สงสัยไหมว่าเวลาเกิดเหตุไม่คาดฝันกับเที่ยวบิน เช่น taxi อยู่ๆเครื่องเสียยางแตกกลางทางวิ่ง
เครื่องไถลออกนอกทางวิ่ง ทำไมการเอารถมารับ มาลากเครื่องมันถึงต้องรอเร็วบ้าง ช้าบ้าง
เลยอยากมาแชร์ เท่าที่เคยทราบ ถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกัน
ก่อนอื่นต้องมาปูพื้นกันก่อนว่า ในบริเวณพื้นที่สนามบินมีผู้เกี่ยวข้องใครบ้าง
1. สายการบิน เป็นเจ้าของเครื่องบิน ให้บริการขนส่งผู้โดยสาร cargo
2. บ.ผู้ให้บริการภาคพื้น ให้บริการทั้งอุปกรณ์และ/หรือ บุคลากร
อาจเป็นเจ้าของเดียวกันกับสายการบินก้อได้ หรือ ไม่เกี่ยวข้องเลยก้อได้
หรือ บางที่เป็นของการท่าอากาศยานนั้นๆ
ตั้งแต่ รถรับผู้โดยสาร รถดันเครื่องบิน รถขนกระเป๋า พนักงานขนกระเป๋า พนักงานรถบันได
พนักงาน check-in พนักงานดูแลผู้โดยสารในท่าอากาศยาน
ในไทยส่วนใหญ่แล้วเป็นของสายการบิน และไปให้บริการสายการบินอื่นด้วยก้อได้ หรือ บ.ที่ได้รับสัมปะทาน
3. เจ้าหน้าที่ควบคุมการจราจรทางอากาศ ทำหน้าที่ ดูแล กำกับการจราจรทางอากาศ ของไทยคือ บ.วิทยุการบิน
4. ท่าอากาศยาน มีหน้าที่ดูแล ควบคุม บริหารกิจการของตัวสนามบิน ดูแลความรักษาปลอดภัย ดับเพลิงทั้งอากาศยาน และ อากาศต่างๆ
ที่อยู่ในบริเวณท่าอากาศยาน ของไทยมีผู้รับผิดชอบ 2 เจ้าคือ
บ.ท่าอากาศยานไทย มี 6 แห่งคือ สุวรรณภูมิ / ดอนเมือง / เชียงใหม่ / เชียงราย / ภูเก็ต / หาดใหญ่
ท่าอากาศยานไทย
และ กรมท่าอากาศยาน ที่ขึ้นตรงกับกระทรวงคมนาคม มี 29 แห่ง
กรมท่าอากาศยานไทย
5. สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย คือผู้คุมกฎระเบียบต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการบินทั้งหมด
เพื่อให้เป็นมาตรฐานสากล กำกับ ดูแล ควบคุม ให้ผู้บริการในส่วนต่างๆทั้งข้อ 1-4 ให้มีมาตรฐานตามที่กำหนดอยู่เสมอ
CAAT
6. เจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่เกี่ยวข้องต่างๆ เช่น ตรวจคนเข้าเมือง , ศุลกากร , ควบคุมโรคติดต่อ
ข้อสังเกต
บริเวณเขตท่าอากาศยาน หรือสนามบิน หน่วยงานอื่นๆไม่สามารถเข้าไปโดยพละการได้
หมายความว่าในพิ้นที่ของท่าอากาศยานหรือสนามบินนั้นอยู่ในความรับผิดชอบของท่าอากาศยาน
พอเข้ารั้วสนามบินการดูแลรับผิดชอบทั้งหมดเป็นของท่าอากาศยาน
ส่วนท่าอากาศยานจะดูแลเอง หรือ จ้างให้ใครดูแลรับผิดชอบ หรือ ให้สัมปะทานบริษัทไหนดำเนินการ
เช่น
การให้บริการรถพยาบาลที่อยู่ในสนามบิน ทั้งนี้เพราะมีข้อปฏิบัติกำหนดวิธีต่างๆที่ต้องทราบและปฏิบัติให้ถูกต้อง
และ ไม่ได้เซ็นเป็นคู่สัญญากับทางสนามบิน ไม่ใช่ผู้โดยสารไปติดต่อเองแล้วขอเข้าไปรับหรือส่งถึงเครื่องบินไม่ได้
หรือ
กรณีเครื่องบินออกนอกทางวิ่ง หรือไปจอดเสียกลางลานจอดหรือทางวิ่ง ทางขับ
สายการบินอยู่ๆจะเอารถวิ่งเข้าไปรับผู้โดยสารที่เครื่องไม่ได้ จะต้องมีรถของการท่า ประสานกับหอบังคับการบินนำเข้าไปที่เครื่องบิน
คราวนี้มาดูว่าเมื่อเครื่องบินประสบอุบัติเหตต่างๆในบริเวณสนามบิน ปัจจัยเงื่อนไขการเข้าไปช่วยเหลือมีไรบ้าง
อุปสรรคทางกายภาพ
1.1 ตำแหน่งที่เกิด ว่าห่างไกลจากตัวอาคารผู้โดยสารแค่ไหน อย่างลืมว่าตัว RWY อย่างเดียวมันยาวอย่างน้อย 2.5 กม. จนถึง 4 กม.
แล้วปกติเวลาเกิดส่วนใหญ่จะเกิดบริเวณปลายสุด RWY ส่วนใหญ่อาคารผู้โดยสารอยู่ตรงกลางหมายความว่าบริเวณที่เกิดอยู่ห่างไป 2 กม.
แล้วถ้าอาคารผู้โดยสารอยู่ปลายด้านในด้านหนึ่ง เช่น ภูเก็ต ตามรูปล่างนี้ จะยิ่งใช้เวลาเพิ่มเท่าไหร่ ถ้าเกิดปลาย RWY ด้านไกล
1.2 ฝนตกฟ้าคะนอง เช่น ระหว่างเกิดมีฝนตก ฟ้าร้องฟ้าผ่า ต้องนึกถึงว่าบริเวณสนามบินเป็นที่ราบกว้างๆ
แล้วมีกระโดงหางเครื่องบินแหลมยื่นขึ้นไปบนอากาศโดดๆ ฟ้าผ่าเครื่องได้ง่ายๆ ขนาดที่เครื่องจอดอยู่ที่อาคารผู้โดยสารที่มีสายล่อฟ้าอยู่แล้ว
เมื่อเวลามีการแจ้งเตือนฟ้าผ่า ฟ้าคะนอง การให้บริการที่เกี่ยวข้องในลานจอด ตามกฎต้องหยุดทำงาน แล้วหาที่กำบัง
เคยมีฟ้าผ่าเครื่องบิน ไฟฟ้าไหลลงมาดูดคนที่กำลังเปิดประตูสินค้า ตกลงมาบาดเจ็บหลายราย
ดังนั้นการเข้าไปช่วยอากาศยาน คนไปช่วยต้องปลอดภัยด้วย
เพราะเคยมีเครื่องลื่นหลุดออกไปจอดข้างๆ RWY แล้วคนไม่กล้าเข้าไปที่อากาศยานเพราะฟ้าคะนองอยู่
แล้วเห็นว่าเครื่องจมอยู่ข้างทางวิ่งไม่เสียหายอะไรจึงรอให้ฟ้าคะนองหมดไปก่อน
1.3 ทัศนะวิสัย ถ้ากลางวันเห็นชัดว่าเกิดเหตุ และอยู่ที่ไหน
แต่ถ้าเกิดตอนกลางคืนแถมมีหมอกหรือฝนตก แทบจะไม่เห็นว่าเกิดอะไรขึ้นเลย แม้หอบังคับการบินยังมองไม่เห็น
ลองสังเกตตอนกลางคืนขณะที่เวลาเครื่องบิน TAXI ไปวิ่งขึ้น/เพิ่งลงมาลองมองไปรอบๆเครื่องบิน
ว่าเห็นอะไรบ้าง มืดตึ๊บ คือถ้าไม่เกิดไฟลุก หรือประกายไฟแถบไม่รู้เลยว่าเกิดอุบัติเหตุแล้ว
1.4 ลักษณะของการเกิดเหตุ เช่นเครื่องบินจมลงในดินทำให้ท้องเครื่องไปติดดินเปิดประตูสินค้าออกมาไม่ได้
ส่วนใหญ่ปัญหาจะเกิดกับ 737 เพราะท้องเครื่องต่ำ
หรือ กรณีเครื่องบินไฟไหม้เครื่องยนต์ขวาที่สิงคโปร์ ปกติเมื่อเกิดเหตุจะมีการยิง Slide ให้ผู้โดยสารออกมาเร็วที่สุด
แต่กรณีนี้เค้าตัดสินใจไม่ยิง Slide รอรถดับเพลิงมาดับไปให้สงบก่อนแล้วเอารถบันไดไปรับออกมาจากเครื่อง
ขึ้นอยุ่กับการพิจารณาเงื่อนไขว่าจะต้องเอาผู้โดยสารออกมาเร็วที่สุดหรือไม่
กรณีนี้อาจจะพิจารณาแล้วว่าขืนเปิดประตูยิง slide ผู้โดยสารจะต้องออกด้านซ้ายด้านเดียว
แถมอาจจะทำให้กีดขวางการดับไฟทำให้ล่าช้า และผู้โดยสารอาจเกิดอันตรายถ้าออกมาลงเดินบนพิ้น
การประสานการ เงื่อนไขของกฎระเบียบ ความพร้อมของอุปกรณ์
2.1 ท่าอากาศยานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการกู้ภัย บางที่ไม่มีรถรับผู้โดยสาร ไปรับคนออกมาจากสถานที่เกิดเหตุ
คือพอเกิดเหตุ จะมีรถดับเพลิง รถพยาบาล ไประงับเหต
แต่พอการย้ายผู้โดยสารเหตุจากที่เกิดเหตุไกลจากอาคารผู้โดยสาร
ส่วนใหญ่จะประสานใช้ของสายการบิน ถ้าตามสนามบินใหญ่มีสายการบินที่ให้บริการรถขับส่งผู้โดยสารในลานจอดใช้อยู่
แต่ต้องให้การท่าขับนำรถรับผู้โดยสารที่ที่เกิดเหตุและขับนำกลับเข้าอาคาร
แต่ตามสนามบินบางที่ ที่โดยปกติให้ผู้โดยสารเดินออกจากอาคารไปขึ้นเครื่องบินที่จอดใกล้ๆ
จึงไม่มีรถรับส่งผู้โดยสารจะไปรับจากที่เกิดเหตุมาอาคารผู้โดยสารจึงไม่พร้อมเท่าไหร่
2.2 กรณีที่เกิดอุบัติเหต อุบัติการณ์ หลังจากช่วยเหลือคนออกมาแล้ว
ส่วนใหญ่เครื่องบินจะถูกพิทักษ์ ห้ามเคลื่อนย้าย หรือ เข้าไปเอาของออกมา
เพราะต้องมีการสอบสวนสาเหตุของการเกิดอุบัติเหต อุบัติการณ์
หลังการสอบสวนแล้วถึงจะให้เคลื่อนย้ายออกจากที่เกิดเหตุ หรือ เข้าไปเอาสัมภาระออกมาได้
ดังนั้นจึงมีความล่าช้าของการรอคณะสอบสวนที่ต้องรอจากกรุงเทพไปยังสนามบินต่างจังหวัด
หรือ ระยะเวลาเก็บหลักฐานหรือสวบสวนที่เกิดเหต อันมีผลให้สัมภาระผู้โดยสารได้รับล่าช้า
ดังนั้นสนามบินโดยเฉพาะที่มี RWY เดียว ต้องปิดทำการจนกว่าการสอบสวนเสร็จก่อน แล้วย้ายเครื่องบินไม่กีดขวางการจราจร
จึงกลับมาเปิดทำการได้อีกครั้ง เพราะมี RWY เดียว
ข้อนี้เคยได้ยินว่า มีสนามบินแห่งหนึ่งในต่างประเทศเครื่องบินลงมาแล้วเกิดอุบัติเหตุ
เครื่องบินเสียหายอยู่ข้างๆ RWY หลังจากทำช่วยคนเรียบร้อย ต้องรีบเก็บหลักฐาน สวนสวนที่เกิดเหตุอย่างด่วน
เนื่องจากสนามบินนี้มีการจราจรทางอากาศคับคั่งมากทั้งๆที่มี 2 RWY เหลือใช้วิ่งขึ้นลงได้แค่เส้นเดียว
จำเป็นต้องนำซากออกจากสนามบินให้เร็วที่สุดเพื่อมิให้กีดขวางการจราจรทางอากาศของสนามบิน
เลยทำการรีบตัดซากเครื่องบินแล้วรีบขนออกการที่เกิดเหตุ แทนที่จะทำการย้ายเครื่องออกแบบทั้งลำซึ่งใช้เวลานานกว่า
ทำให้มีการฟ้องร้องไล่หลังว่าท่าอากาศยานไปทำลายทรัพย์สินของสายการบิน
เพราะในมุมสนามบินที่มีหนาแน่นจัดๆ 24ชม. การจราจรลดเหลือ 60% เพราะ RWY ปิด
แต่ผลคือเที่ยวบินตกค้างจำนวนมาก ทำให้ต้องยกเลิก หรือ delay ออกไปมากมาย
ส่วนเจ้าของเครื่อง อยากเอาเครื่องออกมาให้เสียหายน้อยที่สุด
2.3 ส่วนการประสานงาน ช่วยเหลือ กู้ภัยเวลาเกิดเหตุจริงๆ ย่อมไม่เหมือนกับการซ้อม
ทั่วๆไปมีข้อกำหนดให้มีการซักซ้อม หรือจำลองเหตการณ์ เพื่อให้พร้อมสำหรับเหตุการณ์จริง
แต่การซ้อมคือคนครบ อุปกรณ์พร้อม แถมคนซ้อม เตี้ยมกันไว้ล่วงหน้า
ไม่เหมือนกับตอนเกิดเหตุจริง
คนอยู่ไม่ได้ซ้อม คนตัดสินใจได้ไม่อยู่ อุปกรณ์ใช้ได้ไม่ครบรออะไหล่ เที่ยวบินสุดท้ายของวันพนักงานบางส่วนกลับบ้านไปแล้ว
ปัจจัย เงื่อนไขทับซ้อนหลายอย่าง ทำให้ไม่สมบูรณ์ ย่อมล่าช้า บกพร่อง เป็นธรรมดา
2.4 บางทีผู้โดยสารคิดว่าออกจากเครื่องให้เร็วที่สุดดีที่สุด
แต่ทางลูกเรือเค้ามีข้อพิจารณาหลายอย่างนะครับ บางครั้งยังไม่ให้ออก มีไฟไหม้ด้านหนึ่งอยู่ยิง slide ด้านนั้นไม่ได้
อันนี้ขึ้นกับสถานการณ์นะครับ
คือบางทีมันไม่ฉุกเฉินแค่ยางแตกไปต่อไม่ได้ รอรถบันไดเทียบก้อได้
บางทีเครื่องไถลหลุดบนพื้นดินข้างๆ ทางวิ่ง รถบันไดเข้าเทียบไม่ได้ เครื่องไม่ได้เสียหายอะไร
รอคนมาช่วยเปิด รอรถมารับดีกว่าเอาผู้โดยสารไปยืนรอบนพื้นดินเปียกๆแฉะๆ
หรือ ฝนตกหนักฟ้าผ่าอยู่เอาผู้โดยสารออกลงมารอที่พื้น แล้วจะไปหลบฝนที่ไหน หรือ อาจโดนฟ้าผ่าได้
ดังนั้นมีหลายปัจจัยในการพิจารณาเอาผู้โดยสารออกลงมาจากเครื่องหลังเกิดเหตุ
ส่วนการสื่อสารให้ผู้โดยสารทราบ บางทีนักบินซึ่งเป็นผู้ติดต่อกับหน่วยงานที่ช่วยเหลือต่างๆ
ได้พยายามติดต่อแล้ว แต่บางครั้งไม่ได้รับคำตอบกลับมา จึงไม่สามารถให้ข้อมูลที่ครบถ้วน ทันทีได้
เช่น จะมีรถมารับเมื่อไหร่ ก้อเมื่อติดต่อน่วยงานภาคพื้นไปแล้วแต่ยังไม่สามารถจัดรถมารับได้ จึงไม่สามารถเปิดประตูเอาคนลงได้
ส่วนใหญ่สนามบินในประเทศไทย มี RWY เดียว หมายความว่าเมื่อมีเครื่องไปกีดขวางทางวิ่งขึ้นลง
สนามบินต้องปิดไปจนกว่าจะเคลื่นย้ายเครื่องออกมาได้ ทั้งนี้ขึ้นกับระดับความเสียหายของตัวเครื่องบินด้วย
เลยอยากเอามาแชร์ ให้เห็นปัจจัยต่างๆ ต่อการเข้าไปช่วยเหลือ เมื่ออากาศยานประสบเหตุในท่าอากาศยาน
มาแชร์เมื่อ เครื่องบินประสบเหตุในสนามบิน
เครื่องไถลออกนอกทางวิ่ง ทำไมการเอารถมารับ มาลากเครื่องมันถึงต้องรอเร็วบ้าง ช้าบ้าง
เลยอยากมาแชร์ เท่าที่เคยทราบ ถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกัน
ก่อนอื่นต้องมาปูพื้นกันก่อนว่า ในบริเวณพื้นที่สนามบินมีผู้เกี่ยวข้องใครบ้าง
1. สายการบิน เป็นเจ้าของเครื่องบิน ให้บริการขนส่งผู้โดยสาร cargo
2. บ.ผู้ให้บริการภาคพื้น ให้บริการทั้งอุปกรณ์และ/หรือ บุคลากร
อาจเป็นเจ้าของเดียวกันกับสายการบินก้อได้ หรือ ไม่เกี่ยวข้องเลยก้อได้
หรือ บางที่เป็นของการท่าอากาศยานนั้นๆ
ตั้งแต่ รถรับผู้โดยสาร รถดันเครื่องบิน รถขนกระเป๋า พนักงานขนกระเป๋า พนักงานรถบันได
พนักงาน check-in พนักงานดูแลผู้โดยสารในท่าอากาศยาน
ในไทยส่วนใหญ่แล้วเป็นของสายการบิน และไปให้บริการสายการบินอื่นด้วยก้อได้ หรือ บ.ที่ได้รับสัมปะทาน
3. เจ้าหน้าที่ควบคุมการจราจรทางอากาศ ทำหน้าที่ ดูแล กำกับการจราจรทางอากาศ ของไทยคือ บ.วิทยุการบิน
4. ท่าอากาศยาน มีหน้าที่ดูแล ควบคุม บริหารกิจการของตัวสนามบิน ดูแลความรักษาปลอดภัย ดับเพลิงทั้งอากาศยาน และ อากาศต่างๆ
ที่อยู่ในบริเวณท่าอากาศยาน ของไทยมีผู้รับผิดชอบ 2 เจ้าคือ
บ.ท่าอากาศยานไทย มี 6 แห่งคือ สุวรรณภูมิ / ดอนเมือง / เชียงใหม่ / เชียงราย / ภูเก็ต / หาดใหญ่
ท่าอากาศยานไทย
และ กรมท่าอากาศยาน ที่ขึ้นตรงกับกระทรวงคมนาคม มี 29 แห่ง
กรมท่าอากาศยานไทย
5. สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย คือผู้คุมกฎระเบียบต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการบินทั้งหมด
เพื่อให้เป็นมาตรฐานสากล กำกับ ดูแล ควบคุม ให้ผู้บริการในส่วนต่างๆทั้งข้อ 1-4 ให้มีมาตรฐานตามที่กำหนดอยู่เสมอ
CAAT
6. เจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่เกี่ยวข้องต่างๆ เช่น ตรวจคนเข้าเมือง , ศุลกากร , ควบคุมโรคติดต่อ
ข้อสังเกต
บริเวณเขตท่าอากาศยาน หรือสนามบิน หน่วยงานอื่นๆไม่สามารถเข้าไปโดยพละการได้
หมายความว่าในพิ้นที่ของท่าอากาศยานหรือสนามบินนั้นอยู่ในความรับผิดชอบของท่าอากาศยาน
พอเข้ารั้วสนามบินการดูแลรับผิดชอบทั้งหมดเป็นของท่าอากาศยาน
ส่วนท่าอากาศยานจะดูแลเอง หรือ จ้างให้ใครดูแลรับผิดชอบ หรือ ให้สัมปะทานบริษัทไหนดำเนินการ
เช่น
การให้บริการรถพยาบาลที่อยู่ในสนามบิน ทั้งนี้เพราะมีข้อปฏิบัติกำหนดวิธีต่างๆที่ต้องทราบและปฏิบัติให้ถูกต้อง
และ ไม่ได้เซ็นเป็นคู่สัญญากับทางสนามบิน ไม่ใช่ผู้โดยสารไปติดต่อเองแล้วขอเข้าไปรับหรือส่งถึงเครื่องบินไม่ได้
หรือ
กรณีเครื่องบินออกนอกทางวิ่ง หรือไปจอดเสียกลางลานจอดหรือทางวิ่ง ทางขับ
สายการบินอยู่ๆจะเอารถวิ่งเข้าไปรับผู้โดยสารที่เครื่องไม่ได้ จะต้องมีรถของการท่า ประสานกับหอบังคับการบินนำเข้าไปที่เครื่องบิน
คราวนี้มาดูว่าเมื่อเครื่องบินประสบอุบัติเหตต่างๆในบริเวณสนามบิน ปัจจัยเงื่อนไขการเข้าไปช่วยเหลือมีไรบ้าง
อุปสรรคทางกายภาพ
1.1 ตำแหน่งที่เกิด ว่าห่างไกลจากตัวอาคารผู้โดยสารแค่ไหน อย่างลืมว่าตัว RWY อย่างเดียวมันยาวอย่างน้อย 2.5 กม. จนถึง 4 กม.
แล้วปกติเวลาเกิดส่วนใหญ่จะเกิดบริเวณปลายสุด RWY ส่วนใหญ่อาคารผู้โดยสารอยู่ตรงกลางหมายความว่าบริเวณที่เกิดอยู่ห่างไป 2 กม.
แล้วถ้าอาคารผู้โดยสารอยู่ปลายด้านในด้านหนึ่ง เช่น ภูเก็ต ตามรูปล่างนี้ จะยิ่งใช้เวลาเพิ่มเท่าไหร่ ถ้าเกิดปลาย RWY ด้านไกล
1.2 ฝนตกฟ้าคะนอง เช่น ระหว่างเกิดมีฝนตก ฟ้าร้องฟ้าผ่า ต้องนึกถึงว่าบริเวณสนามบินเป็นที่ราบกว้างๆ
แล้วมีกระโดงหางเครื่องบินแหลมยื่นขึ้นไปบนอากาศโดดๆ ฟ้าผ่าเครื่องได้ง่ายๆ ขนาดที่เครื่องจอดอยู่ที่อาคารผู้โดยสารที่มีสายล่อฟ้าอยู่แล้ว
เมื่อเวลามีการแจ้งเตือนฟ้าผ่า ฟ้าคะนอง การให้บริการที่เกี่ยวข้องในลานจอด ตามกฎต้องหยุดทำงาน แล้วหาที่กำบัง
เคยมีฟ้าผ่าเครื่องบิน ไฟฟ้าไหลลงมาดูดคนที่กำลังเปิดประตูสินค้า ตกลงมาบาดเจ็บหลายราย
ดังนั้นการเข้าไปช่วยอากาศยาน คนไปช่วยต้องปลอดภัยด้วย
เพราะเคยมีเครื่องลื่นหลุดออกไปจอดข้างๆ RWY แล้วคนไม่กล้าเข้าไปที่อากาศยานเพราะฟ้าคะนองอยู่
แล้วเห็นว่าเครื่องจมอยู่ข้างทางวิ่งไม่เสียหายอะไรจึงรอให้ฟ้าคะนองหมดไปก่อน
1.3 ทัศนะวิสัย ถ้ากลางวันเห็นชัดว่าเกิดเหตุ และอยู่ที่ไหน
แต่ถ้าเกิดตอนกลางคืนแถมมีหมอกหรือฝนตก แทบจะไม่เห็นว่าเกิดอะไรขึ้นเลย แม้หอบังคับการบินยังมองไม่เห็น
ลองสังเกตตอนกลางคืนขณะที่เวลาเครื่องบิน TAXI ไปวิ่งขึ้น/เพิ่งลงมาลองมองไปรอบๆเครื่องบิน
ว่าเห็นอะไรบ้าง มืดตึ๊บ คือถ้าไม่เกิดไฟลุก หรือประกายไฟแถบไม่รู้เลยว่าเกิดอุบัติเหตุแล้ว
1.4 ลักษณะของการเกิดเหตุ เช่นเครื่องบินจมลงในดินทำให้ท้องเครื่องไปติดดินเปิดประตูสินค้าออกมาไม่ได้
ส่วนใหญ่ปัญหาจะเกิดกับ 737 เพราะท้องเครื่องต่ำ
หรือ กรณีเครื่องบินไฟไหม้เครื่องยนต์ขวาที่สิงคโปร์ ปกติเมื่อเกิดเหตุจะมีการยิง Slide ให้ผู้โดยสารออกมาเร็วที่สุด
แต่กรณีนี้เค้าตัดสินใจไม่ยิง Slide รอรถดับเพลิงมาดับไปให้สงบก่อนแล้วเอารถบันไดไปรับออกมาจากเครื่อง
ขึ้นอยุ่กับการพิจารณาเงื่อนไขว่าจะต้องเอาผู้โดยสารออกมาเร็วที่สุดหรือไม่
กรณีนี้อาจจะพิจารณาแล้วว่าขืนเปิดประตูยิง slide ผู้โดยสารจะต้องออกด้านซ้ายด้านเดียว
แถมอาจจะทำให้กีดขวางการดับไฟทำให้ล่าช้า และผู้โดยสารอาจเกิดอันตรายถ้าออกมาลงเดินบนพิ้น
การประสานการ เงื่อนไขของกฎระเบียบ ความพร้อมของอุปกรณ์
2.1 ท่าอากาศยานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการกู้ภัย บางที่ไม่มีรถรับผู้โดยสาร ไปรับคนออกมาจากสถานที่เกิดเหตุ
คือพอเกิดเหตุ จะมีรถดับเพลิง รถพยาบาล ไประงับเหต
แต่พอการย้ายผู้โดยสารเหตุจากที่เกิดเหตุไกลจากอาคารผู้โดยสาร
ส่วนใหญ่จะประสานใช้ของสายการบิน ถ้าตามสนามบินใหญ่มีสายการบินที่ให้บริการรถขับส่งผู้โดยสารในลานจอดใช้อยู่
แต่ต้องให้การท่าขับนำรถรับผู้โดยสารที่ที่เกิดเหตุและขับนำกลับเข้าอาคาร
แต่ตามสนามบินบางที่ ที่โดยปกติให้ผู้โดยสารเดินออกจากอาคารไปขึ้นเครื่องบินที่จอดใกล้ๆ
จึงไม่มีรถรับส่งผู้โดยสารจะไปรับจากที่เกิดเหตุมาอาคารผู้โดยสารจึงไม่พร้อมเท่าไหร่
2.2 กรณีที่เกิดอุบัติเหต อุบัติการณ์ หลังจากช่วยเหลือคนออกมาแล้ว
ส่วนใหญ่เครื่องบินจะถูกพิทักษ์ ห้ามเคลื่อนย้าย หรือ เข้าไปเอาของออกมา
เพราะต้องมีการสอบสวนสาเหตุของการเกิดอุบัติเหต อุบัติการณ์
หลังการสอบสวนแล้วถึงจะให้เคลื่อนย้ายออกจากที่เกิดเหตุ หรือ เข้าไปเอาสัมภาระออกมาได้
ดังนั้นจึงมีความล่าช้าของการรอคณะสอบสวนที่ต้องรอจากกรุงเทพไปยังสนามบินต่างจังหวัด
หรือ ระยะเวลาเก็บหลักฐานหรือสวบสวนที่เกิดเหต อันมีผลให้สัมภาระผู้โดยสารได้รับล่าช้า
ดังนั้นสนามบินโดยเฉพาะที่มี RWY เดียว ต้องปิดทำการจนกว่าการสอบสวนเสร็จก่อน แล้วย้ายเครื่องบินไม่กีดขวางการจราจร
จึงกลับมาเปิดทำการได้อีกครั้ง เพราะมี RWY เดียว
ข้อนี้เคยได้ยินว่า มีสนามบินแห่งหนึ่งในต่างประเทศเครื่องบินลงมาแล้วเกิดอุบัติเหตุ
เครื่องบินเสียหายอยู่ข้างๆ RWY หลังจากทำช่วยคนเรียบร้อย ต้องรีบเก็บหลักฐาน สวนสวนที่เกิดเหตุอย่างด่วน
เนื่องจากสนามบินนี้มีการจราจรทางอากาศคับคั่งมากทั้งๆที่มี 2 RWY เหลือใช้วิ่งขึ้นลงได้แค่เส้นเดียว
จำเป็นต้องนำซากออกจากสนามบินให้เร็วที่สุดเพื่อมิให้กีดขวางการจราจรทางอากาศของสนามบิน
เลยทำการรีบตัดซากเครื่องบินแล้วรีบขนออกการที่เกิดเหตุ แทนที่จะทำการย้ายเครื่องออกแบบทั้งลำซึ่งใช้เวลานานกว่า
ทำให้มีการฟ้องร้องไล่หลังว่าท่าอากาศยานไปทำลายทรัพย์สินของสายการบิน
เพราะในมุมสนามบินที่มีหนาแน่นจัดๆ 24ชม. การจราจรลดเหลือ 60% เพราะ RWY ปิด
แต่ผลคือเที่ยวบินตกค้างจำนวนมาก ทำให้ต้องยกเลิก หรือ delay ออกไปมากมาย
ส่วนเจ้าของเครื่อง อยากเอาเครื่องออกมาให้เสียหายน้อยที่สุด
2.3 ส่วนการประสานงาน ช่วยเหลือ กู้ภัยเวลาเกิดเหตุจริงๆ ย่อมไม่เหมือนกับการซ้อม
ทั่วๆไปมีข้อกำหนดให้มีการซักซ้อม หรือจำลองเหตการณ์ เพื่อให้พร้อมสำหรับเหตุการณ์จริง
แต่การซ้อมคือคนครบ อุปกรณ์พร้อม แถมคนซ้อม เตี้ยมกันไว้ล่วงหน้า
ไม่เหมือนกับตอนเกิดเหตุจริง
คนอยู่ไม่ได้ซ้อม คนตัดสินใจได้ไม่อยู่ อุปกรณ์ใช้ได้ไม่ครบรออะไหล่ เที่ยวบินสุดท้ายของวันพนักงานบางส่วนกลับบ้านไปแล้ว
ปัจจัย เงื่อนไขทับซ้อนหลายอย่าง ทำให้ไม่สมบูรณ์ ย่อมล่าช้า บกพร่อง เป็นธรรมดา
2.4 บางทีผู้โดยสารคิดว่าออกจากเครื่องให้เร็วที่สุดดีที่สุด
แต่ทางลูกเรือเค้ามีข้อพิจารณาหลายอย่างนะครับ บางครั้งยังไม่ให้ออก มีไฟไหม้ด้านหนึ่งอยู่ยิง slide ด้านนั้นไม่ได้
อันนี้ขึ้นกับสถานการณ์นะครับ
คือบางทีมันไม่ฉุกเฉินแค่ยางแตกไปต่อไม่ได้ รอรถบันไดเทียบก้อได้
บางทีเครื่องไถลหลุดบนพื้นดินข้างๆ ทางวิ่ง รถบันไดเข้าเทียบไม่ได้ เครื่องไม่ได้เสียหายอะไร
รอคนมาช่วยเปิด รอรถมารับดีกว่าเอาผู้โดยสารไปยืนรอบนพื้นดินเปียกๆแฉะๆ
หรือ ฝนตกหนักฟ้าผ่าอยู่เอาผู้โดยสารออกลงมารอที่พื้น แล้วจะไปหลบฝนที่ไหน หรือ อาจโดนฟ้าผ่าได้
ดังนั้นมีหลายปัจจัยในการพิจารณาเอาผู้โดยสารออกลงมาจากเครื่องหลังเกิดเหตุ
ส่วนการสื่อสารให้ผู้โดยสารทราบ บางทีนักบินซึ่งเป็นผู้ติดต่อกับหน่วยงานที่ช่วยเหลือต่างๆ
ได้พยายามติดต่อแล้ว แต่บางครั้งไม่ได้รับคำตอบกลับมา จึงไม่สามารถให้ข้อมูลที่ครบถ้วน ทันทีได้
เช่น จะมีรถมารับเมื่อไหร่ ก้อเมื่อติดต่อน่วยงานภาคพื้นไปแล้วแต่ยังไม่สามารถจัดรถมารับได้ จึงไม่สามารถเปิดประตูเอาคนลงได้
ส่วนใหญ่สนามบินในประเทศไทย มี RWY เดียว หมายความว่าเมื่อมีเครื่องไปกีดขวางทางวิ่งขึ้นลง
สนามบินต้องปิดไปจนกว่าจะเคลื่นย้ายเครื่องออกมาได้ ทั้งนี้ขึ้นกับระดับความเสียหายของตัวเครื่องบินด้วย
เลยอยากเอามาแชร์ ให้เห็นปัจจัยต่างๆ ต่อการเข้าไปช่วยเหลือ เมื่ออากาศยานประสบเหตุในท่าอากาศยาน