แฉความจริง Sell in May ใครกันแน่ ที่เป็นคน “ขาย” หุ้น <<Event Series ตอนที่ 3 >>

ในทุกครั้งที่ก้าวเข้าสู่เดือนพฤษภาคมของทุกปี มักจะมีคำหนึ่งคำที่ถูกพูดถึงและสร้างแรงกดดันทำให้นักลงทุนบางคนจ้องจะขายหุ้นตั้งแต่ตลาดยังไม่เปิดทำการวันแรก ซึ่งคำนั้นก็คือ “Sell in May” และในปีนี้เอง ก็เป็นอีก 1 ปีที่บรรดานักวิเคราะห์,เกจิอาจารย์ รวมถึงเพื่อนสมาชิกในเวปบอร์ด ต่างได้แสดงความหวังดีบอกให้ทุกคนเฝ้าระวัง แล้วเหตุการณ์นี้เป็นจริงหรือไม่ ถ้าจริงใครที่ทำให้เกิดขึ้น แล้วเราควรจะมีวิธีการรับมืออย่างไร พวกท่านสามารถหา
คำตอบได้จากบทความนี้



Sell in May คืออะไร

            Sell in May เป็นคำที่ย่อมาจากคำโบราณของชาวอังกฤษที่ว่า  "Sell in May and go away, and come on back on St. Leger's Day." ที่พวกคนมีฐานะในสมัยนั้น ใช้พูดแทนการให้ออกจากเมืองลอนดอนเพื่อหนีร้อนและกลับมาอีกทีในเทศการแข่งม้า (St. Leger's Day.) ซึ่งจะจัดในช่วงกลางเดือนกันยายน โดยประโยคนี้ได้ถูกหยิบยกมาใช้อีกครั้งในตลาดหุ้นวอล์สตรีทปี 1950 ที่พบว่าการเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกาจะค่อนข้างคงที่ในเดือน พ.ค.- ต.ค. และจะปรับตัวขึ้นอย่างมีนัยสำคัญหลังจาก พ.ย. เป็นต้นไป ดังนั้น พวกเขาจึงมีข้อสรุปออกมาว่า ไม่จำเป็นต้องเล่นเดือน พ.ค. ค่อยกลับมาหลัง ต.ค. และนี้จึงเป็นที่มาของเหตุการณ์ Sell in May ที่ถูกพูดถึงกันในทุกวันนี้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

          อย่างไรก็ตามได้มีคนพยายามหาเหตุผลมาซัพพอร์ตกับเหตุการณ์นี้ ทั้งเรื่องการประกาศงบไตรมาส 1 ที่ออกมาแย่, การประกาศจ่ายปันผลของบริษัทต่างๆ หรืออะไรก็ตามที่ทำให้พวกเขารู้สึกว่า “หมดข่าวดี” แล้ว แต่เอาเถอะครับ เราเชื่อว่าทุกท่านไม่ได้อยากรู้ทฤษฎีหรือที่มาของมันนักหรอก เพราะสิ่งที่ทุกคนอยากรู้ก็คือ “มันเป็นจริงหรือไม่” ดังนั้น เรามาลองมาหาคำตอบ ด้วยการดูสถิติย้อนหลังของผลตอบแทนตลาดหุ้นไทยในเดือนพฤษภาคม 10 ปีล่าสุดกัน

รูปแสดงผลตอบแทนรายเดือนของตลาดหุ้นไทยใน 10 ปี (2010-2019)


          ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อครับ ในเดือนพฤษภาคมตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงถึง 8 ใน 10 ครั้ง หรือคิดเป็น 80% และมีค่าเฉลี่ยของการลดลงอยู่ที่ 2% ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่สูงและมีนัยสำคัญพอที่จะทำให้ใครหลายคนเกิดความกังวล โดยเมื่อเทียบกับเดือนอื่นที่รองลงมาอย่างเดือนพฤศจิกายนจะเห็นว่ามีการปรับตัวลดลงเพียง 6 ใน 10 ครั้งเท่านั้น ซึ่งนี่คงทำให้ไม่แปลกใจเลย ที่หลายคนกังวลเกี่ยวกับประเด็นนี้

แล้วใครเป็นคนทำให้เกิดเหตุการณ์นี้ เม่าอ่าน

          เราคงหาตัวผู้กระทำได้ไม่ยากนัก เพราะในตลาดหุ้นมีนักลงทุนอยู่เพียงแค่ 4 กลุ่ม และหากเราต้องการรู้ว่า ใครที่เป็นคนกดดันให้ตลาดปรับตัวลดลง ก็แค่รวบรวมปริมาณการซื้อขายของแต่ละกลุ่มในช่วงเดือนนั้น แล้วดูผลลัพธ์ที่ออกมา ว่า เขาขายออกมาจริงหรือไม่ โดยเริ่มกันที่กลุ่มแรก
 
ผู้ต้องสงสัยคนที่ 1 “นักลงทุนต่างชาติ”

           เป็นเรื่องปกตินะครับ หากมีเหตุการณ์อะไรที่ส่งผลในทางลบต่อตลาดหุ้น คนที่ตกเป็นจำเลยของสังคมการลงทุนอันดับแรก คงหนีไม่พ้น “ฝรั่ง” ผู้ซึ่งกระหน่ำขายหุ้นไทยอย่างไม่หยุดยั้งตลอดช่วงที่ผ่านมา แล้วพวกเขาจะเป็นตัวการที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์ Sell in May หรือไม่ เราลองมาดูหลักฐานจากปริมาณการซื้อขายสุทธิของพวกเขาได้ ดังรูป

รูปแสดงปริมาณการซื้อขายสุทธิในตลาดหุ้นไทยรายเดือนของนักลงทุนต่างชาติในรอบ 10 ปี


           จากตารางเราคงไม่สามารถปฏิเสธได้ว่านักลงทุนต่างชาติเขา “เคย” เป็นกลุ่มผู้เล่นที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ Sell In May อย่างแท้จริง เพราะตลาดช่วงเดือน พ.ค. นักลงทุนต่างชาติมีค่าเฉลี่ยในการขายสุทธิสูงสุดถึง 16,589 ล้านบาท ซึ่งมากกว่าเดือนอื่น ๆ ทั้งหมด แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าหากสังเกตข้อมูลอย่างละเอียดขึ้นจะพบว่าพวกเขา “เลิกสนใจ” เรื่อง Sell in May มานานแล้ว เพราะในช่วง 5 ปีหลังสุดพวกเขากลับใจมาซื้อหุ้นในเดือนพฤษภาคมถึง 4 ใน 5 หรือคิดเป็น 80% แทบจะสวนทางกับเดือนอื่น ๆ ที่ขายสุทธิโดยเฉพาะในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี ดังนั้น หากถ้ามองเรื่องการขายของฝรั่งทำให้เกิดเรื่องนี้แล้ว เราคงต้องโฟกัสกับ Sell in ลอยกระทง หรือ คริสมาสต์เสียมากกว่า
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่