คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 10
ผมเองไม่ได้มีความรู้เชี่ยวชาญทางด้านธุรกิจครับ จึงขอแสดงความคิดเห็นตามความเข้าใจของผมเองนะครับ
1. กำหนดสัดส่วนเงินลงทุนเริ่มต้นสำหรับเปิดกิจการก่อน
เช่น ค่าสถานที่ ค่าของ ค่าอุปกรณ์ ค่าจดทะเบียน และอื่นๆ เป็นต้น
จะ 50:50 60:40 ก็แล้วแต่ ยึดอันนี้เสมือนว่าแต่ละคนมีหุ้นในกิจการคนละกี่เปอร์เซ็นต์
2. กำหนดหน้าที่ของแต่ละคนในกิจการ รวมลูกจ้างคนอื่นๆด้วยถ้ามี
เพื่อมากำหนดเงินเดือนที่จะให้สอดคล้องกับ job description ภาระงานที่ทำ
เช่น ทำขนม ทำบัญชี ทำธุรการงานเอกสาร ไปติดต่อลูกค้า ทำประชาสัมพันธ์ แคชเชียร์ และอื่นๆ
ถ้าคุณไม่ได้ทำงานเลย ลงเงินในข้อ 1 เพียงอย่างเดียว คุณก็จะไม่ได้เงินเดือนในข้อนี้
อันนี้ไม่เกี่ยวกับเงินลงทุนเริ่มต้นนะครับ ให้ลงเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการในแต่ละเดือน
คุยตกลงกันให้เรียบร้อย
(เรื่องปรับเงินเดือนในอนาคต ผมยังคิดไม่ออกนะครับว่าจะใช้แนวทางแบบไหน)
3. กำไรที่ได้หลังหักค่าใช้จ่ายทั้งหมดแล้ว
อาจจะตัดบางส่วนมาปันผลให้ผู้ถือหุ้นในข้อ 1 ตามสัดส่วนเปอร์เซ็นต์ของแต่ละคน
4. ถ้าต่อมามี ผู้ถือหุ้นส่วนบางคนอยากเลิก ให้นำจำนวนสัดส่วนหุ้นทั้งหมดของคนนั้นมาคิดมูลค่าว่าเป็นเท่าไหร่เพื่อหาคนซื้อหุ้นส่วนนี้ต่อ
อาจจะเป็นผู้ถือหุ้นส่วนคนอื่นซึ่งต้องใช้เงินส่วนตัว ไม่ใช่เงินของกิจการ
หรืออาจจะให้คนนอกมาซื้อแทนก็ได้
แต่ถ้าไม่มีใครมาซื้อต่อ เจ้าของหุ้นจำนวนนั้นก็ต้องถือหุ้นต่อ
ไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินค่าหุ้นคืนได้ แต่ยังมีสิทธิได้รับเงินปันผลตามสัดส่วนหุ้นที่ถือครองอยู่
และอาจจะได้รับเงินเดือนถ้ายังทำหน้าที่ในกิจการตามปกติ
5. ถ้าเลิกกิจการ ก็ขายทรัพย์สินของกิจการมาแปลงเป็นเงิน
คืนหุ้นส่วนแต่ละคนตามสัดส่วนเงินลงทุนในข้อ 1
จะกำไรหรือขาดทุน ก็เรียกร้องเงินทดแทนไม่ได้
คร่าวๆ น่าจะประมาณนี้
ควรทำสัญญาลายลักษณ์ตั้งแต่แรกเลย
แบ่งถือตัวจริงคนละฉบับตามจำนวนคนลงทุนครับ
1. กำหนดสัดส่วนเงินลงทุนเริ่มต้นสำหรับเปิดกิจการก่อน
เช่น ค่าสถานที่ ค่าของ ค่าอุปกรณ์ ค่าจดทะเบียน และอื่นๆ เป็นต้น
จะ 50:50 60:40 ก็แล้วแต่ ยึดอันนี้เสมือนว่าแต่ละคนมีหุ้นในกิจการคนละกี่เปอร์เซ็นต์
2. กำหนดหน้าที่ของแต่ละคนในกิจการ รวมลูกจ้างคนอื่นๆด้วยถ้ามี
เพื่อมากำหนดเงินเดือนที่จะให้สอดคล้องกับ job description ภาระงานที่ทำ
เช่น ทำขนม ทำบัญชี ทำธุรการงานเอกสาร ไปติดต่อลูกค้า ทำประชาสัมพันธ์ แคชเชียร์ และอื่นๆ
ถ้าคุณไม่ได้ทำงานเลย ลงเงินในข้อ 1 เพียงอย่างเดียว คุณก็จะไม่ได้เงินเดือนในข้อนี้
อันนี้ไม่เกี่ยวกับเงินลงทุนเริ่มต้นนะครับ ให้ลงเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการในแต่ละเดือน
คุยตกลงกันให้เรียบร้อย
(เรื่องปรับเงินเดือนในอนาคต ผมยังคิดไม่ออกนะครับว่าจะใช้แนวทางแบบไหน)
3. กำไรที่ได้หลังหักค่าใช้จ่ายทั้งหมดแล้ว
อาจจะตัดบางส่วนมาปันผลให้ผู้ถือหุ้นในข้อ 1 ตามสัดส่วนเปอร์เซ็นต์ของแต่ละคน
4. ถ้าต่อมามี ผู้ถือหุ้นส่วนบางคนอยากเลิก ให้นำจำนวนสัดส่วนหุ้นทั้งหมดของคนนั้นมาคิดมูลค่าว่าเป็นเท่าไหร่เพื่อหาคนซื้อหุ้นส่วนนี้ต่อ
อาจจะเป็นผู้ถือหุ้นส่วนคนอื่นซึ่งต้องใช้เงินส่วนตัว ไม่ใช่เงินของกิจการ
หรืออาจจะให้คนนอกมาซื้อแทนก็ได้
แต่ถ้าไม่มีใครมาซื้อต่อ เจ้าของหุ้นจำนวนนั้นก็ต้องถือหุ้นต่อ
ไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินค่าหุ้นคืนได้ แต่ยังมีสิทธิได้รับเงินปันผลตามสัดส่วนหุ้นที่ถือครองอยู่
และอาจจะได้รับเงินเดือนถ้ายังทำหน้าที่ในกิจการตามปกติ
5. ถ้าเลิกกิจการ ก็ขายทรัพย์สินของกิจการมาแปลงเป็นเงิน
คืนหุ้นส่วนแต่ละคนตามสัดส่วนเงินลงทุนในข้อ 1
จะกำไรหรือขาดทุน ก็เรียกร้องเงินทดแทนไม่ได้
คร่าวๆ น่าจะประมาณนี้
ควรทำสัญญาลายลักษณ์ตั้งแต่แรกเลย
แบ่งถือตัวจริงคนละฉบับตามจำนวนคนลงทุนครับ
แสดงความคิดเห็น
จะหุ้นทำร้านอาหารกับเพื่อนแต่ไม่มีความรู้ด้านนี้เลย ขอคำแนะนำหน่อยค่ะ
เราเลยอยากขอคำแนะนำค่ะ ว่าการร่วมหุ้นของเราจะแบ่งสันปันส่วนกันยังไง ให้เรื่องเงินไม่เป็นปัญหาให้เราทะเลาะกันในอนาคต...