JJNY : 4in1 แคร์เตือนมหาวิกฤตศก.ไทย/เปิดตัวกลุ่มทนายอีสานเพื่อปชช./สมชัยแฉกกต.ยังไม่สอบพยานปากแรก/ว่างงานพุ่งรอบ20ปี

"แคร์" เตือนรัฐบาล มหาวิกฤตเศรษฐกิจไทย หนักกว่าปี40 เริ่มชัดเจน ตุลาคมนี้
https://www.matichon.co.th/politics/news_2246508
 

 
“กลุ่มแคร์” ออกแถลงการณ์เสนอทางออกแก้วิกฤต ศก. ช่วงโควิดให้รบ. ชี้ เดือนตุลานี้ คือ มหาวิกฤตเศรษฐกิจ ประเทศไทย
 
เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน กลุ่ม แคร์ คิดเคลื่อนไทย ได้ออกแถลงการณ์แคร์ ชุบชีวิตเศรษฐกิจไทยอัดฉีด SME 2 ล้านล้าน ลดดอก ปลอดต้น 4 ปี ว่า ตุลามหาวิกฤตเศรษฐกิจ ประเทศไทยปราศจากผู้ติดเชื้อโรคโควิด-19 ในประเทศมา 34 วันแล้ว แต่ความเสียหายทางเศรษฐกิจยังคงเพิ่มพูนขึ้นทุกวัน เพราะธุรกิจต่างๆ ยังไม่สามารถกลับมาดำเนินการได้ปกติเหมือนเดิม มาตรการเยียวยาของภาครัฐ มีข้อจำกัดทั้งในเชิงของความทั่วถึง และระยะเวลาที่สั้นอย่างมาก  เช่น การเยียวยาผู้ว่างงาน 15 ล้านคน และเกษตรกร 10 ล้านคน ซึ่งได้รับเงินช่วยเหลือ 5,000 บาทต่อเดือนเพียง 3 เดือน ในขณะที่ประเมินกันว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกให้กลับมาสู่สภาวะปกตินั้น ต้องใช้เวลาอีกอย่างน้อย 3 ปี และที่น่ากังวลอย่างยิ่งคือ ผู้ได้รับผลกระทบมีจำนวนมาก เห็นได้จากลูกหนี้สถาบันการเงินที่ขอความช่วยเหลือจากมาตรการผ่อนปรนการจ่ายดอกเบี้ยและคืนเงินต้นซึ่งมีมากถึง 16.3 ล้านราย โดยมีมูลหนี้สูงถึง 6.84 ล้านล้านบาท หรือมากกว่า 1 ใน 3 ของสินเชื่อทั้งหมดในระบบ ในส่วนนี้มีธุรกิจที่ขอผ่อนปรนหนี้มากถึง 1.148 ล้านรายโดยมีมูลหนี้ทั้งสิ้นประมาณ 2.98 ล้านล้านบาทและมีหนี้บุคคลอีก 15.22 ล้านคน มูลหนี้ 3.87 ล้านล้านบาท หนี้ 6.84 ล้านล้านบาทดังกล่าว ได้รับการผ่อนปรนเป็นระยะเวลาประมาณ 6 เดือน เริ่มต้นจากเดือนเมษายน 2563 และแม้ว่าจะมีมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยระยะที่ 2 (ประมาณ 15.2 ล้านคน) โดยให้สถาบันการเงินมีมาตรการผ่อนปรนต่อไปถึง 31 ธันวาคม 2563 แต่ก็เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุเพราะ SME กว่า 1 ล้านรายที่เป็นผู้จ้างงานและผลิตสินค้าและบริการ ก็ยังอยู่ในภาวะที่คับขันมากขึ้นทุกวัน
 
“แคร์เห็นว่า ประชาชนกว่าสิบล้านคนและธุรกิจกว่าล้านรายคาดหวังว่า เขาจะสามารถกลับมาทำงานได้เหมือนเดิมภายในเร็ววัน และธุรกิจนับล้านรายเหล่านั้นหวังว่า จะสามารถสร้างยอดขายได้ใกล้เคียงกับช่วงก่อนการระบาดของโรคโควิด-19 โดยเร็ว เพราะสายป่านที่สะสมเอาไว้ได้ใช้ไปจนหมดแล้ว แต่อนาคตกลับยังดูมืดมนอย่างยิ่ง เพราะการเปิดเศรษฐกิจกระทำอย่างกระท่อนกระแท่น ประชาชนไม่มั่นใจในการใช้ชีวิตตามปกติ แม้แต่การประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินก็ยังคงอยู่ และที่สำคัญคือการท่องเที่ยวจากต่างประเทศ ก็ยังไม่สามารถกำหนดได้ว่าจะเริ่มต้นเมื่อใด หากมองในทิศทางบวกมากที่สุดตามที่รัฐบาลเคยแถลงไว้ว่า รัฐบาลจะอนุญาตให้นักธุรกิจจากต่างประเทศเดินทางเข้ามาในประเทศไทยจำนวน 1,000 คนต่อวัน
 
ซึ่งหากเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 เป็นต้นไป ก็หมายความว่า ในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้จะมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาในประเทศไทยไม่ถึง 100,000 คน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับภาวะปกติที่ชาวต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยถึง 10 ล้านคน เราจะสูญเสียรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติถึง 170,000 ล้านบาทต่อเดือน ภายใต้สภาวการณ์ดังกล่าว จึงมีการคาดการณ์โดยภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องว่า คนไทยอาจตกงานได้มากถึง 5 ถึง 7 ล้านคน นอกจากนั้นนักศึกษาที่เพิ่งจบการศึกษาจะว่างงานอีก 400,000 คน มีข่าวต่อเนื่องว่า บางธุรกิจปิดโรงงานและย้ายฐานการผลิตออกจากประเทศไทย และบางธุรกิจ เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์จะปลดคนงานเพราะยอดขายรถยนต์ตกต่ำ อีกทั้งต้องปรับตัวกับแนวโน้มใหม่ของอุตสาหกรรมที่หันมาผลิตรถไฟฟ้ามากขึ้น ทำให้เร่งทดแทนแรงงานคนโดยการใช้หุ่นยนต์ ซึ่งทำให้พนักงานโดยเฉพาะวัยกลางคนเสี่ยงตกงานอีกนับหมื่นคน ซึ่งในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 นั้นมีคนไทยตกงานประมาณ 1.4 ล้านคน ดังนั้น มหาวิกฤตเศรษฐกิจรอบนี้จึงมีแนวโน้มรุนแรงมากกว่า 4 เท่าตัว ครั้งนี้ชนชั้นกลางและคนยากจนหลายสิบล้านคนตลอดจนธุรกิจ SME เป็นล้านราย มีความเสี่ยงที่จะถูกฟ้องล้มละลายเพราะจ่ายหนี้สินคืนธนาคารไม่ได้” แถลงการณ์ ระบุ
 
แถลงการณ์ ระบุ อีกว่า ความเดือดร้อนของประชาชนและธุรกิจจะปรากฏให้เห็นอย่างกว้างขวางตั้งแต่เดือนตุลาคมนี้ มาตรการของรัฐไม่เพียงพอและขาดเอกภาพ ซึ่งแคร์ยืนยันแน่วแน่ว่า เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ต้องช่วยให้ประชาชนและธุรกิจสามารถก้าวข้ามวิกฤตเศรษฐกิจหลังโควิด-19 ไปให้ได้ โดยไม่ทอดทิ้งใคร เปรียบเสมือนกับการสร้างสะพานเพื่อให้คนไทยทุกคนสามารถก้าวข้ามทั้งเหวสุขภาพที่เพิ่งผ่านพ้นมา และเหวเศรษฐกิจที่อันตรายกว่ามาก แนวทางหลักคือ การสนับสนุนจากภาครัฐที่ต้องให้เวลาอย่างเพียงพอกับประชาชนและธุรกิจประมาณ 4 ปี เพื่อฟื้นฟูและปรับตัวเพื่อเข้าสู่ภาวะนิวนอมอล หลังจากวิกฤตโควิด-19 ผ่านพ้นไปแล้ว และพลิกสถานการณ์จากปัจจุบันที่ประชาชนกำลังไร้ความหวังและเศรษฐกิจไทยกำลังรอวันตาย แคร์ ขอเสนอให้รัฐบาลสนับสนุนสินเชื่อผ่อนปรนวงเงิน 2 ล้านล้านบาท คิดดอกเบี้ย 2 % ต่อปี ปลอดการชำระเงินต้นเป็นเวลา 4 ปี (โดยธนาคารแห่งประเทศไทยปล่อยกู้ผ่านธนาคารพาณิชย์ที่ดอกเบี้ย 0.01% ต่อปี) และรัฐบาลรับความเสี่ยงของความเสียหายจากการปล่อยกู้ดังกล่าวเกือบทั้งหมด (ซึ่งแตกต่างจากสินเชื่อ 500,000 ล้านบาทในปัจจุบันที่เมื่อประเมินในรายละเอียดแล้ว รัฐบาลจะรับใช้ความเสียหายให้เพียงประมาณ 30%) โดยขยายขอบเขตให้ SME ที่ไม่ใช่ลูกหนี้สถาบันการเงินได้รับการสนับสนุนสินเชื่อดังกล่าวด้วย หากมีความเสียหายจากการปล่อยกู้ รัฐบาลสามารถออกเป็นพันธบัตรให้ธนาคารแห่งประเทศไทยซื้อที่ดอกเบี้ย 0.01% ต่อปี ระยะเวลาใช้คืน 100 ปี เพื่อชดใช้ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากหนี้เสียให้กับสถาบันการเงินในอนาคต
 
มาตรการ “อัดฉีด SME 2 ล้านล้าน ลดดอก ปลอดต้น 4 ปี” จะช่วยให้ SME นับล้านรายสามารถกลับมาดำเนินธุรกิจและยังจ้างพนักงานกว่า 10 ล้านคนต่อไปได้ ช่วยให้ประชาชนกว่า 10 ล้านคนไม่ต้องพักชำระหนี้ และเปิดโอกาสให้ SME มีเวลาเพียงพอที่จะวางแผนปรับตัว ปรับต้นทุน เพิ่มการลงทุน หรือแม้กระทั่งปรับเปลี่ยนธุรกิจไปทำธุรกิจประเภทอื่นๆ ก็ได้ วิกฤตสุขภาพและวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ เป็นวิกฤตทั่วโลก ทำให้กำลังซื้อทั้งในประเทศและจากต่างประเทศถดถอยลงอย่างมาก ดังนั้น เมื่อเทียบกับภาวะปกติที่มี NPL ประมาณ 3-4% จึงมีความเป็นไปได้ว่า NPL จะเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว แต่การให้เวลาที่เพียงพอกับธุรกิจในการปรับตัวและหลีกเลี่ยงการปลดพนักงาน และการรอให้สถานการณ์ทั่วโลกคลี่คลายไปในทิศทางที่ดี เช่น การค้นพบวัคซีนป้องกันโรค โคสวิด-19 ย่อมจะช่วยลดความเสียหายดังกล่าว ต่างจากการดำเนินนโยบายแบบค่อยเป็นค่อยไป ในปัจจุบัน ซึ่งจะไม่สามารถยับยั้งความเสียหายทางเศรษฐกิจที่กำลังทวีความรุนแรงขึ้นทุกวันได้เลย
 

 
เปิดตัวกลุ่มทนายความอีสานเพื่อประชาชน พร้อมช่วยเหลือทางคดี หลังพบผู้เห็นต่างจากรัฐถูกดำเนินคดีเพิ่มขึ้น
https://prachatai.com/journal/2020/06/88359
 
ทนายความภาคอีสานจัดตั้งกลุ่ม หลังสถานการณ์ทางการเมืองมีแนวโน้มแย่ลง เหตุรัฐบังคับใช้กฎหมายกับประชาชนที่แสดงออกทางการเมืองเพิ่มมากขึ้น พร้อมช่วยเหลือด้านกฎหมายกับประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากภาครัฐ
 
28 มิ.ย. 2563 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 13.00 น. ที่โรงแรมบ้านสวนคุณตา อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี กลุ่มทนายความ นักกฎหมาย และนักสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ภาคอีสานประมาณ 15 คน ได้รวมตัวกันแถลงข่าวการจัดตั้งกลุ่ม ทนายความภาคอีสานเพื่อประชาชน (The Isaan Lawyer for People)  โดยเป็นการรวมกลุ่มขึ้นภายใต้สถานการณ์ทางการเมืองที่เข้มข้นหลังจากเจ้าหน้าที่รัฐ มีการบังคับใช้กฎหมายกับประชาชนที่ออกมาใช้สิทธิ เสรีภาพในการแสดงออกทางการเมือง
 
พรชัย มณีนิล ทนายความ เป็นผู้อ่านแถลงการณ์การจัดตั้งกลุ่ม โดยระบุว่า เมื่อสถานการณ์ทางการเมืองของไทยได้พัฒนามาถึงจุดที่ประชาชนตาสว่าง รู้เท่าทันผู้มีอำนาจ ไม่อาจยอมรับการกดขี่อีกต่อไป ได้พร้อมกันลุกขึ้นส่งเสียงไปยังผู้มีอำนาจว่า “อำนาจสูงสุดต้องเป็นของประชาชน” ก็ส่งผลให้เกิดความขุ่นเคืองแก่ผู้มีอำนาจอย่างยิ่ง จนนำมาสู่การสกัดกั้นทำลาย ทั้งการไล่ล่า ติดตาม และการดำเนินคดีในลักษณะที่น่าเคลือบแคลงสงสัยถึงความชอบธรรมในการบังคับใช้กฎหมายเช่นว่านั้น ​
 
ในส่วนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสาน ก็มีจำนวนผู้ถูกดำเนินคดีทางการเมือง นับสิบกว่าปีที่ผ่านมาในปริมาณที่มากขึ้น โดยเฉพาะภายหลังการรัฐประหาร 2557 ​
 
กระทั่งจวบจนมีการเลือกตั้งเมื่อ วันที่ 24 มี.ค. 2562 ที่ผ่านมา ก็ยังพบว่า การทำกิจกรรมของประชาชน ด้วยวิธีสันติ สงบ ปราศจากอาวุธ กลับกลายเป็นความผิดที่รัฐยัดเยียดให้มาโดยตลอด ​
 
ป-ด้วยเหตุนี้ จึงนำมาซึ่งการรวมกลุ่ม พบปะ พูดคุย กันของทนายความ นักกฎหมาย และ นักสิทธิมนุษยชน ในพื้นที่ภาคอีสานหลายจังหวัด ที่รักในความเป็นธรรม เพื่อจัดตั้งกลุ่ม “ทนายความภาคอีสานเพื่อประชาชน” ให้เป็นหลักประกันด้านกฎหมาย และคดีความ ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ เพื่อสนับสนุน  และส่งเสริมหลักเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมืองต่อไป
 
​กลุ่ม “ทนายความภาคอีสานเพื่อประชาชน” มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
 
1. ให้ความช่วยเหลือในทางกฎหมายแก่ประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากภาครัฐ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคอีสาน
 
2. เผยแพร่ และให้คำปรึกษาความรู้ด้านกฎหมายให้แก่ประชาชน
 
3. เข้าร่วมสังเกตการณ์ ให้คำปรึกษาและช่วยเหลือประชาชน ในพื้นที่ที่มีการจัดกิจกรรมทางการเมือง เพื่อเป็นการส่งเสริมหลักสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน
 
4. ร่วมมือประสานงาน กับหน่วยงานด้านกฎหมาย และสิทธิมนุษยชนอื่นๆทั้งภายใน และภายนอกประเทศ ​
 
ทั้งนี้ภายทางกลุ่มได้มีมติเลือกให้ พรชัย มณีนิล เป็นประธานกลุ่ม โดยมีทนายความอาสาอีก 9 คนเป็นกรรมการ ประกอบด้วย วัฒนา จันทศิลป์ , อพิศิษฏ์ พรมสิงห์ , ฉัตรชัย แก้วคำปอด , ชนาวิวัฒน์ ทองนรวัฒน์ , พรสิทธิ์ รักษาทรัพย์ , จำลอง บุญชม , ธงชาติ วงศ์หาญ , คมชาติ ปริโยทัย  และเรืองศรี ตรีราช
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่