คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
ขอชี้แจงตรงๆเลยนะครับ จะว่าเนื้อเสือมันอบไม่ได้..ก็น่าจะใช่
ในความเป็นจริง การปรุงสุกด้วยการอบ มันคือการทำให้เนื้อสุกช้าๆมันยิ่งจะทำให้เหนียว เขาถึงไม่นิยมกัน
โดยทั่วไปแล้วเนื้อเสือร้องไห้ เขาจะย่างด้วยไฟแรงเพื่อจะให้ส่วนติดมันเหลืองๆ(มันเสือสีจะขาวอมเหลือง) นั้นสุกเกรียมกรอบ
แต่ส่วนที่เป็นเนื้อจะเกรียมข้างนอกและแดงๆเรื่อๆฉ่ำเลือดอยู่ข้างใน เป็นแบบมีเดียม-มีเดียมแรร์ แต่ภาษาลูกทุ่งเขาเรียกว่า "น้ำตก"
ช่วงที่เพิ่งลงจากเตานี่แหละครับ สุดยอดปากพองเลยจริงๆ กรอบฉ่ำ หอมนุ่ม ต้องรีบกินให้หมดชิ้นภายในไม่เกิน 5 นาที ไม่งั้นจะเหนียวมาก!!!
ชี้แจงให้ชัด..กันสับสน
หลายคนยังเข้าใจผิดกันเยอะเรื่องเนื้อเสือร้องไห้กับเนื้อย่างติดมัน มันไม่ใช่ชิ้นอันเดียวกันทั้งหมด
เนื้อติดมันที่เรียกว่าเสือร้องไห้นั้นมันคือเนื้อส่วนอก เหมือนพวกนักกล้ามอกตันนั่นแหละครับ เหนียวมาก! (หากินได้ยาก ร้านเล็กๆไม่มีขายหรอก)
ส่วนเนื้อย่างติดมันที่นุ่มๆไม่เหนียวนั้น มันคือเนื้อส่วนที่เป็นเนื้อสัน แต่เป็นสันปลายๆที่ราคาเบาสุดที่ร้านลาบหรือทั่วๆไปจับต้องได้
มันคือเนื้อเซอร์ลอยด์ ใช่..เนื้อเซอร์ลอยด์ ฟังไม่ผิดหรอก แต่เป็นเนื้อภาษาฝรั่งที่ถูกสุด ฮ่า! มันคือเนื้อสันปลายๆไปถึงโคนหางหรือสะโพก
มันก็เรียกได้หลายชื่อแล้วแต่ท้องถิ่น แต่ส่วนมากเขาจะเรียกว่า "เนื้อตะเข้" หรือสันตะเข้ ย่างแล้วนุ่มหอม ลาบน้ำตกที่ดีก็ใช้เนื้อส่วนนี้ครับ
ส่วนพวกเนื้อติดมันนุ่มๆนั้นจะเป็นสันช่วงต้นๆตั้งแต่คอลงมา ส่วนราคาก็ตามเมนูร้านสเต๊กนันแหละครับ ยิ่งเป็นโคขุนหรือเนื้อนอกก็ยิ่งจกเงินหนัก
ว่ากันไปถึงเนื้อโคขุน ส่วนที่เป็นเสือร้องไห้ของโคขุนนั้นก็ยังนุ่มดีกว่าวัวบ้าน การตัดเนื้อก็ไม่เหมือนกัน ภาพข้างบนคือเนื้อโคขุน "สกลนคร cut"
ส่วนเนื้อโคขุนนำเข้าจากนอกนั้นแทบจะไม่มีให้เห็น อาจจะเป็นเพราะเขาไม่นิยมกินแบบย่างเลยต้องเอาไปแปรรูปเป็นเมนูอื่นๆแทน
ถ้าจะกินเนื้อย่างเสือร้องไห้ให้อร่อยก็ต้องย่างไฟแรง ภาษาเฉพาะเขาเรียกว่า ย่างแบบจ๊วด! จ๊วด! เขาเรียกแบบนี้อีหลีครับ 5 5 5 5
คือย่างแบบไฟแรงพุ่งเลย แต่ต้องเฝ้าหน้าเตาไว้ตลอด เพราะคุณจะไม่รู้ว่าส่วนติดมันจะพีคจนไฟฟู่แบบจ๊วด! จ๊วด! เมื่อไหร่
ไฮไลต์ของการย่างมันจะอยู่ตอนนั้นแหละครับ ไขมันจะหยดๆย้อยๆลงถ่าน..มันหอมมาก จนถึงตอนเอาไปหั่นบนหน้าเขียง
ทั้งมันทั้งน้ำเนื้อและเลือดชมพูๆฉ่ำๆ โมเม้นท์นั้นล่ะที่เป็นที่มากับคำว่า "เนื้อย่างน้ำตก" ถ้าเนื้อดี+ฝีมือถึง ก็ระดับไนแองการ่าเลยเชียว !
ปล.สองภาพล่างเป้นการย่างระดับมือโปรเลยนะครับ นี่แค่เห็น ถ้าได้ชิมจริงจะยิ่งกว่านี้
คนย่างเขาชื่อตุ้ย เมนูแบบนี้ผมว่าเขาคักเลยล่ะ ถ้าเจอกันจะให้เขาทำให้กิน แต่เป็นเมนูไข่มดแดง ฮ่า!
ในความเป็นจริง การปรุงสุกด้วยการอบ มันคือการทำให้เนื้อสุกช้าๆมันยิ่งจะทำให้เหนียว เขาถึงไม่นิยมกัน
โดยทั่วไปแล้วเนื้อเสือร้องไห้ เขาจะย่างด้วยไฟแรงเพื่อจะให้ส่วนติดมันเหลืองๆ(มันเสือสีจะขาวอมเหลือง) นั้นสุกเกรียมกรอบ
แต่ส่วนที่เป็นเนื้อจะเกรียมข้างนอกและแดงๆเรื่อๆฉ่ำเลือดอยู่ข้างใน เป็นแบบมีเดียม-มีเดียมแรร์ แต่ภาษาลูกทุ่งเขาเรียกว่า "น้ำตก"
ช่วงที่เพิ่งลงจากเตานี่แหละครับ สุดยอดปากพองเลยจริงๆ กรอบฉ่ำ หอมนุ่ม ต้องรีบกินให้หมดชิ้นภายในไม่เกิน 5 นาที ไม่งั้นจะเหนียวมาก!!!
ชี้แจงให้ชัด..กันสับสน
หลายคนยังเข้าใจผิดกันเยอะเรื่องเนื้อเสือร้องไห้กับเนื้อย่างติดมัน มันไม่ใช่ชิ้นอันเดียวกันทั้งหมด
เนื้อติดมันที่เรียกว่าเสือร้องไห้นั้นมันคือเนื้อส่วนอก เหมือนพวกนักกล้ามอกตันนั่นแหละครับ เหนียวมาก! (หากินได้ยาก ร้านเล็กๆไม่มีขายหรอก)
ส่วนเนื้อย่างติดมันที่นุ่มๆไม่เหนียวนั้น มันคือเนื้อส่วนที่เป็นเนื้อสัน แต่เป็นสันปลายๆที่ราคาเบาสุดที่ร้านลาบหรือทั่วๆไปจับต้องได้
มันคือเนื้อเซอร์ลอยด์ ใช่..เนื้อเซอร์ลอยด์ ฟังไม่ผิดหรอก แต่เป็นเนื้อภาษาฝรั่งที่ถูกสุด ฮ่า! มันคือเนื้อสันปลายๆไปถึงโคนหางหรือสะโพก
มันก็เรียกได้หลายชื่อแล้วแต่ท้องถิ่น แต่ส่วนมากเขาจะเรียกว่า "เนื้อตะเข้" หรือสันตะเข้ ย่างแล้วนุ่มหอม ลาบน้ำตกที่ดีก็ใช้เนื้อส่วนนี้ครับ
ส่วนพวกเนื้อติดมันนุ่มๆนั้นจะเป็นสันช่วงต้นๆตั้งแต่คอลงมา ส่วนราคาก็ตามเมนูร้านสเต๊กนันแหละครับ ยิ่งเป็นโคขุนหรือเนื้อนอกก็ยิ่งจกเงินหนัก
ว่ากันไปถึงเนื้อโคขุน ส่วนที่เป็นเสือร้องไห้ของโคขุนนั้นก็ยังนุ่มดีกว่าวัวบ้าน การตัดเนื้อก็ไม่เหมือนกัน ภาพข้างบนคือเนื้อโคขุน "สกลนคร cut"
ส่วนเนื้อโคขุนนำเข้าจากนอกนั้นแทบจะไม่มีให้เห็น อาจจะเป็นเพราะเขาไม่นิยมกินแบบย่างเลยต้องเอาไปแปรรูปเป็นเมนูอื่นๆแทน
ถ้าจะกินเนื้อย่างเสือร้องไห้ให้อร่อยก็ต้องย่างไฟแรง ภาษาเฉพาะเขาเรียกว่า ย่างแบบจ๊วด! จ๊วด! เขาเรียกแบบนี้อีหลีครับ 5 5 5 5
คือย่างแบบไฟแรงพุ่งเลย แต่ต้องเฝ้าหน้าเตาไว้ตลอด เพราะคุณจะไม่รู้ว่าส่วนติดมันจะพีคจนไฟฟู่แบบจ๊วด! จ๊วด! เมื่อไหร่
ไฮไลต์ของการย่างมันจะอยู่ตอนนั้นแหละครับ ไขมันจะหยดๆย้อยๆลงถ่าน..มันหอมมาก จนถึงตอนเอาไปหั่นบนหน้าเขียง
ทั้งมันทั้งน้ำเนื้อและเลือดชมพูๆฉ่ำๆ โมเม้นท์นั้นล่ะที่เป็นที่มากับคำว่า "เนื้อย่างน้ำตก" ถ้าเนื้อดี+ฝีมือถึง ก็ระดับไนแองการ่าเลยเชียว !
ปล.สองภาพล่างเป้นการย่างระดับมือโปรเลยนะครับ นี่แค่เห็น ถ้าได้ชิมจริงจะยิ่งกว่านี้
คนย่างเขาชื่อตุ้ย เมนูแบบนี้ผมว่าเขาคักเลยล่ะ ถ้าเจอกันจะให้เขาทำให้กิน แต่เป็นเมนูไข่มดแดง ฮ่า!
แสดงความคิดเห็น
เนื้อเสือร้องไห้ เอามาทำยังไงไม่ให้เหนียวครับ
ทีนี้ด้วยความที่เคยทำคอหมูย่าง แบบใช้หม้อทอดไร้น้ำมัน แล้วมันออกมาดี เลยทำเสือร้องไห้บ้าง
แต่ด้วยความไม่รู้ครับ คิดว่าเหมือนย่างสเต็ก ผมโรยเกลือกับพริกไท แล้วเข้าหม้อทอดเลย
ไฟ 200 ใช้เวลา 15 นาที เอาออกมาคือเหนียวมาก เคี้ยวไม่ได้เลย เลยเอาเข้าเตาอีก 15 นาที
เอาออกมาก็พอทานได้ แต่ยังมีความเหนียวอยู่ เลยอยากรู้เคล็ดลับครับ ว่าทำยังไงให้เหมือนกับที่กินตามร้านอาหารอีสาน
อันนั้นอร่อย เคี้ยวง่าย ไม่เหนียวเลยครับ
ผมมีเตาไฟฟ้า และกระทะสำหรับย่าง แล้วก็หม้อทอดไร้น้ำมัน แค่ 2 อย่างนะครับ