ทำไม ร้านอาหารตามสั่งหลายร้านชอบผัดกะเพราแบบใส่ผักอะไรก็ไม่รู้ คุณไม่ได้มีความเข้าใจในรสชาติและกลิ่นอย่างแท้จริงเลยนะ

ปกติเราส่วนใหญ่สั่งเมนู ผัดกะเพรา ก็เพราะอยากกิน กะเพรา
กะเพรา เป็นวัตถุดิบที่มีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์อย่างชัดเจน แต่ก็แค่กลิ่นนะครับ กะเพราไม่ได้มีรสชาติใดๆเลย
และ เนื้อสัมผัสก็เป็นแค่ ใบไม้

ในสูตรการทำกะเพราที่ดี เค้าใส่เพียง กระเทียม และ พริก นอกเหนือไปจากใบกะเพรา
จะเห็นได้ว่า วัตถุดิบที่เนื้อหนักที่สุดก็ตือกะเพรา
กระเทียมและพริก เพิ่มความจัดจ้าน แม้จะมีรสรุนแรง แต่การอยู่ในน้ำหนืดข้น มันช่วยเพิ่มมิติ ให้ไม่รู้สึก dull (หม่นหมอง) กับน้ำที่หนักและออกเค็ม แล้วยังมีความรู้สึกอยากกินต่อ โดยไม่ทำลายความเป็นกะเพราเลย

ที่จริง มันเพอร์เฟคอยู่แล้วนะ

แต่ก็มีคนทำไม่น้อยชอบใส่อะไรที่มัน ทำลาย ความเป็นกะเพรา

สิ่งข้างล่างเหล่านี้ผมเรียก วัตถุดิบขยะ
วัตถุดิบขยะ ไม่ใช่สื่งที่เขี่ยทิ้ง ในความหมายของผม
วัตถุดิบขยะ คือ สิ่งกินได้ใดๆก็ตาม ที่ไม่เพียงแค่ไม่เข้ากันเลยกับส่วนใดๆก็ตามบนจาน แต่ยังทำลายจานนั้นลงอย่างสมบูรณ์แบบ

- ถั่วฝักยาว
นักทำลายมือฉมังเลย เพราะมันมีเนื้อที่หนักมาก แถมยังอุดมไปด้วยกลิ่นเขียวหืนแบบถั่ว มันเด่นเกินจนแทบไม่มีอะไรฉุดรั้งได้ จนควรเป็น ผัดถั่ว และ แม้ถ้าเอาไปต้มจนนิ่มเละ เราก็จะได้เนื้อที่เป็นก้อนแป้งกรึบๆแหยะๆ ซึ่งน้ำกะเพราถึงจะเผ็ดแต่มันไม่ได้ข้นแบบน้ำพริกกะปิที่จะกลบเนื้อแป้งนั่นได้

- ข้าวโพดอ่อน
ไม่ได้มีรสชาติเลย ไม่ต่างจากใบกะเพรา แต่ มีเนื้อเบสแป้งที่แข็งและกลิ่นเหม็นซ่อนในเนื้อ สิ่งที่มันทำ ไม่ต่างอะไรกับถั่วฝักยาวมากนัก เพิ่มเตืมคือเนื้อค่อนข้างสาก แต่ก็ยังดีกว่าหน่อยตรงที่ข้าวโพดอ่อนไม่ได้มีกลิ่นเขียวหืน

- พริกหนุ่ม
พริกที่ไม่ได้มีความเผ็ดเท่าไหร่ ดูจะเป็นอุปกรณืเสริมที่ช่วยเพิ่มมิติเนื้อสัมผัสได้ดี แต่เปล่าเลย เพราะมันไม่ได้มีแค่ความกรอบ แต่ยังเนื้อแน่นและมีกลิ่มคล้ายยางซ่อนในความเป็นพริก มันทำให้จานกะเพราเนื้อหนักเกินไปและลดกลิ่นไปมาก เพราะเนื้อของมันจะบดบังเนื้อวัตถุดิบอื่น

- หัวหอม
พอผัดแล้วก็จะมีการหายไปของกลิ่นฉุน แต่ได้ความหวานและเนื้อนิ่มมาแทน มันช่วยป้องกันความเผ็ดจากพริกให้ไม่สามารถผสนผสานเข้าเนื้อจานกะเพราได้ ดังนั้นคุณจะได้กะเพราที่ออกหวานและขาดรสจัดจ้าน รวมถึงกลิ่นเอกลักษณ์จานกะเพราที่จะลดลงไป
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่