ที่มา :
https://www.bbc.com/thai/international-49747433
พิษงูแบล็กแมมบาเพียง 2 หยด ก็ทำให้คนเสียชีวิตได้
ทุก ๆ 5 นาที มีคนเสียชีวิตจากการถูกงูกัด และมีอีก 4 คน ที่ต้องกลายเป็นผู้พิการถาวร
แต่มีคนบางส่วนที่กำลังเสี่ยงชีวิตทดลองกับสัตว์เลื้อยคล้ายที่มีพิษนี้
ทิม ฟรีเดอ ซึ่งอาศัยอยู่ในรัฐวิสคอนซินของสหรัฐฯ ถ่ายคลิปขณะที่ตัวเองจงใจให้งูพิษกัด แล้วก็อัปโหลดวิดีโอเหล่านี้ลงยูทิวบ์
รู้สึกปวดขึ้นมาทันที
บางครั้ง ทิม ฟรีเดอ เล่าให้ผู้ชมทางยูทิวบ์ฟังถึงความรู้สึกหลังจากถูกงูพิษกัด
ในคลิปวิดีโอหนึ่ง เขาได้เล่าความรู้สึกหลังจากที่ถูกงูแมมบากัด 2 ครั้ง โดยไม่สนว่า เลือดกำลังไหลลงมาตามแขนทั้ง 2 ข้าง
"งูแบล็กแมมบา ทำให้รู้สึกปวดขึ้นมาทันที มันเหมือนกับโดนผึ้งนับพันรุมต่อย ผึ้งอาจมีพิษเพียง 1 หรือ 2 มิลลิกรัม แต่การถูกงูแบมบากัด อาจจะได้รับพิษ 300 ถึง 500 มิลลิกรัม"
เขาเล่าให้บีบีซีฟังถึงสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น
"ตัวผมบวมขึ้นหลังจากนั้น ในช่วง 2-3 วันถัดมา ผมได้แต่นอนซม อาการบวมที่เกิดกับผม ทำให้ผมพอจะเดาได้ว่า มีพิษงูถูกฉีดเข้าร่างผมมากแค่ไหน มันเจ็บปวดมาก" เขากล่าวด้วยน้ำเสียงที่ราบเรียบเหมือนไม่รู้สึกอะไร
อันตรายและผิดจริยธรรม
แต่ไม่ใช่ทุกคนที่รู้สึกตื่นตาตื่นใจกับเรื่องนี้เหมือนกับแฟน ๆ ทางยูทิวบ์ของเขา
ทิม ฟรีเดอ กล่าวว่า ร่างกายของเขาได้สร้างภูมิต้านทานที่มากพอต่อการต้านพิษงู
ดร.สจ๊วต เอนส์เวิร์ธ จากวิทยาลัยการแพทย์เขตร้อนเมืองลิเวอร์พูล (Liverpool School of Tropical Medicine) กล่าวว่า "เราไม่รู้ว่า คนเหล่านี้ทำอะไรอยู่ นี่มันอันตรายและผิดจริยธรรม เราไม่ร่วมงานกับพวกเขา"
สถาบันของเขาก็กำลังพยายามค้นหายาต้านพิษงูครอบจักรวาลชนิดใหม่เช่นกัน
ตามปกติแล้ว วัคซีนชนิดใหม่จะถูกทดลองในหนูและสัตว์ในห้องปฏิบัติการอื่น ๆ ก่อน หากปลอดภัยจึงจะมีการทดลองในมนุษย์ ซึ่งจะต้องจัดทำขึ้นในสภาพแวดล้อมที่ถูกควบคุม
ดร. เอนส์เวิร์ธ กล่าวว่า "คนสร้างภูมิคุ้มกันให้ตัวเอง เพราะไม่มีกฎที่ควบคุม แต่การทำเช่นนี้อาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้ ไม่ควรมีใครทำเช่นนี้"
แต่ในอุตสาหกรรมยาทั่วโลก ไม่มีแนวปฏิบัติในการทำวิจัยเกี่ยวกับยาต้านพิษงู
เวลล์คัม ทรัสต์ (Wellcom Trust) องค์กรที่อยู่ในสหราชอาณาจักร ที่เป็นหัวหอกในการผลักดันทางด้านวิทยาศาสตร์ เพื่อหาวัคซีนชนิดใหม่ ระบุว่า "ไม่มีมาตรฐานที่มีประสิทธิภาพ มาตรฐานด้านความปลอดภัย หรือ การผลิต ร่วมกัน"
เสี่ยงถึงขั้นเสียชีวิต
ฟรีเดอ ปฏิเสธเสียงแข็งว่า เขาไม่ได้เสี่ยงชีวิตเพื่อเพิ่มผู้ติดตามในโซเชียลมีเดีย
"ผมไม่ได้ทำเรื่องนี้เพื่อทำวิดีโอออกยูทิวบ์ ผมอยากจะช่วยชีวิตคน และทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้น ผมเพียงแต่ใช้ยูทิวบ์ในการหาหมอที่จะมาร่วมทำงานด้วยกัน มันเป็นการเสี่ยงโชค แล้วมันก็ได้ผล" เขากล่าว
ทิม ฟรีเดอ กล่าวว่า เขารอดตายมาได้อย่างหวุดหวิดกว่า 10 ครั้ง
ในบรรดางูเกือบ 3,000 สายพันธุ์ มีเพียงราว 200 สายพันธุ์เท่านั้นที่มีพิษรุนแรงถึงขั้นทำให้คนเสียชีวิตหรือพิการได้ ฟรีเดอ คุ้นเคยกับงูหลายชนิดเหล่านี้
เขาเคยถูกงูกัดแล้วกว่า 200 ครั้งในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ทั้งงูเห่า งูแมวเซา หรืองูแมมบา นอกจากนี้ยังฉีดพิษงูเข้าสู่ร่างกายอีกกว่า 700 ครั้ง
พิษที่งูปล่อยเข้าสู่ร่างผู้ที่ถูกกัดมีปริมาณที่ไม่แน่นอน บางครั้งงูอาจกัดโดยไม่ปล่อยพิษเข้าสู่คนเลยก็ได้ ดังนั้น การฉีดพิษงูจึงเป็นวิธีในการกำหนดปริมาณพิษที่ได้รับ
"ถ้าคุณไม่มีภูมิต้านทานพิษงู อย่างงูแบล็กแมมบา พิษงูจะส่งผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนปลายของคุณ ทำให้กระบังลมไม่ทำงาน แล้วก็คุณหายใจไม่ออก ตาจะปิดลง แล้วก็พูดไม่ได้ คุณจะค่อย ๆ หมดสติแล้วก็เป็นอัมพาต มันจะไม่ส่งผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนกลาง ดังนั้น คุณจะยังมีความคิดความรู้สึก จนกระทั่งคุณเสียชีวิตลง" ฟรีเดอ กล่าว
งูเห่ากัดโหดร้ายมาก
ฟรีเดอ เลี้ยงงูพิษไว้ที่สวนหลังบ้านของเขา แล้วก็ทดลองให้งูกัดด้วยตัวเอง
งูแบล็กแมมบา เป็นหนึ่งในงูที่อันตรายที่สุดในโลก คนที่ถูกกัดอาจเสียชีวิตในเวลาไม่ถึง 30 นาที
"ผมมีงูเห่าน้ำจากแอฟริกา ถูกงูเห่าน้ำกัดโหดร้ายมาก มันร้ายกาจ เป็นความรู้สึกที่น่าหวาดกลัว"
พิษของงูเห่าน้ำมีพิษต่อระบบประสาท (neurotoxin) ซึ่งส่งผลกระทบต่อเซลล์ประสาทได้
"งูเห่าอื่น ๆ มีพิษที่มีสารเป็นพิษต่อเซลล์ (cytotoxin) ซึ่งทำให้กลุ่มเซลล์หรือเนื้อเยื่อตายได้ เหมือนกับงูหางกระดิ่ง ทำให้อาจต้องเสียนิ้วมือ หรือมือทั้งมือไปได้"
ฟรีเดอเชื่อในทฤษฎีที่ว่า การที่คนค่อย ๆ รับพิษงูเข้าสู่ร่างกายในปริมาณเล็กน้อย คน ๆ นั้น จะสามารถสร้างระบบภูมิต้านทานในร่างกายขึ้นมาได้ แต่วิธีการที่เขาทำถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก
พัฒนาภูมิคุ้มกัน
วิธีการที่คล้ายคลึงกัน แต่ใช้สัตว์แทน ทำให้มีเซรุ่มต้านพิษงูที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
งู มีความน่ากลัว แต่ก็ได้รับการเคารพนับถือในหลายวัฒนธรรม
การผลิตเซรุ่มต้านพิษงูยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลงนับตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 โดยจะมีการฉีดพิษงูในปริมาณเล็กน้อยเข้าสู่ตัวม้าหรือแกะ จากนั้นจะเก็บสารภูมิต้านทาน (antibody)จากเลือดของสัตว์เหล่านั้น
ฟรีเดอ ตั้งคำถามว่า "เรามีสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ที่ทำให้ผมตายได้ แต่ผมไม่อยากตาย ผมก็เลยทำให้ตัวเองเป็นเหมือนม้า ทำไมเราถึงจะสร้างภูมิต้านทานให้ตัวเองไม่ได้"
อดีตคนขับรถบรรทุกวัย 51 ปี ไม่ใช่นักภูมิคุ้มกันวิทยา แล้วก็ไม่เคยเรียนมหาวิทยาลัย เขากลัวว่าจะถูกสิ่งมีชีวิตที่มีพิษกัดจนเสียชีวิต ทำให้เขาเริ่มหาวิธีสร้างภูมิคุ้มกันให้ตัวเองอย่างที่ไม่ค่อยมีใครทำเมื่อราว 20 ปีก่อน
เขาเริ่มจากการให้แมงมุมและแมงป่องกัด ก่อนจะพัฒนามาเป็นงูเห่าและงูคอปเปอร์เฮด (copperhead)
"ผมยังใช้งูพิษทุกชนิดบนโลกไม่ครบเลย ผมเลือกเฉพาะชนิดที่ทำให้คนเสียชีวิตได้เร็วที่สุด"
เขามีรอยแผลเป็นจากการทดลองนี้เต็มไปหมด แล้วก็เคยเฉียดตายมาแล้ว แต่เขาก็ยังยินดีที่จะให้งูกัดโดยไม่อยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ต่อไป
"มีราว 12 ครั้ง ที่ผมฟื้นตัวช้ามา ในการทดลองช่วงปีแรก ผมต้องเข้าโรงพยาบาลหลังจากถูกงูเห่า 2 ตัวกัด คุณต้องเรียนรู้หลายอย่าง ไม่มีหมอ หรือมหาวิทยาลัยแห่งใดในโลกที่จะสอนเรื่องนี้ให้คุณ"
สารภูมิต้านทานเพิ่มเป็น 2 เท่า
ผลการตรวจร่างกายของเขาทำให้เขามีความมั่นใจมากขึ้นว่า วิธีการของเขาได้ผล
เซรุ่มต้านพิษงู อาจมีราคาแพงมาก และอาจทำให้เกิดอาการแพ้ที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้
"เมื่อเปรียบเทียบกับคนอื่น ๆ ผมมีภูมิต้านทานมากเป็น 2 เท่า ซึ่งเกิดจากการต้านพิษ ผลการตรวจในห้องปฏิบัติการยืนยันเช่นนั้น" เขากล่าวอ้าง
ราว 2 ปีก่อน วิดีโอทางยูทิวบ์ของทิม ฟรีเดอ ดึงดูดความสนใจของ เจค็อบ แกลนวิลล์ นักภูมิต้านทานวิทยา ที่ออกจากงานในฐานะนักวิทยาศาสตร์ของบริษัทไฟเซอร์ (Pfizer) บริษัทยายักษ์ใหญ่ เพื่อเปิดบริษัทที่ทำงานด้านเซรุ่มต้านพิษของตัวเอง
"สิ่งที่ทิมทำเป็นเรื่องน่าทึ่งมาก แต่มันอันตราย แล้วผมก็ไม่แนะนำให้ใครทำ" แกลนวิลล์ กล่าว
บริษัทของเขากำลังใช้ตัวอย่างเลือดของฟรีเดอเพื่อผลิตเซรุ่มต้านพิษชนิดใหม่
"พวกเขาเอา ดีเอ็นเอ อาร์เอ็นเอ แล้วก็สารภูมิต้านทาน ของผมไปโคลน นี่คือความเป็นไปได้มากที่สุดในทางวิทยาศาสตร์" ฟรีเดอ กล่าว
โรคที่ถูกเพิกเฉย
ข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (World Health Organisation--WHO) ระบุว่า แต่ละปี มีคนถูกงูกัดราว 5.4 ล้านคน คาดว่ามีผู้เสียชีวิตอยู่ที่ระหว่าง 81,000-138,000 คน ส่วนอีกกว่า 400,000 คน ต้องกลายเป็นผู้พิการถาวร ซึ่งทำให้มีคุณภาพชีวิตแย่ลง
หลายพื้นที่ของโลก มนุษย์และงูใช้พื้นที่ร่วมกัน ซึ่งทำให้มีโอกาสที่คนจะถูกงูกัดได้มากขึ้น
จนกระทั่งปี 2017 WHO จึงจัดให้ การถูกงูกัด เป็นโรคเขตร้อนที่ถูกเพิกเฉย
ปัจจุบัน วันที่ 19 ก.ย. ของทุกปี เป็นวันตระหนักถึงการถูกงูกัด เพื่อสนับสนุนให้มีการแก้ปัญหาที่คุกคามชุมชนที่อยู่ห่างไกลในทวีปเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาใต้ ซึ่งยังไม่ได้เข้าถึงระบบสาธารณสุขที่ทันสมัยอย่างเต็มที่
ในหลายประเทศ เซรุ่มต้านพิษงูที่มีอยู่ใช้ไม่ได้ผล เพราะมีปัญหาเกี่ยวกับการเก็บรักษา หรือไม่ก็ใช้ได้ผลกับงูเพียงบางชนิดเท่านั้น ไม่สามารถได้กับงูพิษอีกหลายชนิด
หนู
ในเดือน พ.ค. ปีนี้ เวลล์คัม ทรัสต์ ประกาศสนับสนุนเงินทุน 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 3,000 ล้านบาท เพื่อใช้ในการหาเซรุ่มต้านพิษที่ใช้ได้ผล และวิธีการรักษาแบบใหม่
ยาที่ถูกพัฒนาขึ้นใหม่ กำลังได้รับการทดสอบกับสัตว์หลายชนิด เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่น
มีองค์กรอีกหลายแห่งที่กำลังพยายามพัฒนายาที่ปลอดภัยและราคาไม่แพง
การทำสัญญากับแกลนวิลล์ จะทำให้ฟรีเดอได้เงินก้อนใหญ่มาก้อนหนึ่ง ถ้าพวกเขาสามารถพัฒนาวัคซีนชนิดใหม่ขึ้นมาได้สำเร็จ
"คุณไม่ต้องมาให้งูกัดเพื่อหาเงิน แต่ถ้าเราพัฒนาวัคซีนได้ จะได้เงินก้อนใหญ่ ผมมีทนายความและได้เซ็นสัญญาไว้แล้ว" ฟรีเดอกล่าว
แกลนวิลล์ กำลังตื่นเต้นเกี่ยวกับการทดลองที่กำลังจะเกิดขึ้น
"งานวิจัยนี้ค่อนข้างยาวไกล เรากำลังจะเริ่มทดลองในหนู"
แนวคิดสุดโต่งที่มีเป้าหมาย
คนในวงการวิทยาศาสตร์ วิพากษ์วิจารณ์ แกลนวิลล์ และฟรีเดอ อย่างหนัก จากวิธีการแหกคอกที่พวกเขาใช้ แต่ทั้งสองคนออกมาปกป้องการวิจัยของตัวเอง
ทิม ฟรีเดอ กล่าวว่า เขาเสี่ยงชีวิตเพื่อแก้ปัญหานี้
แกลนวิลล์ บอกว่า "เราจัดการกับเรื่องจริยธรรมด้านชีววิทยาอย่างระมัดระวัง เราใช้แบบจำลองที่คล้ายคลึงกันกับที่ถูกใช้ในการศึกษาสารที่มีความเสี่ยงสูงที่คนอาจสัมผัสกับสารเหล่านั้นได้ อย่าง การปฏิบัติเมื่อมีบาดแผลที่เกิดจากการทำงาน หรือการสัมผัสกับเชื้อเอชไอวี เป็นต้น"
แต่เขาก็ยอมรับว่า วิธีการของเขาไม่ใช่หนทางที่ง่ายดายที่จะให้คนอื่นมาทำตาม ทิม ฟรีเดอ กล่าวว่า มันเป็นเรื่องของผลตอบแทนที่จะได้
"มีเป้าหมายอยู่เบื้องหลังความสุดโต่งนี้ของผม ผมเอาตัวเองเข้ามาเสี่ยง เพื่อหาเซรุ่มต้านพิษครอบจักรวาลที่ราคาไม่แพง"
ค้นหาเซรุ่มต้านพิษครอบจักรวาล ยอมให้งูกัด 200 ครั้ง ฉีดพิษงูเข้าสู่ร่างอีก 700 ครั้ง
พิษงูแบล็กแมมบาเพียง 2 หยด ก็ทำให้คนเสียชีวิตได้
ทุก ๆ 5 นาที มีคนเสียชีวิตจากการถูกงูกัด และมีอีก 4 คน ที่ต้องกลายเป็นผู้พิการถาวร
แต่มีคนบางส่วนที่กำลังเสี่ยงชีวิตทดลองกับสัตว์เลื้อยคล้ายที่มีพิษนี้
ทิม ฟรีเดอ ซึ่งอาศัยอยู่ในรัฐวิสคอนซินของสหรัฐฯ ถ่ายคลิปขณะที่ตัวเองจงใจให้งูพิษกัด แล้วก็อัปโหลดวิดีโอเหล่านี้ลงยูทิวบ์
รู้สึกปวดขึ้นมาทันที
บางครั้ง ทิม ฟรีเดอ เล่าให้ผู้ชมทางยูทิวบ์ฟังถึงความรู้สึกหลังจากถูกงูพิษกัด
ในคลิปวิดีโอหนึ่ง เขาได้เล่าความรู้สึกหลังจากที่ถูกงูแมมบากัด 2 ครั้ง โดยไม่สนว่า เลือดกำลังไหลลงมาตามแขนทั้ง 2 ข้าง
"งูแบล็กแมมบา ทำให้รู้สึกปวดขึ้นมาทันที มันเหมือนกับโดนผึ้งนับพันรุมต่อย ผึ้งอาจมีพิษเพียง 1 หรือ 2 มิลลิกรัม แต่การถูกงูแบมบากัด อาจจะได้รับพิษ 300 ถึง 500 มิลลิกรัม"
เขาเล่าให้บีบีซีฟังถึงสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น
"ตัวผมบวมขึ้นหลังจากนั้น ในช่วง 2-3 วันถัดมา ผมได้แต่นอนซม อาการบวมที่เกิดกับผม ทำให้ผมพอจะเดาได้ว่า มีพิษงูถูกฉีดเข้าร่างผมมากแค่ไหน มันเจ็บปวดมาก" เขากล่าวด้วยน้ำเสียงที่ราบเรียบเหมือนไม่รู้สึกอะไร
อันตรายและผิดจริยธรรม
แต่ไม่ใช่ทุกคนที่รู้สึกตื่นตาตื่นใจกับเรื่องนี้เหมือนกับแฟน ๆ ทางยูทิวบ์ของเขา
ทิม ฟรีเดอ กล่าวว่า ร่างกายของเขาได้สร้างภูมิต้านทานที่มากพอต่อการต้านพิษงู
ดร.สจ๊วต เอนส์เวิร์ธ จากวิทยาลัยการแพทย์เขตร้อนเมืองลิเวอร์พูล (Liverpool School of Tropical Medicine) กล่าวว่า "เราไม่รู้ว่า คนเหล่านี้ทำอะไรอยู่ นี่มันอันตรายและผิดจริยธรรม เราไม่ร่วมงานกับพวกเขา"
สถาบันของเขาก็กำลังพยายามค้นหายาต้านพิษงูครอบจักรวาลชนิดใหม่เช่นกัน
ตามปกติแล้ว วัคซีนชนิดใหม่จะถูกทดลองในหนูและสัตว์ในห้องปฏิบัติการอื่น ๆ ก่อน หากปลอดภัยจึงจะมีการทดลองในมนุษย์ ซึ่งจะต้องจัดทำขึ้นในสภาพแวดล้อมที่ถูกควบคุม
ดร. เอนส์เวิร์ธ กล่าวว่า "คนสร้างภูมิคุ้มกันให้ตัวเอง เพราะไม่มีกฎที่ควบคุม แต่การทำเช่นนี้อาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้ ไม่ควรมีใครทำเช่นนี้"
แต่ในอุตสาหกรรมยาทั่วโลก ไม่มีแนวปฏิบัติในการทำวิจัยเกี่ยวกับยาต้านพิษงู
เวลล์คัม ทรัสต์ (Wellcom Trust) องค์กรที่อยู่ในสหราชอาณาจักร ที่เป็นหัวหอกในการผลักดันทางด้านวิทยาศาสตร์ เพื่อหาวัคซีนชนิดใหม่ ระบุว่า "ไม่มีมาตรฐานที่มีประสิทธิภาพ มาตรฐานด้านความปลอดภัย หรือ การผลิต ร่วมกัน"
เสี่ยงถึงขั้นเสียชีวิต
ฟรีเดอ ปฏิเสธเสียงแข็งว่า เขาไม่ได้เสี่ยงชีวิตเพื่อเพิ่มผู้ติดตามในโซเชียลมีเดีย
"ผมไม่ได้ทำเรื่องนี้เพื่อทำวิดีโอออกยูทิวบ์ ผมอยากจะช่วยชีวิตคน และทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้น ผมเพียงแต่ใช้ยูทิวบ์ในการหาหมอที่จะมาร่วมทำงานด้วยกัน มันเป็นการเสี่ยงโชค แล้วมันก็ได้ผล" เขากล่าว
ทิม ฟรีเดอ กล่าวว่า เขารอดตายมาได้อย่างหวุดหวิดกว่า 10 ครั้ง
ในบรรดางูเกือบ 3,000 สายพันธุ์ มีเพียงราว 200 สายพันธุ์เท่านั้นที่มีพิษรุนแรงถึงขั้นทำให้คนเสียชีวิตหรือพิการได้ ฟรีเดอ คุ้นเคยกับงูหลายชนิดเหล่านี้
เขาเคยถูกงูกัดแล้วกว่า 200 ครั้งในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ทั้งงูเห่า งูแมวเซา หรืองูแมมบา นอกจากนี้ยังฉีดพิษงูเข้าสู่ร่างกายอีกกว่า 700 ครั้ง
พิษที่งูปล่อยเข้าสู่ร่างผู้ที่ถูกกัดมีปริมาณที่ไม่แน่นอน บางครั้งงูอาจกัดโดยไม่ปล่อยพิษเข้าสู่คนเลยก็ได้ ดังนั้น การฉีดพิษงูจึงเป็นวิธีในการกำหนดปริมาณพิษที่ได้รับ
"ถ้าคุณไม่มีภูมิต้านทานพิษงู อย่างงูแบล็กแมมบา พิษงูจะส่งผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนปลายของคุณ ทำให้กระบังลมไม่ทำงาน แล้วก็คุณหายใจไม่ออก ตาจะปิดลง แล้วก็พูดไม่ได้ คุณจะค่อย ๆ หมดสติแล้วก็เป็นอัมพาต มันจะไม่ส่งผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนกลาง ดังนั้น คุณจะยังมีความคิดความรู้สึก จนกระทั่งคุณเสียชีวิตลง" ฟรีเดอ กล่าว
งูเห่ากัดโหดร้ายมาก
ฟรีเดอ เลี้ยงงูพิษไว้ที่สวนหลังบ้านของเขา แล้วก็ทดลองให้งูกัดด้วยตัวเอง
งูแบล็กแมมบา เป็นหนึ่งในงูที่อันตรายที่สุดในโลก คนที่ถูกกัดอาจเสียชีวิตในเวลาไม่ถึง 30 นาที
"ผมมีงูเห่าน้ำจากแอฟริกา ถูกงูเห่าน้ำกัดโหดร้ายมาก มันร้ายกาจ เป็นความรู้สึกที่น่าหวาดกลัว"
พิษของงูเห่าน้ำมีพิษต่อระบบประสาท (neurotoxin) ซึ่งส่งผลกระทบต่อเซลล์ประสาทได้
"งูเห่าอื่น ๆ มีพิษที่มีสารเป็นพิษต่อเซลล์ (cytotoxin) ซึ่งทำให้กลุ่มเซลล์หรือเนื้อเยื่อตายได้ เหมือนกับงูหางกระดิ่ง ทำให้อาจต้องเสียนิ้วมือ หรือมือทั้งมือไปได้"
ฟรีเดอเชื่อในทฤษฎีที่ว่า การที่คนค่อย ๆ รับพิษงูเข้าสู่ร่างกายในปริมาณเล็กน้อย คน ๆ นั้น จะสามารถสร้างระบบภูมิต้านทานในร่างกายขึ้นมาได้ แต่วิธีการที่เขาทำถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก
พัฒนาภูมิคุ้มกัน
วิธีการที่คล้ายคลึงกัน แต่ใช้สัตว์แทน ทำให้มีเซรุ่มต้านพิษงูที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
งู มีความน่ากลัว แต่ก็ได้รับการเคารพนับถือในหลายวัฒนธรรม
การผลิตเซรุ่มต้านพิษงูยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลงนับตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 โดยจะมีการฉีดพิษงูในปริมาณเล็กน้อยเข้าสู่ตัวม้าหรือแกะ จากนั้นจะเก็บสารภูมิต้านทาน (antibody)จากเลือดของสัตว์เหล่านั้น
ฟรีเดอ ตั้งคำถามว่า "เรามีสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ที่ทำให้ผมตายได้ แต่ผมไม่อยากตาย ผมก็เลยทำให้ตัวเองเป็นเหมือนม้า ทำไมเราถึงจะสร้างภูมิต้านทานให้ตัวเองไม่ได้"
อดีตคนขับรถบรรทุกวัย 51 ปี ไม่ใช่นักภูมิคุ้มกันวิทยา แล้วก็ไม่เคยเรียนมหาวิทยาลัย เขากลัวว่าจะถูกสิ่งมีชีวิตที่มีพิษกัดจนเสียชีวิต ทำให้เขาเริ่มหาวิธีสร้างภูมิคุ้มกันให้ตัวเองอย่างที่ไม่ค่อยมีใครทำเมื่อราว 20 ปีก่อน
เขาเริ่มจากการให้แมงมุมและแมงป่องกัด ก่อนจะพัฒนามาเป็นงูเห่าและงูคอปเปอร์เฮด (copperhead)
"ผมยังใช้งูพิษทุกชนิดบนโลกไม่ครบเลย ผมเลือกเฉพาะชนิดที่ทำให้คนเสียชีวิตได้เร็วที่สุด"
เขามีรอยแผลเป็นจากการทดลองนี้เต็มไปหมด แล้วก็เคยเฉียดตายมาแล้ว แต่เขาก็ยังยินดีที่จะให้งูกัดโดยไม่อยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ต่อไป
"มีราว 12 ครั้ง ที่ผมฟื้นตัวช้ามา ในการทดลองช่วงปีแรก ผมต้องเข้าโรงพยาบาลหลังจากถูกงูเห่า 2 ตัวกัด คุณต้องเรียนรู้หลายอย่าง ไม่มีหมอ หรือมหาวิทยาลัยแห่งใดในโลกที่จะสอนเรื่องนี้ให้คุณ"
สารภูมิต้านทานเพิ่มเป็น 2 เท่า
ผลการตรวจร่างกายของเขาทำให้เขามีความมั่นใจมากขึ้นว่า วิธีการของเขาได้ผล
เซรุ่มต้านพิษงู อาจมีราคาแพงมาก และอาจทำให้เกิดอาการแพ้ที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้
"เมื่อเปรียบเทียบกับคนอื่น ๆ ผมมีภูมิต้านทานมากเป็น 2 เท่า ซึ่งเกิดจากการต้านพิษ ผลการตรวจในห้องปฏิบัติการยืนยันเช่นนั้น" เขากล่าวอ้าง
ราว 2 ปีก่อน วิดีโอทางยูทิวบ์ของทิม ฟรีเดอ ดึงดูดความสนใจของ เจค็อบ แกลนวิลล์ นักภูมิต้านทานวิทยา ที่ออกจากงานในฐานะนักวิทยาศาสตร์ของบริษัทไฟเซอร์ (Pfizer) บริษัทยายักษ์ใหญ่ เพื่อเปิดบริษัทที่ทำงานด้านเซรุ่มต้านพิษของตัวเอง
"สิ่งที่ทิมทำเป็นเรื่องน่าทึ่งมาก แต่มันอันตราย แล้วผมก็ไม่แนะนำให้ใครทำ" แกลนวิลล์ กล่าว
บริษัทของเขากำลังใช้ตัวอย่างเลือดของฟรีเดอเพื่อผลิตเซรุ่มต้านพิษชนิดใหม่
"พวกเขาเอา ดีเอ็นเอ อาร์เอ็นเอ แล้วก็สารภูมิต้านทาน ของผมไปโคลน นี่คือความเป็นไปได้มากที่สุดในทางวิทยาศาสตร์" ฟรีเดอ กล่าว
โรคที่ถูกเพิกเฉย
ข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (World Health Organisation--WHO) ระบุว่า แต่ละปี มีคนถูกงูกัดราว 5.4 ล้านคน คาดว่ามีผู้เสียชีวิตอยู่ที่ระหว่าง 81,000-138,000 คน ส่วนอีกกว่า 400,000 คน ต้องกลายเป็นผู้พิการถาวร ซึ่งทำให้มีคุณภาพชีวิตแย่ลง
หลายพื้นที่ของโลก มนุษย์และงูใช้พื้นที่ร่วมกัน ซึ่งทำให้มีโอกาสที่คนจะถูกงูกัดได้มากขึ้น
จนกระทั่งปี 2017 WHO จึงจัดให้ การถูกงูกัด เป็นโรคเขตร้อนที่ถูกเพิกเฉย
ปัจจุบัน วันที่ 19 ก.ย. ของทุกปี เป็นวันตระหนักถึงการถูกงูกัด เพื่อสนับสนุนให้มีการแก้ปัญหาที่คุกคามชุมชนที่อยู่ห่างไกลในทวีปเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาใต้ ซึ่งยังไม่ได้เข้าถึงระบบสาธารณสุขที่ทันสมัยอย่างเต็มที่
ในหลายประเทศ เซรุ่มต้านพิษงูที่มีอยู่ใช้ไม่ได้ผล เพราะมีปัญหาเกี่ยวกับการเก็บรักษา หรือไม่ก็ใช้ได้ผลกับงูเพียงบางชนิดเท่านั้น ไม่สามารถได้กับงูพิษอีกหลายชนิด
หนู
ในเดือน พ.ค. ปีนี้ เวลล์คัม ทรัสต์ ประกาศสนับสนุนเงินทุน 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 3,000 ล้านบาท เพื่อใช้ในการหาเซรุ่มต้านพิษที่ใช้ได้ผล และวิธีการรักษาแบบใหม่
ยาที่ถูกพัฒนาขึ้นใหม่ กำลังได้รับการทดสอบกับสัตว์หลายชนิด เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่น
มีองค์กรอีกหลายแห่งที่กำลังพยายามพัฒนายาที่ปลอดภัยและราคาไม่แพง
การทำสัญญากับแกลนวิลล์ จะทำให้ฟรีเดอได้เงินก้อนใหญ่มาก้อนหนึ่ง ถ้าพวกเขาสามารถพัฒนาวัคซีนชนิดใหม่ขึ้นมาได้สำเร็จ
"คุณไม่ต้องมาให้งูกัดเพื่อหาเงิน แต่ถ้าเราพัฒนาวัคซีนได้ จะได้เงินก้อนใหญ่ ผมมีทนายความและได้เซ็นสัญญาไว้แล้ว" ฟรีเดอกล่าว
แกลนวิลล์ กำลังตื่นเต้นเกี่ยวกับการทดลองที่กำลังจะเกิดขึ้น
"งานวิจัยนี้ค่อนข้างยาวไกล เรากำลังจะเริ่มทดลองในหนู"
แนวคิดสุดโต่งที่มีเป้าหมาย
คนในวงการวิทยาศาสตร์ วิพากษ์วิจารณ์ แกลนวิลล์ และฟรีเดอ อย่างหนัก จากวิธีการแหกคอกที่พวกเขาใช้ แต่ทั้งสองคนออกมาปกป้องการวิจัยของตัวเอง
ทิม ฟรีเดอ กล่าวว่า เขาเสี่ยงชีวิตเพื่อแก้ปัญหานี้
แกลนวิลล์ บอกว่า "เราจัดการกับเรื่องจริยธรรมด้านชีววิทยาอย่างระมัดระวัง เราใช้แบบจำลองที่คล้ายคลึงกันกับที่ถูกใช้ในการศึกษาสารที่มีความเสี่ยงสูงที่คนอาจสัมผัสกับสารเหล่านั้นได้ อย่าง การปฏิบัติเมื่อมีบาดแผลที่เกิดจากการทำงาน หรือการสัมผัสกับเชื้อเอชไอวี เป็นต้น"
แต่เขาก็ยอมรับว่า วิธีการของเขาไม่ใช่หนทางที่ง่ายดายที่จะให้คนอื่นมาทำตาม ทิม ฟรีเดอ กล่าวว่า มันเป็นเรื่องของผลตอบแทนที่จะได้
"มีเป้าหมายอยู่เบื้องหลังความสุดโต่งนี้ของผม ผมเอาตัวเองเข้ามาเสี่ยง เพื่อหาเซรุ่มต้านพิษครอบจักรวาลที่ราคาไม่แพง"