“แบงก์ชาติ” เรียกนายแบงก์-นอนแบงก์ ถกลดดอกเบี้ยเพิ่มหวังช่วยลดภาระประชาชนจากวิกฤติโควิด โดยสั่งลดดอกเบี้ย 2-4% ทั้ง “บัตรเครดิต-พีโลน-เช่าซื้อรถ” มีผล 1 ก.ค.ถึงสิ้นปีนี้ คาดเตรียมประกาศใช้เร็วๆ นี้
แหล่งข่าวจากวงการการเงิน กล่าวว่า วานนี้(17มิ.ย.) ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ได้เชิญสถาบันการเงินทุกแห่งเข้ามารับฟังเกี่ยวกับมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยที่โดนผลกระทบจากโควิด-19 เพิ่มเติม โดยเฉพาะหนี้ในส่วนของหนี้ครัวเรือนทั้ง หนี้บัตรเครดิต สินเชื่อบุคคล สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ และสินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย
การหารือดังกล่าว สืบเนื่องจากมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ทั้งรายย่อย และผู้ประกอบการ ใกล้สิ้นสุดการช่วยเหลือ เช่นการพักหนี้ การลดดอกเบี้ย ดังนั้น การหารือรอบนี้ เพื่อช่วยเหลือเพิ่มเติมกับลูกหนี้ ที่ได้รับผลกระทบ แม้จะมีการคลายล็อกดาวน์โควิด-19 แต่การฟื้นตัวของรายได้ ธุรกิจต้องใช้เวลาสักระยะกว่าที่ลูกหนี้จะกลับมาฟื้นตัวได้
**สั่งผู้ประกอบการลดดบ.อุ้มลูกค้า
ดังนั้น ธปท. จึงได้ออกมาตรการเพิ่มเติม โดยให้แบงก์ นอนแบงก์ ผู้ประกอบการเช่าซื้อ โดยปรับลดเพดานดอกเบี้ยสินเชื่อเพิ่มเติมราว 2-4 % สำหรับดอกเบี้ยสินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อบุคคล สินเชื่อที่ผ่อนเป็นงวด เช่น สินเชื่อเช่าซื้อ เพื่อประกาศใช้เป็นการทั่วไป เป็นมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งมากกว่ามาตรการขั้นต่ำ ของธปท.ที่ออกมาเมื่อ 1 เม.ย.ที่ผ่านมา ที่ส่วนใหญ่ จะให้ดุลพินิจแบงก์ ในการเข้าไปช่วยเหลือลูกหนี้มากกว่า
ดังนั้นมาตรการที่ออกมารอบนี้ จะเป็นลักษณะปรับลดเรทดอกเบี้ย คล้ายกับลดดอกเบี้ยเงินกู้ MLR MRR ต่างๆ แต่มีระยะเวลา ซึ่งการลดดอกเบี้ยครั้งนี้ ในแต่ละสินเชื่อ จะลดเป็นการทั่วไป ไม่ใช่เฉพาะลูกค้าที่ได้รับผลกระทบโควิดด้วย
“เดิมมาตรการขั้นต่ำของธปท. ส่วนใหญ่ให้ดุลพินิจแบงก์ ในการช่วยเหลือลูกหนี้ ซึ่งบางแบงก์ก็ช่วยเยอะ ช่วยน้อย ลดดอกเบี้ยบ้าง ไม่ลดบ้าง ดังนั้นครั้งนี้ จะเป็นการลดดอกเบี้ยทั้งระบบ ที่เหมือนลดดอกเบี้ยของกนง. ที่มีผลแค่ระยะสั้นๆเพื่อช่วยลูกหนี้ ให้ผ่านวิกฤตไปได้ ซึ่งจะมีผล1ก.ค. -ธ.ค.เท่านั้น ซึ่งแบงก์ชาติทยอยรับฟังความคิดเห็นแบงก์ไปแล้ว หลังจากนี้จะเป็นการเคาะมาตราการจากธปท.แล้ว หลังฟังความคิดเห็น และคาดว่าจะมีการออกมาตรการเป็นรูปธรรมเร็วๆนี้”
นอกจากนี้ ธปท. ยังมีแผนจะขยายเพดานวงเงินสินเชื่อทั้งบัตรเครดิต สินเชื่อบุคคลและบัตรกดเงินสดด้วย โดยเฉพาะในส่วนของผู้มีรายได้น้อยไม่เกิน 3 หมื่นบาทต่อเดือน จากเดิมที่กำหนดวงเงินกู้ยืมไม่เกิน 1.5 เท่า เพิ่มเป็น 2 เท่า
ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/885567
พอดีเห็นข่าวนี้เลยนำมาแชร์ต่อครับ เนื้อหาข่าวค่อนข้างยาวพอสมควร หากใครสนใจเข้าไปอ่านข้อมูลจาก Link ข่าวต้นทางได้เลยนะครับ ส่วนตัวผมเองจากข่าวดูเหมือนจะเป็นลักษณะปรับลดเรทดอกเบี้ยทั่วไปทั้งหมดไม่ใช่เฉพาะลูกค้าที่ได้รับผลกระทบโควิด และยังมีแผนขยายเพดานวงเงินสินเชื่อทั้งบัตรเครดิต สินเชื่อบุคคลและบัตรกดเงินสดอีกด้วย อยากรู้ว่าเพื่อนๆ มีความคิดเห็นยังไงกันบ้างครับ ส่วนตัวคิดว่ามีมาตรการช่วยเหลือประชาชนต่อเนื่องมันก็ดีอยู่นะครับ แต่มันจะดีจริงไหม จะทำให้คนเป็นหนี้เพิ่มเยอะขึ้นด้วยรึป่าว?
เห็นทาง ธปท.เตรียมประกาศลดดอกเบี้ยเพิ่มเติม มีความคิดเห็นยังไงกันบ้างครับ
“แบงก์ชาติ” เรียกนายแบงก์-นอนแบงก์ ถกลดดอกเบี้ยเพิ่มหวังช่วยลดภาระประชาชนจากวิกฤติโควิด โดยสั่งลดดอกเบี้ย 2-4% ทั้ง “บัตรเครดิต-พีโลน-เช่าซื้อรถ” มีผล 1 ก.ค.ถึงสิ้นปีนี้ คาดเตรียมประกาศใช้เร็วๆ นี้
แหล่งข่าวจากวงการการเงิน กล่าวว่า วานนี้(17มิ.ย.) ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ได้เชิญสถาบันการเงินทุกแห่งเข้ามารับฟังเกี่ยวกับมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยที่โดนผลกระทบจากโควิด-19 เพิ่มเติม โดยเฉพาะหนี้ในส่วนของหนี้ครัวเรือนทั้ง หนี้บัตรเครดิต สินเชื่อบุคคล สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ และสินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย
การหารือดังกล่าว สืบเนื่องจากมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ทั้งรายย่อย และผู้ประกอบการ ใกล้สิ้นสุดการช่วยเหลือ เช่นการพักหนี้ การลดดอกเบี้ย ดังนั้น การหารือรอบนี้ เพื่อช่วยเหลือเพิ่มเติมกับลูกหนี้ ที่ได้รับผลกระทบ แม้จะมีการคลายล็อกดาวน์โควิด-19 แต่การฟื้นตัวของรายได้ ธุรกิจต้องใช้เวลาสักระยะกว่าที่ลูกหนี้จะกลับมาฟื้นตัวได้
**สั่งผู้ประกอบการลดดบ.อุ้มลูกค้า
ดังนั้น ธปท. จึงได้ออกมาตรการเพิ่มเติม โดยให้แบงก์ นอนแบงก์ ผู้ประกอบการเช่าซื้อ โดยปรับลดเพดานดอกเบี้ยสินเชื่อเพิ่มเติมราว 2-4 % สำหรับดอกเบี้ยสินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อบุคคล สินเชื่อที่ผ่อนเป็นงวด เช่น สินเชื่อเช่าซื้อ เพื่อประกาศใช้เป็นการทั่วไป เป็นมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งมากกว่ามาตรการขั้นต่ำ ของธปท.ที่ออกมาเมื่อ 1 เม.ย.ที่ผ่านมา ที่ส่วนใหญ่ จะให้ดุลพินิจแบงก์ ในการเข้าไปช่วยเหลือลูกหนี้มากกว่า
ดังนั้นมาตรการที่ออกมารอบนี้ จะเป็นลักษณะปรับลดเรทดอกเบี้ย คล้ายกับลดดอกเบี้ยเงินกู้ MLR MRR ต่างๆ แต่มีระยะเวลา ซึ่งการลดดอกเบี้ยครั้งนี้ ในแต่ละสินเชื่อ จะลดเป็นการทั่วไป ไม่ใช่เฉพาะลูกค้าที่ได้รับผลกระทบโควิดด้วย
“เดิมมาตรการขั้นต่ำของธปท. ส่วนใหญ่ให้ดุลพินิจแบงก์ ในการช่วยเหลือลูกหนี้ ซึ่งบางแบงก์ก็ช่วยเยอะ ช่วยน้อย ลดดอกเบี้ยบ้าง ไม่ลดบ้าง ดังนั้นครั้งนี้ จะเป็นการลดดอกเบี้ยทั้งระบบ ที่เหมือนลดดอกเบี้ยของกนง. ที่มีผลแค่ระยะสั้นๆเพื่อช่วยลูกหนี้ ให้ผ่านวิกฤตไปได้ ซึ่งจะมีผล1ก.ค. -ธ.ค.เท่านั้น ซึ่งแบงก์ชาติทยอยรับฟังความคิดเห็นแบงก์ไปแล้ว หลังจากนี้จะเป็นการเคาะมาตราการจากธปท.แล้ว หลังฟังความคิดเห็น และคาดว่าจะมีการออกมาตรการเป็นรูปธรรมเร็วๆนี้”
นอกจากนี้ ธปท. ยังมีแผนจะขยายเพดานวงเงินสินเชื่อทั้งบัตรเครดิต สินเชื่อบุคคลและบัตรกดเงินสดด้วย โดยเฉพาะในส่วนของผู้มีรายได้น้อยไม่เกิน 3 หมื่นบาทต่อเดือน จากเดิมที่กำหนดวงเงินกู้ยืมไม่เกิน 1.5 เท่า เพิ่มเป็น 2 เท่า
ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/885567
พอดีเห็นข่าวนี้เลยนำมาแชร์ต่อครับ เนื้อหาข่าวค่อนข้างยาวพอสมควร หากใครสนใจเข้าไปอ่านข้อมูลจาก Link ข่าวต้นทางได้เลยนะครับ ส่วนตัวผมเองจากข่าวดูเหมือนจะเป็นลักษณะปรับลดเรทดอกเบี้ยทั่วไปทั้งหมดไม่ใช่เฉพาะลูกค้าที่ได้รับผลกระทบโควิด และยังมีแผนขยายเพดานวงเงินสินเชื่อทั้งบัตรเครดิต สินเชื่อบุคคลและบัตรกดเงินสดอีกด้วย อยากรู้ว่าเพื่อนๆ มีความคิดเห็นยังไงกันบ้างครับ ส่วนตัวคิดว่ามีมาตรการช่วยเหลือประชาชนต่อเนื่องมันก็ดีอยู่นะครับ แต่มันจะดีจริงไหม จะทำให้คนเป็นหนี้เพิ่มเยอะขึ้นด้วยรึป่าว?