♦️♦️♦️♦️/มาลาริน/เรื่องจริงไม่มุ้งมิ้งค่ะ..ไทยผงาดรั้งอันดับ1ประเทศเหมาะเริ่มธุรกิจที่สุดในโลก ดัชนีเชื่อมั่นฯเริ่มฟื้น

ไทยผงาด รั้งอันดับ 1 ประเทศเหมาะเริ่มธุรกิจที่สุดในโลก

วันที่ 23 ก.ค. 2563 เวลา 12:27 น.



ประเทศไทยขึ้นแท่นอันดับ 1 ประเทศที่เหมาะสำหรับการเริ่มต้นธุรกิจที่สุดในโลก 2 ปีซ้อน
 
เว็บไซต์ U.S. News & World Report ซึ่งเป็นสำนักข่าวที่เผยแพร่ข่าว ความเห็น และการจัดอันดับต่างๆ ที่ได้รับความนิยมและมีอิทธิพลต่อชาวอเมริกันได้เผยแพร่ผลการจัดอันดับประเทศที่เหมาะในการเริ่มต้นธุรกิจมากที่สุดในโลกประจำปี 2020 (Best Countries to Start a Business) โดยพบว่า...♦️

ประเทศไทย ยังคงรักษาอันดับ 1 ประเทศที่เหมาะสมในการเริ่มต้นธุรกิจที่สุด จากประเทศที่สำรวจทั้งหมด 73 ประเทศ

U.S.News ซึ่งได้ใช้รายงานของธนาคารโลกในการจัดอันดับระบุว่า ประเทศไทยยังรักษาอันดับหนึ่งของการจัดอันดับมาตั้งแต่ปี 2019 โดยการเริ่มต้นทำธุรกิจในไทยใช้เวลาเพียง 6 วันกับ 5 ขั้นตอนที่ไม่ซับซ้อน ทั้งยังมีค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมต่ำกว่าประเทศอื่นๆ
 
นอกจากไทยแล้ว ประเทศอื่นๆ ในเอเชียยังติดอันดับท็อป 5 ด้วย อาทิ

มาเลเซีย อันดับ 2 โดยเป็นการขยับจากอันดับ 5 ของตารางเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งการเริ่มต้นทำธุรกิจในมาเลเซียต้องใช้เวลา 17 วันครึ่ง กับ 8.5 ขั้นตอน

อันดับ 3 คือ จีน ใช้เวลา 9 วัน กับ 4 ขั้นตอน นับตั้งแต่ปีที่แล้ว ทางการจีนเริ่มอำนวยความสะดวกในการเริ่มต้นธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นบริการจดทะเบียนบริษัทผ่านช่องทางออนไลน์ และทำให้การจดทะเบียนประกันสังคมง่ายขึ้น

ส่วนสิงคโปร์อยู่ในอันดับ 4 ที่ใช้เวลา 1 วันครึ่ง กับ 2 ขั้นตอน ตามด้วยอินเดีย ที่ต้องรอ 18 วัน กับ 10 ขั้นตอนในการดำเนินการ

ทั้งนี้ การวิจัยชิ้นนี้ทำการสอบถามบุคคลในวงการธุรกิจเกือบ 6,000 คนทั่วโลก โดยพิจารณาจากระบบราชการ ต้นทุนการผลิต การเชื่อมต่อกับประเทศอื่นๆ ในโลก และการเข้าถึงแหล่งเงินทุน

https://www.posttoday.com/world/629059

ดัชนีเชื่อมั่นฯเริ่มผงกหัวหลังปลดล็อคโควิด จี้รัฐเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม



ส.อ.ท. ชี้ รัฐบาลมาถูกทางคลายล็อคโควิด ดันดัชนีเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือนมิ.ย.ดีขึ้น ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 เสนอแต่ยังห่วงกำลังซื้อในประเทศยังไม่คึกคัก วอนรัฐเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจภูมิภาค โดยเฉพาะอีอีซี
 
นายสุพันธุ์  มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยถึง ผลการสำรวจ ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน 2563 อยู่ที่ระดับ 80.0 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 78.4 ในเดือนพฤษภาคม 2563 โดยค่าดัชนีฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 มีปัจจัยบวกจากการที่รัฐบาลผ่อนปรนมาตรการควบคุมโควิด-19 ระยะที่ 3 และ 4

รวมทั้งยกเลิกคำสั่งห้ามออกนอกเคหะสถาน (เคอร์ฟิวส์) ทำให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้มากขึ้น ขณะที่ด่านการค้าชายแดนเริ่มทยอยเปิดในหลายพื้นที่ส่งผลดีต่อการส่งออกสินค้าไทย นอกจากนี้ตลอดเดือนมิถุนายนจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 รายวันอยู่ในระดับต่ำ ทำให้ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นมากขึ้น



สำหรับดัชนีฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 90.1 โดยลดลงจากระดับ 91.5 ในเดือนพฤษภาคม 2563 เนื่องจากผู้ประกอบการมีความกังวล  ต่อกำลังซื้อในประเทศลดลงในช่วง   3 เดือนข้างหน้าจากความเปราะบางเศรษฐกิจ และความกังวลเกี่ยวกับการกลับมาระบาดของไวรัสโควิด-19 ในระลอกสอง ขณะที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจในช่วงฤดูฝนมีไม่มากนัก ดังนั้นมาตรการภาครัฐฟื้นฟูเศรษฐกิจภายหลังจากโควิด-19 มีความสำคัญต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้า

นายสุพันธุ์  กล่าวว่า  ภาคเอกชนได้จัดทำข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลในการพยุงภาคธุรกิจ ดังนี้....♦️

1 ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น ขอให้การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐสนับสนุนการซื้อสินค้าที่ผลิตในประเทศไทย (Made in Thailand) เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ

2. ขอให้บรรษัทอุตสาหกรรมสินเชื่อขนาดย่อม( บสย. ) เข้ามาค้ำประกันสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ปล่อยกู้ตามวงเงินกู้ ธปท. 5 แสนล้านบาทต่อหลังจากหมด พ.ร.ก. เงินกู้ฯ เพื่อจูงใจให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อให้ผู้ประกอบการได้ง่ายขึ้น

3. ออกมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพิ่มเติม เพื่อดึงดูดนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในส่วนภูมิภาคโดยเฉพาะในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)

https://www.posttoday.com/economy/news/629057#cxrecs_s

♦️เป็นประเทศที่ง่ายต่อการทำธุรกิจ 

♦️ดัชนีเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเริ่มฟื้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2

นับว่าเป็นเรื่องที่ดีของประเทศค่ะ.....😉

คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 46

EEC “ทำเลทอง” การลงทุนระดับโลก

5 เมษายน 2560 ถือเป็นก้าวแรก ที่รัฐบาลได้เริ่มเดินหน้าพัฒนาพื้นที่เขตส่งเสริมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (หรือ Eastern Economic Corridor : EEC)

1. การลงทุนเพื่ออนาคต...โดยการเชื่อมต่อโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งทางถนนเชื่อมต่อการเดินทางขนส่งทั่วทั้งประเทศ
(1) ทางรางรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน
(2) ทางน้ำเชื่อม 2 ท่าเรือ
(3) ทางอากาศ คือ การยกระดับสนามบินอู่ตะเภา ให้เป็นทั้งศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน  และเป็นสนามบินเชื่อมต่อออกไปยังต่างประเทศ

2. รัฐบาลออกหลายมาตรการด้านสิทธิประโยชน์ ทั้งด้านกฎหมายการลงทุน ด้านภาษี เพื่อจูงใจให้บริษัทใหญ่ระดับโลก หันมาใช้ประเทศไทยเป็น "ศูนย์กลางในการพัฒนา ผลิต และกระจายสินค้า" ไปสู่อาเซียน และไปสู่ระดับโลก โดยไม่มีข้อจำกัด

3. การแบ่งการกำหนดโซน EEC ออกเป็น 5 พื้นที่
(1) โซนการบินภาคตะวันออก สนามบินอู่ตะเภา และศูนย์กลางของอุตสาหกรรมการบินอาเซียน
(2) โซนส่งเสริมนวัตกรรม ( EECi )
(3) โซนส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล ( EECd )
(4) โซนอุตสาหกรรม Smart Park
(5) โซนอุตสาหกรรมเหมราช ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง

ขนส่ง-เดินทางแบบไร้รอยต่อ

เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และรองรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการลงทุนที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต รัฐบาลจึงได้เร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขึ้นมารองรับการพัฒนา EEC เรียกว่า “ขนส่ง-เดินทางแบบไร้รอยต่อ” โดยแบ่งเป็น 4 โครงการหลัก

- ทางถนน: สร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) 3 เส้นทาง ได้แก่ กรุงเทพฯ-ชลบุรี, พัทยา-มาบตาพุด และแหลมฉบัง-นครราชสีมา เพื่อเชื่อมโยงระบบให้สมบูรณ์ และเพื่อแก้ไขปัญหาความแออัดของการจราจร ในการเดินทางเข้าสู่ภาคตะวันออก รวมทั้งต่อเชื่อมกับทางหลวง 7 สายหลักไปยังทุกภาคของประเทศ วงเงินรวม 35,300 ล้านบาท

- ทางราง : สร้างรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 ท่าอากาศยาน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2566 และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพรถไฟทางคู่ ช่วงฉะเชิงเทรารถไฟทางคู่ ช่วงหัวหมาก-ฉะเชิงเทรา-ศรีราชา และ โครงการรถไฟทางคู่ ช่วงศรีราชา-มาบตาพุด เชื่อม 3 ท่าเรือ โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2565 วงเงินรวม 306,673.86 ล้านบาท

- ทางอากาศ : พัฒนาสนามบินอู่ตะเภา ให้เป็นท่าอากาศยานเชิงพาณิชย์แห่งที่ 3 สามารถรองรับได้ 4,700 เที่ยวบินต่อปี รองรับผู้โดยสารได้ 3 ล้านคนต่อปี และสร้างเมืองการบินภาคตะวันออก (Aerotropolis) ผลักดันให้ EEC เป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรม และการขนส่งของอาเซียน คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2576 วงเงินรวม 200,000 ล้านบาท

- ทางน้ำ : พัฒนา 2 ท่าเรือหลัก คือ ท่าเรือแหลมฉบัง (ระยะที่ 3) และพัฒนาท่าเรือมาบตาพุด (ระยะที่ 3) เพื่อรองรับการนำเข้าส่งออกสินค้าและวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งรองรับการขยายตัวทางด้านธุรกิจปิโตรเคมีขั้นสูง และการนำเข้าก๊าซ LNG พลังงานสำคัญในการขับเคลื่อน EEC คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2567 วงเงินรวม 152,639.81 ล้านบาท

เมื่อระบบการขนส่งต่าง ๆ ซึ่งเป็นโครงพื้นฐานของ EEC มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ก็ช่วยให้ลดระยะเวลาการเดินทาง สามารถลดต้นทุนโลจิสติกส์ทำให้แข่งขันกับประเทศคู่แข่งได้มากขึ้น

ความมั่นคงด้านพลังงานและน้ำ

เมื่อมีโครงสร้างพื้นฐานที่ไร้รอยต่อแล้ว เรื่องของความมั่นคงด้านพลังงานและน้ำจึงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญเนื่องจากเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมต่าง ๆ รัฐบาลจึงได้มีการพัฒนาแผน ดังนี้

1. แผนความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้า โดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือ กฟภ. เตรียมพร้อมสำหรับการขยายความต้องการใช้ไฟฟ้า ทั้งในภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม ภาคการขนส่ง รวมทั้งในชุมชนเมืองใหม่ ภายใต้นโยบาย PEA 4.0 รวมทั้งยังส่งเสริมให้นำพลังงานแสงอาทิตย์ มาใช้ในเมืองใหม่เพิ่มมากขึ้นด้วย

2. แผนความมั่นคงด้านทรัพยากรน้ำ โดยการประปาส่วนภูมิภาค หรือ กปภ. ได้หาแหล่งน้ำต้นทุนที่มีคุณภาพดี และเพียงพอต่อความต้องการทุกภาคส่วนทั้งภาคประชาชน และใน EEC โดยมีการวางแผนในระยะสั้นและระยะยาว เพื่อแก้ปัญหาอย่างครบวงจรทั้งน้ำแล้งและน้ำท่วม รวมทั้งยังมีการส่งเสริมให้มีการผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเล (Desalination) ด้วย

หลักเกณฑ์ที่จูงใจนักลงทุน

นอกจากนี้ รัฐบาลปรับปรุงหลักเกณฑ์ต่าง ๆ เพื่อจูงใจบรรดานักลงทุนตัดสินใจง่ายขึ้น ที่จะนำเม็ดเงินเข้ามาลงทุนใน EEC ได้แก่

1. ด้านกฎหมาย : มีการปรับปรุงกฎหมายหลายฉบับ อาทิ กฎหมายว่าด้วยการขุดดินและถมดิน  กฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร กฎหมายว่าด้วยการจดทะเบียนเครื่องจักร กฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข กฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง เฉพาะเพื่อการอนุญาตให้คนต่างด้าวตามมาตรา 45(1) หรือ (2) อยู่ต่อในราชอาณาจักร กฎหมายว่าด้วยทะเบียนพาณิชย์ กฎหมายว่าด้วยโรงงาน และกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน

2. ด้านภาษี : โดยยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้ตามประเภทของกิจการและเทคโนโลยี นานสูงสุด 13 ปี (อาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมการลงทุน) การยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับ เครื่องจักร วัตถุดิบ ที่นำเข้ามาผลิตเพื่อส่งออก และของที่นำเข้า เพื่อการวิจัยและพัฒนา รวมทั้งจัดเก็บอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 17% กับผู้บริหาร ผู้เชี่ยวชาญ หรือนักวิจัย ที่มีคุณสมบัติตามที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมตามเป้าหมายที่ได้รับการส่งเสริมตามกฎหมายว่าด้วยการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ หรือ กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำที่สุดในอาเซียน

3. ด้านอื่น ๆ : ให้วีซ่าทำงานนานถึง 5 ปี เพื่อดึงดูดนักลงทุน ผู้เชี่ยวชาญ และนักวิทยาศาสตร์จากทั่วโลก โดยมีระบบ One-stop Service เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักลงทุน ให้บริการข้อมูลข่าวสาร การขออนุญาตที่เกี่ยวข้องกับการประกอบการ การค้า การส่งออก การนำเข้า เป็นบริการที่ครบวงจรในจุดเดียว รวมทั้งยังสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการลงทุน การวิจัย และพัฒนาการส่งเสริมนวัตกรรม หรือการพัฒนาบุคลากรเฉพาะด้านของกิจการในอุตสาหกรรมเป้าหมาย

ทั้งหมดนี้ ล้วนมีส่วนทำให้บรรดาโรงงานอุตสาหกรรมยานยนต์ชั้นนำของโลกอย่าง Nissan Toyota BMW บริษัทขนาดใหญ่จากประเทศจีนอย่าง Alibaba รวมทั้งบริษัทขนาดใหญ่อื่น ๆ ของโลก ต่างมีแผนที่จะใช้ EEC เป็นฮับ E-commerce และโลจิสติกส์ เพื่อใช้เป็นศูนย์กลางการส่งออกในภูมิภาคอาเซียน มีการส่งเสริมให้พัฒนาต่อเนื่องในหลายอุตสาหกรรม เช่น ประเภทอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมอุปกรณ์ยานยนต์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรกลและหุ่นยนต์ โดยเปิดเป็นศูนย์บุคลากรผู้เชียวชาญเฉพาะด้านขึ้น รวมทั้งยังมีการร่วมมือกันระหว่างการบินไทยและบริษัท Airbus ผู้ผลิตเครื่องบินระดับโลก เพื่อพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาไปสู่ศูนย์ซ่อมบำรุงท่าอากาศยานที่ทันสมัย

รัฐบาลตั้งเป้าหมายที่จะทำให้โครงการ EEC เป็นพื้นที่ตั้งโรงงานบนนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่และมีความสมบูรณ์แบบมากที่สุดในทุก ๆ ด้าน และพร้อมที่จะก้าวสู่การเป็น “พื้นที่ทำเลทอง” ของการลงทุนในระดับโลก สร้างทั้งรายได้และความเจริญมั่นคงให้กับประเทศ

(paper clip)รายละเอียดเพิ่มเติม : สำนักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี(สบนร.)
PMDU — https://www.pmdu.go.th/eec-to-golden-location-for-worldclass-investment/
https://www.facebook.com/PMOCNEWS/posts/323129835739012

*************

รัฐบาลเป็นปลื้ม!! สื่อสหรัฐฯ ยกไทย "เจ๋ง" ประเทศที่ดีที่สุดในการเริ่มต้นธุรกิจ
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
เว็บไซต์ข่าวชื่อดังของสหรัฐฯ อย่าง U.S. News & World Report เผยผลการจัดอันดับประเทศที่เหมาะสำหรับการเริ่มต้นธุรกิจมากที่สุดในโลก ประจำปี 2563 หรือ Best Countries to Start a Business 2020 โดยยกให้ "ประเทศไทย" เป็นอันดับที่ 1 ของโลก ประเทศที่ดีที่สุดในการเริ่มต้นธุรกิจ จากทั้งหมด 73 ประเทศทั่วโลก

10 อันดับแรก ประเทศที่เริ่มต้นทำธุรกิจดีที่สุดในโลก ได้แก่
1. ไทย
2. มาเลเซีย
3. จีน
4. สิงคโปร์
5. อินเดีย
6. ฟิลิปปินส์
7. เม็กซิโก
8. สวิตเซอร์แลนด์
9. อินโดนีเซีย
10. แคนาดา

นับเป็นสัญญาณที่ดีที่จะเรียกความเชื่อมั่นจากต่างชาติเข้ามาหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ดีขึ้น โดยเฉพาะด้านสาธารณสุข ที่ล่าสุดบุคลากรการแพทย์บ้านเราได้ทำการรักษาผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 หายแล้วกว่า 94% จากจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด ถือเป็นความสำเร็จอย่างมากในการป้องกันและรักษาโรคระบาดที่มีประสิทธิภาพ สมกับที่ได้รับการจัดอันดับ Top 6 ของโลก และเป็นอันดับ 1 ในเอเชีย ประเทศที่มีความมั่นคงด้านสาธารณสุขจาก ม.จอห์นส์ ฮอปกินส์ ของสหรัฐฯ ที่ได้ทำการสำรวจวิจัยจาก 195 ประเทศทั่วโลกในช่วงปลายปี 2562 ที่ผ่านมา

**************

ปลดล็อก เฟส 4 ดัน ดัชนีอุตฯขยับขึ้นต่อเนื่อง
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
หลังจากที่รัฐบาลผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรคโควิด-19  ทำให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้มากขึ้น  ส่งผลต่อความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน อยู่ที่ระดับ 80 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 แต่ยังคงต่ำกว่าระดับ 100

**************


ไทยขึ้นแท่นอันดับ 1 2 ปีซ้อน ประเทศที่เหมาะเริ่มธุรกิจมากที่สุดในโลก

#ไทยคู่ฟ้า นับเป็นแนวโน้มที่ดีอย่างต่อเนื่อง…เมื่อเว็บไซต์ข่าวชื่อดังของสหรัฐฯ อย่าง U.S. News & World Report ได้เผยแพร่ผลการจัดอันดับประเทศที่เหมาะสำหรับการเริ่มต้นธุรกิจมากที่สุดในโลก ประจำปี 2563 หรือ Best Countries to Start a Business 2020 โดยยกให้ "ประเทศไทย" ยังคงรักษาอันดับ 1 ประเทศที่เหมาะสมในการเริ่มต้นธุรกิจที่สุด จากทั้งหมด 73 ประเทศทั่วโลก

U.S. News ได้อ้างอิงรายงานของธนาคารโลกในการจัดอันดับระบุว่า ประเทศไทยยังรักษาอันดับ 1 ของการจัดอันดับมาตั้งแต่ปี 2562 โดยการเริ่มต้นทำธุรกิจในไทยใช้เวลาเพียง 6 วัน กับ 5 ขั้นตอนที่ไม่ซับซ้อน ทั้งยังมีค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมต่ำกว่าประเทศอื่น ๆ

อันดับ 2 คือ ประเทศมาเลเซีย ที่ขยับขึ้นมาจากอันดับ 5 ซึ่งการเริ่มต้นทำธุรกิจในมาเลเซียต้องใช้เวลา 17 วันครึ่ง กับ 8.5 ขั้นตอน

อันดับ 3 คือ ประเทศจีนใช้เวลา 9 วัน กับ 4 ขั้นตอน

อันดับ 4 คือ ประเทศสิงคโปร์ใช้เวลา 1 วันครึ่ง กับ 2 ขั้นตอน

อันดับ 5 คือ ประเทศอินเดียที่ใช้เวลา 18 วัน กับ 10 ขั้นตอนในการดำเนินการ

ซึ่งผลการจัดอันดับนี้ ได้สำรวจจากผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจตัดสินใจในการลงทุนของธุรกิจประมาณ 6,000 คนทั่วโลก โดยพิจารณาจากระบบราชการ ต้นทุนการผลิต การเชื่อมต่อกับประเทศอื่น ๆ ในโลก และการเข้าถึงแหล่งเงินทุน

Cr. : เว็บไซต์ U.S. News & World Report https://www.usnews.com/news/best-countries/best-start-a-business
https://www.facebook.com/ThaigovSpokesman/photos/a.210271022772045/966038563861950/
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่