"ผู้นำฝ่ายค้าน" ชี้ รัฐบาลกู้มหาศาล เป็นหนี้ยันลูกหลาน วอนการใช้เงิน
https://www.khaosod.co.th/politics/news_4207158
“ผู้นำฝ่ายค้าน” ย้ำเงินกู้จำนวนมหาศาล ลูกหลานต้องเป็นหนี้ รัฐบาลต้องนำเงินไปใช้ด้วยความรับผิดชอบ ช่วยเหลือประชาชนอย่างทั่วถึง-กอบกู้เศรษฐกิจได้
เมื่อเวลา 12.20 น. วันที่ 27 พ.ค.ที่อาคารรัฐสภา นาย
สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาฯ กล่าวในที่ประชุม สภาผู้แทนราษฎร ว่า ขอชื่นชมและแสดงความยินดีต่อความสำเร็จต่อการป้องกันการระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย
เป็นความร่วมมือและการเสียสละของพี่น้องประชาชนคนไทยทุกคน ที่ช่วยกันปฏิบัติตามการแนะนำด้านสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด ทำให้โรคเบาบางลง ขอชื่นชมบุคลากรสาธารณสุขทุกท่าน แต่ในความสำเร็จนั้นก็แฝงด้วยความผิดพลาดของการบริหารจัดการภายใต้ภาวะวิกฤต ทั้งความไม่มีประสิทธิภาพในการจัดหาหน้ากากอนามัยและการขาดแคลนชุดป้องกันการติดเชื้อ (PPE)
สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ความสับสนในมาตรการกักตัวผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ การสั่งปิดกิจการในพื้นที่กรุงเทพฯ ก่อนประกาศมาตรการเยียวยาให้ชัดเจน ความล่าช้าและการเยียวยาที่ไม่ทั่วถึงและรวดเร็ว ความล่าช้าในการยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และความล่าช้าในการคลายล็อคให้กับระบบเศรษฐกิจของประเทศ
นาย
สมพงษ์ กล่าวว่า ประเทศที่ประสบความสำเร็จที่แท้จริง ไม่ใช่ประเทศที่หยุดการระบาดได้อยู่หมัดบนซากปรักหักพังของเศรษฐกิจประเทศ ไม่ใช่ประเทศที่ปล่อยการระบาดรุนแรงจนยืดเยื้อกระทบต่อชีวิตประชาชนและเศรษฐกิจของประเทศ จากความผิดพลาดของรัฐบาล ส่งผลให้ประเทศไทยจัดอยู่ในประเทศที่ได้รับความชื่นชมการควบคุมด้านระบาดวิทยา แต่ล้มเหลวการเยียวยาและกอบกู้วิกฤติทางเศรษฐกิจ
ประชาชนเดือดร้อนในเรื่องชีวิตความเป็นอยู่กันทุกหย่อมหญ้า ด้วยต้นทุนทางเศรษฐกิจจำนวนมหาศาลที่เราต้องเสียไป ทำให้เราอยู่ในภาวะที่จำเป็นที่ต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก เข้ากอบกู้เศรษฐกิจไม่ให้ทรุดหนักจนเกินเยียวยา นำไปสู่การกู้เงินจำนวนมหาศาล ตาม พ.ร.ก.ทั้ง 3 ฉบับนี้
นาย
สมพงษ์ กล่าวต่อว่า รัฐบาลต้องพึงระลึกไว้เสมอว่าเงินกู้จำนวนมหาศาลนี้ คนที่ต้องร่วมกันชดใช้คือประชาชนทั้งประเทศ จึงจำเป็นต้องถูกนำไปใช้ด้วยความรับผิดชอบ และเป็นประโยชน์ต่อประชาชนโดยแท้จริง ไม่ใช่การแบ่งเค้กชิงผลประโยชน์
การใช้เพื่อสร้างฐานคะแนนเสียง การเอื้อประโยชน์ต่อพวกพ้องผ่านโครงการต่างๆ ภายใต้เงินกู้ก้อนนี้ เพราะ พรก.ทั้ง 3 ฉบับ ให้อำนาจฝ่ายบริหารไว้สูงมาก แต่การตรวจสอบการใช้จ่ายเงินมีเพียงการตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เพียงไม่กี่คน ตรวจสอบเงินจำนวนมหาศาล โดยไม่ต้องรายงานการใช้จ่ายต่อฝ่ายนิติบัญญัติ
จำเป็นที่ตัวแทนของประชาชนมีหน้าที่ที่จะต้องร่วมกันตรวจสอบให้การใช้เงินก้อนนี้เป็นไปอย่างสุจริตและมีประสิทธิภาพสูงสุด ป้องกันไม่ให้ตีเช็คเปล่าให้รัฐบาลใช้เงินโดยตามอำเภอใจ ไร้การตรวจสอบ จนอาจส่งผลเสียต่อประเทศอย่างมีนัยสำคัญ
นาย
สมพงษ์ กล่าวอีกว่า ในส่วนของ พ.ร.ก.ฉบับแรก คือ พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ.2563 หรือ พ.ร.ก.กู้เงิน 1 ล้านล้านบาทนั้น สามารถแยกพิจารณาเป็น 3 กลุ่มใหญ่
1. แก้ไขการระบาดโควิด-19 (45,000 ล้านบาท) นั้น ผมเห็นถึงความสำคัญของการจัดสรรงบประมาณที่เพียงพอด้านสาธารณสุข แต่รัฐบาลต้องสามารถชี้แจงต่อสังคมให้ได้ว่า งบการก้อนที่มีรายละเอียดการใช้จ่าย
2. การช่วยเหลือ เยียวยา ประชาชน เกษตรกร ผู้ประกอบการ (555,000 ล้านบาท) เป็นสิ่งที่ต้องทำ แต่การเยียวยาในแบบของรัฐบาลมีปัญหาในเชิงปฏิบัติ ยิ่งคัดกรองมาก ยิ่งหลุดมาก ไม่ครอบคลุม ไม่ทั่วถึง คนเดือดร้อนจริงกลับไม่ได้
3. งบฟื้นฟูเศรษฐกิจ (400,000 ล้านบาท) เป็นก้อนที่พวกเราฝ่ายค้านเป็นห่วงที่สุด เป็นส่วนที่จะมีปัญหามากที่สุด มีข้อสังเกตว่าแบ่งตามกระทรวงต่างๆ ไว้หมดแล้ว ทั้งๆที่ยังไม่ได้เข้าสภา และตามที่รัฐบาลกล่าวถึงทิศทางการใช้เงินก้อนนี้ ไม่ตอบโจทย์ และไม่ได้คิดถึงภาพใหญ่
เปิดช่องการใช้เงินเพื่อประโยชน์ทางการเมือง หรือนำไปทำโครงการแบบเดิมๆ เพื่อประโยชน์ของพวกพ้อง ฝ่ายค้านไม่ขัดข้องกับการกู้เงิน เพราะเล็งเห็นถึงความจำเป็น แต่ขอทักท้วงในด้านการนำไปใช้จ่าย เพื่อให้เกิดประโยชน์ ถูกต้อง ครอบคลุม โปร่งใส และมีประสิทธิภาพ และยังต้องคำนึงถึงศักยภาพของรัฐบาลที่เป็นผู้ใช้งบด้วย
นาย
สมพษ์ กล่าวว่า ในส่วนของ พ.ร.ก.การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจ ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 นั้น เมื่อลงไปสู่การปฏิบัติ ตาม พ.ร.ก.ฉบับนี้ ผมมองว่าดุลยพินิจของการปล่อยกู้ อยู่ที่ธนาคารพาณิชย์ ที่มีแนวโน้มปล่อยให้ลูกค้าเดิมที่แข็งแรงอยู่แล้ว เพราะไม่ต้องการความเสี่ยงเพิ่ม
แต่ SMEs ที่ประสบปัญหาได้รับผลกระทบจากโควิด ก็ยังคงเข้าไม่ถึงสินเชื่อเหมือนเดิม นอกจากนั้นยังเปิดช่องทางที่เอกชนรายที่ผ่านการพิจารณาสินเชื่อ เอาสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำไปปล่อยต่อให้เอกชนที่เข้าไม่ถึงสินเชื่อในราคาสูง มีลักษณะเหมือนสินเชื่อนอกระบบ รายใหญ่ได้ประโยชน์ รายเล็กโดนเอาเปรียบ
ท้ายสุด SME จำนวนน้อยนิดที่ได้รับอนุมัติเงินกู้จาก พ.ร.ก.ฉบับนี้ อีกจำนวนมากที่ไม่สามารถเข้าถึงเงินกู้นี้ได้ ในส่วนของ พ.ร.ก.การรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ พ.ศ. 2563 นั้น ขอให้ ส.ส.ฝ่ายค้านได้อภิปรายในเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้ ฝ่ายค้านจะร่วมกันอภิปรายถึงรายละเอียดในเชิงลึกของ พ.ร.ก. ทั้ง 3 ฉบับต่อไป
หวังเป็นอย่างยิ่งว่าสภาฯ จะทำหน้าที่อย่างเต็มที่เพื่อทำให้ประโยชน์ของ พ.ร.ก.ทั้ง 3 ฉบับนี้ ลงสู่การช่วยเหลือพี่น้องประชาชนอย่างทั่วถึง เป็นผลต่อการกอบกู้เศรษฐกิจของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการบริหารจัดการที่โปร่งใส มิใช่เป็นแหล่งทุนที่เอื้อประโยชน์ให้กับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง โปรดระลึกไว้ว่าเงินทุกบาททุกสตางค์นั้นคือเงินอนาคตของลูกหลาน
'วิโรจน์'ท้ารบ.พิสูจน์ความโปร่งใส หนุนตั้งกมธ.ตรวจสอบงบฯ
https://www.dailynews.co.th/politics/776792
"วิโรจน์" จี้ถาม”ประเทศไทยต้องชนะ”หมายถึง ปชช.หรือไม่? อัดช่วยกลุ่มทุนก่อนช่วยชาวบ้าน ชี้ พ.ร.ก.ทั้ง 3 ฉบับต้องวางยุทธศาสตร์สอดคล้อง พ.ร.บ.โอนงบ -พ.ร.บ.งบปี 64 ท้ารบ.พิสูจน์ความโปร่งใสควรหนุนตั้ง กมธ.วิสามัญตรวจสอบการใช้งบฯ
เมื่อวันที่ 27 พ.ค. ที่รัฐสภา ในการอภิปรายกฎหมาย 3 ฉบับ ได้แก่ พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 พ.ศ.2563 พ.ร.ก.การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจ ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 และ พ.ร.ก.การรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ พ.ศ. 2563
นาย
วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.พรรคก้าวไกล ได้อภิปรายถามนายกรัฐมนตรีว่า ที่ชูสองแขนแล้วพูดว่าประเทศไทยต้องชนะนั้น คำว่าประเทศไทย หมายความถึงประชาชนด้วยหรือไม่เพราะถ้าประชาชนชนะ แล้วทำไมจึงมีภาพของการไปต่อแถวร้องทุกข์ด้วยสายตาที่เลื่อนลอยสิ้นหวังน้ำตาคลอเบ้า ที่หน้ากระทรวงการคลัง ทำไมจึงมีภาพคนเป็นแม่ยืนร้องไห้เพราะไม่มีเงินซื้อนมให้ลูก สิ่งที่เหล่านี้ ไม่ใช่ชัยชนะของประชาชนเลย เป็นเพียงการได้มาในสิ่งที่รัฐบาลอยากได้ โดยยืนอยู่บนความทุกข์ยากของประชาชน เป็นการประกาศชัยชนะของรัฐบาล โดยที่เอาประชาชนคนตัวเล็กตัวน้อยมาเป็นเครื่องเซ่น เอากิจการขนาดเล็ก มาเป็นเครื่องสังเวย
นาย
วิโรจน์ กล่าวอีกว่า คำว่าเราไม่ทิ้งกันของรัฐบาล ที่แท้จริงก็คือต้องขยายความว่า
เราไม่ทิ้งกัน ส่วนพวกมันก็ให้ทิ้งไป ภายใต้วิธีคิดของรัฐบาลนี้ การเข้าไปอุ้มชูนายทุนทำได้ง่ายดายและรวดเร็ว เช่น กรณีบอร์ดการท่าอากาศยาน เมื่อวันที่ 19 ก.พ.ได้มีมาตรการปรับลดค่าตอบแทนให้กับผู้ประกอบการสินค้าปลอดภาษีในสนามบิน ซึ่งมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ. 63 และค่าเช่าแบบคงที่ ให้ปรับลดลง 20% ตั้งแต่ 1 ก.พ. 63 - 31 ม.ค. 64 รวมทั้งค่าผลตอบแทนแบบเปอร์เซ็นต์ ให้ยกเว้นเงื่อนไขขั้นต่ำรายเดือน และรายปี ตั้งแต่ 1 ก.พ. 63 ถึง 31 มี.ค. 65 แถมยังให้เลื่อนการจ่ายค่าผลประโยชน์ตอบแทน เป็นระยะเวลา 6 เดือน โดยไม่มีค่าปรับอีกด้วย ซึ่งประเมินกันว่า จะทำให้กำไรของการท่าอากาศยาน ในปี 63-65 รวมกันแล้ว ลดลงถึง 22,536 ล้านบาท ทำให้ราคาหุ้นของการท่าอากาศยานปรับตัวลดลงทันทีในวันที่ 20 ก.พ. คือ 4.80% คิดเป็นความเสียหายที่กระทรวงการคลังต้องรับรู้ทันทีถึง 32,500 ล้านบาท
"เงินจำนวนนี้ ไม่ใช่น้อยๆ เมื่อคำนวณแล้วสามารถเอามาเยียวยาประชาชน จำนวน 5,000 บาท ได้ถึง 2.2 ล้านคน ซื้อหน้ากากอนามัยได้ 8 พันล้านชิ้น ซื้อชุด PPEให้กับหมอ ได้ 90 ล้านชุด ซื้อข้าวสารถุงละ 5 ก.ก. ได้ 216 ล้านถุง สามารถแจกได้ทุกครัวเรือนในประเทศไทยที่มีอยู่ 21 ล้านครัวเรือน ได้ครัวเรือนละ 10 ถุง อยู่ได้นานถึง 5 เดือน ถ้าเทียบกับกรณีสินค้าปลอดภาาษีในสนามบินนั้น เกษตรกรกว่าจะได้รับการอนุมัติการเยียวยา ก็ต้องรอจนถึงวันที่ 28 เม.ย. หลังผู้ประกอบธุรกิจที่สนามบินถึง 2 เดือนเศษ" นาย
วิโรจน์ กล่าว
นาย
วิโรจน์ กล่าวอีกว่า การกู้เงินมาใช้แก้ปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูวิกฤติโควิด-19 ในครั้งนี้ เป็นเรื่องที่พรรคก้าวไกลเห็นด้วยว่าจำเป็นต้องกู้ แต่สิ่งที่น่ากังวลและเป็นปัญหาคือ รัฐบาลมีฐานคิดที่ลักลั่นสองมาตรฐาน นายทุนมาก่อน ประชาชนรอไปก่อน ฐานคิดที่คิดว่าตนเองเป็นเจ้าของเงิน และกำลังเจียดเงินเพื่อสงเคราะห์ประชาชนใต้การปกครอง โดยให้ประชาชนรอความเมตตาจากรัฐ แบบนี้ไม่ถูกต้อง ที่ซ้ำร้ายไปกว่านั้น พอประชาชนด้วยกันทนไม่ได้ นำอาหารออกมาแจกจ่ายช่วยกันเอง ก็ยังถูกจับกุมดำเนินคดี
ทั้งนี้ ถ้ารัฐบาลทำงานเป็น พ.ร.ก.ทั้ง 3 ฉบับ ทั้งกู้เงิน ซอฟท์โลน และพยุงหุ้นกู้ จะต้องวางแผนให้สอดคล้องกันกับ พ.ร.บ.โอนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2563 และ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2564 โดยกฎหมายทั้ง 5 ฉบับนี้ และต้องวางแผนให้สอดคล้อง มียุทธศาสตร์ร่วมกัน สัญญาณที่รัฐบาลควรส่งมาที่สุดในตอนนี้ ก็คือ การสื่อให้ประชาชนรับรู้ว่า รัฐบาลกำลังพยายามที่จะปกป้อง สภาพการจ้างงานของพวกเขา
นาย
วิโรจน์ กล่าวว่า พรรคก้าวไกลมองว่า บาซูก้างบประมาณก้อนนี้ เป็นเครื่องมือที่จำเป็น แต่ต้องทำอย่างรอบคอบ ข้อเสนอของพรรคก้าวไกลคือ จัดสรรเงินใหม่ โดยรวมเอาเงินกู้ 1 ล้านล้านบาท เข้ากับเงินที่ได้จากการโอนงบประมาณของหน่วยงานต่าง ๆ อีก 88,000 ล้านบาท เป็น 1.088 ล้านล้านบาท ทั้งนี้เงินก้อนนี้ถูกใช้ไปแล้ว 345,000 ล้านบาท กับมาตรการจ่ายเงินเยียวยาเราช่วยกัน และเยียวยาเกษตรกร เหลือที่จัดสรรได้อีก 743,000 ล้านบาท โดยทางพรรคฯเสนอวิธีจัดสรรเพื่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชนสูงสุดโดย เงินก้อนแรก วงเงิน 100,000 ล้านบาท เพื่อเตรียมความพร้อมด้านสาธารณสุข แบ่งเป็นเงินจำนวน 67,000 ล้านบาท เพื่อแจกจ่ายวัคซีนฟรีสำหรับทุกคน และเงิน 33,000 ล้านบาท สำหรับจัดหาอุปกรณ์การแพทย์และเพิ่มสวัสดิการให้บุคลากรสาธารณสุข
ส่วนก้อนที่สองวงเงิน 643,000 ล้านบาท เยียวยาประชาชน แบ่งเป็น ส่วนแรก 504,000 ล้านบาท เยียวยาประชาชนถ้วนหน้าคนละ 3,000 บาท นาน 3 เดือน ยกเว้นข้าราชการ ส่วนเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี จะได้รับเงิน 1,000 บาท และเงินอีก 120,000 ล้านบาท ช่วยผู้ประกอบการ SMEs จ่ายเงินเดือนลูกจ้างร้อยละ 50 ของเงินเดือน แต่ไม่เกินรายละ 5,000 บาท นาน 3 เดือน โดยลูกจ้างต้องเงินเดือนไม่เกิน 30,000 บาท ภายใต้เงื่อนไขว่านายจ้างห้ามเลิกจ้างในช่วง 3 เดือนที่รับเงินสมทบค่าจ้าง และในก้อนสุดท้าย วงเงิน 19,000 ล้านบาท ใช้จัดสรรอาหารฟรีให้ประชาชน
JJNY : ชี้กู้มหาศาล เป็นหนี้ยันลูกหลาน/วิโรจน์ท้าพิสูจน์โปร่งใส/บินไทยลั่นไม่มีเงินค่าตั๋วคืน/เจ้าหนี้บาน บินไทย
https://www.khaosod.co.th/politics/news_4207158
เมื่อเวลา 12.20 น. วันที่ 27 พ.ค.ที่อาคารรัฐสภา นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาฯ กล่าวในที่ประชุม สภาผู้แทนราษฎร ว่า ขอชื่นชมและแสดงความยินดีต่อความสำเร็จต่อการป้องกันการระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย
เป็นความร่วมมือและการเสียสละของพี่น้องประชาชนคนไทยทุกคน ที่ช่วยกันปฏิบัติตามการแนะนำด้านสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด ทำให้โรคเบาบางลง ขอชื่นชมบุคลากรสาธารณสุขทุกท่าน แต่ในความสำเร็จนั้นก็แฝงด้วยความผิดพลาดของการบริหารจัดการภายใต้ภาวะวิกฤต ทั้งความไม่มีประสิทธิภาพในการจัดหาหน้ากากอนามัยและการขาดแคลนชุดป้องกันการติดเชื้อ (PPE)
สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ความสับสนในมาตรการกักตัวผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ การสั่งปิดกิจการในพื้นที่กรุงเทพฯ ก่อนประกาศมาตรการเยียวยาให้ชัดเจน ความล่าช้าและการเยียวยาที่ไม่ทั่วถึงและรวดเร็ว ความล่าช้าในการยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และความล่าช้าในการคลายล็อคให้กับระบบเศรษฐกิจของประเทศ
นายสมพงษ์ กล่าวว่า ประเทศที่ประสบความสำเร็จที่แท้จริง ไม่ใช่ประเทศที่หยุดการระบาดได้อยู่หมัดบนซากปรักหักพังของเศรษฐกิจประเทศ ไม่ใช่ประเทศที่ปล่อยการระบาดรุนแรงจนยืดเยื้อกระทบต่อชีวิตประชาชนและเศรษฐกิจของประเทศ จากความผิดพลาดของรัฐบาล ส่งผลให้ประเทศไทยจัดอยู่ในประเทศที่ได้รับความชื่นชมการควบคุมด้านระบาดวิทยา แต่ล้มเหลวการเยียวยาและกอบกู้วิกฤติทางเศรษฐกิจ
ประชาชนเดือดร้อนในเรื่องชีวิตความเป็นอยู่กันทุกหย่อมหญ้า ด้วยต้นทุนทางเศรษฐกิจจำนวนมหาศาลที่เราต้องเสียไป ทำให้เราอยู่ในภาวะที่จำเป็นที่ต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก เข้ากอบกู้เศรษฐกิจไม่ให้ทรุดหนักจนเกินเยียวยา นำไปสู่การกู้เงินจำนวนมหาศาล ตาม พ.ร.ก.ทั้ง 3 ฉบับนี้
นายสมพงษ์ กล่าวต่อว่า รัฐบาลต้องพึงระลึกไว้เสมอว่าเงินกู้จำนวนมหาศาลนี้ คนที่ต้องร่วมกันชดใช้คือประชาชนทั้งประเทศ จึงจำเป็นต้องถูกนำไปใช้ด้วยความรับผิดชอบ และเป็นประโยชน์ต่อประชาชนโดยแท้จริง ไม่ใช่การแบ่งเค้กชิงผลประโยชน์
การใช้เพื่อสร้างฐานคะแนนเสียง การเอื้อประโยชน์ต่อพวกพ้องผ่านโครงการต่างๆ ภายใต้เงินกู้ก้อนนี้ เพราะ พรก.ทั้ง 3 ฉบับ ให้อำนาจฝ่ายบริหารไว้สูงมาก แต่การตรวจสอบการใช้จ่ายเงินมีเพียงการตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เพียงไม่กี่คน ตรวจสอบเงินจำนวนมหาศาล โดยไม่ต้องรายงานการใช้จ่ายต่อฝ่ายนิติบัญญัติ
จำเป็นที่ตัวแทนของประชาชนมีหน้าที่ที่จะต้องร่วมกันตรวจสอบให้การใช้เงินก้อนนี้เป็นไปอย่างสุจริตและมีประสิทธิภาพสูงสุด ป้องกันไม่ให้ตีเช็คเปล่าให้รัฐบาลใช้เงินโดยตามอำเภอใจ ไร้การตรวจสอบ จนอาจส่งผลเสียต่อประเทศอย่างมีนัยสำคัญ
นายสมพงษ์ กล่าวอีกว่า ในส่วนของ พ.ร.ก.ฉบับแรก คือ พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ.2563 หรือ พ.ร.ก.กู้เงิน 1 ล้านล้านบาทนั้น สามารถแยกพิจารณาเป็น 3 กลุ่มใหญ่
1. แก้ไขการระบาดโควิด-19 (45,000 ล้านบาท) นั้น ผมเห็นถึงความสำคัญของการจัดสรรงบประมาณที่เพียงพอด้านสาธารณสุข แต่รัฐบาลต้องสามารถชี้แจงต่อสังคมให้ได้ว่า งบการก้อนที่มีรายละเอียดการใช้จ่าย
2. การช่วยเหลือ เยียวยา ประชาชน เกษตรกร ผู้ประกอบการ (555,000 ล้านบาท) เป็นสิ่งที่ต้องทำ แต่การเยียวยาในแบบของรัฐบาลมีปัญหาในเชิงปฏิบัติ ยิ่งคัดกรองมาก ยิ่งหลุดมาก ไม่ครอบคลุม ไม่ทั่วถึง คนเดือดร้อนจริงกลับไม่ได้
3. งบฟื้นฟูเศรษฐกิจ (400,000 ล้านบาท) เป็นก้อนที่พวกเราฝ่ายค้านเป็นห่วงที่สุด เป็นส่วนที่จะมีปัญหามากที่สุด มีข้อสังเกตว่าแบ่งตามกระทรวงต่างๆ ไว้หมดแล้ว ทั้งๆที่ยังไม่ได้เข้าสภา และตามที่รัฐบาลกล่าวถึงทิศทางการใช้เงินก้อนนี้ ไม่ตอบโจทย์ และไม่ได้คิดถึงภาพใหญ่
เปิดช่องการใช้เงินเพื่อประโยชน์ทางการเมือง หรือนำไปทำโครงการแบบเดิมๆ เพื่อประโยชน์ของพวกพ้อง ฝ่ายค้านไม่ขัดข้องกับการกู้เงิน เพราะเล็งเห็นถึงความจำเป็น แต่ขอทักท้วงในด้านการนำไปใช้จ่าย เพื่อให้เกิดประโยชน์ ถูกต้อง ครอบคลุม โปร่งใส และมีประสิทธิภาพ และยังต้องคำนึงถึงศักยภาพของรัฐบาลที่เป็นผู้ใช้งบด้วย
นายสมพษ์ กล่าวว่า ในส่วนของ พ.ร.ก.การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจ ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 นั้น เมื่อลงไปสู่การปฏิบัติ ตาม พ.ร.ก.ฉบับนี้ ผมมองว่าดุลยพินิจของการปล่อยกู้ อยู่ที่ธนาคารพาณิชย์ ที่มีแนวโน้มปล่อยให้ลูกค้าเดิมที่แข็งแรงอยู่แล้ว เพราะไม่ต้องการความเสี่ยงเพิ่ม
แต่ SMEs ที่ประสบปัญหาได้รับผลกระทบจากโควิด ก็ยังคงเข้าไม่ถึงสินเชื่อเหมือนเดิม นอกจากนั้นยังเปิดช่องทางที่เอกชนรายที่ผ่านการพิจารณาสินเชื่อ เอาสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำไปปล่อยต่อให้เอกชนที่เข้าไม่ถึงสินเชื่อในราคาสูง มีลักษณะเหมือนสินเชื่อนอกระบบ รายใหญ่ได้ประโยชน์ รายเล็กโดนเอาเปรียบ
ท้ายสุด SME จำนวนน้อยนิดที่ได้รับอนุมัติเงินกู้จาก พ.ร.ก.ฉบับนี้ อีกจำนวนมากที่ไม่สามารถเข้าถึงเงินกู้นี้ได้ ในส่วนของ พ.ร.ก.การรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ พ.ศ. 2563 นั้น ขอให้ ส.ส.ฝ่ายค้านได้อภิปรายในเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้ ฝ่ายค้านจะร่วมกันอภิปรายถึงรายละเอียดในเชิงลึกของ พ.ร.ก. ทั้ง 3 ฉบับต่อไป
หวังเป็นอย่างยิ่งว่าสภาฯ จะทำหน้าที่อย่างเต็มที่เพื่อทำให้ประโยชน์ของ พ.ร.ก.ทั้ง 3 ฉบับนี้ ลงสู่การช่วยเหลือพี่น้องประชาชนอย่างทั่วถึง เป็นผลต่อการกอบกู้เศรษฐกิจของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการบริหารจัดการที่โปร่งใส มิใช่เป็นแหล่งทุนที่เอื้อประโยชน์ให้กับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง โปรดระลึกไว้ว่าเงินทุกบาททุกสตางค์นั้นคือเงินอนาคตของลูกหลาน
'วิโรจน์'ท้ารบ.พิสูจน์ความโปร่งใส หนุนตั้งกมธ.ตรวจสอบงบฯ
https://www.dailynews.co.th/politics/776792
"วิโรจน์" จี้ถาม”ประเทศไทยต้องชนะ”หมายถึง ปชช.หรือไม่? อัดช่วยกลุ่มทุนก่อนช่วยชาวบ้าน ชี้ พ.ร.ก.ทั้ง 3 ฉบับต้องวางยุทธศาสตร์สอดคล้อง พ.ร.บ.โอนงบ -พ.ร.บ.งบปี 64 ท้ารบ.พิสูจน์ความโปร่งใสควรหนุนตั้ง กมธ.วิสามัญตรวจสอบการใช้งบฯ
เมื่อวันที่ 27 พ.ค. ที่รัฐสภา ในการอภิปรายกฎหมาย 3 ฉบับ ได้แก่ พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 พ.ศ.2563 พ.ร.ก.การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจ ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 และ พ.ร.ก.การรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ พ.ศ. 2563
นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.พรรคก้าวไกล ได้อภิปรายถามนายกรัฐมนตรีว่า ที่ชูสองแขนแล้วพูดว่าประเทศไทยต้องชนะนั้น คำว่าประเทศไทย หมายความถึงประชาชนด้วยหรือไม่เพราะถ้าประชาชนชนะ แล้วทำไมจึงมีภาพของการไปต่อแถวร้องทุกข์ด้วยสายตาที่เลื่อนลอยสิ้นหวังน้ำตาคลอเบ้า ที่หน้ากระทรวงการคลัง ทำไมจึงมีภาพคนเป็นแม่ยืนร้องไห้เพราะไม่มีเงินซื้อนมให้ลูก สิ่งที่เหล่านี้ ไม่ใช่ชัยชนะของประชาชนเลย เป็นเพียงการได้มาในสิ่งที่รัฐบาลอยากได้ โดยยืนอยู่บนความทุกข์ยากของประชาชน เป็นการประกาศชัยชนะของรัฐบาล โดยที่เอาประชาชนคนตัวเล็กตัวน้อยมาเป็นเครื่องเซ่น เอากิจการขนาดเล็ก มาเป็นเครื่องสังเวย
นายวิโรจน์ กล่าวอีกว่า คำว่าเราไม่ทิ้งกันของรัฐบาล ที่แท้จริงก็คือต้องขยายความว่า เราไม่ทิ้งกัน ส่วนพวกมันก็ให้ทิ้งไป ภายใต้วิธีคิดของรัฐบาลนี้ การเข้าไปอุ้มชูนายทุนทำได้ง่ายดายและรวดเร็ว เช่น กรณีบอร์ดการท่าอากาศยาน เมื่อวันที่ 19 ก.พ.ได้มีมาตรการปรับลดค่าตอบแทนให้กับผู้ประกอบการสินค้าปลอดภาษีในสนามบิน ซึ่งมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ. 63 และค่าเช่าแบบคงที่ ให้ปรับลดลง 20% ตั้งแต่ 1 ก.พ. 63 - 31 ม.ค. 64 รวมทั้งค่าผลตอบแทนแบบเปอร์เซ็นต์ ให้ยกเว้นเงื่อนไขขั้นต่ำรายเดือน และรายปี ตั้งแต่ 1 ก.พ. 63 ถึง 31 มี.ค. 65 แถมยังให้เลื่อนการจ่ายค่าผลประโยชน์ตอบแทน เป็นระยะเวลา 6 เดือน โดยไม่มีค่าปรับอีกด้วย ซึ่งประเมินกันว่า จะทำให้กำไรของการท่าอากาศยาน ในปี 63-65 รวมกันแล้ว ลดลงถึง 22,536 ล้านบาท ทำให้ราคาหุ้นของการท่าอากาศยานปรับตัวลดลงทันทีในวันที่ 20 ก.พ. คือ 4.80% คิดเป็นความเสียหายที่กระทรวงการคลังต้องรับรู้ทันทีถึง 32,500 ล้านบาท
"เงินจำนวนนี้ ไม่ใช่น้อยๆ เมื่อคำนวณแล้วสามารถเอามาเยียวยาประชาชน จำนวน 5,000 บาท ได้ถึง 2.2 ล้านคน ซื้อหน้ากากอนามัยได้ 8 พันล้านชิ้น ซื้อชุด PPEให้กับหมอ ได้ 90 ล้านชุด ซื้อข้าวสารถุงละ 5 ก.ก. ได้ 216 ล้านถุง สามารถแจกได้ทุกครัวเรือนในประเทศไทยที่มีอยู่ 21 ล้านครัวเรือน ได้ครัวเรือนละ 10 ถุง อยู่ได้นานถึง 5 เดือน ถ้าเทียบกับกรณีสินค้าปลอดภาาษีในสนามบินนั้น เกษตรกรกว่าจะได้รับการอนุมัติการเยียวยา ก็ต้องรอจนถึงวันที่ 28 เม.ย. หลังผู้ประกอบธุรกิจที่สนามบินถึง 2 เดือนเศษ" นายวิโรจน์ กล่าว
นายวิโรจน์ กล่าวอีกว่า การกู้เงินมาใช้แก้ปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูวิกฤติโควิด-19 ในครั้งนี้ เป็นเรื่องที่พรรคก้าวไกลเห็นด้วยว่าจำเป็นต้องกู้ แต่สิ่งที่น่ากังวลและเป็นปัญหาคือ รัฐบาลมีฐานคิดที่ลักลั่นสองมาตรฐาน นายทุนมาก่อน ประชาชนรอไปก่อน ฐานคิดที่คิดว่าตนเองเป็นเจ้าของเงิน และกำลังเจียดเงินเพื่อสงเคราะห์ประชาชนใต้การปกครอง โดยให้ประชาชนรอความเมตตาจากรัฐ แบบนี้ไม่ถูกต้อง ที่ซ้ำร้ายไปกว่านั้น พอประชาชนด้วยกันทนไม่ได้ นำอาหารออกมาแจกจ่ายช่วยกันเอง ก็ยังถูกจับกุมดำเนินคดี
ทั้งนี้ ถ้ารัฐบาลทำงานเป็น พ.ร.ก.ทั้ง 3 ฉบับ ทั้งกู้เงิน ซอฟท์โลน และพยุงหุ้นกู้ จะต้องวางแผนให้สอดคล้องกันกับ พ.ร.บ.โอนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2563 และ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2564 โดยกฎหมายทั้ง 5 ฉบับนี้ และต้องวางแผนให้สอดคล้อง มียุทธศาสตร์ร่วมกัน สัญญาณที่รัฐบาลควรส่งมาที่สุดในตอนนี้ ก็คือ การสื่อให้ประชาชนรับรู้ว่า รัฐบาลกำลังพยายามที่จะปกป้อง สภาพการจ้างงานของพวกเขา
นายวิโรจน์ กล่าวว่า พรรคก้าวไกลมองว่า บาซูก้างบประมาณก้อนนี้ เป็นเครื่องมือที่จำเป็น แต่ต้องทำอย่างรอบคอบ ข้อเสนอของพรรคก้าวไกลคือ จัดสรรเงินใหม่ โดยรวมเอาเงินกู้ 1 ล้านล้านบาท เข้ากับเงินที่ได้จากการโอนงบประมาณของหน่วยงานต่าง ๆ อีก 88,000 ล้านบาท เป็น 1.088 ล้านล้านบาท ทั้งนี้เงินก้อนนี้ถูกใช้ไปแล้ว 345,000 ล้านบาท กับมาตรการจ่ายเงินเยียวยาเราช่วยกัน และเยียวยาเกษตรกร เหลือที่จัดสรรได้อีก 743,000 ล้านบาท โดยทางพรรคฯเสนอวิธีจัดสรรเพื่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชนสูงสุดโดย เงินก้อนแรก วงเงิน 100,000 ล้านบาท เพื่อเตรียมความพร้อมด้านสาธารณสุข แบ่งเป็นเงินจำนวน 67,000 ล้านบาท เพื่อแจกจ่ายวัคซีนฟรีสำหรับทุกคน และเงิน 33,000 ล้านบาท สำหรับจัดหาอุปกรณ์การแพทย์และเพิ่มสวัสดิการให้บุคลากรสาธารณสุข
ส่วนก้อนที่สองวงเงิน 643,000 ล้านบาท เยียวยาประชาชน แบ่งเป็น ส่วนแรก 504,000 ล้านบาท เยียวยาประชาชนถ้วนหน้าคนละ 3,000 บาท นาน 3 เดือน ยกเว้นข้าราชการ ส่วนเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี จะได้รับเงิน 1,000 บาท และเงินอีก 120,000 ล้านบาท ช่วยผู้ประกอบการ SMEs จ่ายเงินเดือนลูกจ้างร้อยละ 50 ของเงินเดือน แต่ไม่เกินรายละ 5,000 บาท นาน 3 เดือน โดยลูกจ้างต้องเงินเดือนไม่เกิน 30,000 บาท ภายใต้เงื่อนไขว่านายจ้างห้ามเลิกจ้างในช่วง 3 เดือนที่รับเงินสมทบค่าจ้าง และในก้อนสุดท้าย วงเงิน 19,000 ล้านบาท ใช้จัดสรรอาหารฟรีให้ประชาชน