น้ำฝนได้รับไนโตรเจนจากอากาศ จึงทำให้พืชที่ได้น้ำฝน ออกดอกแทงยอด จริงหรือ

ผมเห็นมีในเวปหลายเวป ทั้งส่วนของราชการ พูดถึงกรณีที่ พืชได้รับน้ำฝนแล้วออกดอกสดชื่น โดยเปรียบเทียบกับการรดน้ำด้วยน้ำประปา แล้วให้เหตุผลว่า เพราะมีไนโตรเจนผสมในน้ำฝน โดยหลักการว่า ฟ้าผ่าให้พลังงาน N2 ในอากาศ แตกตัวตัวเป็น แล้วเกิด NO และ NO2 และ HNO3 ในที่สุด อ้างอิงตามลิงค์ข้างล่างนะครับ (มีหลายที่ แต่ขอยกตัวอย่างอันเดียวพอ) และก็ตกลงไปสู่ดิน และต่อไปอีก

http://www.reo04.mnre.go.th/th/news/detail/80728/

คำถามคือ คำอธิบายข้างบนมันน่าเหลือเชื่อจริงๆ ผมไม่คิดว่าในน้ำฝนจะมี N2 ในรูป HNO3 ละลายอยู่แบบมีนัยสำคัญ และหลักการก็ฟังดูทะเม่งๆ จึงอยากทราบความเห็นของชาวพันทิปหน่อยครับ ว่าจริงหรือ

ส่วนตัว ผมว่า ปริมาณน้ำฝน กับ รดน้ำแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงครับ ทำให้ ต้นไม้ได้รับน้ำแตกต่างกัน
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 7
A 2004 study of the chemical composition of rainwater at 48 sites in 31 states found nitrates in nearly all the samples, although a high degree of variation existed in both time and space. Several studies in the 1990s showed that locations along the coast of the Gulf of Mexico could expect to get 18 pounds of ammonium and nitrates per acre per year from rainwater. That's about a tenth of typical nitrogen requirements for growing crops.

ในปี 2004 ได้มีการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของน้ำฝนเป็นจำนวน 48 จุดใน 31 รัฐพบไนเตรดเกือบทุกชุดตัวอย่าง แม้ว่าปริมาณความเข้มข้นจะต่างกันไปตามเวลาและสถานที่ การศึกษาหลายๆ ครั้งในช่วงปี 1990 แสดงให้เห็นว่าสถานที่ตามชายฝั่งอ่าวเมกซิโกมี ammonium และไนเตรดเป็นจำนวน 18 ปอนด์ต่อเอเคอร์ต่อปีในน้ำฝน ปริมาณที่พบมีความเข้มข้นเป็นสิบเท่าของปริมาณไนโตรเจนที่พืชต้องการ

https://sciencing.com/rainwater-contain-nitrogen-8461.html
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่