ออกตัวก่อนนะครับว่า ไม่ได้มีเจตนามาดราม่า หรือต้องการโจมตีรายการ หรือใครก็ตาม
ส่วนตัวผมเห็นประเด็นดราม่าเมื่อสองวันก่อน + ความสนใจ จึงลองหาข้อมูลและรวบรวมมาให้ทุกคนดูกันนะครับ
สิ่งที่ผมสรุปได้เป็นเพียงความเข้าใจของผมจากข้อมูลที่ผมรวบรวมมาเท่านั้น
อยากให้ทุกท่านลองพิจารณาดูกันนะครับ หากผิดถูกประการใดสามารถโต้แย้ง และให้ข้อมูลที่ถูกต้องได้ครับ
ลักษณะของเจ้ากระเบนในรายการ
ขอแบ่งออกเป็น 2 ประเด็นใหญ่ๆนะครับ
1.สายพันธุ์ของปลากระเบนนก
2.สถานะของการอนุรักษ์ Conservation status
ปลากระเบน ในเรื่องของสายพันธุ์นั้น ถูกแบ่งออกมาเป็นชั้นๆไล่ตั้งแต่ชั้นบนสุดลงมาจนถึงระดับสายพันธุ์
1.อันดับใหญ่สุด
2.อับดับย่อย
3.วงศ์
4.วงศ์ย่อย
5.สกุล
6.สายพันธุ์
จากรูปนะครับ ย้อนขึ้นไปในอันดับใหญ่สุด ชื่อทางวิทยาศาสตร์เรียกว่า Batoidea
โดย Batoidea แบ่งออกเป็น 4 อันดับย่อย
Batoidea
1.Myliobatiformes - ปลากระเบนทั่วไป
2.Rajiformes - ปลากระบางและปลาโรนัน
3.Pristiformes - ปลาฉนาก
4.Torpediniformes - ปลากระเบนไฟฟ้า
โดยกระเบนนกที่เป็นประเด็นอยู่นั้นอยู่ใน Myliobatifromes ซึ่งแบ่งออกเป็น 8 วงศ์
Myliobatifromes
1.Hexatrygonidae - ปลากระเบนหกเหงือก
2.Plesiobatidae - ปลากระเบนน้ำลึก
3.Urolophidae - ปลากระเบนกลม
4.Urotrygonidae - ปลากระเบนกลมอเมริกัน
5.Dasyatidae - ปลากระเบนธง
6.Potamotrygonidae - ปลากระเบนผีเสื้อ
7.Gymnuridae - ปลากระเบนแม่น้ำ หรือ ปลากระเบนหางสั้น
8.Myliobatidae (Eagle Ray) - ปลากระเบนนก
โดย วงศ์ Myliobatidae(Eagle Ray) หรือที่เราเรียกกันว่า ”วงศ์สายพันธุ์ของปลากระเบนนก” ก็แบ่งออกเป็น 3 วงศ์ย่อย ทั้งหมด 7 สกุล
1.Myliobatinae
- Aetobatus
- Aetomylaeus
- Myliobatis
- Pteromylaeus
2.Rhinopterinae
- Rhinoptera
3.Mobulinae
- Manta (Manta rays) - ปลากระเบนราหู แมนต้าจัดเป็นปลากระเบนที่ใหญ่ที่สุดในโลก
- Mobula (Devil rays) - ปลากระเบนปีศาจ
จากวงศ์ย่อย Myliobatinae ปลากระเบนในรายการจัดอยู่ในสกุล Aetobatus สามารถแบ่งออกเป็น 10 สายพันธุ์
1.Aetobatus flagellum - Longheaded eagle ray (1801, ปีค.ศ.ที่ระบุสายพันธุ์ได้จากงานวิจัย)
2.Aetobatus laticeps - Pacific white-spotted eagle ray (1865)
3.Aetobatus narinari - Spotted eagle ray (1790)
4.Aetobatus narutobiei - Naru eagle ray (2013, สายพันธุ์ที่พึ่งระบุใหม่จากงานวิจัยของชาวญี่ปุ่น)
5.Aetobatus ocellatus - ocellated eagle ray (1823)
6.Aetobatus arcuatus - (สูญพันธุ์)
7.Aetobatus cappettai - (สูญพันธุ์)
8.Aetobatus irregularis - (สูญพันธุ์)
9.Aetobatus punctatus - (สูญพันธุ์)
10.Aetobatus sinhaleyus - (สูญพันธุ์)
ซึ่งจากทั้งหมด 10สายพันธุ์ มี 5 สายพันธุ์ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว
ใน 5 สายพันธุ์ของกระเบนนกสกุล Aetobatus ที่เหลืออยู่ หน้าตาเป็นอย่างไร มาดูกันครับ
จากข้อมูลนะครับ สายพันธุ์ที่เหมือนกับกระเบนในรายการนั้นมีทั้งหมด 3สายพันธุ์
1.Aetobatus laticeps - Pacific white-spotted eagle ray (1865)
2.Aetobatus narinari - Spotted eagle ray (1790)
3.Aetobatus ocellatus - ocellated eagle ray (1823)
โดย Aetobatus narinari เป็นสายพันธุ์แรก ที่ถูกจำแนกและระบุไว้ตั้งแต่ปี 1790 ต่อมาในปี ค.ศ.1823 ได้มีงานวิจัยที่ค้นพบว่ามีอีกสายพันธุ์หนึ่งคือ Aetobatus ocellatus - ocellated eagle ray และค้นพบ Aetobatus laticeps - Pacific white-spotted eagle ray ในปี ค.ศ.1865 ซึ่งแรกเริ่มเดิมทีทั้ง3สายพันธุ์ ถูกเรียกรวมๆกันว่า Spotted eagle ray เนื่องจาก narinari ถูกค้นพบก่อน ทำให้ในอดีต เข้าใจว่ามันเป็นสายพันธุ์เดียวกันด้วยลักษณะทางกายภาพที่เหมือนกัน คือมี จุดสีขาว ทั้งจุดทึบและโดนัท หางที่ยาว ลักษณะของปีกและลำตัวเหมือนกัน และถูกระบุว่า สามารถพบได้ในเขตtropical regions หรือเขต Indo-Pacific รวมทั้งเขต Atlantic อ่าว Maxico และทะเลCaribbean
(รูปอ้างอิงจากIUCN)
ปัจจุบัน มีงานวิจัยที่บ่งชี้และจำแนกสายพันธุ์ ระหว่าง 3สายพันธุ์นี้ได้มากขึ้น โดยผมจะขอสรุปเท่าที่รวบรวมข้อมูลมาได้นะครับว่าแต่ละสายพันธุ์มีข้อแตกต่างกันอย่างไร
1. ทั้ง 3 สายพันธุ์ แตกต่างกันที่ Genetic หรือยีนส์ นั่นเอง
2. ทั้ง 3 สายพันธุ์ มีถิ่นอาศัยที่แตกต่างกัน ปัจจุบันมีข้อมูลจากงานวิจัยที่ระบุได้ว่า
-Aetobatus narinari - Spotted eagle ray มีถิ่นที่อยู่อาศัยในเขต Atlantic รวมถึงอ่าวMaxico เท่านั้น จากงานวิจัย Rays of the World 2016
https://www.publish.csiro.au/book/7053/?fbclid=IwAR1tXG04yIPJdlKcIp1rcocsEUJCssofHnzI59O-TYzCtPw2Q3907BQufWY
เป็นโครงการร่วมมือของ taxonomists ที่มีพื้นที่เก็บตัวอย่างทั่วโลกชื่อ Chondrichthyan Tree of Life project, CTOL. ซึ่งมีความน่าเชื่อถือสูงกว่างานวิจัยของBOBLME ปี2014 ที่ระบุว่าค้นพบ Narinari 1ตัวในทะเลอันดาลมัน
-Aetobatus ocellatus - ocellated eagle ray จะมีถิ่นที่อยู่อาศัยในเขต Indo-Pacific รวมถึงมหาสมุทรอินเดีย
-Aetobatus laticeps - Pacific white-spotted eagle ray จะมีถิ่นที่อยู่อาศัยในเขต East Pacific จนไปถึงแถบช่ายฝั่งตะวันตกของทวีปอเมริกา
สรุปถิ่นที่อยู่ของกระเบนทั้ง3สายพันธุ์
3.ในส่วนของลักษณะทางกายภาพ
Aetobatus ocellatus มีข้อแตกต่างกับอีก 2 สายพันธุ์ (Aetobatus laticeps กับ Aetobatus narinari)
คือ
1.มีความยาวของหางและเงี่ยง ที่ยาวกว่า
- a longer tail (mean total length 281 vs. 263% DW)
- a longer stinging spine (mean length 9.7 vs. 8.9% DW)
2.มีสีผิวหนังที่ค่อนข้างเข้มกว่า (แยกไม่ออกอยู่ดี)
บางคนอาจจะคิดว่า จุดสี และจำนวนจุดสีที่จะมีความแตกต่างกันหรือไม่ระหว่าง3สายพันธุ์ บางคนคิดว่า narinari มีจุดสีขาวที่มากกว่า
ปัจจุบัน ทั้ง3สายพันธุ์ สามารถมีจุดสีขาว ทั้งทึบและโดนัทได้ทั้งคู่ จะมีจุดสีแบบไหนขึ้นอยู่กับmorphologicของแต่ละตัวแตกต่างกันไป ส่วนในเรื่องของจำนวนจุด ยังไม่มีงานวิจัยหรือข้อมูลใดที่บ่งชี้ว่าแต่ละสายพันธุ์มีจำนวนจุดสีที่ต่างกัน
ส่วนในสายพันธุ์ Aetobatus laticeps นั้น แตกต่างกันกับ Aetobatus narinari แค่ genetic เท่านั้น
ดังนั้นในเรื่องของสายพันธุ์ที่สามารถถูกพบได้ในประเทศไทยคือ Ocellatus เท่านั้นนะครับ (ขอบคุณทุกท่านที่ส่งงานวิจัยมาอัพเดทข้อมูลที่ถูกต้องให้นะครับ)
ในเรื่องของประเด็นสถานะของการอนุรักษ์
มีหลายคนตั้งคำถามว่าถึงจะอยู่ใน Red list ก็ไม่ได้แปลว่าจะสูญพันธุ์ หรือนำมาทำอาหารได้
ใช่ครั้บ เพราะในหลายสายพันธุ์ ก็อยู่ใน Red list และก็ยังมีการนำมาทำอาหารกันปกติ
ทีนี้มาทำความเข้าใจในเรื่องของ Red list ก่อนนะครับ
ปัจจุบัน ใน Red list ที่มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์นั้นมีหลายระดับและวิธีการชี้วัดในหลายๆด้าน ทั้งเรื่องประชากร ถิ่นที่อยู่อาศัย อัตราการเจริญเติบโต แพร่พันธุ์ และอัตราการตาย/ถูกล่า และถูกคุกคามในธรรมชาติครับ (ขอเน้นว่าในธรรมชาตินะครับ ไม่นับสายพันธุ์ที่มีการเพาะเลี้ยงเพื่อการบริโภค)
ดังนั้นปัจจัยที่นำมาชี้วัดได้นั้นมีมากมาย ขึ้นอยู่กับงานวิจัยที่ออกมาด้วย
มาดูระดับความเสี่ยงของ Red list กันก่อนนะครับ
NE/DD คือไม่มีการประเมิน หรือข้อมูลไม่เพียงพอ
LC- Least Concern ไม่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์
NT- Near threatened เข้าข่ายเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์
VU - Vulnerable อ่อนแอเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์
EN - Endangered เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์
CR - Critically endangered เสี่ยงขั้นวิกฤติต่อการสูญพันธุ์
EW - Extinct in the wild สูญพันธุ์ในธรรมชาติไปแล้ว
EX - Extinct สูญพันธุ์
ในระดับ CR นั้น ส่วนใหญ่จะสามารถระบุจำนวนประชากรได้ เช่น
เสือดาวอามูร์ เหลือไม่ถึง 50 ตัว
แรดดำ ที่เหลือไม่กี่ตัวในแอฟริกา
Javan Rhino หรือแรดชวา เหลือราวๆ 50 ตัว
ส่วนในระดับ EW คือสูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติแล้ว
เช่น แรดขาวเหนือ northern white rhinoceros ซึ่งก่อนหน้านี้เหลือตัวสุดท้ายของโลก และได้รับการคุ้มครองอย่างแน่นหนาจากเจ้าหน้าที่ติดอาวุธ ภายในศูนย์อนุรักษ์โอล เพเยตา ประเทศเคนยา ปัจจุบันแรดขาวเหนือตัวนี้ ได้ตายไปในปี 2018 สถานะจาก EW จึงกลายเป็น EX นั่นคือสูญพันธุ์ไปแล้วนั่นเอง
Aetobatus laticeps - Pacific white-spotted eagle ray
สถานะการอนุรักษ์ เป็น NE หรือ Not evaluated คือยังไงมีการประเมิน
Aetobatus narinari - Spotted eagle ray
สถานะการอนุรักษ์ เป็น NT - Near Threatened คือเข้าข่ายความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์
Aetobatus ocellatus - ocellated eagle ray
สถานะการอนุรักษ์ เป็น VU - Vulnerable คือ อ่อนแอ มีความเสี่ยงสูงต่อการสูญพันธุ์
บางสายพันธุ์อยู่ในระดับถูกคุกคาม แต่มีการนำมาทำอาหาร อาจจะเพราะมีการเพาะเลี้ยงเป็นฟาร์มเพื่อการบริโภคได้ การชี้วัดเป็นเรื่องของการคุกคามประชากรในธรรมชาติอย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น ว่าง่ายๆคือประชากรในธรรมชาตินั้นถูกคุกคาม และมีอัตราการตาย/ถูกล่า มากกว่าอัตราการเกิดใหม่ จนทำให้จำนวนประชากรนั้นลดลงอย่างต่อเนื่องครับ
ยกตัวอย่าง
ปลาฉลามครีบดำ ซึ่งเป็นปลาฉลามที่ถูกล่าเอาครีบมาทำหูฉลามเยอะ ก็ยังอยู่ในระดับ NT ครับ (ไม่สนับสนุนการบริโภคหูฉลามนะครับ) ซึ่งการรณรงค์ไม่บริโภคหูฉลามในประเทศเราก็ไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าไรนัก หากคนยังนิยมบริโภคหูฉลามกันอยู่ ต่อไปปัญหาประชากรของฉลามชนิดนี้อาจจะรุนแรงขึ้นและถูกจัดอยู่ในระดับ VU ได้
ปลาแซลมอนแอตแลนติก มีระดับอยู่ในระดับ IC คือ ต่ำกว่า LC อีกครับ คือมีความเสี่ยงต่ำมาก มีจำนวนประชากรเยอะในทะเล สามารถนำมาบริโภคเป็นอาหารได้ และไม่กระทบต่อจำนวนประชากรโดยรวม (อัตราการเกิดอาจจะใกล้เคียงกับอัตราการถูกล่าในธรรมชาติ)
ดังนั้น ปลากระเบนสายพันธุ์ ocellatus ที่มีระดับสถานะของการอนุรักษ์อยู่ที่ VU จัดอยู่ในระดับถูกคุกคามและความเสี่ยงสูงต่อการสูญพันธุ์
หลายคนอาจจะตั้งคำถามว่า ถ้ามันหายาก ทำไมถึงติดอวนขึ้นมา และเจอในตลาดปลาได้ง่าย
ในประเด็นนี้ ก็ต้องพูดถึงจำนวนประชากรของปลากระเบนชนิดนี้ ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลหรืองานวิจัยที่ระบุจำนวนประชากรของกระเบนชนิดนี้ได้
สมมติในโลกเหลือประชากรกระเบนชนิดนี้จำนวน 100ล้านตัว
100ล้านตัวนี้ จัดว่าหายาก และมีความเสี่ยงสูงต่อการสูญพันธุ์หรือไม่?
ถ้าเห็น100ล้านตัวแบบนี้ ส่วนใหญ่ทุกคนก็คงตอบว่า ไม่เสี่ยง
แต่อยากทุกคนให้พิจารณาถึงประเด็นของระบบนิเวศด้วยว่า การมีปลากระเบนชนิดนี้ ที่สมมติว่ามี100ล้านตัวในโลกนั้น อาจจะถือว่าน้อยก็ได้
อย่างปลาฉลามครีบดำที่ถูกล่าอย่างหนัก ก็ยังจัดอยู่ในระดับ NT ส่วนกระเบน ocellatus ถูกจัดอยู่ในระดับ VU ซึ่งรุนแรงกว่า
ทั้งปลาฉลามครีบดำ หรือ กระเบน ocellatus ก็ยังสามารถพบได้ทั่วไปในทะเล แต่เรื่องการคุกคามธรรมชาติของมนุษย์ก็ยังคงเหมือนเดิม
[Clarify] ว่าด้วยเรื่องของ ปลากระเบนนก ที่ใช้ในรายการ Masterchef Thailand
ส่วนตัวผมเห็นประเด็นดราม่าเมื่อสองวันก่อน + ความสนใจ จึงลองหาข้อมูลและรวบรวมมาให้ทุกคนดูกันนะครับ
สิ่งที่ผมสรุปได้เป็นเพียงความเข้าใจของผมจากข้อมูลที่ผมรวบรวมมาเท่านั้น
อยากให้ทุกท่านลองพิจารณาดูกันนะครับ หากผิดถูกประการใดสามารถโต้แย้ง และให้ข้อมูลที่ถูกต้องได้ครับ
ลักษณะของเจ้ากระเบนในรายการ
ขอแบ่งออกเป็น 2 ประเด็นใหญ่ๆนะครับ
1.สายพันธุ์ของปลากระเบนนก
2.สถานะของการอนุรักษ์ Conservation status
ปลากระเบน ในเรื่องของสายพันธุ์นั้น ถูกแบ่งออกมาเป็นชั้นๆไล่ตั้งแต่ชั้นบนสุดลงมาจนถึงระดับสายพันธุ์
1.อันดับใหญ่สุด
2.อับดับย่อย
3.วงศ์
4.วงศ์ย่อย
5.สกุล
6.สายพันธุ์
จากรูปนะครับ ย้อนขึ้นไปในอันดับใหญ่สุด ชื่อทางวิทยาศาสตร์เรียกว่า Batoidea
โดย Batoidea แบ่งออกเป็น 4 อันดับย่อย
Batoidea
1.Myliobatiformes - ปลากระเบนทั่วไป
2.Rajiformes - ปลากระบางและปลาโรนัน
3.Pristiformes - ปลาฉนาก
4.Torpediniformes - ปลากระเบนไฟฟ้า
โดยกระเบนนกที่เป็นประเด็นอยู่นั้นอยู่ใน Myliobatifromes ซึ่งแบ่งออกเป็น 8 วงศ์
Myliobatifromes
1.Hexatrygonidae - ปลากระเบนหกเหงือก
2.Plesiobatidae - ปลากระเบนน้ำลึก
3.Urolophidae - ปลากระเบนกลม
4.Urotrygonidae - ปลากระเบนกลมอเมริกัน
5.Dasyatidae - ปลากระเบนธง
6.Potamotrygonidae - ปลากระเบนผีเสื้อ
7.Gymnuridae - ปลากระเบนแม่น้ำ หรือ ปลากระเบนหางสั้น
8.Myliobatidae (Eagle Ray) - ปลากระเบนนก
โดย วงศ์ Myliobatidae(Eagle Ray) หรือที่เราเรียกกันว่า ”วงศ์สายพันธุ์ของปลากระเบนนก” ก็แบ่งออกเป็น 3 วงศ์ย่อย ทั้งหมด 7 สกุล
1.Myliobatinae
- Aetobatus
- Aetomylaeus
- Myliobatis
- Pteromylaeus
2.Rhinopterinae
- Rhinoptera
3.Mobulinae
- Manta (Manta rays) - ปลากระเบนราหู แมนต้าจัดเป็นปลากระเบนที่ใหญ่ที่สุดในโลก
- Mobula (Devil rays) - ปลากระเบนปีศาจ
จากวงศ์ย่อย Myliobatinae ปลากระเบนในรายการจัดอยู่ในสกุล Aetobatus สามารถแบ่งออกเป็น 10 สายพันธุ์
1.Aetobatus flagellum - Longheaded eagle ray (1801, ปีค.ศ.ที่ระบุสายพันธุ์ได้จากงานวิจัย)
2.Aetobatus laticeps - Pacific white-spotted eagle ray (1865)
3.Aetobatus narinari - Spotted eagle ray (1790)
4.Aetobatus narutobiei - Naru eagle ray (2013, สายพันธุ์ที่พึ่งระบุใหม่จากงานวิจัยของชาวญี่ปุ่น)
5.Aetobatus ocellatus - ocellated eagle ray (1823)
6.Aetobatus arcuatus - (สูญพันธุ์)
7.Aetobatus cappettai - (สูญพันธุ์)
8.Aetobatus irregularis - (สูญพันธุ์)
9.Aetobatus punctatus - (สูญพันธุ์)
10.Aetobatus sinhaleyus - (สูญพันธุ์)
ซึ่งจากทั้งหมด 10สายพันธุ์ มี 5 สายพันธุ์ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว
ใน 5 สายพันธุ์ของกระเบนนกสกุล Aetobatus ที่เหลืออยู่ หน้าตาเป็นอย่างไร มาดูกันครับ
จากข้อมูลนะครับ สายพันธุ์ที่เหมือนกับกระเบนในรายการนั้นมีทั้งหมด 3สายพันธุ์
1.Aetobatus laticeps - Pacific white-spotted eagle ray (1865)
2.Aetobatus narinari - Spotted eagle ray (1790)
3.Aetobatus ocellatus - ocellated eagle ray (1823)
โดย Aetobatus narinari เป็นสายพันธุ์แรก ที่ถูกจำแนกและระบุไว้ตั้งแต่ปี 1790 ต่อมาในปี ค.ศ.1823 ได้มีงานวิจัยที่ค้นพบว่ามีอีกสายพันธุ์หนึ่งคือ Aetobatus ocellatus - ocellated eagle ray และค้นพบ Aetobatus laticeps - Pacific white-spotted eagle ray ในปี ค.ศ.1865 ซึ่งแรกเริ่มเดิมทีทั้ง3สายพันธุ์ ถูกเรียกรวมๆกันว่า Spotted eagle ray เนื่องจาก narinari ถูกค้นพบก่อน ทำให้ในอดีต เข้าใจว่ามันเป็นสายพันธุ์เดียวกันด้วยลักษณะทางกายภาพที่เหมือนกัน คือมี จุดสีขาว ทั้งจุดทึบและโดนัท หางที่ยาว ลักษณะของปีกและลำตัวเหมือนกัน และถูกระบุว่า สามารถพบได้ในเขตtropical regions หรือเขต Indo-Pacific รวมทั้งเขต Atlantic อ่าว Maxico และทะเลCaribbean
(รูปอ้างอิงจากIUCN)
ปัจจุบัน มีงานวิจัยที่บ่งชี้และจำแนกสายพันธุ์ ระหว่าง 3สายพันธุ์นี้ได้มากขึ้น โดยผมจะขอสรุปเท่าที่รวบรวมข้อมูลมาได้นะครับว่าแต่ละสายพันธุ์มีข้อแตกต่างกันอย่างไร
1. ทั้ง 3 สายพันธุ์ แตกต่างกันที่ Genetic หรือยีนส์ นั่นเอง
2. ทั้ง 3 สายพันธุ์ มีถิ่นอาศัยที่แตกต่างกัน ปัจจุบันมีข้อมูลจากงานวิจัยที่ระบุได้ว่า
-Aetobatus narinari - Spotted eagle ray มีถิ่นที่อยู่อาศัยในเขต Atlantic รวมถึงอ่าวMaxico เท่านั้น จากงานวิจัย Rays of the World 2016
https://www.publish.csiro.au/book/7053/?fbclid=IwAR1tXG04yIPJdlKcIp1rcocsEUJCssofHnzI59O-TYzCtPw2Q3907BQufWY
เป็นโครงการร่วมมือของ taxonomists ที่มีพื้นที่เก็บตัวอย่างทั่วโลกชื่อ Chondrichthyan Tree of Life project, CTOL. ซึ่งมีความน่าเชื่อถือสูงกว่างานวิจัยของBOBLME ปี2014 ที่ระบุว่าค้นพบ Narinari 1ตัวในทะเลอันดาลมัน
-Aetobatus ocellatus - ocellated eagle ray จะมีถิ่นที่อยู่อาศัยในเขต Indo-Pacific รวมถึงมหาสมุทรอินเดีย
-Aetobatus laticeps - Pacific white-spotted eagle ray จะมีถิ่นที่อยู่อาศัยในเขต East Pacific จนไปถึงแถบช่ายฝั่งตะวันตกของทวีปอเมริกา
สรุปถิ่นที่อยู่ของกระเบนทั้ง3สายพันธุ์
3.ในส่วนของลักษณะทางกายภาพ
Aetobatus ocellatus มีข้อแตกต่างกับอีก 2 สายพันธุ์ (Aetobatus laticeps กับ Aetobatus narinari)
คือ
1.มีความยาวของหางและเงี่ยง ที่ยาวกว่า
- a longer tail (mean total length 281 vs. 263% DW)
- a longer stinging spine (mean length 9.7 vs. 8.9% DW)
2.มีสีผิวหนังที่ค่อนข้างเข้มกว่า (แยกไม่ออกอยู่ดี)
บางคนอาจจะคิดว่า จุดสี และจำนวนจุดสีที่จะมีความแตกต่างกันหรือไม่ระหว่าง3สายพันธุ์ บางคนคิดว่า narinari มีจุดสีขาวที่มากกว่า
ปัจจุบัน ทั้ง3สายพันธุ์ สามารถมีจุดสีขาว ทั้งทึบและโดนัทได้ทั้งคู่ จะมีจุดสีแบบไหนขึ้นอยู่กับmorphologicของแต่ละตัวแตกต่างกันไป ส่วนในเรื่องของจำนวนจุด ยังไม่มีงานวิจัยหรือข้อมูลใดที่บ่งชี้ว่าแต่ละสายพันธุ์มีจำนวนจุดสีที่ต่างกัน
ส่วนในสายพันธุ์ Aetobatus laticeps นั้น แตกต่างกันกับ Aetobatus narinari แค่ genetic เท่านั้น
ดังนั้นในเรื่องของสายพันธุ์ที่สามารถถูกพบได้ในประเทศไทยคือ Ocellatus เท่านั้นนะครับ (ขอบคุณทุกท่านที่ส่งงานวิจัยมาอัพเดทข้อมูลที่ถูกต้องให้นะครับ)
ในเรื่องของประเด็นสถานะของการอนุรักษ์
มีหลายคนตั้งคำถามว่าถึงจะอยู่ใน Red list ก็ไม่ได้แปลว่าจะสูญพันธุ์ หรือนำมาทำอาหารได้
ใช่ครั้บ เพราะในหลายสายพันธุ์ ก็อยู่ใน Red list และก็ยังมีการนำมาทำอาหารกันปกติ
ทีนี้มาทำความเข้าใจในเรื่องของ Red list ก่อนนะครับ
ปัจจุบัน ใน Red list ที่มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์นั้นมีหลายระดับและวิธีการชี้วัดในหลายๆด้าน ทั้งเรื่องประชากร ถิ่นที่อยู่อาศัย อัตราการเจริญเติบโต แพร่พันธุ์ และอัตราการตาย/ถูกล่า และถูกคุกคามในธรรมชาติครับ (ขอเน้นว่าในธรรมชาตินะครับ ไม่นับสายพันธุ์ที่มีการเพาะเลี้ยงเพื่อการบริโภค)
ดังนั้นปัจจัยที่นำมาชี้วัดได้นั้นมีมากมาย ขึ้นอยู่กับงานวิจัยที่ออกมาด้วย
มาดูระดับความเสี่ยงของ Red list กันก่อนนะครับ
NE/DD คือไม่มีการประเมิน หรือข้อมูลไม่เพียงพอ
LC- Least Concern ไม่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์
NT- Near threatened เข้าข่ายเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์
VU - Vulnerable อ่อนแอเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์
EN - Endangered เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์
CR - Critically endangered เสี่ยงขั้นวิกฤติต่อการสูญพันธุ์
EW - Extinct in the wild สูญพันธุ์ในธรรมชาติไปแล้ว
EX - Extinct สูญพันธุ์
ในระดับ CR นั้น ส่วนใหญ่จะสามารถระบุจำนวนประชากรได้ เช่น
เสือดาวอามูร์ เหลือไม่ถึง 50 ตัว
แรดดำ ที่เหลือไม่กี่ตัวในแอฟริกา
Javan Rhino หรือแรดชวา เหลือราวๆ 50 ตัว
ส่วนในระดับ EW คือสูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติแล้ว
เช่น แรดขาวเหนือ northern white rhinoceros ซึ่งก่อนหน้านี้เหลือตัวสุดท้ายของโลก และได้รับการคุ้มครองอย่างแน่นหนาจากเจ้าหน้าที่ติดอาวุธ ภายในศูนย์อนุรักษ์โอล เพเยตา ประเทศเคนยา ปัจจุบันแรดขาวเหนือตัวนี้ ได้ตายไปในปี 2018 สถานะจาก EW จึงกลายเป็น EX นั่นคือสูญพันธุ์ไปแล้วนั่นเอง
Aetobatus laticeps - Pacific white-spotted eagle ray
สถานะการอนุรักษ์ เป็น NE หรือ Not evaluated คือยังไงมีการประเมิน
Aetobatus narinari - Spotted eagle ray
สถานะการอนุรักษ์ เป็น NT - Near Threatened คือเข้าข่ายความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์
Aetobatus ocellatus - ocellated eagle ray
สถานะการอนุรักษ์ เป็น VU - Vulnerable คือ อ่อนแอ มีความเสี่ยงสูงต่อการสูญพันธุ์
บางสายพันธุ์อยู่ในระดับถูกคุกคาม แต่มีการนำมาทำอาหาร อาจจะเพราะมีการเพาะเลี้ยงเป็นฟาร์มเพื่อการบริโภคได้ การชี้วัดเป็นเรื่องของการคุกคามประชากรในธรรมชาติอย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น ว่าง่ายๆคือประชากรในธรรมชาตินั้นถูกคุกคาม และมีอัตราการตาย/ถูกล่า มากกว่าอัตราการเกิดใหม่ จนทำให้จำนวนประชากรนั้นลดลงอย่างต่อเนื่องครับ
ยกตัวอย่าง
ปลาฉลามครีบดำ ซึ่งเป็นปลาฉลามที่ถูกล่าเอาครีบมาทำหูฉลามเยอะ ก็ยังอยู่ในระดับ NT ครับ (ไม่สนับสนุนการบริโภคหูฉลามนะครับ) ซึ่งการรณรงค์ไม่บริโภคหูฉลามในประเทศเราก็ไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าไรนัก หากคนยังนิยมบริโภคหูฉลามกันอยู่ ต่อไปปัญหาประชากรของฉลามชนิดนี้อาจจะรุนแรงขึ้นและถูกจัดอยู่ในระดับ VU ได้
ปลาแซลมอนแอตแลนติก มีระดับอยู่ในระดับ IC คือ ต่ำกว่า LC อีกครับ คือมีความเสี่ยงต่ำมาก มีจำนวนประชากรเยอะในทะเล สามารถนำมาบริโภคเป็นอาหารได้ และไม่กระทบต่อจำนวนประชากรโดยรวม (อัตราการเกิดอาจจะใกล้เคียงกับอัตราการถูกล่าในธรรมชาติ)
ดังนั้น ปลากระเบนสายพันธุ์ ocellatus ที่มีระดับสถานะของการอนุรักษ์อยู่ที่ VU จัดอยู่ในระดับถูกคุกคามและความเสี่ยงสูงต่อการสูญพันธุ์
หลายคนอาจจะตั้งคำถามว่า ถ้ามันหายาก ทำไมถึงติดอวนขึ้นมา และเจอในตลาดปลาได้ง่าย
ในประเด็นนี้ ก็ต้องพูดถึงจำนวนประชากรของปลากระเบนชนิดนี้ ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลหรืองานวิจัยที่ระบุจำนวนประชากรของกระเบนชนิดนี้ได้
สมมติในโลกเหลือประชากรกระเบนชนิดนี้จำนวน 100ล้านตัว
100ล้านตัวนี้ จัดว่าหายาก และมีความเสี่ยงสูงต่อการสูญพันธุ์หรือไม่?
ถ้าเห็น100ล้านตัวแบบนี้ ส่วนใหญ่ทุกคนก็คงตอบว่า ไม่เสี่ยง
แต่อยากทุกคนให้พิจารณาถึงประเด็นของระบบนิเวศด้วยว่า การมีปลากระเบนชนิดนี้ ที่สมมติว่ามี100ล้านตัวในโลกนั้น อาจจะถือว่าน้อยก็ได้
อย่างปลาฉลามครีบดำที่ถูกล่าอย่างหนัก ก็ยังจัดอยู่ในระดับ NT ส่วนกระเบน ocellatus ถูกจัดอยู่ในระดับ VU ซึ่งรุนแรงกว่า
ทั้งปลาฉลามครีบดำ หรือ กระเบน ocellatus ก็ยังสามารถพบได้ทั่วไปในทะเล แต่เรื่องการคุกคามธรรมชาติของมนุษย์ก็ยังคงเหมือนเดิม