่นอู่ตี้ ตำแหน่งเทียบเท่าขุนนางระดับเก้าเสนาบดี และเทียบเท่าบรรดาศักดิ์ชั้นที่ 19 "กวานเน่ยโหว" (關內侯) สิงเอ๋อ หมายถึง ผู้มีรูปโฉมสะสวยงดงาม
หรงฮว๋า (傛華)
ตำแหน่งขั้น 4 พระราชชายาในองค์จักรพรรดิ เพิ่มเข้ามาในสมัยฮั่นอู่ตี้ ตำแหน่งเทียบเท่าขุนนางระดับอัครเสนาบดีประจำแคว้นอ๋อง และเทียบเท่าบรรดาศักดิ์ชั้นที่ 16 "ต้าซ่างเจ้า" (大上造) หรงฮว๋า หมายถึง ผู้มีความสง่างามร่าเริง
เช่น เจ้าเจาอี๋ หรือ เจ้าเหอเต๋อ ในสมัยฮั่นเฉิงตี้, เจ้าเจี๋ยยวี๋ หรือ เจ้าเฟยเยี่ยน ในสมัยฮั่นเฉิงตี้ ภายหลังได้รับการแต่งตั้งขึ้นเป็นเจ้าฮองเฮา (จากเรื่อง 母儀天下)
2) พระสนมชั้นเอก
เหม่ยเหริน (美人)
ตำแหน่งพระสนมเอกช่วงต้นราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ศักดิ์รองจากฟูเหริน ภายหลังถูกจัดอยู่ที่ตำแหน่งขั้น 5 ซึ่งยังคงเป็นพระสนมเอกในองค์จักรพรรดิเช่นเดิม ซึ่งเทียบเท่าขุนนางระดับผู้ว่าราชการนคร (郡) และเทียบเท่าบรรดาศักดิ์ชั้นที่ 15 "เส่าซ่างเจ้า" (少上造) เหม่ยเหริน แปลว่า ผู้มีความงดงาม
ปาจื่อ (八子)
ตำแหน่งพระสนมช่วงต้นราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ศักดิ์รองจากเหม่ยเหรินสองขั้น ภายหลังเป็นตำแหน่งขั้น 6 พระสนมชั้นสูงในองค์จักรพรรดิ ซึ่งเทียบเท่าขุนนางระดับผู้ช่วยอัครมหาเสนาบดี และเทียบเท่าบรรดาศักดิ์ชั้นที่ 13 "จงเกิ้ง" (中更) ปาจื่อ เป็นคำที่หมายถึงอนุภรรยา หรือก็คือพระสนมนั่นเอง
ชงอี (充依)
ตำแหน่งขั้น 7 พระสนมชั้นสูงในองค์จักรพรรดิ เพิ่มเข้ามาในสมัยฮั่นอู่ตี้ ตำแหน่งเทียบเท่าขุนนางระดับผู้ช่วยอัครมหาเสนาบดีเช่นเดียวกับปาจื่อ และเทียบเท่าบรรดาศักดิ์ชั้นที่ 12 "จั่วเกิ้ง" (左更) ชงอี เป็นคำที่ใช้หมายถึงการเติมเต็มสตรีฝ่ายในตามลำดับขั้น
เช่น หลี่เหม่ยเหริน ในสมัยฮั่นฮุ่ยตี้ (จากเรื่อง 美人心計), เจี่ยเหม่ยเหริน (จากเรื่อง 大漢賢后衛子夫, สมัยฮั่นอู่ตี้)
3) พระสนมชั้นโท
ชีจื่อ (七子)
ตำแหน่งพระสนมช่วงต้นราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ศักดิ์รองจากปาจื่อ ภายหลังเป็นตำแหน่งขั้น 8 พระสนมชั้นกลางในองค์จักรพรรดิ ซึ่งเทียบเท่าขุนนางระดับข้าราชการผู้ดูแลองค์รัชทายาท และเทียบเท่าบรรดาศักดิ์ชั้นที่ 11 "โย่วซู่จ่าง" (右庶長) ชีจื่อ เป็นคำที่หมายถึงพระสนมเช่นเดียวกับปาจื่อ ต่างกันตรงคำว่า ปา (八, แปด) และ ชี (七, เจ็ด) ที่เป็นตัวบ่งบอกระดับที่สูงต่ำต่างกัน
เหลียงเหริน (良人)
ตำแหน่งพระสนมช่วงต้นราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ศักดิ์รองจากเหม่ยเหริน ภายหลังถูกจัดอยู่ที่ตำแหน่งขั้น 9 พระสนมชั้นกลางในองค์จักรพรรดิ ซึ่งเทียบเท่าขุนนางระดับข้าราชการผู้ดูแลองค์รัชทายาทเช่นเดียวชีจื่อ และเทียบเท่าบรรดาศักดิ์ชั้นที่ 10 "จั่วซู่จ่าง" (左庶長) เหลียงเหริน แปลว่า ผู้มีจิตใจบริสุทธิ์ดีงาม
เช่น เถิงจี หรือ เถิงเหลียงเหริน (จากเรื่อง 大漢賢后衛子夫, สมัยฮั่นอู่ตี้), จางเหลียงเหริน ในสมัยฮั่นเซวียนตี้ ตามประวัติศาสตร์ภายหลังมีตำแหน่งเป็นจางเจี๋ยยวี๋ (จากเรื่อง 大漢情緣之雲中歌)
ฉางสื่อ (長使)
ตำแหน่งพระสนมช่วงต้นราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ศักดิ์รองจากชีจื่อ ภายหลังเป็นตำแหน่งขั้น 10 พระสนมชั้นกลางในองค์จักรพรรดิ ซึ่งเทียบเท่าขุนนางระดับข้าราชการกำกับดูแลสิบสามเขตการปกครองใหญ่ (十三州) และเทียบเท่าบรรดาศักดิ์ชั้นที่ 9 "อู่ไต้ฟู" (五大夫) ฉางสื่อ หมายถึง สตรีผู้ปรนนิบัติรับใช้มาเป็นเวลานาน
เสาสื่อ (少使)
ตำแหน่งพระสนมช่วงต้นราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ศักดิ์รองจากฉางสื่อ ภายหลังเป็นตำแหน่งขั้น 11 พระสนมชั้นกลางในองค์จักรพรรดิ ซึ่งเทียบเท่าขุนนางระดับข้าราชการดูแลความสงบเขตอำเภอใหญ่ และเทียบเท่าบรรดาศักดิ์ชั้นที่ 8 "กงเฉิง" (公乗) เสาสื่อ หมายถึง สตรีผู้พร้อมปรนนิบัติรับใช้มาเป็นระยะเวลาหนึ่ง
เช่น เฝิงเยวี่ยน ในสมัยฮั่นเยวี๋ยนตี้ เมื่อแรกเข้าวังมีตำแหน่งเป็นเฝิงฉางสื่อ ก่อนจะได้เลื่อนขึ้นเป็นเหม่ยเหริน เจี๋ยยวี๋ และเจาอี๋ตามลำดับ (จากเรื่อง 母儀天下), ปันเจี๋ยยวี๋ ในสมัยฮั่นเฉิงตี้ เมื่อแรกเข้าวังมีตำแหน่งเป็นปันเสาสื่อมาก่อน (จากเรื่อง 王昭君2007版)
จี (姬)
คำเรียกพระสนมระดับล่างในช่วงต้นราชวงศ์ฮั่นตะวันตก รองจากจักรพรรดินี ฟูเหรินและเหม่ยเหรินถือเป็นตำแหน่งที่ค่อนข้างสูงศักดิ์ ต่ำลงมากว่านี้จะถือว่าเป็นพระสนมระดับล่าง ดังนั้นตั้งแต่เหม่ยเหรินลงมาซึ่งได้แก่ เหลียงเหริน ปาจื่อ ชีจื่อ ฉางสื่อ และเสาสื่อ จึงมักจะเรียกต่อท้ายชื่อสกุลด้วยคำว่าจี แทนชื่อตำแหน่ง เช่น ลี่จี ในสมัยฮั่นจิ่งตี้ (จากเรื่อง 美人心計), ยวิ๋นจี (จากเรื่อง 大漢賢后衛子夫, สมัยฮั่นอู่ตี้) ซึ่งตำแหน่งเหล่านี้หลังสมัยฮั่นอู่ตี้ได้กลายเป็นพระสนมชั้นเอกและชั้นโทแทนดังที่กล่าวไปข้างต้น
4) พระสนมชั้นตรี
อู่กวน (五官) "ผู้มีองคาพยพทั้งห้าบนใบหน้างดงามเหนือจริง" ตำแหน่งขั้น 12 พระสนมระดับล่างในองค์จักรพรรดิ ซึ่งเทียบเท่าขุนนางระดับรองหัวหน้าข้าราชการระดับอำเภอ
ซุ่นฉาง (順常) "ผู้ประพฤติตนตามแบบแผน" ตำแหน่งขั้น 13 พระสนมระดับล่างในองค์จักรพรรดิ ซึ่งเทียบเท่าขุนนางระดับข้าราชการดูแลความสงบเขตอำเภอเล็ก
อู๋เจวียน (無涓) "ผู้บริสุทธิ์ไร้ราคี", ก้งเหอ (共和) "ผู้อ่อนโยนนอบน้อม", ยวี๋หลิง (娛靈) "ผู้สร้างความสำราญใจ", เป่าหลิน (保林) "ผู้สงบนิ่งดุจพงไพร", เหลียงสื่อ (良使) "ผู้ปรนนิบัติรับใช้ที่ดี" และเย่เจ่อ (夜者) "ผู้รับใช้ยามราตรี" ทั้งหมดเป็นตำแหน่งขั้น 14 สนมชั้นล่างในองค์จักรพรรดิ เทียบเท่าขุนนางระดับข้าราชการกองบันทึกประวัติศาสตร์
ตำแหน่งพระสนมชั้นตรีทั้งหมดเพิ่มเข้ามาในสมัยฮั่นเยวี๋ยนตี้ ไม่เทียบเท่าบรรดาศักดิ์ขุนนางใดทั้งสิ้น และถ้าหากเสียชีวิตจะต้องฝังที่สุสานนอกพระราชวัง ซึ่งแตกต่างจากพระเทวี พระชายา และพระสนมชั้นอื่นๆ