สวัสดีค่ะ วันนี้ CondoNewb นำความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับอสังหาฯมาฝาก เพื่อน ๆ ชาวพันทิปกันอีกแล้ว นิวบ์เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงเคยได้ยินเคสกู้ธนาคารซื้อคอนโดแต่ไม่ผ่าน แล้วโดนยึดเงินจองไหมใช่ไหมคะ ถ้าเพื่อน ๆ เคยได้ยินกรณีแบบนี้ หรือเคยเจอมากับตัวบ้าง ทราบหรือไม่คะว่า จริง ๆ แล้วทางโครงการ "ไม่มีสิทธิ์ยึดเงินจอง/เงินดาวน์" ของเรา
โดยเมื่อไม่นานประธานสคบ. ก็ออกมายืนยันด้วยตัวเองว่าการที่โครงการไม่ยอมคืนเงินจอง และเงินดาวน์ให้แก่ลูกค้าที่กู้ธนาคารไม่ผ่านนั้น ถือเป็นเรื่องที่ไม่สามารถทำได้ และได้เตรียมเรียก Developer มาพูดคุยถึงกรณีนี้ เพราะมีผู้เสียหายร้องเรียนเกี่ยวกับเรื่องนี้มามากมายเหลือเกิน ซึ่งข้อมูลจากสคบ. หรือ ในปีที่ผ่านมาตั้งแต่เดือน ต.ค. 60 – ก.ย. 61 "คอนโดมิเนียม" ติดอันดับ 1 เรื่องร้องเรียน สคบ. (คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค) โดยมีมากถึง 1,141 เรื่อง จากทั้งหมด 2,384 เรื่องในหมวดธุรกิจอสังหาฯ
นอกจากนี้ทางประธานสคบ. ยังต้องการจะผลักดันให้เกิดบันทึกข้อตกลงในเรื่องนี้ และออกกฏหมายเพื่อคุ้มครองบริโภคในกรณีที่ทางโครงการจะยึดเงินจอง / เงินดาวน์ ของลูกค้าในที่กู้เงินไม่ผ่าน รวมไปถึงกรณีอื่นๆที่ทางโครงการผิดสัญญาอีกด้วย ในระหว่างก็ขอฝากให้เพื่อนๆช่วยแชร์และบอกต่อให้กับคนใกล้ตัวได้รับรู้โดยทั่วกันด้วยนะคะว่า "ทางโครงการห้ามยึดเงินจอง / เงินดาวน์"
ซึ่งจริง ๆ แล้วนอกเหนือจากเคสที่ทางสคบ.ประกาศตัวเลขออกมา ยังมีลูกค้าอีกหลายรายที่ไม่อยากเสียเวลาไปร้องเรียน หรือพอทาง Developer เอาสัญญามาอ้างว่าเราเซ็นยอมรับเงื่อนไขนี้ไปแล้ว ก็รู้สึกว่าตัวเองไม่สามารถจะเรียกร้องอะไรได้ แต่จริง ๆ แล้วถ้ายอมเสียเวลาสักหน่อยเราก็จะได้เงินส่วนนี้คืนมาแน่นอนค่ะ
ใครที่ไม่อยากเจอปัญหาแบบนี้ ก่อนจะเซ็นสัญญา ก็ขอให้ลองตรวจสอบเงื่อนไขในการจองและผ่อนเงินดาวน์ก่อนว่า ทาง Developer จะยึดเงินส่วนนี้ไปหรือไม่ ถ้าเราไม่เห็นด้วยให้ทักท้วงและพูดคุยให้ลงตัว แก้สัญญาให้เรียบร้อยก่อนเซ็นค่ะ
สำหรับใครที่กำลังประสบกับปัญหานี้ สามารถร้องเรียนปัญหานี้กับทางสคบ.ได้ถึง 4 วิธีดังนี้ค่ะ
1. ร้องเรียนผ่านเว็บไซต์ การร้องเรียนวิธีนี้สะดวกและง่าย ในกรณีที่เพื่อนๆไม่สะดวกไปที่สำนักงานได้ด้วยตัวเอง ซึ่งสามารถทำได้ง่ายๆ โดยมิวิธีการดังนี้
เตรียมเลขบัตรประชาชนของผู้ร้องทุกข์เพื่อ Log in เข้าระบบ ถ้ายังไม่ได้เป็นสมาชิกต้องสมัครสมาชิกก่อนนะ เข้าเว็บไซต์
http://www.ocpb.go.th/ เลือกเมนู “ร้องทุกข์ online” > เลือกหมวด “อสังหาริมทรัพย์” เอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับการร้องทุกข์ : สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน, รายละเอียดเกี่ยวกับการร้องทุกข์, เอกสารอื่น ๆ เช่น ใบเสร็จรับเงิน สัญญาจะซื้อจะขาย สัญญาเช่าซื้อ เอกสารโฆษณา ภาพถ่าย เป็นต้น กรอกข้อมูลและแนบเอกสารให้ครบถ้วน และที่สำคัญห้ามแจ้งเรื่องเท็จ รอการตอบกลับจากเจ้าหน้าที่ โดยในระหว่างนี้เพื่อนๆสามารถเข้าไปติดตามเรื่องร้องทุกข์ได้ค่ะว่าเรื่องถูกดำเนินการไปถึงไหนแล้ว
2. แอปพลิเคชัน ของสคบ. (แอปไม่ค่อยสเถียรนะคะ ไม่ค่อยแนะนำ แฮะ ๆ) ส่วนวิธีการจะคล้ายคลึงกับการยื่นเรื่องร้องเรียนออนไลน์ค่ะ สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่
IOS >
https://apps.apple.com/th/app/ocpb/id1068420347?l=th
Android >
https://play.google.com/store/apps/details?id=app.ocpb.go.th
3. ติดต่อฝ่ายรับเรื่องราวร้องทุกข์โดยตรง ที่เบอร์ > 0-2143-9770
4. เดินทางไปที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค และนำเอกสารไปยื่นเรื่องร้องเรียนด้วยตัวเองที่ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค 120 อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น 5 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
Google Map :
https://goo.gl/maps/5gSS8QbEc8wcVKGh8
นอกจากนี้สคบ.ยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่า ผู้ร้องทุกข์ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มลูกค้าที่ทำการ "โอนกรรมสิทธิ์" เรียบร้อยแล้ว ดังนั้นหากไม่อยากเปลี่ยนสถานะจาก "ลูกบ้าน" เป็น "ผู้ร้องทุกข์" ควรตรวจสอบรายละเอียดและตรวจสภาพของคอนโดมิเนียมให้ดี และไม่ว่าจะเกิดปัญหาเล็กหรือใหญ่ อย่าเพิ่งโอนกรรมสิทธิ์ และควรตรวจสอบรายงาน EIA ของโครงการให้ดี ว่ามีความถูกต้องจริงไหม ด้วยความปรารถนาดีจาก
CondoNewb และ สคบ. ค่ะ
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ :
เข้าใจตรงกันนะ!! กู้ซื้อคอนโดไม่ผ่าน "ห้ามยึดเงินจอง"
กู้ซื้อคอนโดไม่ผ่าน "ห้ามยึดเงินจอง"
โดยเมื่อไม่นานประธานสคบ. ก็ออกมายืนยันด้วยตัวเองว่าการที่โครงการไม่ยอมคืนเงินจอง และเงินดาวน์ให้แก่ลูกค้าที่กู้ธนาคารไม่ผ่านนั้น ถือเป็นเรื่องที่ไม่สามารถทำได้ และได้เตรียมเรียก Developer มาพูดคุยถึงกรณีนี้ เพราะมีผู้เสียหายร้องเรียนเกี่ยวกับเรื่องนี้มามากมายเหลือเกิน ซึ่งข้อมูลจากสคบ. หรือ ในปีที่ผ่านมาตั้งแต่เดือน ต.ค. 60 – ก.ย. 61 "คอนโดมิเนียม" ติดอันดับ 1 เรื่องร้องเรียน สคบ. (คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค) โดยมีมากถึง 1,141 เรื่อง จากทั้งหมด 2,384 เรื่องในหมวดธุรกิจอสังหาฯ
นอกจากนี้ทางประธานสคบ. ยังต้องการจะผลักดันให้เกิดบันทึกข้อตกลงในเรื่องนี้ และออกกฏหมายเพื่อคุ้มครองบริโภคในกรณีที่ทางโครงการจะยึดเงินจอง / เงินดาวน์ ของลูกค้าในที่กู้เงินไม่ผ่าน รวมไปถึงกรณีอื่นๆที่ทางโครงการผิดสัญญาอีกด้วย ในระหว่างก็ขอฝากให้เพื่อนๆช่วยแชร์และบอกต่อให้กับคนใกล้ตัวได้รับรู้โดยทั่วกันด้วยนะคะว่า "ทางโครงการห้ามยึดเงินจอง / เงินดาวน์"
ซึ่งจริง ๆ แล้วนอกเหนือจากเคสที่ทางสคบ.ประกาศตัวเลขออกมา ยังมีลูกค้าอีกหลายรายที่ไม่อยากเสียเวลาไปร้องเรียน หรือพอทาง Developer เอาสัญญามาอ้างว่าเราเซ็นยอมรับเงื่อนไขนี้ไปแล้ว ก็รู้สึกว่าตัวเองไม่สามารถจะเรียกร้องอะไรได้ แต่จริง ๆ แล้วถ้ายอมเสียเวลาสักหน่อยเราก็จะได้เงินส่วนนี้คืนมาแน่นอนค่ะ
ใครที่ไม่อยากเจอปัญหาแบบนี้ ก่อนจะเซ็นสัญญา ก็ขอให้ลองตรวจสอบเงื่อนไขในการจองและผ่อนเงินดาวน์ก่อนว่า ทาง Developer จะยึดเงินส่วนนี้ไปหรือไม่ ถ้าเราไม่เห็นด้วยให้ทักท้วงและพูดคุยให้ลงตัว แก้สัญญาให้เรียบร้อยก่อนเซ็นค่ะ
สำหรับใครที่กำลังประสบกับปัญหานี้ สามารถร้องเรียนปัญหานี้กับทางสคบ.ได้ถึง 4 วิธีดังนี้ค่ะ
1. ร้องเรียนผ่านเว็บไซต์ การร้องเรียนวิธีนี้สะดวกและง่าย ในกรณีที่เพื่อนๆไม่สะดวกไปที่สำนักงานได้ด้วยตัวเอง ซึ่งสามารถทำได้ง่ายๆ โดยมิวิธีการดังนี้
เตรียมเลขบัตรประชาชนของผู้ร้องทุกข์เพื่อ Log in เข้าระบบ ถ้ายังไม่ได้เป็นสมาชิกต้องสมัครสมาชิกก่อนนะ เข้าเว็บไซต์ http://www.ocpb.go.th/ เลือกเมนู “ร้องทุกข์ online” > เลือกหมวด “อสังหาริมทรัพย์” เอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับการร้องทุกข์ : สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน, รายละเอียดเกี่ยวกับการร้องทุกข์, เอกสารอื่น ๆ เช่น ใบเสร็จรับเงิน สัญญาจะซื้อจะขาย สัญญาเช่าซื้อ เอกสารโฆษณา ภาพถ่าย เป็นต้น กรอกข้อมูลและแนบเอกสารให้ครบถ้วน และที่สำคัญห้ามแจ้งเรื่องเท็จ รอการตอบกลับจากเจ้าหน้าที่ โดยในระหว่างนี้เพื่อนๆสามารถเข้าไปติดตามเรื่องร้องทุกข์ได้ค่ะว่าเรื่องถูกดำเนินการไปถึงไหนแล้ว
2. แอปพลิเคชัน ของสคบ. (แอปไม่ค่อยสเถียรนะคะ ไม่ค่อยแนะนำ แฮะ ๆ) ส่วนวิธีการจะคล้ายคลึงกับการยื่นเรื่องร้องเรียนออนไลน์ค่ะ สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่
IOS > https://apps.apple.com/th/app/ocpb/id1068420347?l=th
Android > https://play.google.com/store/apps/details?id=app.ocpb.go.th
3. ติดต่อฝ่ายรับเรื่องราวร้องทุกข์โดยตรง ที่เบอร์ > 0-2143-9770
4. เดินทางไปที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค และนำเอกสารไปยื่นเรื่องร้องเรียนด้วยตัวเองที่ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค 120 อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น 5 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
Google Map : https://goo.gl/maps/5gSS8QbEc8wcVKGh8
นอกจากนี้สคบ.ยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่า ผู้ร้องทุกข์ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มลูกค้าที่ทำการ "โอนกรรมสิทธิ์" เรียบร้อยแล้ว ดังนั้นหากไม่อยากเปลี่ยนสถานะจาก "ลูกบ้าน" เป็น "ผู้ร้องทุกข์" ควรตรวจสอบรายละเอียดและตรวจสภาพของคอนโดมิเนียมให้ดี และไม่ว่าจะเกิดปัญหาเล็กหรือใหญ่ อย่าเพิ่งโอนกรรมสิทธิ์ และควรตรวจสอบรายงาน EIA ของโครงการให้ดี ว่ามีความถูกต้องจริงไหม ด้วยความปรารถนาดีจาก CondoNewb และ สคบ. ค่ะ
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ : เข้าใจตรงกันนะ!! กู้ซื้อคอนโดไม่ผ่าน "ห้ามยึดเงินจอง"