Spider-tailed Horned Viper
งูไวเปอร์หางแมงมุม หรือ Spider-tailed Horned Viper ชื่อแปลกๆนี้เนื่องมาจากหางที่มีรูปร่างผิดปกติ และเขาเล็กๆสองเขาบนหัวบริเวณเหนือคิ้ว บนดวงตาสองข้าง เป็นงูพิษสายพันธุ์งูมีเขาทะเลทราย ที่คุณอาจไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน
งูพิษหางแมงมุม สามารถพบเห็นได้ทางตะวันตกของประเทศอิหร่าน และได้รับการประกาศให้เป็นสัตว์สายพันธุ์ใหม่ในปี 2006 ความพิเศษของมันอยู่ที่บริเวณหาง ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับแมงมุม งูชนิดนี้เปลี่ยนส่วนปลายของหางให้กลายเป็นเหยื่อล่อสำหรับล่อนกที่กินแมลงและแมงมุมเป็นอาหารให้เข้ามาใกล้ๆ มันจะใช้หางโบกไปมา เมื่อเหยื่อหลงเข้ามาก็จะกลายเป็นอาหารของมันในที่สุด เป็นเรื่องที่น่าโชคดีสำหรับคนส่วนใหญ่ เพราะงูพิษสายพันธุ์นี้พบได้ในอิหร่านเท่านั้น
(ชมลีลาการจับนกของงูไวเปอร์หางแมงมุม /
https://www.youtube.com/watch?v=VvNrOVf17Es)
บทความโดย dusita / Nature Says
ที่มา:
https://www.buzznick.com/spider-tailed-viper/
Cr.
https://www.thailandstack.com/post-6401-งูไวเปอร์หางแมงมุม-อสรพิษไฮบริดสายพันธุ์ใหม่-ที่ชวนน่าขนลุก-และไม่อยากพบเจอ/ โดย
Thailand Stack
Cr.
https://www.facebook.com/DicitNatura/posts/661495460937787/ แอดมินsapiens
Trimeresurus Salazar
ล่าสุดนักวิทยาศาตร์ค้นพบงูชนิดใหม่ในประเทศอินเดีย และตั้งชื่อมันว่า Trimeresurus Salazar
หลายคนอาจรู้สึกคุ้นๆ ว่าเคยได้ยินชื่อนี้มาจากไหน ทีมนักวิทยาศาสตร์ซึ่งนำทีมโดยคุณ Zeeshan Mirza จากศูนย์วิทยาศาสตร์ชีวภาพแห่งชาติในอินเดีย นักวิทยาศาสตร์ผู้ค้นพบงู Trimeresurus Salazar จงใจตั้งชื่อตาม Salazar Slytherin พ่อมดคนดังจากภาพยนตร์ชื่อดังอย่าง Harry Potter นั่นเอง
Salazar Slytherin “ซัลลาซาร์ สลิธีริน” เป็นพ่อมดผู้ทรงอิทธิพลในยุคที่ก่อตั้งโรงเรียน Hogwarts มีพลังอำนาจเวทมนต์สูงมาก เขามีความสามารถพิเศษอย่างหนึ่ง คือ สามารถพูดคุย และติดต่อกับงูได้ บ้าน Salazar Slytherin ที่เขาก่อตั้งขึ้นจึงมีสัญลักษณ์เป็นรูปงู นักวิจัยผู้คนพบจึงตั้งชื่องูชนิดนี้ว่า Trimeresurus Salazar และเรียกสั้นๆ ว่า งูพิษ Salazar (Salazar’s pit viper)
งู Trimeresurus Salazar ถูกค้นพบในรัฐอรุณาจัลประเทศ ประเทศอินเดีย เป็นงูที่มีพิษสายพันธ์ุหนึ่งจากจำนวน 48 สายพันธุ์
ในตระกูลงูเขียวหางไหม้ (Trimeresurus ) ซึ่งค้นพบบ่อยในภูมิภาคเอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีลักษณะพิเศษที่มองเห็นได้ง่ายคือมีลำตัวสีเขียว และมีเส้นสีส้มอมแดงที่บริเวณส่วนหัวของงู Trimeresurus salazar ตัวผู้ นับเป็นครั้งที่สองแล้วที่นักวิทยาศาสตร์ทำการค้นพบสัตว์สายพันธุ์ใหม่ๆ ในระหว่างการสำรวจพื้นที่อรุณาจัลประเทศ
ที่มา – CNN, Scitechdaily
Cr.
https://brandinside.asia/found-salazar-snake-in-india/ By Pran Suwannatat
Cr.
https://www.catdumb.tv/trimeresurus-salazar-378/ By เหมียวศรัทธา
Atractaspis branchi
(Rodel et al., Zoosystematics and Evolution, 2019)
ในป่าดิบชื้นของประเทศกินีและประเทศไลบีเรีย นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบงูสายพันธุ์ใหม่ที่สามารถแพร่กระจายพิษได้โดยไม่ต้องอ้าปาก
งูชนิดนี้มีลักษณะพิเศษที่มีเฉพาะในงู Stiletto เท่านั้น ซึ่งก็คือเขี้ยวยาวที่สามารถเข้าและออกจากมุมปาก และทำให้พวกมันสามารถฉกศัตรูจากด้านข้างได้
ซึ่งเหมาะกับการพุ่งโจมตีในระยะไกลและศัตรูแสนเจ้าเล่ห์ แม้แต่กับผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์เลื้อยคลานก็อาจถูกโจมตีได้ง่าย
ผู้ชำนาญด้านสัตว์ป่าจากพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติกรุงเบอร์ลิน( Berlin’s Natural History Museum) พบว่า การจับงูชนิดนี้ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ
นักวิจัยพบสายพันธุ์นี้ครั้งแรกโดยบังเอิญในป่าของไลบีเรีย มันเลื้อยไปตามเนินเขาอันมืดมิดของป่าดงดิบ แต่เมื่อพวกเขาพยายามจับมันด้วยวิธีปกติโดยการใช้นิ้วมือจับด้านหลังหัวงู ซึ่งนั่นมันไม่ใช่ความคิดที่ดีเลย เนื่องจากมันจะยังสามารถกัดเราได้จากการจับในลักษณะนี้ มันมักจะป้องกันตัวด้วยการเลื้อยหนีอย่างช้าๆ ขดตัวเป็นวงและคลายตัว รวมถึงกระโดดในระยะทางที่เกือบจะเท่าความยาวลำตัว คล้ายกับงูหมาป่าในตระกูล Lycophidion
พิษของมันไม่ได้ร้ายแรงถึงชีวิต แต่ก็สามารถสร้างบาดแผลฉกรรจ์ได้ โดยพิษจะเข้าไปทำลายเซลล์บริเวณที่ถูกกัด ทำให้เกิดอาการปวดอย่างรุนแรง บวมพอง และบางครั้งก็สร้างความเสียหายแก่เนื้อเยื่อจนสูญเสียนิ้วได้ หากไม่รู้จักวิธีป้องกันพิษ
ทีมนักวิจัยเดินทางไปเก็บรวบรวมตัวอย่างเพิ่มอีกสองตัวอย่าง ซึ่งพบในไร่กาแฟและไร่กล้วยห่างกันประมาณ 27 กิโลเมตร ทางตอนใต้ของประเทศกินี และอธิบายลักษณะของพวกมันไว้ว่ามีลำตัวเรียวยาวและมีหัวกลมมนขนาดเท่าลำตัว
งูสายพันธุ์ใหม่นี้ถูกตั้งชื่อว่า Atractaspis branchi หรือ Branch’s stiletto ปัจจุบันเป็นที่รู้จักอย่างน้อย 21 ชนิด ส่วนใหญ่จะพบได้ในทวีปแอฟริกา ทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮารา
นักวิจัยสันนิษฐานว่างู Stiletto มีถิ่นเฉพาะในป่าฝนตอนบนของประเทศกินี รวมถึงในภูมิภาคที่มีความหลากหลายและเป็นเอกลักษณ์อย่างภาคตะวันตกเฉียงเหนือของไลบีเรีย แต่พวกมันกำลังใกล้สูญพันธุ์จากการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อทำการเกษตร เหมืองแร่ และการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ การค้นพบนี้ชี้ให้เห็นว่าภูมิภาคนี้เป็นศูนย์กลางของความหลากหลายทางชีวภาพที่อุดมสมบูรณ์เพียงใด แต่เหล่านักวิจัยยังคงพยายามต่อไปในการสำรวจและค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับพวกมัน เพื่อให้เราได้รู้จักแหล่งที่อยู่ อุปนิสัย และทักษะต่าง ๆ ของพวกมันให้มากยิ่งขึ้น
Cr.ภาพ Myke Clarkson
Cr.
http://realmetro.com/งูพ่นพิษไม่อ้าปาก/
Protobothrops kelomohy Sumontha et. al., 2020
บนเพจเฟซบุ๊ก งูพิษชิดใกล้ Thailand Snakes : Close Encounters คุณมนตรี สุมณฑา ดร.วรวิทู มีสุข และ สพญ.ดร.ลาวัณย์ จันทร์โฮม ได้เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับงูพิษชนิดใหม่ที่ถูกค้นพบบนดอยอมก๋อย จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นงูพิษที่ไม่เคยถูกค้นพบมาก่อน
งูหลบซ่อนอยู่ในดินแดนที่ห่างไกลคนที่ราบ มีเพียงชนเผ่าบนดอยสูงบางแห่งเท่านั้นที่รู้จักมาก่อน และมีชื่อเรียกกล่าวขานว่า “เกอะลอโม่ฮือ” แปลว่า “ไฟ/สายฟ้า+แม่ฟัก” หรือ “งูที่ฉกกัดแล้วเกิดความเจ็บปวดอย่างรุนแรง ซึ่งมีพฤติกรรมกกไข่จนกว่าลูกงูฟักออกมา” ได้
ซึ่งต่อมาได้ให้โลกรู้จักในนาม “Protobothrops kelomohy Sumontha et. al., 2020” (ออกเสียงประมาณว่า โพร-โต-โบ-ธร่อบ(ส) เกอะ-ลอ-โม่-ฮือ) และมีชื่อไทยเพื่อให้เกียรติแก่ภาษาพื้นเมืองชนเผ่ากะเหรี่ยงและพื้นที่ที่เราได้รู้จักกับงูชนิดนี้ ณ อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ว่า “งูเกอะลออมก๋อย”
งูเกอะลออมก๋อย เป็น “งูพิษ กลุ่มใกล้เคียงกับงูเขียวหางไหม้” ที่มีผลต่อ “ระบบเลือด” ที่มีความรุนแรงมากชนิดหนึ่ง จากการสอบถามคนในพื้นที่ยังไม่มีใครได้รับอันตรายถึงชีวิต แต่สร้างความปวดร้าวทรมานระดับหนึ่ง และมักทิ้งร่องรอยประสบการณ์หลังจากถูกกัดเต็มที่
งูเกอะลออมก๋อย มีการกระจายพันธุ์ตามพื้นที่สูงทางภาคเหนือในป่าที่มีความชื้นสูง ปัจจุบันพบในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ตาก และคาดว่าจะพบในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นงูที่มีนิสัยขี้ระแวง สามารถฉกกัดได้ไกลและรวดเร็วมาก ทั้งนี้เรื่องราวของงูเกอะลออมก๋อย ได้ถูกตีพิมพ์ลงในวารสาร Tropical NaturelHistory (TNH) เมื่อวันที่ 10 มี.ค. 2563 ที่ผ่านมา เรื่องค้นพบงูชนิดใหม่ที่ได้รับการรายงานอย่างเป็นทางการของประเทศไทย และของโลก
Cr.ภาพ mgronline.com
Cr. งูพิษชิดใกล้ Thailand Snakes
Cr.
https://www.khaofc.com/articles/95289
Loxosceles Tenochtitlan
เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2562 เว็บไซต์เดลี่เมล เผยรายงานว่า ทีมนักวิทยาศาสตร์ในประเทศเม็กซิโก ค้นพบแมงมุมพิษสายพันธุ์อันตรายร้ายแรง แม้ว่าพิษของมันจะไม่ได้เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่สามารถทำให้เนื้อของมนุษย์เกิดบาดแผลอย่างรุนแรง เนื้อเน่าและกลายเป็นเนื้อตาย จากการกัดเพียงครั้งเดียว
แมงมุมพิษดังกล่าว ถูกพบแอบแฝงตัวอาศัยอยู่ในเฟอร์นิเจอร์และผ้าภายในบ้าน ที่เม็กซิโกตอนกลาง ถูกตั้งชื่อให้ว่า Loxosceles Tenochtitlan โดยผู้ที่พบ ซึ่งเป็นทีมนักวิทยาศาสตร์ชีววิทยาและศาสตราจารย์ พร้อมด้วยกลุ่มนักศึกษาจากมหาวิทยาลัย National Autonomous University of Mexico (UNAM) ในรัฐตลัซกาลา ของเม็กซิโก
จากการวิเคราะห์แมงมุมดังกล่าว พบว่ามันมีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตหุบเขาเม็กซิโก คาดว่ามันเข้ามายังสถานที่ที่ถูกพบโดยการขนส่งพวกไม้ประดับ โดยในตอนแรกทางทีมนักวิทยาศาสตร์เข้าใจผิด คิดว่ามันเป็นสายพันธุ์ Loxosceles misteca ที่อาศัยอยู่ในรัฐเกร์เรโร เนื่องจากมีลักษณะคล้ายกันมาก แต่เมื่อทำการศึกษาอณูชีววิทยาของแมงมุมทั้งสองสปีชีส์พบว่า พวกมันแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
โดยแผลที่เกิดจากการถูกแมงมุมชนิดนี้กัดสามารถกลายเป็นเนื้อตายที่มีความกว้างถึงประมาณ 40 เซนติเมตร ในขณะที่แมงมุมดังกล่าวจะไม่ตาย พฤติกรรมของแมงมุมพิษดังกล่าว จะโจมตีมนุษย์เฉพาะเมื่อรู้สึกว่าถูกคุกคามและชอบซ่อนตัวในที่เปลี่ยว ตามหลุมและซอกเหลือบต่าง ๆ ทีมผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า สามารถหลีกเลี่ยงได้โดยการจัดการบ้านให้สะอาดเรียบร้อยไม่มีจุดซ่อนเร้นใด ๆ
ภาพจาก National Autonomous University of Mexico (UNAM)
Cr.
https://hilight.kapook.com/view/197333
Ceratogyrus attonitifer
ทารันทูลาสายพันธุ์ใหม่มีชื่อว่า Ceratogyrus attonitifer มาจากภาษาละติน คือ “ผู้ถือครองความพิศวง” และเผยแพร่ผลการสำรวจในวารสาร African Invertebrates
แมงมุมตัวใหม่นี้ เป็นความลึกลับที่แท้จริงสำหรับนักวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบมันในระหว่างการสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพในแองโกลา ภูมิภาคนี้เป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตหลายชนิดที่ยังไม่ได้รับการจัดหมวดหมู่อย่างถูกต้องและพบแมงมุมที่มีเขาประหลาดขนาดใหญ่ที่ด้านหลังของมัน
นักวิทยาศาสตร์มีความเข้าใจน้อยมากเกี่ยวกับแมงมุมสายพันธุ์ใหม่นี้ รวมถึงเขาของมันสามารถใช้งานอย่างไร แต่พวกเขารู้ว่า C. attonitifer เป็นนักล่าที่ออกหากินเวลากลางคืน นอนหลับเวลากลางวันตรงบริเวณก้นโพรง และจะขึ้นมาที่ปากโพรงเพื่อรอให้เหยื่อตกลงมา จากนั้นก็กัดและฉีดพิษเข้าไปในตัวของเหยื่อ เมื่อเหยื่อหยุดนิ่งมันจะดูดสารอาหารที่อยู่ในตัวของเหยื่อ
ในรายงานการวิจัยใหม่ที่ตีพิมพ์นั้น คณะวิจัยตั้งข้อสังเกตว่าไม่มีแมงมุมชนิดอื่นในบันทึกทางวิทยาศาสตร์ที่มีคุณสมบัติดังกล่าว และดูเหมือนว่ามันจะเป็นสายพันธุ์เดียวที่มีการพัฒนาโดยมีเขาบนหลัง
(C. attonitifer (ชนิดพันธุ์ใหม่ที่พึ่งมีการสำรวจพบ) แสดงท่าทางขู่ศัตรู โดยการชูเขี้ยวและชูเท้าหน้าขึ้นมาป้องกันตัว)
Cr.
https://ngthai.com/animals/18469/tarantula-spider/
Cr.
https://bgr.com/2019/02/13/horned-tarantula-spider-angola-study/
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
อสรพิษพันธุ์ใหม่สายพิเศษ
งูไวเปอร์หางแมงมุม หรือ Spider-tailed Horned Viper ชื่อแปลกๆนี้เนื่องมาจากหางที่มีรูปร่างผิดปกติ และเขาเล็กๆสองเขาบนหัวบริเวณเหนือคิ้ว บนดวงตาสองข้าง เป็นงูพิษสายพันธุ์งูมีเขาทะเลทราย ที่คุณอาจไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน
งูพิษหางแมงมุม สามารถพบเห็นได้ทางตะวันตกของประเทศอิหร่าน และได้รับการประกาศให้เป็นสัตว์สายพันธุ์ใหม่ในปี 2006 ความพิเศษของมันอยู่ที่บริเวณหาง ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับแมงมุม งูชนิดนี้เปลี่ยนส่วนปลายของหางให้กลายเป็นเหยื่อล่อสำหรับล่อนกที่กินแมลงและแมงมุมเป็นอาหารให้เข้ามาใกล้ๆ มันจะใช้หางโบกไปมา เมื่อเหยื่อหลงเข้ามาก็จะกลายเป็นอาหารของมันในที่สุด เป็นเรื่องที่น่าโชคดีสำหรับคนส่วนใหญ่ เพราะงูพิษสายพันธุ์นี้พบได้ในอิหร่านเท่านั้น
(ชมลีลาการจับนกของงูไวเปอร์หางแมงมุม / https://www.youtube.com/watch?v=VvNrOVf17Es)
บทความโดย dusita / Nature Says
ที่มา: https://www.buzznick.com/spider-tailed-viper/
Cr.https://www.thailandstack.com/post-6401-งูไวเปอร์หางแมงมุม-อสรพิษไฮบริดสายพันธุ์ใหม่-ที่ชวนน่าขนลุก-และไม่อยากพบเจอ/ โดย
Thailand Stack
Cr.https://www.facebook.com/DicitNatura/posts/661495460937787/ แอดมินsapiens
Trimeresurus Salazar
ล่าสุดนักวิทยาศาตร์ค้นพบงูชนิดใหม่ในประเทศอินเดีย และตั้งชื่อมันว่า Trimeresurus Salazar
หลายคนอาจรู้สึกคุ้นๆ ว่าเคยได้ยินชื่อนี้มาจากไหน ทีมนักวิทยาศาสตร์ซึ่งนำทีมโดยคุณ Zeeshan Mirza จากศูนย์วิทยาศาสตร์ชีวภาพแห่งชาติในอินเดีย นักวิทยาศาสตร์ผู้ค้นพบงู Trimeresurus Salazar จงใจตั้งชื่อตาม Salazar Slytherin พ่อมดคนดังจากภาพยนตร์ชื่อดังอย่าง Harry Potter นั่นเอง
Salazar Slytherin “ซัลลาซาร์ สลิธีริน” เป็นพ่อมดผู้ทรงอิทธิพลในยุคที่ก่อตั้งโรงเรียน Hogwarts มีพลังอำนาจเวทมนต์สูงมาก เขามีความสามารถพิเศษอย่างหนึ่ง คือ สามารถพูดคุย และติดต่อกับงูได้ บ้าน Salazar Slytherin ที่เขาก่อตั้งขึ้นจึงมีสัญลักษณ์เป็นรูปงู นักวิจัยผู้คนพบจึงตั้งชื่องูชนิดนี้ว่า Trimeresurus Salazar และเรียกสั้นๆ ว่า งูพิษ Salazar (Salazar’s pit viper)
งู Trimeresurus Salazar ถูกค้นพบในรัฐอรุณาจัลประเทศ ประเทศอินเดีย เป็นงูที่มีพิษสายพันธ์ุหนึ่งจากจำนวน 48 สายพันธุ์
ในตระกูลงูเขียวหางไหม้ (Trimeresurus ) ซึ่งค้นพบบ่อยในภูมิภาคเอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีลักษณะพิเศษที่มองเห็นได้ง่ายคือมีลำตัวสีเขียว และมีเส้นสีส้มอมแดงที่บริเวณส่วนหัวของงู Trimeresurus salazar ตัวผู้ นับเป็นครั้งที่สองแล้วที่นักวิทยาศาสตร์ทำการค้นพบสัตว์สายพันธุ์ใหม่ๆ ในระหว่างการสำรวจพื้นที่อรุณาจัลประเทศ
ที่มา – CNN, Scitechdaily
Cr.https://brandinside.asia/found-salazar-snake-in-india/ By Pran Suwannatat
Cr.https://www.catdumb.tv/trimeresurus-salazar-378/ By เหมียวศรัทธา
Atractaspis branchi
ในป่าดิบชื้นของประเทศกินีและประเทศไลบีเรีย นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบงูสายพันธุ์ใหม่ที่สามารถแพร่กระจายพิษได้โดยไม่ต้องอ้าปาก
งูชนิดนี้มีลักษณะพิเศษที่มีเฉพาะในงู Stiletto เท่านั้น ซึ่งก็คือเขี้ยวยาวที่สามารถเข้าและออกจากมุมปาก และทำให้พวกมันสามารถฉกศัตรูจากด้านข้างได้
ซึ่งเหมาะกับการพุ่งโจมตีในระยะไกลและศัตรูแสนเจ้าเล่ห์ แม้แต่กับผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์เลื้อยคลานก็อาจถูกโจมตีได้ง่าย
ผู้ชำนาญด้านสัตว์ป่าจากพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติกรุงเบอร์ลิน( Berlin’s Natural History Museum) พบว่า การจับงูชนิดนี้ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ
นักวิจัยพบสายพันธุ์นี้ครั้งแรกโดยบังเอิญในป่าของไลบีเรีย มันเลื้อยไปตามเนินเขาอันมืดมิดของป่าดงดิบ แต่เมื่อพวกเขาพยายามจับมันด้วยวิธีปกติโดยการใช้นิ้วมือจับด้านหลังหัวงู ซึ่งนั่นมันไม่ใช่ความคิดที่ดีเลย เนื่องจากมันจะยังสามารถกัดเราได้จากการจับในลักษณะนี้ มันมักจะป้องกันตัวด้วยการเลื้อยหนีอย่างช้าๆ ขดตัวเป็นวงและคลายตัว รวมถึงกระโดดในระยะทางที่เกือบจะเท่าความยาวลำตัว คล้ายกับงูหมาป่าในตระกูล Lycophidion
พิษของมันไม่ได้ร้ายแรงถึงชีวิต แต่ก็สามารถสร้างบาดแผลฉกรรจ์ได้ โดยพิษจะเข้าไปทำลายเซลล์บริเวณที่ถูกกัด ทำให้เกิดอาการปวดอย่างรุนแรง บวมพอง และบางครั้งก็สร้างความเสียหายแก่เนื้อเยื่อจนสูญเสียนิ้วได้ หากไม่รู้จักวิธีป้องกันพิษ
ทีมนักวิจัยเดินทางไปเก็บรวบรวมตัวอย่างเพิ่มอีกสองตัวอย่าง ซึ่งพบในไร่กาแฟและไร่กล้วยห่างกันประมาณ 27 กิโลเมตร ทางตอนใต้ของประเทศกินี และอธิบายลักษณะของพวกมันไว้ว่ามีลำตัวเรียวยาวและมีหัวกลมมนขนาดเท่าลำตัว
งูสายพันธุ์ใหม่นี้ถูกตั้งชื่อว่า Atractaspis branchi หรือ Branch’s stiletto ปัจจุบันเป็นที่รู้จักอย่างน้อย 21 ชนิด ส่วนใหญ่จะพบได้ในทวีปแอฟริกา ทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮารา
นักวิจัยสันนิษฐานว่างู Stiletto มีถิ่นเฉพาะในป่าฝนตอนบนของประเทศกินี รวมถึงในภูมิภาคที่มีความหลากหลายและเป็นเอกลักษณ์อย่างภาคตะวันตกเฉียงเหนือของไลบีเรีย แต่พวกมันกำลังใกล้สูญพันธุ์จากการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อทำการเกษตร เหมืองแร่ และการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ การค้นพบนี้ชี้ให้เห็นว่าภูมิภาคนี้เป็นศูนย์กลางของความหลากหลายทางชีวภาพที่อุดมสมบูรณ์เพียงใด แต่เหล่านักวิจัยยังคงพยายามต่อไปในการสำรวจและค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับพวกมัน เพื่อให้เราได้รู้จักแหล่งที่อยู่ อุปนิสัย และทักษะต่าง ๆ ของพวกมันให้มากยิ่งขึ้น
Cr.ภาพ Myke Clarkson
Cr.http://realmetro.com/งูพ่นพิษไม่อ้าปาก/
Protobothrops kelomohy Sumontha et. al., 2020
บนเพจเฟซบุ๊ก งูพิษชิดใกล้ Thailand Snakes : Close Encounters คุณมนตรี สุมณฑา ดร.วรวิทู มีสุข และ สพญ.ดร.ลาวัณย์ จันทร์โฮม ได้เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับงูพิษชนิดใหม่ที่ถูกค้นพบบนดอยอมก๋อย จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นงูพิษที่ไม่เคยถูกค้นพบมาก่อน
งูหลบซ่อนอยู่ในดินแดนที่ห่างไกลคนที่ราบ มีเพียงชนเผ่าบนดอยสูงบางแห่งเท่านั้นที่รู้จักมาก่อน และมีชื่อเรียกกล่าวขานว่า “เกอะลอโม่ฮือ” แปลว่า “ไฟ/สายฟ้า+แม่ฟัก” หรือ “งูที่ฉกกัดแล้วเกิดความเจ็บปวดอย่างรุนแรง ซึ่งมีพฤติกรรมกกไข่จนกว่าลูกงูฟักออกมา” ได้
ซึ่งต่อมาได้ให้โลกรู้จักในนาม “Protobothrops kelomohy Sumontha et. al., 2020” (ออกเสียงประมาณว่า โพร-โต-โบ-ธร่อบ(ส) เกอะ-ลอ-โม่-ฮือ) และมีชื่อไทยเพื่อให้เกียรติแก่ภาษาพื้นเมืองชนเผ่ากะเหรี่ยงและพื้นที่ที่เราได้รู้จักกับงูชนิดนี้ ณ อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ว่า “งูเกอะลออมก๋อย”
งูเกอะลออมก๋อย เป็น “งูพิษ กลุ่มใกล้เคียงกับงูเขียวหางไหม้” ที่มีผลต่อ “ระบบเลือด” ที่มีความรุนแรงมากชนิดหนึ่ง จากการสอบถามคนในพื้นที่ยังไม่มีใครได้รับอันตรายถึงชีวิต แต่สร้างความปวดร้าวทรมานระดับหนึ่ง และมักทิ้งร่องรอยประสบการณ์หลังจากถูกกัดเต็มที่
งูเกอะลออมก๋อย มีการกระจายพันธุ์ตามพื้นที่สูงทางภาคเหนือในป่าที่มีความชื้นสูง ปัจจุบันพบในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ตาก และคาดว่าจะพบในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นงูที่มีนิสัยขี้ระแวง สามารถฉกกัดได้ไกลและรวดเร็วมาก ทั้งนี้เรื่องราวของงูเกอะลออมก๋อย ได้ถูกตีพิมพ์ลงในวารสาร Tropical NaturelHistory (TNH) เมื่อวันที่ 10 มี.ค. 2563 ที่ผ่านมา เรื่องค้นพบงูชนิดใหม่ที่ได้รับการรายงานอย่างเป็นทางการของประเทศไทย และของโลก
Cr.ภาพ mgronline.com
Cr. งูพิษชิดใกล้ Thailand Snakes
Cr.https://www.khaofc.com/articles/95289
Loxosceles Tenochtitlan
เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2562 เว็บไซต์เดลี่เมล เผยรายงานว่า ทีมนักวิทยาศาสตร์ในประเทศเม็กซิโก ค้นพบแมงมุมพิษสายพันธุ์อันตรายร้ายแรง แม้ว่าพิษของมันจะไม่ได้เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่สามารถทำให้เนื้อของมนุษย์เกิดบาดแผลอย่างรุนแรง เนื้อเน่าและกลายเป็นเนื้อตาย จากการกัดเพียงครั้งเดียว
แมงมุมพิษดังกล่าว ถูกพบแอบแฝงตัวอาศัยอยู่ในเฟอร์นิเจอร์และผ้าภายในบ้าน ที่เม็กซิโกตอนกลาง ถูกตั้งชื่อให้ว่า Loxosceles Tenochtitlan โดยผู้ที่พบ ซึ่งเป็นทีมนักวิทยาศาสตร์ชีววิทยาและศาสตราจารย์ พร้อมด้วยกลุ่มนักศึกษาจากมหาวิทยาลัย National Autonomous University of Mexico (UNAM) ในรัฐตลัซกาลา ของเม็กซิโก
จากการวิเคราะห์แมงมุมดังกล่าว พบว่ามันมีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตหุบเขาเม็กซิโก คาดว่ามันเข้ามายังสถานที่ที่ถูกพบโดยการขนส่งพวกไม้ประดับ โดยในตอนแรกทางทีมนักวิทยาศาสตร์เข้าใจผิด คิดว่ามันเป็นสายพันธุ์ Loxosceles misteca ที่อาศัยอยู่ในรัฐเกร์เรโร เนื่องจากมีลักษณะคล้ายกันมาก แต่เมื่อทำการศึกษาอณูชีววิทยาของแมงมุมทั้งสองสปีชีส์พบว่า พวกมันแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
โดยแผลที่เกิดจากการถูกแมงมุมชนิดนี้กัดสามารถกลายเป็นเนื้อตายที่มีความกว้างถึงประมาณ 40 เซนติเมตร ในขณะที่แมงมุมดังกล่าวจะไม่ตาย พฤติกรรมของแมงมุมพิษดังกล่าว จะโจมตีมนุษย์เฉพาะเมื่อรู้สึกว่าถูกคุกคามและชอบซ่อนตัวในที่เปลี่ยว ตามหลุมและซอกเหลือบต่าง ๆ ทีมผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า สามารถหลีกเลี่ยงได้โดยการจัดการบ้านให้สะอาดเรียบร้อยไม่มีจุดซ่อนเร้นใด ๆ
ภาพจาก National Autonomous University of Mexico (UNAM)
Cr.https://hilight.kapook.com/view/197333
Ceratogyrus attonitifer
นักวิทยาศาสตร์มีความเข้าใจน้อยมากเกี่ยวกับแมงมุมสายพันธุ์ใหม่นี้ รวมถึงเขาของมันสามารถใช้งานอย่างไร แต่พวกเขารู้ว่า C. attonitifer เป็นนักล่าที่ออกหากินเวลากลางคืน นอนหลับเวลากลางวันตรงบริเวณก้นโพรง และจะขึ้นมาที่ปากโพรงเพื่อรอให้เหยื่อตกลงมา จากนั้นก็กัดและฉีดพิษเข้าไปในตัวของเหยื่อ เมื่อเหยื่อหยุดนิ่งมันจะดูดสารอาหารที่อยู่ในตัวของเหยื่อ
ในรายงานการวิจัยใหม่ที่ตีพิมพ์นั้น คณะวิจัยตั้งข้อสังเกตว่าไม่มีแมงมุมชนิดอื่นในบันทึกทางวิทยาศาสตร์ที่มีคุณสมบัติดังกล่าว และดูเหมือนว่ามันจะเป็นสายพันธุ์เดียวที่มีการพัฒนาโดยมีเขาบนหลัง
(C. attonitifer (ชนิดพันธุ์ใหม่ที่พึ่งมีการสำรวจพบ) แสดงท่าทางขู่ศัตรู โดยการชูเขี้ยวและชูเท้าหน้าขึ้นมาป้องกันตัว)
Cr.https://ngthai.com/animals/18469/tarantula-spider/
Cr.https://bgr.com/2019/02/13/horned-tarantula-spider-angola-study/
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)