เรียนโฟนิคส์คืออะไร เด็กอนุบาลสมัยนี้เรียนกัน

สวัสดีค่ะ

วันนี้มาแชร์การเริ่มฝึกสอน phonics ให้เด็กๆที่บ้านนะคะ

ก่อนอื่นเลย โฟนิคส์คืออะไร

โฟนิคเป็นหลักสูตรการสอนออกเสียงภาษาอังกฤษ ส่วนใหญ่แล้วมักจะใช้กับเด็กอายุ 3 ขวบขึ้นไป ภาษาอังกฤษคล้ายกับภาษาไทยตรงที่เรานำตัวอักษรหลายๆตัวมาผสมกันเพื่อทำให้เกิดเป็นคำ ถ้าเรารู้จักการออกเสียงอักษรแต่ละตัวให้ถูกต้องเราก็จะสามารถอ่านและเขียนได้ แต่ภาษาอังกฤษยากกว่าภาษาไทยตรงที่ชื่อตัวอักษรและเสียงของตัวอักษรไม่เหมือนกัน

สมัยเด็กๆเราจะเริ่มเรียนภาษาอังกฤษด้วยการอ่านตัวอักษรตามชื่อของตัวอักษร a b c d e อะไรก็ว่าไป ซึ่งการอ่านแบบนี้มันแค่ทำให้เราจำชื่อตัวอักษรได้ แต่มันไม่ได้ทำให้เราเข้าใจว่าตัวอักษรแต่ละตัวออกเสียงยังไง ตัวอักษรภาษาอังกฤษมีอยู่ 26 ตัว รวมสระแล้ว แต่ตัวอักษรพวกนี้สามารถทำให้เกิดเสียงได้ทั้งหมด 44 เสียง สระอย่างเดียวมี 20 เสียง ไม่ได้มีแค่ a e i o u ค่ะ

เวลาเรียนโฟนิคส์เราจะไม่ได้เรียนตามลำดับของตัวอักษร เป็น ABCDEF แต่จะเริ่มเรียนจากตัวอักษรที่มักจะถูกนำมาใช้มากที่สุดก่อน 

อย่าง s a t i p n เพราะตัวอักษรพวกนี้สามารถนำมาผสมเป็นคำที่มีความหมายได้หลายคำ และลักษณะของตัวอักษรแต่ละตัวก็แตกต่างกัน ไม่ทำให้สับสนง่าย ไม่เหมือน b d q p อักษรพวกนี้จะไม่สอนพร้อมกันเพราะมันหน้าตาคล้ายกัน 

ขั้นแรกเริ่มจากการให้ฟังเสียงอักษรแต่ละตัวแยกกัน หาได้จากยูทูปเสิร์ชว่า jolly phonics sound ก็ได้ค่ะ

ถ้าเป็นเด็ก 3-4 ขวบ สอนเฉพาะแค่เสียงของตัวอักษรก็พอ ให้ทำเสียง ท่าทาง ร้องเพลง ส่วนตัวคิดว่าวัยนี้อาจจะเร็วเกินไปที่จะสอนให้อ่านเป็นคำ พอช่วง 4 ขวบกว่า 5 ขวบ เด็กจะพร้อมอ่านเองและสามารถอ่านได้เร็วโดยที่ไม่ทำให้รู้สึกกดดัน

วิธีการเริ่มอ่านที่คิดว่าได้ผลดีคือให้แยกคำเป็น family word คือเอาคำที่มีสระและตัวสะกดเหมือนกันมาอยู่ในกลุ่มเดียวกัน

วิธีนี้จะทำให้เข้าใจได้ง่ายกว่าว่าถ้าเจอสระกับตัวสะกดแบบนี้ให้เปลี่ยนเฉพาะเสียงนำหน้าเสียงเดียว (initial sound) ถ้าไปเจอคำอื่นที่ที่มีสระและตัวสะกดเหมือนกันก็จะอ่านง่ายค่ะ

ตัวอย่าง

At แอะ ทฺ = แอท
Sat ซฺ แอท = แซท
Pat พฺ แอท = แพท

สังเกตุว่าถ้าแบ่งเป็นเสียงพยัญชนะ สระ ตัวสะกดแบบนี้ วิธีการอ่านไม่ต่างจากภาษาไทยเท่าไหร่เลย สำคัญที่ต้องออกเสียงตัวอักษรแต่ละคำให้ถูก

โฟนิคส์เด็กเรียนดี ผู้ใหญ่ก็เรียนได้ 

อยู่ที่บ้านก็ฝึกภาษาอังกฤษได้นะคะ ยิ้ม

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
แก้ไขข้อความเมื่อ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่