Why? ทำไม...ทำไม?เวลาฝนตกต้นไม้จึงงาม
ช่วงนี้พระพิรุณประทานสายฝนให้เหล่าต้นไม้ได้ชุ่มฉ่ำ หลายคนเคยสงสัยไหมว่าทำไมเวลาที่ฝนตกต้นไม้ใบหญ้ามักจะพากันแทงยอดอ่อนเขียวขจีไปทั่ว มันช่างแตกต่างกับที่เราสูบน้ำมารดแทบตาย ขนาดรดทั้งเช้าและเย็น ปุ๋ยก็ใส่ต้นไม้เหมือนเฉยๆ แต่พอได้น้ำฝนเพียงไม่กี่ครั้งกลับเจริญเติบโตอย่างผิดหูผิดตา
คำตอบ นานมาแล้ว มีนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน ชื่อพี่Benjamin Franklin ได้ขึ้นสู่ท้องฟ้าช่วงฝนฟ้าคะนอง ปรากฏว่า มีกระแสไฟฟ้าไหลไปตามสายว่าวแล้วกระโดดไปยังมือของเขา(ดีว่าไม่ตายเสียก่อน)เลยมีข้อสรุปว่า มีประจุไฟฟ้าเกิดขึ้นในก้อนเมฆขณะที่เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง โดยเมฆบางก้อนมีประจุไฟฟ้าบวก แต่บางก้อนมีประจุไฟฟ้าลบ เมื่อเมฆมีประจุไฟฟ้าต่างกันมาอยู่ใกล้กันจะทำให้ประจุไฟฟ้าจากเมฆก้อนหนึ่งกระโดดไปยังเมฆอีกก้อนหนึ่ง การกระโดดนี้จะทำให้เกิดประกายไฟขี้น เราเรียกว่า "ฟ้าแลบ" ขณะที่เกิดประกายไฟจะมีเสียงด้วย เรียกว่า "ฟ้าร้อง" บางครั้งประจุไฟฟ้าในก้อนเมฆอยู่ใกล้พื้นดินมากกว่าเมฆก้อนอื่น มันจะกระโดดลงสู่พื้นดิน เรียกว่า "ฟ้าผ่า" โดยผลพลอยได้ของการเกิดพายุฝนฟ้าคะนองก็คือ ฝนที่ตกลงมาจะนำพาสารประกอบไนโตรเจนลงมาสู่พื้นดินเบื้องล่าง โดยมีการประเมินไว้ว่าฟ้าแลบครั้งหนึ่งจะทำให้ธาตุไนโตรเจนตกลงมายังพื้นดินประมาณ 2 กิโลกรัม ต่อพื้นที่จำนวน 1 ไร่ และเมื่อคิดคำนวณทั้งโลก จะพบว่าจะมีธาตุไนโตรเจนตกลงมายังโลกทั้งสิ้น 770 ล้านตัน
สาเหตุก็คือในขณะที่เกิดฟ้าแลบพลังงานบางส่วนที่เกิดจากฟ้าแลบจะทำให้ไนโตรเจน ในอากาศทำปฏิกิริยากับออกซิเจน เกิดเป็นสารประกอบไนตริกออกไซต์ (NO) สารประกอบไนตริกออกไซต์(NO) จะเกิดปฏิกิริยาเปลี่ยนแปลงตัวเองไปเป็นไนโตรเจนออกไซต์ (NO2) ซึ่งจัดว่าเป็นสารที่มีการละลายได้ดีในน้ำฝน และจะเปลี่ยนเป็นกรดไนตริกหรือกรดดินประสิว(HNO3) ตกลงมายังพื้นโลก เมื่อตกลงมาแล้วจะไปรวมตัวกับสารเคมีอื่นๆ บนพื้นโลกกลับกลายเป็นแคลเซียมไนเตรทในที่สุด โดยแคลเซียมไนเตรทเป็นปุ๋ยที่ดีสำหรับพืช เช่น ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของผนังเซลล์ สร้างความชุ่มชื้นให้เซลล์พืช ช่วยป้องกันผลแตก ช่วยแก้ปัญหารูปร่างของผลไม้บิดเบี้ยวไม่เป็นรูปทรง และผลไม่สม่ำเสมอ รวมทั้งเร่งการแทงยอดและการเจริญของรากฝอย ดังนั้นการเกิดฝนตกฟ้าคะนองนอกจากจะช่วยให้พื้นดินชุ่มฉ่ำแล้ว ยังช่วยเพิ่มปุ๋ยให้กับพืชด้วย นอกจากนี้ฝนที่ตกลงมาจากฟ้าจะมีค่าความเป็นกรดด่างหรือเรียกว่า pH มีค่าต่ำกว่า 6 เล็กน้อย เนื่องมาจากฝนก่อนที่จะตกลงมาจะรับเอาคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ในอากาศมาด้วย ส่งผลให้น้ำฝนมีความเป็นกรดอ่อนๆ ซึ่งความเป็นกรดอ่อนๆ ของน้ำฝนดังกล่าวนี้สามารถทำละลายธาตุต่างๆ ในบรรยากาศระหว่างที่ฝนกำลังตกลงมารวมถึงธาตุอาหารในดินได้ โดยได้มีรายงานวิจัยยกตัวอย่างการเก็บน้ำฝนในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่าในน้ำฝน 1 ลิตร จะมีธาตุต่างๆ เช่น แคลเซียม 0.8 มก. แมกนีเซียม 1.2 มก. โซเดียม 9.4 มก. ไบคาร์บอเนต 4 มก. ซัลเฟต 7.6 มก. คลอไรด์ 17 มก. ซิลิก้า 0.3 มก. เป็นต้น แต่ในส่วนของน้ำประปาไม่มีค่าความเป็นกรดด่างเท่าน้ำฝน และน้ำประปามาจากท่อจึงไม่สามารถดึงธาตุต่างๆ ที่อยู่ในบรรยากาศได้อย่างน้ำฝน อีกทั้งเมื่อใช้น้ำประปามารดลงดิน น้ำประปาที่ไม่มีค่าความเป็นกรดอ่อนๆจึงไม่สามารถละลายธาตุต่างๆ ในดิน เพื่อไปเป็นอาหารให้แก่พืชได้นั่นเอง
ขอบคุณข้อมูลประกอบบทความ :ศูนย์ศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินี
ขอขอบคุณข้อมูลจาก page เรียนเกษตรง่ายๆกับครูชาตรี
#tiktok @theninwow
#ทำสวนปะหละ
#แม่ฉันทำสวน
ทำไมเวลาฝนตกต้นไม้จึงงาม🌱🌱🌺🌺💖💖
ช่วงนี้พระพิรุณประทานสายฝนให้เหล่าต้นไม้ได้ชุ่มฉ่ำ หลายคนเคยสงสัยไหมว่าทำไมเวลาที่ฝนตกต้นไม้ใบหญ้ามักจะพากันแทงยอดอ่อนเขียวขจีไปทั่ว มันช่างแตกต่างกับที่เราสูบน้ำมารดแทบตาย ขนาดรดทั้งเช้าและเย็น ปุ๋ยก็ใส่ต้นไม้เหมือนเฉยๆ แต่พอได้น้ำฝนเพียงไม่กี่ครั้งกลับเจริญเติบโตอย่างผิดหูผิดตา
คำตอบ นานมาแล้ว มีนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน ชื่อพี่Benjamin Franklin ได้ขึ้นสู่ท้องฟ้าช่วงฝนฟ้าคะนอง ปรากฏว่า มีกระแสไฟฟ้าไหลไปตามสายว่าวแล้วกระโดดไปยังมือของเขา(ดีว่าไม่ตายเสียก่อน)เลยมีข้อสรุปว่า มีประจุไฟฟ้าเกิดขึ้นในก้อนเมฆขณะที่เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง โดยเมฆบางก้อนมีประจุไฟฟ้าบวก แต่บางก้อนมีประจุไฟฟ้าลบ เมื่อเมฆมีประจุไฟฟ้าต่างกันมาอยู่ใกล้กันจะทำให้ประจุไฟฟ้าจากเมฆก้อนหนึ่งกระโดดไปยังเมฆอีกก้อนหนึ่ง การกระโดดนี้จะทำให้เกิดประกายไฟขี้น เราเรียกว่า "ฟ้าแลบ" ขณะที่เกิดประกายไฟจะมีเสียงด้วย เรียกว่า "ฟ้าร้อง" บางครั้งประจุไฟฟ้าในก้อนเมฆอยู่ใกล้พื้นดินมากกว่าเมฆก้อนอื่น มันจะกระโดดลงสู่พื้นดิน เรียกว่า "ฟ้าผ่า" โดยผลพลอยได้ของการเกิดพายุฝนฟ้าคะนองก็คือ ฝนที่ตกลงมาจะนำพาสารประกอบไนโตรเจนลงมาสู่พื้นดินเบื้องล่าง โดยมีการประเมินไว้ว่าฟ้าแลบครั้งหนึ่งจะทำให้ธาตุไนโตรเจนตกลงมายังพื้นดินประมาณ 2 กิโลกรัม ต่อพื้นที่จำนวน 1 ไร่ และเมื่อคิดคำนวณทั้งโลก จะพบว่าจะมีธาตุไนโตรเจนตกลงมายังโลกทั้งสิ้น 770 ล้านตัน
สาเหตุก็คือในขณะที่เกิดฟ้าแลบพลังงานบางส่วนที่เกิดจากฟ้าแลบจะทำให้ไนโตรเจน ในอากาศทำปฏิกิริยากับออกซิเจน เกิดเป็นสารประกอบไนตริกออกไซต์ (NO) สารประกอบไนตริกออกไซต์(NO) จะเกิดปฏิกิริยาเปลี่ยนแปลงตัวเองไปเป็นไนโตรเจนออกไซต์ (NO2) ซึ่งจัดว่าเป็นสารที่มีการละลายได้ดีในน้ำฝน และจะเปลี่ยนเป็นกรดไนตริกหรือกรดดินประสิว(HNO3) ตกลงมายังพื้นโลก เมื่อตกลงมาแล้วจะไปรวมตัวกับสารเคมีอื่นๆ บนพื้นโลกกลับกลายเป็นแคลเซียมไนเตรทในที่สุด โดยแคลเซียมไนเตรทเป็นปุ๋ยที่ดีสำหรับพืช เช่น ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของผนังเซลล์ สร้างความชุ่มชื้นให้เซลล์พืช ช่วยป้องกันผลแตก ช่วยแก้ปัญหารูปร่างของผลไม้บิดเบี้ยวไม่เป็นรูปทรง และผลไม่สม่ำเสมอ รวมทั้งเร่งการแทงยอดและการเจริญของรากฝอย ดังนั้นการเกิดฝนตกฟ้าคะนองนอกจากจะช่วยให้พื้นดินชุ่มฉ่ำแล้ว ยังช่วยเพิ่มปุ๋ยให้กับพืชด้วย นอกจากนี้ฝนที่ตกลงมาจากฟ้าจะมีค่าความเป็นกรดด่างหรือเรียกว่า pH มีค่าต่ำกว่า 6 เล็กน้อย เนื่องมาจากฝนก่อนที่จะตกลงมาจะรับเอาคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ในอากาศมาด้วย ส่งผลให้น้ำฝนมีความเป็นกรดอ่อนๆ ซึ่งความเป็นกรดอ่อนๆ ของน้ำฝนดังกล่าวนี้สามารถทำละลายธาตุต่างๆ ในบรรยากาศระหว่างที่ฝนกำลังตกลงมารวมถึงธาตุอาหารในดินได้ โดยได้มีรายงานวิจัยยกตัวอย่างการเก็บน้ำฝนในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่าในน้ำฝน 1 ลิตร จะมีธาตุต่างๆ เช่น แคลเซียม 0.8 มก. แมกนีเซียม 1.2 มก. โซเดียม 9.4 มก. ไบคาร์บอเนต 4 มก. ซัลเฟต 7.6 มก. คลอไรด์ 17 มก. ซิลิก้า 0.3 มก. เป็นต้น แต่ในส่วนของน้ำประปาไม่มีค่าความเป็นกรดด่างเท่าน้ำฝน และน้ำประปามาจากท่อจึงไม่สามารถดึงธาตุต่างๆ ที่อยู่ในบรรยากาศได้อย่างน้ำฝน อีกทั้งเมื่อใช้น้ำประปามารดลงดิน น้ำประปาที่ไม่มีค่าความเป็นกรดอ่อนๆจึงไม่สามารถละลายธาตุต่างๆ ในดิน เพื่อไปเป็นอาหารให้แก่พืชได้นั่นเอง
ขอบคุณข้อมูลประกอบบทความ :ศูนย์ศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินี
ขอขอบคุณข้อมูลจาก page เรียนเกษตรง่ายๆกับครูชาตรี
#tiktok @theninwow
#ทำสวนปะหละ
#แม่ฉันทำสวน