ปลาเดินได้สายพันธ์ใหม่

Walking Shark



งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Marine and Freshwater Research นักวิจัยได้ทำการเก็บตัวอย่างสารพันธุกรรมของฉลามเดินได้ที่เป็นสปีชีส์ที่ถูกค้นพบแล้ว 5 สปีชีส์ เพื่อประเมินว่าพวกมันมีวิวัฒนาการตั้งแต่เมื่อไหร   แต่ในระหว่างที่ทำการวิจัยอยู่ นักวิจัยได้พบฉลามเดินได้สายพันธุ์ใหม่อีก 4 สปีชีส์ ซึ่งทำให้มีจำนวนสปีชีส์ของฉลามเดินได้ที่ถูกค้นพบแล้วมีทั้งหมด 9 สปีชีส์  โดยฉลามเหล่านี้ถูกค้นพบในทางตอนเหนือของประเทศออสเตรเลีย และเกาะปาปัวนิวกินี

คริสติน ดัดเจียน (Christine Dudgeon) นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยควีสแลนด์ ในรัฐบริสเบน ประเทศออสเตรเลีย ได้ทำงานร่วมกับ แกรี่ อเลน (Gerry Allen) จากพิพิธภัณฑ์ออสเตรเลียตะวันตก และ มาร์ค เอ็ดมาน (Mark Erdmann) จากองค์กร Conservation International เพื่อเก็บรวบรวมตัวอย่างสารพันธุกรรมของฉลามที่อยู่ทั่วภูมิภาค นำมาหาลำดับและวิเคราะห์ในห้องทดลองร่วมกับสารพันธุ์กรรมที่ได้มาจากพิพิธภัณฑ์ นอกจากนี้ยังนำมาเปรียบเทียบกันเพื่อสร้างสายวิวัฒนาการของฉลามเดินได้จีนัส ‘Hemiscyllium’

สำหรับสาเหตุที่ทำให้ฉลามเหล่านั้นเกิดการวิวัฒนาการ ดัดเจียน กล่าวว่า ข้อมูลแสดงให้เห็นว่าปลาฉลาม สปีชีส์ใหม่ได้มีวิวัฒนาการหลังจากพวกมันได้เคลื่อนย้ายออกจากประชากรดั้งเดิมของพวกมัน มาอยู่โดดเดียวในพื้นที่ใหม่และเกิดการพัฒนาเป็นสปีชีส์ใหม่

ปลามีชื่อว่า Hemiscyllium halmahera หรือ ‘walking shark’ เนื่องจากลักษณะการเดิน กินปลาตัวเล็กหรือสัตว์จำพวกปูและกุ้งตามแนวประการรังเป็นอาหาร  มีสีน้ำตาลอ่อน ลายสีน้ำตาลเข้มและจุดขาว   H. halmahera ตัวผอมเรียว ยาวสุดที่ 80 ซ.ม. น่าจะเป็นญาติของ Epaulette shark แต่ฉลามกลุ่มนี้เจอแถบออสเตรเลีย นิวกีนีแต่ลายไม่เหมือนกันแต่มีพฤติกรรมคล้ายๆกันคือไม่ว่ายน้ำแต่ใช้ครีบเดิน

Hemiscyllium ocellatum (Bonnaterre, 1788)
 Hemiscyllium ocellatum ลำตัวสีออกเหลืองน้ำตาล มีจุดสีดำ น้ำตาลทั่วตัวแต่ตัวนี้มีจุดใหญ่บนครีบอกทั้ง 2 ด้าน   ฉลามชนิดนี้มีความพิเศษตรงที่ทนกับสภาวะออกซิเจนต่ำได้ดีมาก จะทำการปิดโหมดไม่ใช้สมองส่วนไม่สำคัญ (non-essential brain functions) ไว้ล่าเหยื่อเวลาน้ำลง ซึ่งจะมีออกซิเจนในน้ำน้อยลง 

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

ที่มา  https://thematter.co/brief/brief-1580115602/99128
        Bray, DJ 2020, Hemiscyllium ocellatumใน Fishes of Australia, เข้าถึง 04 ก.ค. 2020, http://136.154.202.208/Home/species/1973
Cr.ภาพ http://deeplyfish.com/
Cr.http://chm.forest.go.th/th/?p=5562
Cr.https://fishesofaustralia.net.au/Home/species/1973
Cr.https://grabyourfins.wordpress.com/2015/02/07/ฉลามเดิน-walking-shark/

Schaefer’s anglerfish


ลึกลงไปใต้ทะเล 3000 ฟุต ที่ปกคลุมด้วยความมืด นักวิทยาศาสตร์ได้เก็บภาพของ ปลาทะเลน้ำลึก มีชื่อว่า Schaefer’s anglerfish  ที่ถูกค้นพบครั้งแรกในปี 2519 นอกชายฝั่งโคลัมเบียในทะเลแคริบเบียน  จากยานสำรวจใต้น้ำ มีลำตัวยาว 5 ฟุต น้ำหนัก 100 ปอนด์ ปลาชนิดนี้ใช้ครีบทั้งสองข้างในการเดิน เปรียบเสมือนเป็นขาของมัน ผิวหนังลักษณะพิเศษที่หนาและสามารถยืดหยุ่น ของ Schaefer’s anglerfish ทำให้สิ่งมีชีวิตนี้สามารถกินปลาที่ใหญ่กว่ามันสองเท่าตัวได้

Schaefer’s anglerfish จัดอยู่ในสายพันธุ์เดียวกับปลาแองเกลอร์หรือปลาตกเบ็ด และด้วยที่อยู่อาศัยที่ไม่เอื้ออำนวย ใต้ทะเลมืดมิด และการอยู่อย่างสันโดษ จึงทำให้สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ง่าย  เมื่อนักวิจัยพบมันเป็นครั้งแรกพวกเขาเข้าใจผิดว่ามันเป็นหิน มันนั่งอยู่บนโขดหินนิ่งเงียบขณะที่รอเหยื่อที่เข้ามาหา

ที่มา dailymail 
Cr.ภาพ  NOAA OFFICE OF OCEAN EXPLORATION AND RESEARCH, 2019 การสำรวจใต้ทะเลลึกในสหรัฐอเมริกาทางตะวันออกเฉียงใต้
Cr.http://realmetro.com/mysterious-walking-fish/

Red Handfish


ออสเตรเลีย ประกาศค้นพบ  Red Handfish  พันธุ์หายากสุดๆของโลก (ก่อนหน้าเคยพบสีชมพูมาแล้วในปี 2010) ในทะเลแทสมาเนีย ลำตัวยาวราว 10 ซ.ม. ไม่ว่ายน้ำ แต่ใช้ครีบเดินแทน ชอบหมกตัวอยู่ในกอสาหร่าย คนจึงพบน้อย มีนิสัยเฉื่อยชาจึงอาจถูกจับง่าย

สายพันธุ์ปลาที่หายากนี้อยู่ในสกุล Thymichthys politus  ถูกค้นพบครั้งแรกในศตวรรษที่ 1800 ใกล้กับ Port Arthur  จากการที่นักดำน้ำเพิ่งค้นพบสายพันธุ์นี้ที่แทสมาเนียได้จุดประกายความเป็นไปได้ของโปรแกรมการผสมพันธุ์ที่อาจเพิ่มโอกาสในการอยู่รอดสำหรับปลาสายพันธุ์หายากชนิดนี้

ก่อนหน้านี้มีความเชื่อกันว่าปลาชนิดนี้ถูก จำกัดไว้ที่แนวปะการังใกล้กับอ่าวเฟรเดอริคเฮนรีซึ่งตั้งอยู่ในเขตตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐแทสเมเนีย หลังจากการสำรวจเมื่อเร็ว ๆ นี้นักวิทยาศาสตร์พบว่า อาณานิคมที่ค้นพบใหม่ถูกแผ่กระจายไปทั่วรัศมีที่ครอบคลุมประมาณ 20 เมตรจากแนวปะการัง และเพื่อเป็นการป้องกันนักล่า  นักวิจัยจึงยังไม่ได้เปิดเผยสถานที่ที่พบปลาชนิดนี้ตามคำสั่งจากมหาวิทยาลัยแทสมาเนีย


 Spotted Handfish
Spotted Handfish ลำตัวมีจุดสีส้มเข้มน้ำตาลหรือดำ มีครีบหลังสูง พบบนพื้นทรายในระดับความลึก 5 เมตรถึง 40 เมตร สปีชีส์นี้เป็นปลาทะเลออสเตรเลียชนิดแรกที่ถูกระบุว่าใกล้สูญพันธุ์จากการถูกคุกคามจากปัจจัยหลายประการ

Cr.https://sciexaminer.com/news/science/population-boost-rare-red-hand-fish-tasmania-3607.html
Cr.https://twitter.com/2dayil/status/958596957827682305
Cr.https://www.livescience.com/61534-rare-red-handfish-discovered.html
Cr.https://australian.museum/learn/animals/fishes/spotted-handfish-brachionichthys-hirsutus-lacepede-1804/

Waterfall climbing cavefish  



 
เมื่อปี 2016  ผศ.ดร.อภินันท์ สุวรรณรักษ์ อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เปิดเผยว่า ตนและทีมงานร่วมกับนักวิจัยจาก The New Jersey Institute of Technology ประเทศสหรัฐอเมริกา ทำการวิจัยปลาที่มีชื่อว่า ′ปลาผีเสื้อถ้ำ′ หรือ Waterfall climbing cavefish
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ คือ Cryptotora thamicola ที่มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 5-6 เซนติเมตร ลักษณะเฉพาะคือ ไม่มีตา ไม่มีสี ลำตัวผอมลีบ และมีครีบที่ใหญ่มากเมื่อเทียบกับตัว โดยพบอาศัยอยู่ในถ้ำบางแห่งในเขตอ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอนเท่านั้น

“ปลาผีเสื้อถ้ำนั้น มีลักษณะพิเศษคือ สามารถเดินคล้ายสัตว์ 4 ขาในน้ำ สวนทางน้ำได้ จึงทำการศึกษาวิจัยในเรื่องปลาดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง แต่เนื่องจากเป็นสัตว์อนุรักษ์ ไม่สามารถจับมาศึกษาเป็นๆ ได้ จึงใช้วิธีเอาตัวอย่างดองในพิพิธภัณฑ์มาสแกนด้วยเครื่อง CT-scan ทำเป็นภาพ 3 มิติของกายวิภาค

จากการศึกษาโดยได้นำเอาภาพวิดีโอการเดินของปลาผีเสื้อถ้ำมาศึกษา พบว่ามีลักษณะคล้ายกับสัตว์ 4 ขากำลังคืบคลาน กระดูกเชิงกรานของปลาผีเสื้อถ้ำไม่ได้เป็นแค่ชิ้นเล็กๆ คู่หนึ่ง ลอยอยู่ในเนื้อปลาเหมือนกับปลาทั่วไป ซึ่งใช้สำหรับการพยุงครีบคู่หลังเท่านั้น แต่กระดูกเชิงกรานของปลาผีเสื้อกลับมีความซับซ้อนสูง เชื่อมต่อกับกระดูกสันหลังผ่านกระดูกซี่โครงซึ่งยื่นยาวออกมา เหมือนกับของสัตว์บก 4 ขา

ทำให้สามารถยกตัวขึ้นจากพื้นได้ด้วยรยางค์คู่หลัง คล้ายกับกระดูกรยางค์ของซาลามานเดอร์ ซึ่งเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ มากกว่าของปลา ถือเป็นปลาที่มีกระดูกส่วนเชิงกรานคล้ายสัตว์เลื้อยคลาน พันธุ์เดียวในโลก ถือเป็นรอยต่อประวัติศาสตร์โลก ด้านชีววิทยา และวิวัฒนาการ รวมทั้งสามารถต่อยอดการศึกษาได้อีกมาก กระทั่งได้รับการยืนยันการค้นพบ Tetrapod-like pelvic girdle in a walking cavefish และตีพิมพ์ในวารสาร Scientific Reports”
 
ผศ.ดร.อภินันท์กล่าวอีกว่า ในทางชีววิทยาเรารู้ว่าบรรพบุรุษของเราวิวัฒนาการจากปลาในทะเลขึ้นมาเป็นสัตว์บก ตั้งแต่ประมาณ 375 ล้านปีก่อน แต่ก็ยังเป็นปริศนาว่ากระบวนการนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร การค้นพบนี้ทำให้ทราบว่าปลาผีเสื้อถ้ำ หรือ Cryptotora thamicola ซึ่งพบในถ้ำภาคเหนือของไทย และสามารถปีนก้อนหิน ผ่านสายน้ำตกในถ้ำได้นั้น มีลักษณะกระดูกที่บรรพบุรุษของมนุษย์ที่เป็นสัตว์น้ำ น่าจะมีสำหรับการเดิน ซึ่งรวมถึงการมีกระดูกเชิงกรานด้วย
ที่มา มติชนออนไลน์
Cr. https://www.matichon.co.th/region/news_91583
 

 
 
stingfish
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

ระหว่างการดำน้ำตอนกลางคืนนอกชายฝั่งเกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย นักดำน้ำชื่อ Emeric Benhalassa สังเกตเห็นสิ่งผิดปกติบางอย่าง
นั่นคือปลาตัวหนึ่งที่ดูเหมือนกำลัง “เดิน” ไปตามพื้นทะเล  เขาสงสัยว่ามันน่าจะเป็นปลาหิน (stingfish) ชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นชื่อสามัญของปลาในสกุล Minous จากวงศ์ปลาหิน (Synanceiidae)

ปลาหินจัดเป็นปลามีพิษร้ายแรงที่สุดชนิดหนึ่งเท่าที่รู้จักกัน “พวกมันมีต่อมพิษบริเวณฐานของเงี่ยงตรงครีบหลัง และเมื่อเงี่ยงนี้แทงเข้าไปในผิวหนังของเรา พิษจะถูกฉีดเข้าไปในบาดแผล” เจฟฟ์ วิลเลียมส์ ผู้จัดการคอลเลกชั่น และนักมีนวิทยา จากพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาแห่งชาติสมิทโซเนียน อธิบาย
อย่างไรก็ตาม ปลาหินชนิดที่เห็นในคลิปนี้ค่อนข้างลึกลับ

“ปลาเดินเท้า” ชนิดนี้เคลื่อนที่โดยใช้ก้านครีบอก “อิสระ” ที่อยู่ด้านล่างสุดของลำตัว ซึ่งมีลักษณะคล้ายกระดูกแหลมๆ ยื่นออกมาจากด้านล่างของลำตัว  พฤติกรรม “การเดิน” นี้อาจเป็นการล่าเหยื่อ เพราะปลาเหล่านี้มีปุ่มรับรสบนก้านครีบอิสระแต่ละอัน

หากพิจารณาจากก้านครีบและลักษณะทางกายภาพอื่นๆที่เห็น ผู้เชี่ยวชาญคิดว่ามันน่าจะเป็นปลาชนิดใดชนิดหนึ่งต่อไปนี้ Striped stingfish, Whitetail goblinfish และ Painted stinger หรืออาจเป็นชนิดพันธุ์ที่ยังไม่มีผู้บรรยายไว้ก็เป็นได้  ผู้เชี่ยวชาญที่เห็นคลิปวิดีโอนี้ต่างเห็นพ้องต้องกันว่า วิธีที่ดีที่สุดในการระบุชนิดพันธุ์ปลาตัวนี้คือการศึกษาตัวอย่างที่จับได้เท่านั้น
Cr.https://ngthai.com/animals/3125/walking-fish/

Rosy Lipped Batfish 


ปลาค้างคาวปากแดง (Red-lipped Batfish/Ogcocephalus darwini) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า "Ogco cephalus porrectus"  มีลักษณะเด่นคือ ริมฝีปากสีแดงสดเหมือนกลีบกุหลาบและครีบแข็งบริเวณใต้ท้องของมัน ที่ทำหน้าที่เหมือนกับขาที่ใช้ในการคลาน  เป็นปลาที่ลักษณะแปลกประหลาดที่สุดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาตกเบ็ด (Angler fish) พบได้เฉพาะหมู่เกาะกาลาปากอสและนอกชายฝั่งประเทศเปรูเท่านั้น

นักวิทยาศาสตร์ยังไม่อาจบอกได้ว่าปลาค้างคาวปากแดงพัฒนาปากสีแดงแป๊ดขนาดนั้นมาเพื่ออะไร แต่คาดว่าน่าจะใช้ในการดึงดูดเพศตรง  นอกจากนั้นปลาค้างคาวปากแดงสามารถใช้ครีบอกเดินไปบนพื้นทะเลได้

บริเวณเหนือปากยังมีอวัยวะคล้ายเบ็ด ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มปลาตกเบ็ดที่ใช้ล่อเหยื่อให้เข้ามาใกล้ๆ แต่ปลาค้างคาวปากแดงมีอาวุธที่พิเศษกว่านั้น ก็คือสามารถปล่อยน้ำหอมออกมาเพื่อดึงดูดสัตว์อื่นที่เป็นเหยื่อได้   ปลาค้างคาวปากแดงใช้ชีวิตส่วนใหญ่บนพื้นทรายใกล้ๆแนวปะการังตัวแต่ระดับ 3 เมตรลงไปถึงระดับความลึก 120 เมตร
Photo by WIkimedia commons
Cr. https://www.facebook.com/Re4Reef/photos/ปลาอะไรเอ่ยทาลิปสติกแถมใช้ครีบเดินได้อย่างกับนางแบบ-ปลาในภาพมีอยู่บนโลกจริงๆ-ชื่/2099555913689971/

(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่