แปลกใจกับการชี้มูลความผิดของ ป.ป.ช. ครับ ................................ โดย ตระกองขวัญ

กระทู้คำถาม
เมื่อวาน  ป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิด  นายกฯยิ่งลักษณ์   นายสุรนันท์  เวชชาชีวะ  และนายนิวัฒน์ธำรง  บุญทรงไพศาล
กรณีจัด Roadshow สร้างอนาคตไทย Thailand 2020

อย่างแรกที่แปลกใจ
คือ ป.ป.ช. ชี้ประเด็นว่า  พรบ.เงินกู้ 2 ล้านล้าน  ถูกศาลรัฐธรรมนูญตีตก
ทำให้การโรดโชว์ 240 ล้านบาท  สูญเปล่า   ราชการได้รับความเสียหาย

คือ  เรื่องสร้างอนาคตไทย 2020   เป็นเรื่อง "นโยบาย"  ที่รัฐบาลได้แถลงต่อรัฐสภา
เป็นนโยบายแห่งรัฐ  ที่รัฐบาลต้องดำเนินการ  และได้ดำเนินการตามที่ได้แถลงต่อรัฐสภาไว้
ต่อมา  เมื่อมีผู้ร้องว่า พรบ.เงินกู้ขัดรัฐธรรมนูญ   เอามาโยงว่าเกิดความเสียหายได้อย่างไร
ในเมื่อ พรบ.เงินกู้ตก  รัฐบาลก็สามารถระดมทุนจากวิธีการอื่นได้   ที่ตกคือ พรบ.เงินกู้ที่จะมาดำเนินการตามนโยบาย
ไม่ใช่นโยบายตก   ไม่ใช่นโยบายเกิคความเสียหาย    

ดังนั้น  การอ้าง พรบ.ถูกตีตก   การโรดโชว์สร้างความเสียหายแก่ราชการ
จึงเป็นการตีความที่ไม่น่าถูกต้อง

.
ประเด็นต่อมา  การชี้มูลความผิดทางอาญา  ที่บอกว่า  ทั้ง 3 คน  ผิดอาญามาตรา 151   157
ก็แปลกอีก   เพราะความผิดเหล่านี้   ต้องมีสิ่งที่เรียกว่า  เจตนาพิเศษ  ในการทุจริต
ไม่ใช่ทำอะไรผิดพลาด (หากผิดพลาด)  จะตีความว่าเป็นการทุจริตตาม 151  157   ได้ในทันที

การดำเนินการในปี 2556   ก็เพื่อดำเนินนโยบาย   ยังไม่มีงบประมาณ  ก็ใช้งบกลางตามอำนาจของนายกฯ
และเมื่อรัฐบาลตรา พรบ.เงินกู้  เพื่อรองรับการดำเนินนโยบาย   หาก พรบ.ไม่มีปัญหา  ทุกอยางก็ดำเนินไปตามปกติ
แต่เมื่อ พรบ.เงินกู้ถูกตีตก   ก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาล  ที่ต้องหาแหล่งเงินทุนมาดำเนินนโยบายใหม่
หากหาไม่ได้  ก็ไม่ได้หมายความว่าการโรคโชว์ 240 ล้านนั้นผิดกฎหมาย  เพราะเป็นเรื่องนโยบาย
นโยบาย  ย่อมมีทั้งสำเร็จ  มีทั้งล้มเหลว  เป็นเรื่องปกติทุกประเทศในโลก  หากรัฐบาลต้องรับผิดชอบทางกฎหมายเรื่องนโยบาย
คงไม่มีรัฐบาลใดทำอะไร   อยู่เฉย ๆ ดีกว่า
การทำเอกสารเกี่ยวกับการโรดโชว์ล่วงหน้า  เป็นเรื่องปกติที่ราชการสามารถดำเนินการได้
ราชการแหลายแห่ง  ยังไม่มีงบประมาณตกมาถึง   ก็ดำเนินการสืบราคา  จัดซื้อจัดจ้างล่วงหน้ากันเป็นปกติ
ต่อเมื่องบประมาณตกมาถึง   ก็ดำเนินการใช้งบประมาณตามที่ได้ดำเนินการล่วงหน้าไว้แล้ว   ไม่มีอะไรเสียหาย

เกี่ยวกับเรื่องฮั้ว   ก็น่าแปลกใจอีกเรื่อง
เป็นปกติ  ที่หลาย ๆ โครงการ  จะใช้วิธีพิเศษ  หรือวิธีดำเนินการโดยเลือกเฟ้นเอกชนที่น่าเชื่อถือ มีความพร้อม
เพื่อให้ดำเนินการในเรื่องนั้น ๆ  โดยไม่มีการเปิดประมูล  เพื่อความรวดเร็ว  ทันต่อสถานการณ์ด้านนโยบาย
หากจะผิด   ก็คือมีการมุบมิบ  กีดกัน  หรือวางเงื่อนไขเพื่อเอื้อเอกชนเป็นการเฉพาะ
แต่หากกระทำโดยเปิดเผย  มีหลักฐานเอกสารตามระเบียบราชการถูกต้องครบถ้วน   ก็ไม่น่าจะมีความผิดอะไร

.
ดูเหมือนเป็นการเอาเรื่องระเบียบมากำหนดตัวนโยบาย   ชี้ว่าผิดระเบียบ   ไปสู่ข้อกฎหมายเพื่อชี้มูลความผิด

ฝ่ายบริหาร   กำหนดนโยบาย   แถลงนโยบาย   ดำเนินนโยบาย   
การชี้มูลว่าผิดมาตรา 151 และ 157  ในกรณีนี้  จึงเป็นเรื่องแปลก  เพราะเป็นเรื่องระดับปฏิบัติ  ไม่ใช่ระดับนโยบาย
จริงอยู่   เลขาธิการนายกฯ   รัฐมนตรีสำนักนายกฯ  เป็นผู้ควบคุมกำกับดูแลโครงการ  อนุมัติโครงการ
แต่ก็เป็นเรื่องระดับนโยบายที่ระเบียบกำหนดให้เป็นผู้ลงนามเห็นชอบ   ไม่ใช่การดำเนินการในระดับปฏิบัติ

เมื่อข้าราชการระดับปฏิบัติ   ไม่มีใครมีความผิด   แล้วระดับนโยบายผิดได้อย่างไร ?

151   157   ในเรื่องนี้   ผิดที่ระดับนโยบาย   แต่ระดับปฏิบัติไม่ผิด
น่าแปลกใจครับ

.

งานนี    คุณฐากูร  บุนปาน  แห่งมติชน  กับ  คุณระวิ  โหลทอง  แห่งสยามสปอร์ต
จะคือ "เป้าจริง"  หรือไม่     เป็นเรื่อง "สั่งสอนสื่อ"  หรือไม่

ไม่รู้สิครับ
เม่าเหม่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่