แตกประเด็นจาก
https://ppantip.com/topic/39931167
ทำไม แดงไม่ยอมรับว่า ยิ่งลักษณ์โกงจำนำข้าว โดย คุณดินเหนียวปนทราย
.
ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
การเลือกตั้ง 2554 จบ
เพื่อไทยจัดตั้งรัฐบาล น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี
รัฐบาลยังไม่ได้ทำอะไร ป.ป.ช. ก็มีหนังสือถึงรัฐบาล ว่าไม่ควรดำเนินนโยบายจำนำข้าว เพราะอาจเกิดการทุจริต
(ป.ป.ช. มีข้อเสนอแนะถึงรัฐบาลและหน่วยงานของรัฐได้ครับ แต่ไม่มีอำนาจดูแลควบคุมสั่งการใด ๆ ทั้งสิ้น)
รัฐบาลพรรคเพื่อไทย ดำเนินนโยบายจำนำข้าวตามที่ได้หาเสียงไว้ นายกฯยิ่งลักษณ์แถลงนโยบายต่อที่ประชุมสภาฯ
ผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร จำนำข้าวจึงเป็นนโยบายแห่งรัฐ
.
ปลายปี 2555
ฝ่ายค้าน โดยพรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลเรื่องโครงการจำนำข้าว
จบการอภิปราย พรรคประชาธิปัตย์ได้ยื่นเรื่องจำนำข้าวต่อ ป.ป.ช. ให้ตรวจสอบการทำงานของ รมว.พาณิชย์ นายบุญทรง เตริยาภิรมย์
.
9 ธันวาคม 2556 นายกฯยิ่งลักษณ์ยุบสภาฯ
.
ต้นเดือน มกราคม 2557
พรรคประชาธิปัตย์ ยื่นคำร้องต่อ ป.ป.ช. ให้ไต่สวนนายกฯยิ่งลักษณ์ในเรื่องจำนำข้าว
.
ปลายเดือน มกราคม 2557
ป.ป.ช. มีมติ รวมเรื่องการไต่สวนนายกฯยิ่งลักษณ์เป็นคดีเดียวกันกับนายบุญทรง
(ถึงตรงนี้ ก็ชัดแล้วครับ เหมือนดูเซปัคตะกร้อ ชงตบ ๆ ๆ ๆ )
.
18 กุมภาพันธ์ 2557
ป.ป.ช. มีมติแจ้งข้อกล่าวหานายกฯยิ่งลักษณ์ว่าปล่อยปละละเลยให้มีการทุจริตโครงการจำนำข้าว
โดยใช้เวลาไต่สวนเพียง 21 วัน
.
พฤษภาคม 2557
ป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิดนายกฯยิ่งลักษณ์ ส่งสำนวนฟ้องต่ออัยการสูงสุด และดำเนินการถอดถอน
.
กันยายน 2557 อัยการสูงสุด ไม่สั่งฟ้องคดีจำนำข้าวของนายกฯยิ่งลักษณ์ ให้ ป.ป.ช. ไต่สวนเพิ่ม ดังนี้
1. นายกฯยิ่งลักษณ์ มีอำนาจสั่งระงับยับยั้งโครงการจำนำข้าวอันเป็นนโยบายแหงรัฐที่ผ่านความเห็นชอบจากสภาฯ หรือไม่
2. การปล่อยปละละเลย ที่อ้างหนังสือเตือนของ ป.ป.ช. และของ สตง. ว่าโครงการจำนำข้าวอาจเกิดการทุจริตนั้น
นายกฯยิ่งลักษณ์ได้มีการสั่งการกำกับดูแลเพื่อป้องกันการทุจริตหรือไม่
3. ใครทุจริต ทุจริตอย่างไร
(ข้อสังเกต นายกรัฐมนตรีไม่มีอำนาจระงับนโยบายแห่งรัฐ และนายกฯยิ่งลักษณ์ในฐานะประธานคณะกรรมการข้าว
ได้สั่งการให้มีการระมัดระวังเรื่องการทุจริต แต่ ป.ป.ช. ไม่ไต่สวนพยานในเรื่องนี้สักปากเดียว
และที่สุด ๆ คือ ยังไม่รู้ว่าใครโกง โกงยังไง แต่ ป.ป.ช. ชี้มูลความผิดนายกฯยิ่งลักษณ์เรียบร้อย ว่าปล่อยปละละเลยให้มีการโกง)
.
พฤศจิกายน 2557
ป.ป.ช. ยืนยันไม่ไต่สวนเพิ่มเติม อัยการสูงสุดเห็นไม่สั่งฟ้อง จึงต้องตั้งคณะทำงานร่วมกัน
ระหว่าง ป.ป.ช. กับ สำนักงานอัยการสูงสุด ฝ่ายละ 10 คน ดำเนินการพิจารณาสำนวน เพื่อชี้ขาดอีกครั้ง
ปลายปี 2557 ธันวาคม
คณะทำงานร่วม ป.ป.ช. - อัยการสูงสุด ยังไม่ได้ข้อสรุปคดีจำนำข้าว
นัดประชุมเพื่อลงมติชี้ขาด 26 มกราคม 2558
.
16 มกราคม 2558
นายวิชา มหาคุณ แถลงต่อที่ประชุมวุฒิสภา ในการดำเนินการเรื่องถอดถอนนายกฯยิ่งลักษณ์ออกจากตำแหน่ง ว่า
คณะทำงานร่วมระหว่าง ป.ป.ช. - อัยการสูงสุด มีมติสรุปสั่งฟ้องนายกฯยิ่งลักษณ์ในคดีจำนำข้าวแล้ว
.
17 มกราคม 2558
รองอัยการสูงสุด ฐานะหัวหน้าคณะทำงานร่วมฝ่ายอัยการสูงสุด ให้สัมภาษณ์สื่อ
ว่าไม่รู้เรื่องการสั่งฟ้อง เพราะคณะทำงานร่วมนัดประชุมกันวันที่ 26 มกราคม 2558
.
21 ม.ค. 2558
เลขาธิการ ป.ป.ช. หัวหน้าคณะทำงานร่วมฝ่าย ป.ป.ช.
แถลงข่าวว่า คณะทำงานร่วมได้ประชุมร่วมกันแล้วเมื่อ 20 ม.ค. 2558
โดยมีฝ่าย ป.ป.ช. 10 คน ฝ่ายอัยการสุงสุด 3 คน (หัวหน้าฝ่ายอัยการและคณะทำงานอีก 6 คนไม่รู้เรื่อง)
(ข้อสังเกต นายวิชารู้ล่วงหน้าได้อย่างไรว่าจะมีการสั่งฟ้อง ?
คณะทำงานร่วมนัดประชุม 26 มกราคม แต่กลับประชุม 20 มกราคม แบบฝ่ายอัยการสูงสุดไม่รู้เรื่อง
เรื่องนี้ผิดปกติมาก เหมือนมีธงเล่นงานนายกฯยิ่งลักษณ์ เมื่อนายวิชาเผลอพูดปูดออกมา จึงต้องรีบประชุมสั่งฟ้อง)
.
เย็นวันต่อมา 22 มกราคม 2558 อัยการสูงสุดรับลูกทันที เพื่อลดกระแสความสงสัยคาใจ
ด้วยการแถลงว่ามีมติสั่งฟ้องนายกฯยิ่งลักษณ์ปล่อยปละละเลยให้มีการทุจริตโครงการจำนำข้าว
ทั้งที่ยังไม่มีการไต่สวนเพิ่มเติมตามที่อัยการสูงสุดเห็นแย้งต่อ ป.ป.ช.
เรียกว่า สำนวนเก่า เห็นไม่ควรสั่งฟ้อง ให้ไต่สวนเพิ่มเติม แต่ต่อมา สำนวนเก่านั่นแหละ ที่ไม่ได้ไต่สวนเพิ่มนั่นแหละ
กลับมีความเห็นสั่งฟ้องซะงั้น
.
เช้า 23 มกราคม 2558
ก่อน สนช. จะประชุมเพื่อลงมติถอดถอนนายกฯยิ่งลักษณ์
อัยการสูงสุดแถลงข่าวสั่งฟ้องนายกฯยิ่งลักษณ์ต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญา ฯ
และหลังจากนั้นไม่กี่ชั่วโมง สนช.ก็มีมติถอดถอนนายกฯยิ่งลักษณ์ ครูหยุยทำท่าเฉือนคอกลางที่ประชุม สนช.
.
กุมภาพันธ์ 2558
อัยการสูงสุดนำตัวนายกฯยิ่งลักษณ์ส่งฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯ
.
พ.ค. 2558 ในวันศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯนัดพร้อมคู่ความ
นายกฯยิ่งลักษณ์ได้ทราบว่า อัยการสูงสุดได้เพิ่มข้อกล่าวหาและหลักฐานอีกว่าหกหมื่นแผ่น
มีการเพิ่มข้อหานายกฯยิ่งลักษณ์ว่า ร่วมทุจริต ด้วยการนำคลิปคำสัมภาษณ์สิบวินาทีของนายกฯยิ่งลักษณ์เรื่องจีทูจีมาเป็นหลักฐาน
ฝ่ายนายกฯยิ่งลักษณ์ร้องค้าน ว่าเป็นการเพิ่มข้อกล่าวหาที่ไม่เป็นธรรม นอกสำนวน เพราะในสำนวนของ ป.ป.ช. ไม่มีข้อหาเหล่านี้
แต่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯ บอกว่าทำได้
(ข้อสังเกต สำนวนกล่าวหาของ ป.ป.ช. เรื่องปล่อยละเลย มีช่องโหว่มาก ขนาดอัยการสูงสุดไม่สั่งฟ้องและให้ไต่สวนเพิ่มเติม
แต่เมื่อต้องรีบฟ้อง อัยการสูงสุดจึงเพิ่มข้อกล่าวหาว่าร่วมทุจริต เพื่อจะได้มัดนายกฯยิ่งลักษณ์ เพิ่มความแน่นหนาของสำนวน)
หลังจากนั้น คดีก็เข้าสู่กระบวนการตามลำดับ
.
ในชั้นไต่สวนของ ป.ป.ช. พยานฝ่ายนายกฯยิ่งลักษณ์โดนตัดออกแทบเกลี้ยง
ในชั้นศาล พยานฝ่ายนายกฯยิ่งลักษณ์ก็โดนตัดออกพอสมควร
ไม่เท่านั้น
ขณะที่คดีจำนำข้าวดำเนินอยู่ในชั้นศาล (อาญา)
ก็มีการเดินเรื่องเรียกค่าเสียหายจากนายกฯยิ่งลักษณ์ 35,000 ล้าน (แพ่ง) โดยที่ไม่รอผลทางคดีว่านายกฯยิ่งลักษณ์ผิดหรือไม่
มีการใช้ ม.44 สั่งให้กรมบังคับคดีดำเนินการยึดทรัพย์ได้เลย ไม่ต้องรอคำสั่งศาล
.
จากไทม์ไลน์เหตุการณ์ทั้งหมด
หากคนเสื้อแดงยอมรับว่านายกฯยิ่งลักษณ์โกงจำนำข้าว
คนเสื้อแดงก็ไม่ใช่คนล่ะครับ
ส่วนใครจะเห็นว่านายกฯยิ่งลักษณ์โกง
ด้วยการอิงข้อมูล ข้อเท็จจริงอย่างไร ก็แล้วแต่สามัญสำนึกของแต่ละคน
.
จริงไหมครับคุณดินเหนียวปนทราย ?
ถ้าเสื้อแดงยอมรับว่านายกฯยิ่งลักษณ์โกงจำนำข้าว เสื้อแดงก็ไม่ใช่คนล่ะครับ ........... โดย ตระกองขวัญ
ทำไม แดงไม่ยอมรับว่า ยิ่งลักษณ์โกงจำนำข้าว โดย คุณดินเหนียวปนทราย