What's good, people?!
โอเคครับ มาต่อกันกับตอนสุดท้าย ในตอนนี้ขอสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับ phonics ให้ทุกคนหน่อยแล้วกัน
1. พูดฐานโฟนิกส์ที่สำคัญคือ นักเรียนต้องสามารถสะกดเสียงทั้ง 44 เสียงในภาษาอังกฤษได้ (the 44 phonemes of English) โดยให้อิงจากตัวโฟเนติกส์ เช่นเสียง /eɪ/ สามารถสะกดได้ด้วย -ey, -ay, -a_e เป็นต้น ถามว่านักเรียนต้องจำตัวโฟเนติกส์ได้ด้วยไหม? ไม่จำเป็นครับ แต่ถ้าจำได้ก็จะดีมากเลย (และถ้าออกเสียงได้ทุกตัวก็ยิ่งดีขึ้นไปอีก) แต่ที่แน่ ๆ คุณครูต้องจำและออกเสียงให้ได้ทุกเสียง (ลองหา "Phonemic Chart" ใน google ดู)
2. พื้นฐานที่มาควบคู่กันคือนักเรียนต้องรู้จัก 'digraphs' และ 'trigraphs' ก็ตามชื่อเลย di- แปลว่า สอง digraph ก็คือตัวสะกดที่มีสองตัวอักษร (แต่เป็นเสียงเดียว) เช่น -ea, -oo, -th ส่วน tri- แปลว่าสาม ดังนั้น trigraph ก็คือตัวสะกดที่มีสามตัวอักษร เช่น -igh, -eau, -air เป็นต้น
3. ต่อมาเป็นเรื่องสำคัญ นักเรียนต้องเข้าใจว่าตัวสะกดหนึ่งตัวอาจเป็นได้หลายเสียง เช่น digraph '-ea' ที่อาจจะเป็นเสียง อี ในคำว่า please, sea, meat และเป็นเสียง เอะ ในคำว่า bread, head, steady เป็นต้น ที่มันสำคัญก็เพราะว่าในภาษาอังกฤษมีหลายตัวสะกด (graphemes) เลยที่เป็นแบบนี้ ดังนั้นเรื่องนี้จึงเป็นหัวข้อที่ถูกเอามาทำเป็นแบบทดสอบ/แบบฝึกหัดอยู่บ่อย ๆ
4. คำศัพท์ที่(ผู้สอน)ควรรู้จักคือ 'decode' (หรือ decoding) มันแปลว่าการอ่านออกเสียง ทั้งในระดับเสียง (phoneme) เช่น -a อ่าน "แอะ" และในระดับคำศัพท์ (word) เช่น cat อ่าน "แคท" และอีกคำคือ 'encode' (หรือ encoding) ที่แปลว่าการเขียน เช่น แคท เขียนว่า "cat" หรือ สระโอว เขียน -o, -oa เป็นต้น
5. ที่ต้องรู้จักสองคำนี้ก็เพราะมันเป็นส่วนสำคัญให้การจำแนกนักเรียน นักเรียนบางคนอาจเก่งในการ decoding คืออ่านได้คล่องแคล่ว และออกเสียงได้ถูกต้อง แต่อาจจะแปลความหมายไม่ได้ หรือไม่สามารถแต่งประโยคเองได้เลย คุณครูก็ต้องปรับบทเรียนให้ส่งเสริมในด้านนี้มากขึ้น หรืออีกกรณีคือนักเรียนอาจจะเก่งในการ encoding คือเขียนได้หลายคำ ตามคำบอกได้ไม่มีปัญหา (และอาจจะรู้ความหมายด้วย) แต่เวลาให้ออกเสียงคำเหล่านี้ อาจจะทำได้ไม่ดีนัก แบบนี้ก็ต้องมีบทเรียนอีกแบบ
ลองสังเกตตัวเองดูด้วยนะว่า เราเก่ง decoding หรือ encoding มากกว่า และลองศึกษาเพิ่มเติมนะครับ สำหรับเรื่อง Phonics ก็ขอจบลงเพียงเท่านี้ (ไว้วนกลับมาเขียน section นี้ใหม่ในอนาคตนะครับ) สงสัยตรงไหนสอบถามได้ตลอดเลยย cheers!!
"ไม่จำเป็นต้องรู้ทุกอย่างในวันนี้ แค่รู้ให้มากกว่าเมื่อวาน"
Stay tuned
JGC.
พื้นฐาน Phonics สำหรับนักเรียนไทย (ภาษาอังกฤษที่ควรมีในห้องเรียน) PART 5 *End of August's Edition
โอเคครับ มาต่อกันกับตอนสุดท้าย ในตอนนี้ขอสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับ phonics ให้ทุกคนหน่อยแล้วกัน
1. พูดฐานโฟนิกส์ที่สำคัญคือ นักเรียนต้องสามารถสะกดเสียงทั้ง 44 เสียงในภาษาอังกฤษได้ (the 44 phonemes of English) โดยให้อิงจากตัวโฟเนติกส์ เช่นเสียง /eɪ/ สามารถสะกดได้ด้วย -ey, -ay, -a_e เป็นต้น ถามว่านักเรียนต้องจำตัวโฟเนติกส์ได้ด้วยไหม? ไม่จำเป็นครับ แต่ถ้าจำได้ก็จะดีมากเลย (และถ้าออกเสียงได้ทุกตัวก็ยิ่งดีขึ้นไปอีก) แต่ที่แน่ ๆ คุณครูต้องจำและออกเสียงให้ได้ทุกเสียง (ลองหา "Phonemic Chart" ใน google ดู)
2. พื้นฐานที่มาควบคู่กันคือนักเรียนต้องรู้จัก 'digraphs' และ 'trigraphs' ก็ตามชื่อเลย di- แปลว่า สอง digraph ก็คือตัวสะกดที่มีสองตัวอักษร (แต่เป็นเสียงเดียว) เช่น -ea, -oo, -th ส่วน tri- แปลว่าสาม ดังนั้น trigraph ก็คือตัวสะกดที่มีสามตัวอักษร เช่น -igh, -eau, -air เป็นต้น
3. ต่อมาเป็นเรื่องสำคัญ นักเรียนต้องเข้าใจว่าตัวสะกดหนึ่งตัวอาจเป็นได้หลายเสียง เช่น digraph '-ea' ที่อาจจะเป็นเสียง อี ในคำว่า please, sea, meat และเป็นเสียง เอะ ในคำว่า bread, head, steady เป็นต้น ที่มันสำคัญก็เพราะว่าในภาษาอังกฤษมีหลายตัวสะกด (graphemes) เลยที่เป็นแบบนี้ ดังนั้นเรื่องนี้จึงเป็นหัวข้อที่ถูกเอามาทำเป็นแบบทดสอบ/แบบฝึกหัดอยู่บ่อย ๆ
4. คำศัพท์ที่(ผู้สอน)ควรรู้จักคือ 'decode' (หรือ decoding) มันแปลว่าการอ่านออกเสียง ทั้งในระดับเสียง (phoneme) เช่น -a อ่าน "แอะ" และในระดับคำศัพท์ (word) เช่น cat อ่าน "แคท" และอีกคำคือ 'encode' (หรือ encoding) ที่แปลว่าการเขียน เช่น แคท เขียนว่า "cat" หรือ สระโอว เขียน -o, -oa เป็นต้น
5. ที่ต้องรู้จักสองคำนี้ก็เพราะมันเป็นส่วนสำคัญให้การจำแนกนักเรียน นักเรียนบางคนอาจเก่งในการ decoding คืออ่านได้คล่องแคล่ว และออกเสียงได้ถูกต้อง แต่อาจจะแปลความหมายไม่ได้ หรือไม่สามารถแต่งประโยคเองได้เลย คุณครูก็ต้องปรับบทเรียนให้ส่งเสริมในด้านนี้มากขึ้น หรืออีกกรณีคือนักเรียนอาจจะเก่งในการ encoding คือเขียนได้หลายคำ ตามคำบอกได้ไม่มีปัญหา (และอาจจะรู้ความหมายด้วย) แต่เวลาให้ออกเสียงคำเหล่านี้ อาจจะทำได้ไม่ดีนัก แบบนี้ก็ต้องมีบทเรียนอีกแบบ
ลองสังเกตตัวเองดูด้วยนะว่า เราเก่ง decoding หรือ encoding มากกว่า และลองศึกษาเพิ่มเติมนะครับ สำหรับเรื่อง Phonics ก็ขอจบลงเพียงเท่านี้ (ไว้วนกลับมาเขียน section นี้ใหม่ในอนาคตนะครับ) สงสัยตรงไหนสอบถามได้ตลอดเลยย cheers!!
"ไม่จำเป็นต้องรู้ทุกอย่างในวันนี้ แค่รู้ให้มากกว่าเมื่อวาน"
Stay tuned
JGC.