ในทุกปีที่เข้าสู่เดือน พ.ค. พวกเรามักจะได้ยินวลีฮิตที่สร้างความกดดันให้กับตลาดหุ้นอยู่เสมอ กับคำว่า
“Sell In May” และในปีนี้ก็เป็นอีกปีที่ประเด็นนี้ถูกหยิบยกมาพูดถึงกันเป็นวงกว้าง จนทำให้มีหลายคนคิดที่จะขายหุ้นออก แต่สำหรับทุกท่านที่เห็นบทความนี้ เราอยากให้ท่านอ่านให้จบก่อนตัดสินใจ เพราะในปัจจุบัน
“ทุกอย่างมันอาจไม่เหมือนเดิมแล้วก็ได้” ดังนั้น ขอเชิญทุกท่านมาอัพเดทข้อมูลใหม่ไปกับพวกเรา ดังนี้
Sell in May คืออะไร ?
Sell in May เป็นคำที่ย่อมาจากคำโบราณของชาวอังกฤษที่ว่า "Sell in May and go away, and come on back on St. Leger's Day." ที่พวกคนมีฐานะในสมัยนั้น ใช้พูดแทนการให้ออกจากเมืองลอนดอนเพื่อหนีร้อนและกลับมาอีกทีในเทศการแข่งม้า (St. Leger's Day.) ซึ่งจะจัดในช่วงกลางเดือนกันยายน โดยประโยคนี้ได้ถูกนำมาใช้อีกครั้งในตลาดหุ้นวอล์สตรีทปี 1950 ที่พบว่าการเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกาจะค่อนข้างคงที่ในเดือน พ.ค.- ต.ค. และจะปรับตัวขึ้นอย่างมีนัยสำคัญหลังจาก พ.ย. เป็นต้นไป ดังนั้น พวกเขาจึงมีข้อสรุปออกมาว่า ไม่จำเป็นต้องเล่นเดือน พ.ค. ค่อยกลับมาหลัง ต.ค. และนี้จึงเป็นที่มาของเหตุการณ์ Sell in May ที่ถูกพูดถึงกันในทุกวันนี้
อย่างไรก็ตามได้มีคนพยายามหาเหตุผลมาซัพพอร์ตกับเหตุการณ์นี้ ทั้งเรื่องการประกาศงบไตรมาส 1 ที่ออกมาแย่, การประกาศจ่ายปันผลของบริษัทต่างๆ หรืออะไรก็ตามที่ทำให้พวกเขารู้สึกว่า “หมดข่าวดี” แล้ว แต่เอาเถอะครับ เราเชื่อว่าทุกท่านไม่ได้อยากรู้ทฤษฎีหรือที่มาของมันนักหรอก เพราะสิ่งที่ทุกคนอยากรู้ก็คือ
“มันเป็นจริงหรือไม่” ดังนั้น เรามาลองมาหาคำตอบ ด้วยการดูสถิติย้อนหลังของผลตอบแทนตลาดหุ้นไทยในแต่ละเดือนย้อนหลังกัน
รูปแสดงผลตอบแทนรายเดือนของตลาดหุ้นไทยใน 14 ปี (2010-2023)
จากรูปจะเห็นว่าผลตอบแทนของตลาดหุ้นไทยในเดือน พ.ค. มี Performance ที่แย่ที่สุดจริง โดยมีค่าติดลบถึง 9 ใน 14 ปี และมีค่าเฉลี่ย -1.14% ซึ่งเป็นตัวเลขที่ติดลบมากที่สุดเมื่อเทียบกับเดือนอื่น ๆ จึงไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจที่หลายคนจะเกิดความกังวลในเรื่อง Sell in May แต่อย่างไรก็ตามมันมีข้อมูลนึงที่น่าสนใจ คือ หากนับเฉพาะ 4 ปีล่าสุด ตลาดหุ้นไทยกลับให้ผลตอบแทนที่เป็นบวกในเดือน พ.ค.ถึง 3 ปี สวนทางกับค่าสถิติในอดีต รวมถึงอีกตัวเลขที่น่าสนใจกว่า นั้นคือ Standard Devation ที่เป็นตัวแทนของความผันผวน โดยในเดือน พ.ค. มีค่าน้อยที่สุดเพียง 2.46% แตกต่างจากเดือนอื่น ๆ ที่ส่วนใหญ่จะเกินกว่า 4% กันถ้วนหน้า
รูปแสดงปริมาณการซื้อขายสุทธิตลาดหุ้นไทยรายเดือนของนักลงทุนต่างชาติย้อนหลัง 14 ปี (2010-2023)
ต่างชาติยังเป็นตัวการที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ Sell In May
แม้ในช่วง 4-5 ปีก่อนหน้า ต่างชาติเริ่มไม่ขายหุ้นตอนเดือน พ.ค. แต่จากข้อมูลล่าสุดก็พบว่าเขากลับมาขายหนัก ทำให้ในรอบ 14 ปีหลังสุด ต่างชาติมีแนวโน้มที่จะ Underweigth ในตลาดหุ้นไทยในเดือน พ.ค.มากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยขายสุทธิ 17,404 ล้านบาท มากกว่าลำดับถัดมาอย่างเดือน ก.ค. ที่ขายเฉลี่ย 8,959 ล้านบาท อยู่ถึงเกือบ 2 เท่าตัว ซึ่งคงปฏิเสธไม่ได้ว่าพวกเขาเป็นตัวการหลักที่ทำให้เดือน พ.ค. มี Performance เฉลี่ยที่แย่ที่สุด และทำให้เหตุการณ์ Sell In May ดูมีความเป็นจริง
สรุปแล้วเมื่อเรานำทั้ง 2 ตารางมาหาข้อสรุปร่วมกันจะเห็นว่า
"เดือน พ.ค. ไม่ใช่เดือนที่น่าลงทุน" เนื่องจากเป็นเดือนที่ Flow หลักของตลาดหุ้นอย่างต่างชาติลดการลงทุนมากที่สุด แต่ก็
"ไม่ใช่เดือนที่ถึงขนาดต้องขายหุ้น" เพราะเป็นเดือนที่มีความผันผวนต่ำ โดยเฉพาะในจังหวะที่ SET กำลังอยู่ในจุดต่ำและสร้างฐานแบบนี้ ซึ่งเหตุการณ์ล่าสุดที่ตลาดลงแรงในเดือน พ.ค. คงต้องย้อนกลับไปถึงปี 2012 ที่ตกลงไปกว่า 7% โดยสถานการณ์ต่างจากตอนนี้สิ้นเชิง โดยในช่วงนั้นเป็นช่วงขาขึ้นที่ตลาดปรับตัวขึ้น 7 เดือนติดต่อกัน และหากสถิตินี่เป็นจริงกลุ่มนักลงทุนที่จะพบปัญหาที่สุดก็คือ
กลุ่มคนที่เล่น(TFEX) แบบ Trend Follow เพราะความผันผวนที่ต่ำนี้อาจก่อให้เกิดการ Sideway ต่อ จึงไม่ใช่จังหวะที่ควรเพิ่มน้ำหนักกับกลยุทธ์นี้ในเดือนนี้
สุดท้ายเราอยากรณรงค์ให้ทุกท่านแชร์ข้อมูลข่าวสารด้วยเหตุและผล ร่วมกันวิเคราะห์หาข้อเท็จจริงและเปลี่ยนเป็นผลสรุปที่ถูกต้อง เพื่อลดการใช้ความรู้สึกทางอารมณ์ในการตัดสินใจซื้อขาย เพราะไม่อย่างนั้นเหตุการณ์ที่แท้จริงแล้วไม่ควรเกิด มันอาจเกิดขึ้นด้วยน้ำมือของพวกเราที่ตกใจกับเรื่องเหล่านี้และเป็นคนขายเอง โดยพวกเราพร้อมจะเป็น 1 ในคนที่ออกมาให้ข้อมูลกับทุกท่าน และหวังว่าจะเป็นประโยชน์ และสำหรับใครสนใจเล่น TFEX หรือเล่นอยู่แล้ว พวกท่านสามารถเข้ามาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูล กับเราและนักลงทุนท่านอื่นได้ที่เครดิตนะครับ ขอให้ทุกท่านประสบความสำเร็จในการลงทุนกับเดือน พ.ค. รวมถึงเดือนอื่น ๆ ตลอดทั้งปี ขอบคุณครับ
Credit :
https://www.facebook.com/tfexforfuture
ร่วมพูดคุยทิศทางหุ้น,TFEX
Line OpenChat : TFEX For Future
https://line.me/ti/g2/btLW138AZRRYIUeuCe-5GQ
Sell In May❗ความรู้ใหม่ ที่ทุกคนต้องอัพเดท
ในทุกปีที่เข้าสู่เดือน พ.ค. พวกเรามักจะได้ยินวลีฮิตที่สร้างความกดดันให้กับตลาดหุ้นอยู่เสมอ กับคำว่า “Sell In May” และในปีนี้ก็เป็นอีกปีที่ประเด็นนี้ถูกหยิบยกมาพูดถึงกันเป็นวงกว้าง จนทำให้มีหลายคนคิดที่จะขายหุ้นออก แต่สำหรับทุกท่านที่เห็นบทความนี้ เราอยากให้ท่านอ่านให้จบก่อนตัดสินใจ เพราะในปัจจุบัน “ทุกอย่างมันอาจไม่เหมือนเดิมแล้วก็ได้” ดังนั้น ขอเชิญทุกท่านมาอัพเดทข้อมูลใหม่ไปกับพวกเรา ดังนี้
Sell in May คืออะไร ?
Sell in May เป็นคำที่ย่อมาจากคำโบราณของชาวอังกฤษที่ว่า "Sell in May and go away, and come on back on St. Leger's Day." ที่พวกคนมีฐานะในสมัยนั้น ใช้พูดแทนการให้ออกจากเมืองลอนดอนเพื่อหนีร้อนและกลับมาอีกทีในเทศการแข่งม้า (St. Leger's Day.) ซึ่งจะจัดในช่วงกลางเดือนกันยายน โดยประโยคนี้ได้ถูกนำมาใช้อีกครั้งในตลาดหุ้นวอล์สตรีทปี 1950 ที่พบว่าการเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกาจะค่อนข้างคงที่ในเดือน พ.ค.- ต.ค. และจะปรับตัวขึ้นอย่างมีนัยสำคัญหลังจาก พ.ย. เป็นต้นไป ดังนั้น พวกเขาจึงมีข้อสรุปออกมาว่า ไม่จำเป็นต้องเล่นเดือน พ.ค. ค่อยกลับมาหลัง ต.ค. และนี้จึงเป็นที่มาของเหตุการณ์ Sell in May ที่ถูกพูดถึงกันในทุกวันนี้
อย่างไรก็ตามได้มีคนพยายามหาเหตุผลมาซัพพอร์ตกับเหตุการณ์นี้ ทั้งเรื่องการประกาศงบไตรมาส 1 ที่ออกมาแย่, การประกาศจ่ายปันผลของบริษัทต่างๆ หรืออะไรก็ตามที่ทำให้พวกเขารู้สึกว่า “หมดข่าวดี” แล้ว แต่เอาเถอะครับ เราเชื่อว่าทุกท่านไม่ได้อยากรู้ทฤษฎีหรือที่มาของมันนักหรอก เพราะสิ่งที่ทุกคนอยากรู้ก็คือ “มันเป็นจริงหรือไม่” ดังนั้น เรามาลองมาหาคำตอบ ด้วยการดูสถิติย้อนหลังของผลตอบแทนตลาดหุ้นไทยในแต่ละเดือนย้อนหลังกัน
รูปแสดงผลตอบแทนรายเดือนของตลาดหุ้นไทยใน 14 ปี (2010-2023)
จากรูปจะเห็นว่าผลตอบแทนของตลาดหุ้นไทยในเดือน พ.ค. มี Performance ที่แย่ที่สุดจริง โดยมีค่าติดลบถึง 9 ใน 14 ปี และมีค่าเฉลี่ย -1.14% ซึ่งเป็นตัวเลขที่ติดลบมากที่สุดเมื่อเทียบกับเดือนอื่น ๆ จึงไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจที่หลายคนจะเกิดความกังวลในเรื่อง Sell in May แต่อย่างไรก็ตามมันมีข้อมูลนึงที่น่าสนใจ คือ หากนับเฉพาะ 4 ปีล่าสุด ตลาดหุ้นไทยกลับให้ผลตอบแทนที่เป็นบวกในเดือน พ.ค.ถึง 3 ปี สวนทางกับค่าสถิติในอดีต รวมถึงอีกตัวเลขที่น่าสนใจกว่า นั้นคือ Standard Devation ที่เป็นตัวแทนของความผันผวน โดยในเดือน พ.ค. มีค่าน้อยที่สุดเพียง 2.46% แตกต่างจากเดือนอื่น ๆ ที่ส่วนใหญ่จะเกินกว่า 4% กันถ้วนหน้า
รูปแสดงปริมาณการซื้อขายสุทธิตลาดหุ้นไทยรายเดือนของนักลงทุนต่างชาติย้อนหลัง 14 ปี (2010-2023)
ต่างชาติยังเป็นตัวการที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ Sell In May
แม้ในช่วง 4-5 ปีก่อนหน้า ต่างชาติเริ่มไม่ขายหุ้นตอนเดือน พ.ค. แต่จากข้อมูลล่าสุดก็พบว่าเขากลับมาขายหนัก ทำให้ในรอบ 14 ปีหลังสุด ต่างชาติมีแนวโน้มที่จะ Underweigth ในตลาดหุ้นไทยในเดือน พ.ค.มากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยขายสุทธิ 17,404 ล้านบาท มากกว่าลำดับถัดมาอย่างเดือน ก.ค. ที่ขายเฉลี่ย 8,959 ล้านบาท อยู่ถึงเกือบ 2 เท่าตัว ซึ่งคงปฏิเสธไม่ได้ว่าพวกเขาเป็นตัวการหลักที่ทำให้เดือน พ.ค. มี Performance เฉลี่ยที่แย่ที่สุด และทำให้เหตุการณ์ Sell In May ดูมีความเป็นจริง
สรุปแล้วเมื่อเรานำทั้ง 2 ตารางมาหาข้อสรุปร่วมกันจะเห็นว่า "เดือน พ.ค. ไม่ใช่เดือนที่น่าลงทุน" เนื่องจากเป็นเดือนที่ Flow หลักของตลาดหุ้นอย่างต่างชาติลดการลงทุนมากที่สุด แต่ก็ "ไม่ใช่เดือนที่ถึงขนาดต้องขายหุ้น" เพราะเป็นเดือนที่มีความผันผวนต่ำ โดยเฉพาะในจังหวะที่ SET กำลังอยู่ในจุดต่ำและสร้างฐานแบบนี้ ซึ่งเหตุการณ์ล่าสุดที่ตลาดลงแรงในเดือน พ.ค. คงต้องย้อนกลับไปถึงปี 2012 ที่ตกลงไปกว่า 7% โดยสถานการณ์ต่างจากตอนนี้สิ้นเชิง โดยในช่วงนั้นเป็นช่วงขาขึ้นที่ตลาดปรับตัวขึ้น 7 เดือนติดต่อกัน และหากสถิตินี่เป็นจริงกลุ่มนักลงทุนที่จะพบปัญหาที่สุดก็คือ กลุ่มคนที่เล่น(TFEX) แบบ Trend Follow เพราะความผันผวนที่ต่ำนี้อาจก่อให้เกิดการ Sideway ต่อ จึงไม่ใช่จังหวะที่ควรเพิ่มน้ำหนักกับกลยุทธ์นี้ในเดือนนี้
สุดท้ายเราอยากรณรงค์ให้ทุกท่านแชร์ข้อมูลข่าวสารด้วยเหตุและผล ร่วมกันวิเคราะห์หาข้อเท็จจริงและเปลี่ยนเป็นผลสรุปที่ถูกต้อง เพื่อลดการใช้ความรู้สึกทางอารมณ์ในการตัดสินใจซื้อขาย เพราะไม่อย่างนั้นเหตุการณ์ที่แท้จริงแล้วไม่ควรเกิด มันอาจเกิดขึ้นด้วยน้ำมือของพวกเราที่ตกใจกับเรื่องเหล่านี้และเป็นคนขายเอง โดยพวกเราพร้อมจะเป็น 1 ในคนที่ออกมาให้ข้อมูลกับทุกท่าน และหวังว่าจะเป็นประโยชน์ และสำหรับใครสนใจเล่น TFEX หรือเล่นอยู่แล้ว พวกท่านสามารถเข้ามาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูล กับเราและนักลงทุนท่านอื่นได้ที่เครดิตนะครับ ขอให้ทุกท่านประสบความสำเร็จในการลงทุนกับเดือน พ.ค. รวมถึงเดือนอื่น ๆ ตลอดทั้งปี ขอบคุณครับ
Credit : https://www.facebook.com/tfexforfuture
ร่วมพูดคุยทิศทางหุ้น,TFEX
Line OpenChat : TFEX For Future
https://line.me/ti/g2/btLW138AZRRYIUeuCe-5GQ